วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ตอนต่อของ cpall

-ทำไมมีข่าวจาก ผบห ว่าเคลียร์หนั้หมดภายในสองปีได้
ปัญหาคือเงินที่แบงค์ปล่อยกู้เป็นเงินระยะสั้น เพียงปีเดียว
เพราะทางเลือกในการหาเงินมาใช้หนี้ ลองดูกันทีละทางนะครับ
   ออกกองอสังหา จุดนี้กองอสังหาแรกเริ่ม ipo เกือบทั้งหมด จะมีรายได้ในรูปค่าเช่าที่ไม่น้อยกว่า 5% นั่นแปลว่าหากนำแมคโครมาออก กองอสังหา  แล้วแมคโครเป็นผู้เช่าหลัก แมคโครจะต้องจ่ายค่าเช่าไม่ต่ำกว่า 5% ของขนาดกอง หากสมมติให้ขนาดกองเท่ากับเงินกู้ทั้งหมด (ซึ่งความจริงเป็นไปไม่ได้ เพราะ asset มีมูลค่าไม่ถึงขนาดนั้น)   170,000M  แมคโครจะต้องจ่ายค่าเช่าไม่น้อยกว่า 8500M
แพงกว่า ดบ แบงค์ที่อยู่ที่ประมาณ 3.5%
(อนึ่ง ขนาดกองสูงสุด ผมคาดว่าทำได้ไม่เกิน 60,000M )
   ทางเลือกต่อมา การออกหุ้นกู้ จะออกได้ขนาดไหน ในเมื่อ PTT ออกยังได้ประมาณ 10,000M แล้ว cpall จะออกได้ขนาดไหน และหนี้ที่สูง d/e 4เท่ากว่าๆ ดอกที่ออกหุ้นกู้จะต้องเท่าไร
   ทางเลือกในการเจรจายืดอายุหนี้ คงได้แค่บางส่วน และยืดหนี้แล้วดอกเบี้ยจะเท่าเดิมได้ไหม และส่วนที่ไม่ได้ยืดหนี้จะเอาเงินจากไหน
   ทางออกที่ง่ายที่สุด  "เพิ่มทุน"
-ทำไม ดร ถึงไม่พูดถึงเรื่องการจ่ายคืนเงินต้น ทั้งที่ ดร รู้ดีเรื่องแบบนี้เพราะ ดร เคยทำงานด้านการเงินมาก่อน
  
   ผมคิดว่าเรื่องการเงินแบบนี้ ดร น่าจะมองออกแต่ต้น ครับ  คนเก่งมองอะไรทะลุปรุโปร่ง เห็นภาพชัดเจน ส่วนทำไมไม่พูดถึงเรื่องนี้ ต้องคิดถึงใจเขาใจเรา ครับ


update 30/4/2013

    ทางออกอีกทางของ cpall
เป็นที่รู้กันดีว่า cpall ต้องการจะไปขยายที่ จีน และเวียดนาม แต่ติดเรื่องไลเซ่น ที่ขอมานานมากแล้ว แต่ยังไม่ได้สักที  ดีลนี้เกียวพันอย่างไรกับเรื่องนี้
   โดยส่วนตัวมองว่า ทางนึงเป็นการ บีบ บ.แม่ของ 7-11 เพื่อให้ออกไลเซ่นให้แก่ cpall โดยเหมือนบอกเป็นนัยๆ ว่า หากไม่ออกให้ จะใช้ แมคโคร ออก ตปท แทนละนะ และหากหนักหนา ก็อาจจะปลดป้าย 7-11 ออก เพื่อประหยัดค่าลิขสิทธิ์ (จดุนี้ผมไม่รู้ว่า cpall จ่ายให้ บ.แม่เท่าไร และจ่ายอย่างไร) แต่เข้าใจว่า เป็นเงินไม่น้อย และหากปลดป้าย 7-11 ออกจริง กำไรจะมากขึ้นพอควร เอาป้ายแมคโครใส่แทน จะใส่เป็น makro mini , makro express หรืออะไรก็ตาม  แต่ทำเลคงเดิม พนงคงเดิม ระบบคงเดิม
 ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด เปลี่ยนแค่ชื่อร้าน และที่สำคัญคือ 7-11 จะหายไปจากเมืองไทยโดยปริยาย
   ทางออกทางนี้เหมือนจะแก้ปัญหาได้หลายอย่าง ทั้งกำไรที่มากขึ้น ทั้งแก้เรื่องออกไป ตปท เป็นการส่งสัญญาณ ที่ท่าทางจะเอาจริง


   ทั้งหมดเป็นเพียงมุมมองส่วนตัวเท่านั้นนะครับ


บริษัทดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยภายใต้สัญญาให้ใช้สิทธิที่บริษัททำกับ 7-Eleven, Inc. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ตามข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทมีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” และเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือทางด้านการฝึกอบรมและด้านเทคนิคความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อจาก 7-Eleven, Inc. ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม 2546 7-Eleven, Inc. ได้เข้าทำสัญญาให้ความยินยอม ซึ่งเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (“CPG”) กับ 7-Eleven, Inc. โดย 7-Eleven, Inc. ได้ตกลงให้ความยินยอมต่อการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน รวมถึงการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยสัญญาให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดอายุ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะเลิกสัญญาหากเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือในกรณีที่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญาตามสัญญาให้ความยินยอมซึ่งจะมีผลเป็นการยกเลิกสัญญาให้ใช้สิทธิด้วย ในกรณีที่สัญญาให้ใช้สิทธิถูกยกเลิก บริษัทจะสูญเสียสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และบริษัทอาจต้องชำระค่าเสียหายต่างๆ ให้แก่ 7-Eleven, Inc. นอกจากนี้หากความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท หรือ CPG กับ 7-Eleven, Inc. เปลี่ยนแปลงไปในทางลบ บริษัทอาจไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก 7-Eleven, Inc. เท่าที่ควร