วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จำนวนการเกิด/ตาย ประชากรในประเทศไทย

CREDIT : nesdb.go.th

















 ปี พ.ศ.   จำนวนประชากร (คน)   จำนวนการเกิด (คน)   จำนวนการตาย (คน) 
 ชาย   หญิง   รวม   ชาย   หญิง   รวม   ชาย   หญิง   รวม 
2536        29,205,086        29,130,986        58,336,072        503,551        480,413        983,964        165,293        112,206        277,499
2537        29,552,978        29,542,441        59,095,419        497,817        472,943        970,760        147,245          96,816        244,061
2538        29,678,600        29,781,782        59,460,382        474,986        453,970        928,956        180,637        117,831        298,468
2539        29,973,059        30,143,123        60,116,182        504,739        478,656        983,395        190,875        124,592        315,467
2540        30,295,797        30,520,430        60,816,227        451,868        428,160        880,028        167,787        111,303        279,090
2541        30,591,602        30,874,576        61,466,178        442,434        419,826        862,260        203,634        140,576        344,210
2542        30,650,172        31,011,529        61,661,701        398,560        375,789        774,349        184,579        130,971        315,550
2543        30,725,016        31,153,730        61,878,746        403,151        382,867        786,018        187,707        136,139        323,846
2544        30,913,485        31,395,402        62,308,887        394,245        371,862        766,107        185,656        137,452        323,108
2545        31,139,647        31,660,225        62,799,872        397,158        374,629        771,787        187,147        139,436        326,583
2546        31,255,350        31,824,415        63,079,765        400,628        377,817        778,445        192,118        142,607        334,725
2547        30,616,790        31,356,831        61,973,621        422,756        399,819        822,575        206,890        156,757        363,647
2548        30,818,629        31,599,425        62,418,054        416,193        393,581        809,774        227,624        171,707        399,331
2549        31,007,857        31,820,849        62,828,706        414,049        388,875        802,924        222,960        169,084        392,044
2550        31,095,942        31,942,305        63,038,247        417,783        393,601        811,384        224,954        173,484        398,438
2551        31,255,869        32,133,861        63,389,730        410,737        386,619        797,356        226,714        175,267        401,981
2552        31,293,096        32,231,966        63,525,062        405,970        381,769        787,739        225,276        172,854        398,130
2553        31,451,807        32,426,466        63,878,267        394,341        372,029        766,370        234,917        179,971        414,888
2554        31,529,148        32,546,885        64,076,033        410,226        385,878        796,104        237,944        181,321        419,265
2555        31,700,727        32,755,968        64,456,695        412,952        396,949        818,901        240,659        182,554        423,213
2556        31,845,971        32,939,938        64,785,909        403,022        379,107        782,129        250,048        188,600        438,648
2557        31,999,008        33,125,728        65,124,716        399,852        376,518        776,370        254,535        194,066        448,601
2558        32,280,886        33,448,212        65,729,098        378,037        358,315        736,352        259,387        197,004        456,391
2559        32,357,808        33,573,742        65,931,550        362,395        341,663        704,058        273,315        207,119        480,434




วงจรแห่งความตกต่ำ

วงจรแห่งความตกต่ำ คือ วงจรที่พยายามประหยัดค่าใช้จ่ายจนเกินพอดี จนละทิ้งเรื่องคุณภาพลงไป เป็นเรื่องปกติที่เมื่อประหยัดค่าใช้จ่ายมากๆ คุณภาพและบริการย่อมลดลง เมื่อคุณภาพและบริการลดลง สิ่งที่ตามมาคือรายได้ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อรายได้ลดลงก็ยิ่งจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อตัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น คุณภาพกับบริการยิ่งตกต่ำมากขึ้นไปอีก ยิ่งส่งผลให้รายได้ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็คือ จบเกม นี่คือสาเหตุนึงที่คนตระหนี่ ทำกิจการใหญ่โตไม่ได้ เพราะทุกกิจการย่อมต้องผ่านช่วงเวลากำไรลดลง จาก คชจ เพิ่มขึ้น หรือกำไรลดลงเพราะ คชจ เท่าเดิมแต่รายได้ลดลง แต่การแก้ไขปัญหาของ ผบห ที่มีวิสัยทัศน์จะแตกต่างกับ ผบห ที่ตระหนี่ ตรงจุดเหล่านี้อย่างเห็นได้ชัด
    
     แล้ว ผบห ที่มีวิสัยทัศน์จะแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อเจอเหตุการณ์เดียวกัน (กำไรลด คชจ เพิ่ม) อย่างแรกกำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้าให้ชัดเจน ตามด้วย ลด คชจ ที่ไม่จำเป็นออก แต่จะไม่ลดจนคุณภาพและบริการตกต่ำ ตามด้วย และเพิ่มบริการให้ตรงกับที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการ รวมถึงเพิ่มค่าบริการ หรือราคาสินค้า เพื่อเป็นการคัดลูกค้าให้เหลือเฉพาะกลุ่มที่เป็นเป้าหมายจริงๆ และเพื่อให้ราคาสมเหตุ สมผลกับคุณภาพและบริการที่มีให้ลูกค้า รวมทั้งต้องโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ ถึงคุณภาพและบริการที่เรามีให้

การลด คชจ แต่เพียงอย่างเดียวมีแต่จะทำให้กิจการตายซาก รอวันตายจริงเท่านั้น เพราะมองแต่กำไรเฉพาะหน้า
ต้องสร้างวงจรแห่งความรุ่งเรืองคืนมาให้ได้กิจการจึงจะมีอนาคต นั่นคือหน้าที่ของผู้บริหาร แน่นอนนั่นรวมถึงการพากิจการหลีกห่างอุตสาหกรรมตะวันตกดินด้วย

วงจรแห่งความรุ่งเรือง จะสามารถเพิ่มรายได้เข้ามาได้ แต่ต้องเกิดจากการมี คุณภาพและบริการที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นคือต้องลงทุนใน คชจ ที่มากขึ้นก่อน ก่อนลงทุนเพิ่ม คชจ แล้วต้องโฟกัสเป้าหมายเพื่อไม่ให้ คชจ เหล่านั้นสูญเปล่า กิจการที่เพิ่ม คชจ เพื่อเพิ่มคุณภาพและบริการได้ถูกใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น ที่จะสามารถเพิ่มรายได้จากการเพิ่มราคาสินค้าและบริการได้
#คิดไปเรื่อยเปื่อย