วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

พอร์ตหุ้น แนว Value

การลงทุนแนว Value ที่ค่อนข้าง conservative ผลตอบแทนมักไม่หวือหวา จะเป็นการถือยาวไปตามแผน และรับปันผล 

พอร์ตแนวนี้ จริงๆแล้วการเลือกหุ้นไม่ได้ยากเลย แต่ยากตรงที่ต้องมีจิตใจที่มั่นคงในการทำตามแผน ไม่หวั่นไหวไปกับราคาระยะสั้น

ปล. เส้นประสีแดง = SET   
เส้นน้ำเงิน = พอร์ต
26/3/65

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

บริษัทประกัน กับความเป็นวัฏจักร

บริษัทประกันจำนวนไม่น้อยขาดทุนเพราะเอาแต่ไล่ล่าหาลูกค้า โดยยอมลดค่าเบี้ยประกันเพื่อทำวอลลุ่มและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด

ทำให้กำไรของบริษัทประกันกลายเป็น "วัฏจักร"

พอบริษัทประกันเริ่มขาดทุนจากกรมธรรม์ที่ตั้งราคาแย่และปิดตัวไป ในขณะที่หลายบริษัทจำเป็นต้องประหยัดต้นทุนและลงเอยด้วยการขึ้นราคา นั่นจึงเป็นการเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อีกครั้ง

เราต้องเข้าใจเรื่องมูลค่าให้ดี

เราต้องเข้าใจเรื่องมูลค่าให้ดี เพราะเมื่อเวลาที่ทุกคนมองว่าดี มองบวก ราคาก็มักจะขึ้นไปแพงกว่ามูลค่าของมัน

ถ้าเราคุมตัวเองไม่ได้และเข้าไปลุยกับมัน นั้นแหละจะทำให้เราโดน

ทุกยุคทุกสมัย มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน

ทุกยุคทุกสมัย มีจุดเด่นที่แตกต่างกันให้ใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่งคั่ง หลายสิบปีก่อนก็อาจจะเน้นไปที่ ความมุ่งมั่น ความขยัน เติมด้วยความริเริ่มใหม่ๆบ้าง

ปัจจุบันก็มีอินเทอร์เน็ต มีแอพพลิเคชั่นต่างๆมากมาย มีการขายของออนไลน์ ด้านการเงินก็มีแพลตฟอร์มต่างๆให้เทรด เทรดได้ทั้งหุ้น อนุพันธ์ กองทุนและคริปโต ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก 

การหาข้อมูลของหุ้นก็สามารถทำได้ผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายในขณะที่หลายสิบปีก่อนทำไม่ได้   

การขายของออนไลน์ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยในสมัยที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต 

ยิ่งยุคนี้ถ้าใครที่มีความคิดริเริ่มใหม่ๆการหาเงินยิ่งเป็นเรื่องง่าย โดยการใช้แพลตฟอร์มและอินเทอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นต่างๆเข้ามาเป็นตัวเร่ง 

ดังนั้นในยุคต่างๆจึงมีจุดเด่นให้สามารถสร้างความมั่งคั่งได้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะสามารถไขว่คว้าโอกาสได้หรือไม่ 

ซึ่งโอกาสนั้นจะมาก็ต่อเมื่อได้เตรียมความพร้อมให้มาก หลายคนโอกาสผ่านเข้ามาแต่ตนเองไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะคว้าโอกาสไว้ได้ 

ดังนั้นอย่ามัวแต่โทษยุคสมัย เอาเวลามาเตรียมพร้อมเพื่อไขว่คว้าโอกาสกันดีกว่า

ตอบคำถามตัวเองให้ได้

ตอบคำถามตัวเองให้ได้ 
- ว่ามีความ "เชื่อว่า" ราคาของหุ้นเพิ่มขึ้นจากอะไร (บางคนเชื่อว่าเพิ่มจากข่าววงใน บางคนเชื่อว่าราคาจะเพิ่มจากกราฟ บางคนเชื่อว่าจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้น)
- วางแผนให้สอดคล้องกับความเชื่อหรือเปล่า 
- มีแผนแล้วทำตามแผนหรือเปล่า
- จุดซื้อจุดไหนที่เราจะได้เปรียบ
- ระหว่างการรีบซื้อเพื่อความทันใจได้หุ้นแน่ๆ กับ การรอจนเบื่อไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้หุ้น ตนเองเป็นแบบไหน และแบบไหนถึงจะทำให้เราลงทุนได้ดีกว่ากัน
- ยืนยันที่จะทำตามแผนที่วางไว้ หรือพร้อมที่จะทำตามตลาดทันทีที่ตลาดพุ่งขึ้นแบบรวดเร็วกระทันหัน
- ความโลภ ความอยาก กับความมีเหตุผล เลือกอะไร

ลักษณะเด่นส่วนใหญ่ของภาวะฟองสบู่

ลักษณะเด่นส่วนใหญ่ของภาวะฟองสบู่

- ราคาสินทรัพย์อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติที่เคยเป็น

- ราคาระดับปัจจุบันสะท้อนราคาในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปเรียบร้อยแล้ว 

- มีมุมมองเชิงบวกเกิดขึ้นในวงกว้าง

- การซื้อมาจากการกู้ยืมในระดับที่สูงขึ้น (ถ้าในตลาดหุ้นก็คือมีการใช้ margin เป็นจำนวนมาก)

- ผู้ซื้อมีการทำสัญญาซื้อล่วงหน้าเพิ่มมากกว่าปกติที่เคยทำเพื่อการเก็งกำไรหรือป้องกันตัวเองจากแนวโน้มราคาในอนาคตที่จะเพิ่มสูงขึ้น

- มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดมากขึ้น

- นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะอัดฉีดให้ฟองสบู่ขยายตัวมากขึ้นไปอีก และเมื่อดำเนินนโยบายแบบเข้มงวดจะเป็นเหตุให้ฟองสบู่แตก

บ.ที่เป็นตัวอย่างเหมาะจะศึกษางบการเงินย้อนหลัง ในเรื่องการก่อหนี้และรายได้ที่ลดลง

บ.ที่เป็นตัวอย่างเหมาะจะศึกษางบการเงินย้อนหลัง ในเรื่องการก่อหนี้และรายได้ที่ลดลง รวมถึงการแปลงหนี้เป็นทุน โดยใช้ perpetual bond คือ ANAN  

หนี้ก็คือหนี้ ถึงจะแปลงหนี้เป็นทุนในทางบัญชี แต่ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย ดังนั้นแม้จะบันทึกบัญชีว่าเป็นทุนแต่ในเมื่อต้องจ่ายดอกเบี้ย มันก็คือหนี้วันยันค่ำ

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565

หลังจากอ่าน Big Debt Crisis ไปได้หน่อย จับจุดการเกิดฟองสบู่

หลังจากอ่าน Big Debt Crisis ไปได้หน่อย จับจุดการเกิดฟองสบู่ จนนำไปสู่ Crisis ได้ คือ "หนี้" 

หนี้คือสาเหตุหลัก ที่ทำให้ ศก ค่อยๆดีขึ้น
หนี้คนของนึง คือรายได้ของอีกคน
เมื่อหนี้ขยายตัว รายได้ภาพรวมก็ขยายตัว
เมื่อรายได้ขยายตัวราคาสินทรัพย์ต่างๆก็จะเพิ่มขึ้น
เมื่อราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นนั่นหมายถึง สินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันในการก่อหนี้มีราคาเพิ่มขึ้น
เมื่อหลักประกันมีราคาสูงขึ้นก็ก่อหนี้ได้มากขึ้น
เป็นวงจรนำไปสู่การก่อหนี้เพิ่ม 
หนี้ถูกเพิ่มจากวงจรซ้ำๆทำให้เกิดฟองสบู่
โดยเฉพาะหนี้ที่ควบคุมดูแลได้ยาก (หนี้ นอนแบงค์ หนี้นอกระบบ) จะยิ่งส่งเสริมฟองสบู่ 

สุดท้ายแล้วหนี้สินจะมากกว่าความสามารถในการชำระคืนหนี้ จุดนี้จะทำให้ธนาคารและผู้ปล่อยกู้เริ่มดึงเงินกลับ เริ่มระวังตัว ลดการปล่อยหนี้ 

เมื่อมีการลดการปล่อยหนี้ ก็จะส่งผลให้รายได้ของคนในภาพรวมลดลง (เพราะหนี้ของคนหนึ่งคือรายได้ของอีกคนนึง)

เมื่อรายได้ในภาพรวมลดลงราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็จะค่อยๆลดลง ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันการก่อหนี้ลดลง ทำให้ธนาคารปล่อยหนี้ได้น้อยลง ก็จะเป็นวงจรส่งผลให้รายได้ภาพรวมลดลงอีก (ทำให้ในกลุ่มคนกลุ่มธุรกิจที่มีหนี้สินอยู่เดิม มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะมาจ่ายหนี้เดิม) จุดนี้แหละทำให้ฟองสบู่แตก

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565

ตอบคำถามตัวเองให้ได้

ตอบคำถามตัวเองให้ได้ 
- ว่ามีความ "เชื่อว่า" ราคาของหุ้นเพิ่มขึ้นจากอะไร (บางคนเชื่อว่าเพิ่มจากข่าววงใน บางคนเชื่อว่าราคาจะเพิ่มจากกราฟ บางคนเชื่อว่าจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้น)
- วางแผนให้สอดคล้องกับความเชื่อหรือเปล่า 
- มีแผนแล้วทำตามแผนหรือเปล่า
- จุดซื้อจุดไหนที่เราจะได้เปรียบ
- ระหว่างการรีบซื้อเพื่อความทันใจได้หุ้นแน่ๆ กับ การรอจนเบื่อไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้หุ้น ตนเองเป็นแบบไหน และแบบไหนถึงจะทำให้เราลงทุนได้ดีกว่ากัน
- ยืนยันที่จะทำตามแผนที่วางไว้ หรือพร้อมที่จะทำตามตลาดทันทีที่ตลาดพุ่งขึ้นแบบรวดเร็วกระทันหัน
- ความโลภ ความอยาก กับความมีเหตุผล เลือกอะไร

เศรษฐี กับ เจ้าของกิจการ

พยายามเพิ่มสัดส่วนความเป็นเจ้าของกิจการที่ดีและมีปันผลในราคาสมเหตุสมผลคือหนทางสู่ความมั่งคั่งของนักลงทุน

การพยายามเพิ่มสัดส่วนความเป็นเจ้าของกิจการนั่นหมายถึงต้องลงทุนในระยะเวลาที่นานพอสมควร และค่อยๆเพิ่มสัดส่วนเมื่อโอกาศเหมาะสม

สังเกต คนรวยเศรษฐีส่วนมากเป็นเจ้าของกิจการที่ใหญ่ขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ปู่บัฟเฟตต์ ก็มั่งคั่งจากการเป็นเจ้าของกิจการผ่านการลงทุน

บิลล์เกตส์
Elon musk
Mark Zuckerberg
เจฟฟรีย์ เพรสตัน เบโซส
ตระกูลเศรษฐีของไทยทั้งหลาย

ทุกคนล้วนเป็นเจ้าของกิจการ ที่ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มส่วนกิจการขึ้นไปเรื่อยๆทั้งนั้น

วิกฤติกับโอกาส

ทุกวิกฤติจะเปิดโอกาสให้กับ บ.ที่แข็งแกร่งเสมอ บริษัทที่มีการเตรียมพร้อม หนี้สินต่ำ ต้นทุนทางการเงินต่ำ มีการพัฒนาสินค้าและสร้างภาพพจน์ที่ดีอยู่เสมอ จะเป็นผู้ที่กินส่วนแบ่งการตลาด จากบริษัทที่อ่อนแอหนี้สินสูง ต้นทุนสูง 

เมื่อหลังวิกฤติจบลง จะยิ่งชัดเจน ว่าบริษัทที่เป็นผู้ชนะนั้นแย่งมาร์เก็ตแชร์มาได้ โดยที่บริษัทที่อ่อนแออาจจะล้มหายตายจาก หรือฟื้นกลับมาแต่ก็เสีย market share ไปเยอะแล้ว 

หลังวิกฤตผู้ชนะจะยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากยอดขายและกำไรที่ไม่ได้โดนกระทบมาก หรืออาจเติบโตเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำในยามวิกฤต แต่ต้องสังเกตว่าไม่ใช่หุ้นวัฏจักร 

หากลงทุนระยะยาว ควรมองหาบริษัทประเภทนี้ ที่สามารถผ่านร้อนผ่านหนาวทั้งในยามเศรษฐกิจดีและไม่ดีได้ 

ค่อยๆสะสมบริษัทประเภทนี้เข้าพอร์ตลงทุน เพราะมันคือธุรกิจที่ควรค่าแก่การลงทุนในระยะยาว ที่สำคัญตอนที่ซื้อนั้นไม่จ่ายราคาสูงกว่ามูลค่าในขณะนั้น

ค่าพีอี

- ค่า P/E คือราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น อันนี้ใครๆก็รู้ 
- หากกำไรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นก็แปลว่าค่า PE มีแนวโน้มลดลง
- สิ่งที่ค่า พีอี ในขณะนั้นบอกเราได้อีกอย่างหนึ่งคือหากกำไรคงที่ค่า P/E คือจำนวนปีที่จะได้ทุนคืน 
- ค่า พีอี ยังแสดงความหมายได้อีกอย่างหนึ่ง คือเราต้องลงทุนเท่าไหร่ต่อกำไร 1 บาท เช่น พีอี 7 เท่า หมายถึงถ้ากำไรไม่ได้เปลี่ยนแปลงเราจ่ายเงิน 7 บาทเพื่อให้ได้กำไร 1 บาทที่บริษัทสามารถหาได้ หรือค่า P/E 41 เท่าหมายถึงเราจ่ายเงิน 41 บาทเพื่อกำไรที่บริษัทหาได้ 1 บาท 

เพื่อกำไร 1 บาทในปัจจุบัน คุณยอมจ่ายเท่าไร ?

#พีอี #P/E

หากอนาคตมีสงคราม จีน-ไต้หวัน เราจะขายหุ้นลดพอร์ตหรือไม่ ???

สมมติ หากอนาคตมีสงคราม จีน-ไต้หวัน เราจะขายหุ้นลดพอร์ตหรือไม่ ??? 

(ถามตัวเอง ตอบตัวเอง แต่แบ่งปันความคิด 🤣)

- คือถ้ารู้อย่างนี้แน่นอนว่าจะมีสงครามเวลาไหน ใครๆก็คงอยากจะขายก่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะได้มีเงินไว้ช้อนซื้อหุ้นที่ราคาถูก 

- ประเด็นก็คือไม่มีใครรู้อนาคต หากขายไปแล้วยังไม่เกิดสงคราม แล้วราคาหุ้นวิ่งต่อ แปลว่าจะเสียหุ้นดีในมืออย่างถาวรเลยนะ รับได้ไหม

ถ้ารับจุดนี้ได้ ก็ขายเล่นรอบเก็งกำไรได้ แต่ต้องรู้ว่ามันคือการเก็งกำไรแล้วนะ

บางคนก็จะบอกว่า ถ้าซื้อตัวเดิมไม่ได้ก็รอซื้อตัวอื่นสิ แต่อย่าลืมหาตลาดหุ้นขึ้นต่อ หุ้นภาพรวมมันก็จะแพงขึ้นทุกตัว ไม่มีตัวดีๆถูกๆลงมาให้เก็บง่ายๆ 

การถือเงินสดเสีย 2 ต่อ เสียเพราะเงินเฟ้อ และเสียทั้งกำไรและปันผลที่ควรจะได้จากหุ้นในบริษัทที่เราควรจะได้ถือ 

- แล้วถ้าไม่ขาย หากเกิดสงครามแล้วราคาหุ้นลงล่ะ หากราคาหุ้นลง แต่สินค้าของบริษัทยังขายได้ดีอยู่ ยังมีความแข็งแกร่ง ผู้บริหารก็ยังบริหารได้ดี ไม่มีทีท่าว่าจะล้มละลาย ไม่ได้มีหนี้สินเกินตัว ยอดขายอาจจะซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจไปบ้าง ก็คงไม่มีเหตุผลอะไรให้ขายหุ้นออกมา รวมทั้งในภาวะสงครามเงินเฟ้อจะพุ่งสูง การถือเงินสดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไป 

- งั้นจะขายหุ้นเมื่อไหร่ล่ะ
ขายหุ้นเมื่อราคาแพงเกินมูลค่าไปมากๆ หรือเมื่อเจอตัวอื่น พี่มีโอกาสที่ดีกว่ามากพอสมควร ต้องอย่าลืมว่าหุ้นตัวไหนที่อยู่กับเรามานาน เราจะรู้เราจะเข้าใจถึงแผนการธุรกิจและวิธีการคิดของผู้บริหาร มากกว่าหุ้นตัวใหม่ ดังนั้นหากมีโอกาสใกล้เคียงกัน เราก็เลือกที่จะถือหุ้นตัวเก่า ที่เรารู้จักมันดี

- ถ้าอย่างนั้นแบ่งขายลดพอร์ตบางส่วนดีไหม ก็ทำได้นะ อย่างน้อยที่สุดก็ช่วยลดแรงกดดันทางจิตใจ แต่ถ้าหากมีเงินสดในมือพอสมควรอยู่แล้ว หรือมีรายได้เข้ามาเป็นประจำอยู่แล้ว การแบ่งลดพอร์ตอาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเป็นหลัก