วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554

บันทึกเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554

ปี 2554 ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี และมีพื้นที่ประสบภัยกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมหนักเป็นระยะเวลานาน ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเกิดน้ำท่วมหนักในรอบ 70 ปี หากนับจากเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในปี 2485 อุทกภัยครั้งนี้ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างกนักทั้งทางภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังภาคส่วนอื่นอีกเป็นจำนวนมาก

พื้นที่ประสบอุทกภัยและมีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 จนเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 คน ราษฎรเดือดร้อน 4,039,459 ครัวเรือน 13,425,869 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ท่อระบายน้ำ 777 แห่ง ฝาย 982 แห่ง ทำนบ 142 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 724 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง/หอย 231,919 ไร่ ปศุสัตว์ 13.41 ล้านตัว 



ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดอุทกภัย
 


... ปัจจัยธรรมชาติ ...

1.ฝนที่มาเร็วกว่าปกติและปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2554 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 35% เนื่องมาจากปรากฎการณ์ลานีญา ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 โดยช่วงเดือนมกราคม ดัชนี ENSO เท่ากับ -1.6 ซึ่งเป็นลานีญาค่อนข้างแรง แต่สภาพลานีญาอ่อนตัวลงจนเข้าสู่สภาพเป็นกลาง (ดัชนี ENSO อยู่ระหว่าง -0.5 ถึง 0.5) ช่วงระหว่างเดือนมิ.ย.- ก.ย. และค่อยๆ เริ่มกลับสู่สภาวะลานีญาอีกครั้งช่วงปลายปี  ส่งผลให้ปี 2554 ฝนมาเร็วกว่าปกติตั้งแต่เดือนมีนาคม และมีปริมาณฝนมากกว่าปรกติเกือบทุกเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 277 และ 45 ตามลำดับ

พายุ ปี 2554 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากพายุที่เคลื่อนตัวมาจากทะเลจีนใต้ ทั้งหมด 5 ลูก ได้แก่  พายุโซนร้อนไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก โดยพื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุด โดยช่วงปลายเดือนมิถุนายน มีพายุโซนร้อน "ไหหม่า" พัดถล่มพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถัดมาในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม น้ำในพื้นที่ภาคเหนือยังไม่ทันระบายได้หมด พายุ “นกเตน” ได้พัดถล่มซ้ำพื้นที่เดิมอีก ทำให้ปริมาณน้ำยิ่งเพิ่มสูงขึ้น  หลังจากนี้ได้มีพายุที่ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องอีกคือ พายุ “ไห่ถาง” ที่ส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ในช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2554 ต่อมาคือ พายุ “เนสาด” ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยต่อเนื่องจากพายุ “ไห่ถาง” บริเวณที่ได้รับผลกระทบยังคงเป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคเหนือ ส่วนพายุลูกสุดท้ายคือ พายุนาลแก ที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นและทำให้มีฝนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2554

ร่องมรสุมและลมประจำท้องถิ่น ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณตอนบนและตอนกลางของประเทศ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ นอกจากนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง เป็นปัจจัยที่เสริมให้ปริมาณฝนยิ่งเพิ่มทวีมากขึ้น
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะปริมาณฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังพบอีกว่าปี 2554 ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีมีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณฝนรายเดือนสะสม ของสำนักการระบายน้ำเฉลี่ยคาบ 20 ปี (2534-2553) และ ปริมาณฝนรายเดือนสะสมของกรมอุตุนิยมวิทยาเฉลี่ยคาบ 30 ปี (2524-2553) โดยในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2,257.5 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 20 ปี ของสำนักการระบายน้ำ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,654.4 มิลลิเมตร ส่วนปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 30 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,973.5 มิลลิเมตร

2.ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีข้อจำกัดในการระบายเนื่องจากสภาพน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายเขื่อน

3.น้ำทะเลหนุนบริเวณอ่าวไทย ช่วงปลายเดือนตุลาคม กลางเดือนพฤศจิกายน และปลายเดือนพฤศจิกายน ทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้า
... ปัจจัยทางกายภาพ ...

1. พื้นที่ต้นน้ำ มีป่าไม้รวมทั้งคุณภาพป่าไม้ลดลง

2. โครงสร้างน้ำไม่มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ฝนในปัจจุบัน

3. ระบบโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมมีประสิทธิภาพลดลง จากการทรุดตัวของพื้นที่ ขาดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนไป


4. ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีศักยภาพการป้อนน้ำเข้าสู่ระบบสูบและอุโมงค์ระบายน้ำไม่สมดุลกับศักยภาพของระบบสูบและอุโมงค์
5. สะพานหลายแห่งเป็นปัญหาต่อการระบาย จากขนาดตอม่อใหญ่ ช่องสะพานขวางทางน้ำ

6. สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น คลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว
... ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการน้ำ ...

1. พื้นที่หน่วงน้ำในภาคเหนือตอนล่างขาดการดูแลและถูกรุกล้ำ ทำให้ความจุหน่วงน้ำลดลง เช่น บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ

2. การผันน้ำออกทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นไปอย่างไม่เต็มศักยภาพสูงสุด

3. ปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ไหลมายังเขื่อนพระรามหก ไม่ได้ผันเข้าสู่คลองระพีพัฒน์แยกใต้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้น้ำส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา

4. คลองระพีพัฒน์ไม่สามารถผันน้ำเข้าทุ่งตะวันออกได้ และในทางกลับกัน เรือกสวนไร่นาในทุ่งตะวันออกกลับสูบน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์


5. ปัญหาการบริหารการระบายผ่านแนวรอยต่อที่มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ

6. ประชาชนและองค์กรส่วนย่อย สร้างพนังและคันของตัวเอง ทำให้การระบายในภาพรวมไม่สามารถดำเนินการได้


พื้นที่ประสบภัยและความเสียหาย 

         ปี 2554 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม มีพื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 56,657,770.01 ไร่ หรือ  90,652,432,057.77 ตารางกิโลเมตร จังหวัดที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์  นครศรีธรรมราช พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี พิจิตร และพิษณุโลก ตามลำดับ โดยแต่ละจังหวัดดังกล่าวมีพื้นที่น้ำท่วมเกิน 1 ล้านไร่ 


ตารางแสดงพื้นที่น้ำท่วมรายเดือน (มกราคม – ตุลาคม 2554)

เดือน
พื้นที่ (ตร.ม.)
พื้นที่ (ไร่)
มกราคม
189,607,196.54
118,504.50
กุมภาพันธ์
-
-
มีนาคม
1,963,221,266.48
1,227,013.29
เมษายน
22,925,700,697.00
14,328,562.94
พฤษภาคม
122,616,438.84
76,635.27
มิถุนายน
739,073,358.93
461,920.85
กรกฎาคม
1,415,716,433.11
884,822.77
สิงหาคม
9,100,495,393.35
5,687,809.62
กันยายน
24,604,894,396.54
15,378,059.00
ตุลาคม
29,591,106,876.98
18,494,441.77
รวม
90,652,432,057.77
56,657,770.01
ที่มา :  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)

ตารางแสดงพื้นที่น้ำท่วมรายจังหวัด (มกราคม – ตุลาคม 2554)
จังหวัด
พื้นที่ (ตร.ม.)
พื้นที่ (ไร่)
นครสวรรค์
2,981,350,389.08
1,863,343.99
นครศรีธรรมราช
2,800,436,492.83
1,750,272.81
พระนครศรีอยุธยา
2,326,926,793.27
1,454,329.25
สุพรรณบุรี
2,311,488,270.06
1,444,680.17
พิจิตร
2,218,355,758.68
1,386,472.35
พิษณุโลก
1,930,682,587.79
1,206,676.62
ฉะเชิงเทรา
1,573,730,533.17
983,581.58
กำแพงเพชร
1,510,427,909.50
944,017.44
สุโขทัย
1,499,130,494.51
936,956.56
ร้อยเอ็ด
1,401,157,685.72
875,723.55
ปทุมธานี
1,215,398,660.28
759,624.16
หนองคาย
1,145,715,295.20
716,072.06
ชัยนาท
1,095,082,898.57
684,426.81
สุราษฎร์ธานี
1,072,986,732.88
670,616.71
นครปฐม
1,050,306,841.01
656,441.78
นครนายก
975,289,084.54
609,555.68
นครพนม
958,713,550.71
599,195.97
ปราจีนบุรี
957,648,910.63
598,530.57
เชียงราย
957,350,441.13
598,344.03
นครราชสีมา
874,226,307.27
546,391.44
ลพบุรี
846,571,678.83
529,107.30
อุดรธานี
784,324,945.84
490,203.09
อ่างทอง
772,822,296.87
483,013.94
สกลนคร
770,860,915.12
481,788.07
พัทลุง
764,544,362.91
477,840.23
อุตรดิตถ์
698,122,845.54
436,326.78
อุบลราชธานี
654,988,874.97
409,368.05
สิงห์บุรี
645,873,796.89
403,671.12
เพชรบูรณ์
614,213,277.56
383,883.30
ศรีสะเกษ
575,430,665.31
359,644.17
ขอนแก่น
560,542,693.81
350,339.18
ยโสธร
556,620,089.46
347,887.56
ชัยภูมิ
550,804,123.28
344,252.58
พะเยา
539,347,761.36
337,092.35
สระบุรี
509,963,912.70
318,727.45
ลำปาง
491,887,424.24
307,429.64
อุทัยธานี
461,187,841.85
288,242.40
สุรินทร์
422,253,381.37
263,908.36
กรุงเทพมหานคร
414,681,474.10
259,175.92
นนทบุรี
414,435,764.35
259,022.35
สงขลา
369,305,246.27
230,815.78
มหาสารคาม
356,298,325.48
222,686.45
กาฬสินธุ์
338,594,409.89
211,621.51
เชียงใหม่
335,286,884.19
209,554.30
ชลบุรี
273,942,246.02
171,213.90
บุรีรัมย์
244,049,560.86
152,530.98
สมุทรปราการ
233,892,189.83
146,182.62
ตรัง
202,202,690.27
126,376.68
กาญจนบุรี
195,408,051.85
122,130.03
อำนาจเจริญ
173,667,967.94
108,542.48
ราชบุรี
167,964,938.23
104,978.09
แพร่
142,417,819.58
89,011.14
ตาก
138,816,400.68
86,760.25
มุกดาหาร
122,017,191.15
76,260.74
น่าน
116,019,560.19
72,512.23
ลำพูน
77,162,760.37
48,226.73
เพชรบุรี
61,336,953.33
38,335.60
หนองบัวลำภู
56,483,882.08
35,302.43
ชุมพร
29,761,223.74
18,600.76
ปัตตานี
28,820,762.42
18,012.98
จสระแก้ว
27,824,590.46
17,390.37
แม่ฮ่องสอน
23,210,772.09
14,506.73
ระยอง
15,835,759.44
9,897.35
เลย
10,079,455.26
6,299.66
กระบี่
8,974,563.43
5,609.10
พังงา
7,859,130.94
4,911.96
สตูล
4,420,243.11
2,762.65
สมุทรสงคราม
2,614,637.34
1,634.15
สมุทรสาคร
961,539.29
600.96
รวมพื้นที่น้ำท่วมครั้งเดียว
46,256,432,044.82
28,910,270.03
พื้นที่น้ำท่วมซ้ำ
44,396,000,012.95
27,747,499.98
รวมพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด
90,652,432,057.77
56,657,770.01
ที่มา :  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)




ายงานด้านความเสียหายจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

เดือนมกราคม  จังหวัดที่ประสบภัยทั้งสิ้น 38 จังหวัด 373 อ่าเภอ 2,723 ต่าบล 23,599 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,747,106 ครัวเรือน 5,647,262 คน จังหวัดที่ประสบอุทกภัย ได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี ล่าพูน เชียงใหม่ สระแก้ว นครนายก ก่าแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวล่าภู ปราจีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการ นครสวรรค์ อุทัยธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นนทบุรี ปทุมธานี และ ฉะเชิงเทรา  มีผู้เสียชีวิต 104 ราย พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าเสียหาย 4,128,373 ไร่

เดือนกุมภาพันธ์ ไม่มีรายงานด้านอุทกภัย

เดือนมีนาคม  จังหวัดที่ประสบภัยทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส 100 อาเภอ 646 ตาบล 5,229 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 581,085 ครัวเรือน 2,009,134 คน มีผู้เสียชีวิต 45 ราย (นครศรีธรรมราช 19 ราย สุราษฎร์ธานี 10 ราย พัทลุง 2 ราย กระบี่ 9 ราย ชุมพร 2 ราย ตรัง 2 ราย พังงา 1 ราย) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 24 หลัง บางส่วน 2,608 หลัง สิ่งสาธารณประโยชน์เสียหายเบื้องต้น ถนน 3,133 สาย ท่อระบายน้า 321 แห่ง ฝาย 52 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 295 แห่ง วัด/โรงเรียน 340 แห่ง สถานที่ราชการ 76 แห่ง ด้านการเกษตร เกษตรกรเดือดร้อน 176,518 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 1,049,634 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 311,383 ไร่ พืชไร่ 53,577 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 684,674 ไร่ สาหรับยางพารา ประมาณการพื้นที่คาดว่าจะเสียหายจากดินโคลนถล่มไม่เกิน 50,000 ด้านปศุสัตว์ เกษตรกรเดือดร้อน 89,217 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 4,360,518 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 181,415 ตัว สุกร/แพะ/แกะ 665,643 ตัว สัตว์ปีก 3,513,460 ตัว แปลงหญ้า 5,304 ไร่ ด้านประมง เกษตรกรเดือดร้อน 22,909 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้าได้รับความเสียหาย 36,265 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 58,168 ไร่ และ 7,421 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 107,842 ตารางเมตร เรือประมงประสบภัย 62 ลำ
เดือนเมษายน มีพื้นที่ประสบภัย รวม 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง     สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส 100 อาเภอ 651 ตาบล 5,430 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 64 ราย (นครศรีธรรมราช 26 ราย พัทลุง 5 ราย สุราษฎร์ธานี 15 ราย ตรัง 2 ราย ชุมพร 3 รายกระบี่ 12 ราย พังงา 1 ราย)ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 628,998 ครัวเรือน 2,094,595 คน ทางด้านทรัพย์สิน มีบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 813 หลัง เสียหายบางส่วน 16,664 หลัง ถนน 6,013 สาย ท่อระบายน้า 922 แห่ง ฝาย/ทานบ 227 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 748 แห่ง วัด/โรงเรียน/มัสยิด 694 แห่ง สถานที่ราชการ 179 แห่ง พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 1,106,150 ไร่ สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 5,791,175 ตัว และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้าได้รับความเสียหาย 37,935 บ่อ ด้านการเกษตร (ข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 18 เมษายน 2554) มีพื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 12 จังหวัด เกษตรกรเดือดร้อน 189,649 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 1,106,150 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 319,955 ไร่ พืชไร่ 59,282 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 726,913 ไร่ ด้านปศุสัตว์ ประสบภัย 9 จังหวัด เกษตรกรเดือดร้อน 118,877 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 5,791,175 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 204,265 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 240,030 ตัว สัตว์ปีก 5,346,880 ตัว แปลงหญ้า 5,304 ไร่ ด้านประมง ประสบภัยทั้งสิ้น 10 จังหวัด เกษตรกรเดือดร้อน 22,866 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้าได้รับความเสียหาย 37,935 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 58,918 ไร่ และ 6,608 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 133,398 ตารางเมตร เรือประมงประสบภัย 62 ลำ

เดือนพฤษภาคม มีพื้นที่ประสบภัย รวม 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลาปาง ลาพูน แพร่ สุโขทัย นครสวรรค์ พิษณุโลก และนครราชสีมา
ครั้งที่ 1 พื้นที่ประสบภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลาปาง ลาพูน แพร่ และสุโขทัย โดยเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 54 เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันที่จังหวัดลาปาง ในพื้นที่ 9 อาเภอ 30 ตาบล 141 หมู่บ้าน ได้แก่ อาเภอเมืองลาปาง แจ้ห่ม แม่พริก เถิน เสริมงาม สบปราบ เมืองปาน แม่ทะ และอาเภอแม่เมาะ ที่จังหวัดลำพูน เกิดน้าป่าไหลหลาก และน้าท่วมฉับพลันในพื้นที่อาเภอลี้ 7 ตาบล 84 หมู่บ้าน ได้แก่ ตาบลดงดา นาทราย ลี้ ศรีวิชัย แม่ตืน ป่าไผ่ และตาบลแม่ลาน  ช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. 54 เกิดน้าป่าไหลหลากเข้าท่วมถนนสายอาเภอลอง – แพร่ พื้นที่อาเภอลอง จ.แพร่ บริเวณกิโลเมตรที่ 20 สาเหตุจากถนนขวางทางน้าทาให้น้าระบายไม่ทัน วันที่ 11 พ.ค. 54 เกิดน้าเอ่อล้นจากแม่น้ายมไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ายมในพื้นที่อาเภอเมืองสุโขทัย ที่ตาบลปากพระ
ครั้งที่ 2 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลาปาง และจังหวัดนครสวรรค์ โดยในวันที่ 19 พ.ค. 54 เกิดฝนตกหนักมากต่อเนื่องทาให้น้าป่าจากห้วยขุนทะไหลหลากเข้าท่วมบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตาบลพระบาท อาเภอเมืองลาปาง และท่วมถนนสาย ลาปาง-แม่เมาะ ช่วงบ้านผาลาดซึ่งเป็นพื้นที่ต่า ระดับน้าสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ความเสียหายเบื้องต้นพบว่า ส่วนใหญ่เป็นรั้วบ้าน กาแพงบ้าน คันคลอง พนังกั้นน้า ถนนในหมู่บ้านและพืชผลทางเกษตร และในวันที่ 19 พ.ค. 54 เกิดฝนตกติดต่อกันหลายวันทาให้น้าจากเทือกเขาห้วยขาแข้ง ไหลบ่าลงมาเข้าท่วมถนนสายนครสวรรค์ – ลาดยาว บ้านดอนโม่ ตาบลสระแก้ว และบ้านหนองนมวัว ตาบลหนองนมวัว อาเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ครั้งที่ 3 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพิษณุโลก โดยในวันที่ 26 พ.ค. 54 เกิดฝนตกหนักมากในพื้นที่อาเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 123.5 มม. ทาให้น้าป่าจากเนินเขาในพื้นที่ตาบลโนนรัง ไหลลงมาท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ตาบลโนนยอ และตาบลชุมพวง และในวันที่ 30 พ.ค. 54 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ตาบลชมพู อาเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 131.0 มม. ทาให้น้าป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่บ้านน้าปาด หมู่ที่ 2 ตาบลชมพู ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ประมาณ 100 ครัวเรือน ในเบื้องต้นไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต

เดือนมิถุนายน  สถานการณ์อุทกภัย อันเนื่องมาจากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น“ไหหม่า” (Haima) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก น่าน พะเยา และจังหวัดสุโขทัย รวม 30 อำเภอ 134 ตำบล 898 หมู่บ้าน 37,147 ครัวเรือน 118,856 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 53,227 ไร่ ถนน 63 สาย ท่อระบายน้ำ 35 แห่ง ฝ่าย/ทำนบ 55 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 45 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 208 บ่อ ปศุศัตว์ 3,917 ตัว มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (อ.แม่สอด จ.ตาก) มีผู้สูญหาย 1 ราย (อ.เวียงสา จ.น่าน)

เดือนกรกฎาคม   พื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงราย ตาก พิจิตร พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา และจังหวัดสุโขทัย รวม 46 อำเภอ 270 ตำบล 1,918 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ได้แก่ จังหวัดตาก (อ.แม่สอด 1 ราย) และจังหวัดน่าน 2 ราย (อ.เวียงสา 1 ราย และ อ.ปัว 1 ราย)

เดือนสิงหาคม  เกิดอุทกภัยและมีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน รวม 36 จังหวัด 281 อาเภอ 1,875 ตาบล 15,442 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,130,281 ครัวเรือน 3,871,098 คน มีผู้เสียชีวิต 54 ราย จากสถานการณ์สาคัญ 2 สถานการณ์ คือ สถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากพายุโซนร้อน “นกเตน” (NOCK - TEN) และร่องมรสุมกาลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 30 จังหวัด 258 อาเภอ 1,766 ตาบล 14,856 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดชัยนาท ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,041,639 ครัวเรือน 3,578,168 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 42 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 13,460 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 2,239,198 ไร่ ถนน 6,004 สาย ท่อระบายน้ำ 1,028 แห่ง ฝาย 647 แห่ง ทำนบ 21 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 525 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 23,299 บ่อ ปศุสัตว์ 91,041 ตัว มีผู้เสียชีวิต 52 ราย (เสียชีวิต 1 ราย ที่ จ.อุดรธานี สกลนคร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์, เสียชีวิต 2 ราย ที่ จ.ตาก นครพนม ร้อยเอ็ด, เสียชีวิต 3 ราย ที่ จ.เชียงใหม่, เสียชีวิต 4 ราย ที่ จ.ปราจีนบุรี, เสียชีวิต 5 ราย ที่ จ.พิษณุโลก, เสียชีวิต 6 ราย ที่ จ.สุโขทัย, เสียชีวิต 7 ราย ที่ จ.แม่ฮ่องสอน,เสียชีวิต 8 ราย ที่ จ.แพร่ พิจิตร) สูญหาย 1 คน (จ.แม่ฮ่องสอน สาเหตุจากดินโคลนถล่ม)

เดือนกันยายน มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ รวม 150 อาเภอ 1078 ตาบล 7750 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 559,895 ครัวเรือน 1,841,385 คน และ มีผู้เสียชีวิต 205 ราย สูญหาย 2 คน(จ.แม่ฮ่องสอน1 คน จ.อุตรดิตถ์ 1 คน) จากสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม – 31 กันยายน 2554  เนื่องจากจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตนและร่องมรสุมกาลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย รวมถึงเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่ง มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 58 จังหวัด ทั้งนี้ มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู 35 จังหวัด

เดือนตุลาคม  ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และจังหวัดกรุงเทพมหานคร รวม 147 อาเภอ 1,132 ตาบล 8,319 หมู่บ้าน 32 เขต โดยพื้นที่ประสบอุทกภัยและมีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 63 จังหวัด ทั้งนี้ มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู 37 จังหวัด มีผู้เสียชีวิต 384 ราย สูญหาย 2 คน ราษฎรเดือดร้อน 559,895 ครัวเรือน 1,841,385 คน

รายงาน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ใน 2 พื้นที่ คือ ประเทศไทยตอนบน 15 จังหวัด และภาคใต้ 8 จังหวัด รวม 23 จังหวัด

- สรุปสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2554 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2554 มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด 684 อำเภอ 4,917 ตำบล 43,600 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี เลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,039,459 ครัวเรือน 13,425,869 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ท่อระบายน้ำ 777 แห่ง ฝาย 982 แห่ง ทำนบ 142 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 724 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง/หอย 231,919 ไร่ ปศุสัตว์ 13.41 ล้านตัว มีผู้เสียชีวิต 657 ราย (44 จังหวัด)  สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย) ดังนี้ จังหวัดอุดรธานี สกลนคร ตราด อำนาจเจริญ ยโสธร จังหวัดละ 1 คน อ่างทอง 16 คน นครพนม ตาก พังงา ลำปาง นครนายก  จังหวัดละ 2 คน สุโขทัย 18 คน  ชลบุรี 3 คน  ปราจีนบุรี 22 คน สระแก้ว ร้อยเอ็ด  สุรินทร์   จังหวัดละ 4 คน  ชัยนาท  23 คน  อุทัยธานี มหาสารคาม  จังหวัดละ 5 คน  นครปฐม 2 คน  ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ  จังหวัดละ 6 คน พิษณุโลก 25 คน  แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นนทบุรี จังหวัดละ 7 คน สิงห์บุรี 31 คน  แพร่  8 คน  สุพรรณบุรี  39 คน  อุบลราชธานี 9 คน  ลพบุรี 42 คน ขอนแก่น   10 คน  พิจิตร  53 คน  เชียงใหม่   13 คน  นครสวรรค์  72  คน ปทุมธานี 14 คน  อยุธยา  139 คน  สระบุรี  15 คน

- ประเทศไทยตอนบนยังคมมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด 104 อำเภอ 773 ตำบล 4,898 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,800,043 ครัวเรือน 4,827,958 คน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู จำนวน 50 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิจิตร อุทัยธานี อุดรธานี ชัยภูมิ หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สุรินทร์ มหาสารคาม ขอนแก่น สกลนคร ระยอง ชลบุรี  ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต จันทบุรี สตูล ตรัง สุราษฎร์ธานี ตราด สระแก้ว ยโสธร อำนาจเจริญ เลย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ราชบุรี กำแพงเพชร ตาก สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานีและจังหวัดร้อยเอ็ด

- ภาคใต้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 8 จังหวัด 61 อำเภอ 319 ตำบล 1,798 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 134,853 ครัวเรือน 437,312 คน ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส สงขลา ยะลา และจังหวัดปัตตานี พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 115,611 ไร่ วัด/มัสยิส 7 แห่ง โรงเรียน 26 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง ถนน 736 สาย สะพาน 107 แห่ง ฝาย 19 แห่ง ปศุสัตว์ 5,551 ตัว ประมง 674 บ่อ เสียชีวิต 9 ราย  (จ.พัทลุง 2 จ.สงขลา 2 จ.ยะลา 2 จ.นราธิวาส 3) สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่การฟื้นฟูแล้ว 2 จังหวัด คือ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสุราษฎร์ธานี




สรุปข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554

  • ปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำยมที่ไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในปี 2554 มีมากถึง 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • ประตูระบายน้ำพลเทพ และประตูระบายน้ำบรมธาตุ ไม่ได้เปิดรับน้ำเพื่อผันน้ำเข้าสู่ทุ่งตะวันตก แม้จะมีการเปิดรับน้ำมากขึ้นในภายหลัง แต่มีการควบคุมน้ำให้อยู่เฉพาะในลำน้ำ ไม่มีการปล่อยน้ำเข้าทุ่งเพื่อให้เป็นแก้มลิงชะลอน้ำ
  • การปล่อยให้ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี พังทลายโดยไม่มีการรีบซ่อมแซม ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าสู่จังหวัดลพบุรีมากเกินไป และปริมาณน้ำทั้งหมดได้ไหลกลับมายังอำเภอพระนครศรีอยุธยาทางแม่น้ำลพบุรี
  • ปริมาณน้ำจำนวนมากที่ระบายจากเขื่อนป่าสักที่ไหลมายังเขื่อนพระรามหก ไม่มีการผันน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์แยกใต้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา
  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา รับปริมาณน้ำมากเกินไปทั้งจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี
  • ปริมาณน้ำที่ไหลมารวมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามากเกินไป ทำให้น้ำจำนวนมากไหลย้อนข้ามประตูประบายน้ำคลองข้าวเม่า เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และไหลไปรวมกันกับปริมาณน้ำที่ล้นมาจากแม่น้ำป่าสัก เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร สวนอุตสาหกรรมบางกระดี และไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครทางทิศเหนือ
  • คลองระพีพัฒน์ ไม่สามารถผันน้ำเข้าสู่ทุ่งตะวันออกได้ ในทางกลับกัน เรือกสวนไร่นาที่อยู่ในพื้นที่ทุ่งตะวันออกกลับสูบน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ทำให้คลองระพีพัฒน์รับน้ำมากเกินไป
  • พื้นที่รองรับน้ำหลากของกรุงเทพมหานครเกิดการเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น หมู่บ้านจัดสรรและพื้นที่อุตสาหกรรม ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเข้าสู่ระบบสถานีสูบน้ำริมชายทะเลได้ ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่อยู่ทางด้านเหนือกรุงเทพมหานคร บริเวณอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี แขตสายไหมและเขตคลองสามวา ไม่สามารถระบายลงสู่ระบบคลองไปยังสถานีสูบชายทะเลได้
  • มีการปลูกสิ่งก่อสร้าง รุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำ ลำคลอง การขาดการดูแลรักษาแม่น้ำ ลำคลอง ส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่คลองระบายน้ำสำคัญอย่างเช่น คลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว มีการรุกล้ำลำน้ำจนคลองเหลือขนาดเพียงครึ่งเดียวจากเดิม
  • สะพานหลายแห่ง กลายเป็นปัญหาในการระบายน้ำ ทั้งตอหม้อสะพานที่มีขนาดใหญ่เกินไป ช่องสะพานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการไหลของน้ำ ที่สำคัญสะพานในแหล่งชุมชนเกือบทุกแห่ง ช่องด้านข้างทั้ง 2 ของสะพานจะเกิดการรุกล้ำ จนมีเพียงช่องกลางสะพานเพียงช่องเดียวที่สามารถระบายน้ำได้
  • ประชาชน และองค์กรในส่วนย่อย มีการสร้างพนังและคันกั้นน้ำของตัวเอง ทำให้การระบายน้ำในภาพรวมไม่สามารถดำเนินการได้ประสิทธิภาพ




ปรากฎการณ์ลานีญา  


ปรากฏการณ์ลานีญาเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก บริเวณใกล้ประเทศฟิลิปปินส์สูงกว่าปรกติ ส่วนทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปรกติ ดูได้จากค่าดัชนี ONI ที่มีค่าน้อยกว่า -0.5 โดยจะส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกมากกว่าปรกติ สำหรับในปี 2553 ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นช่วงกลางปีและต่อเนื่องจนถึงกลางปี 2554 โดยมีกำลังแรงช่วงปลายปี 2553 จนถึงต้นปี 2554 จากนั้นสภาพลานีญาอ่อนตัวลงจนเข้าสู่สภาพเป็นกลาง (ดัชนี ENSO อยู่ระหว่าง -0.5 ถึง 0.5) ช่วงระหว่างเดือนมิ.ย.- ก.ย. และค่อยๆ เริ่มกลับสู่สภาวะลานีญาอีกครั้งช่วงปลายปี ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกมากกว่าปรกติโดยเฉพาะช่วงปลายปี 2553 จนถึงกลางปี 2554 อีกทั้งยังทำให้ฝนมาเร็วกว่าปกติ โดยในปี 2554 ฝนเริ่มตกตั้งแต่เดือนมีนาคม
ตาราง ดัชนี ONI (ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เบี่ยงเบนไปจากปกติทุก ๆ 3 เดือนในบริเวณ Nino 3.4 [5oN-5oS, 120o-170oW]) สีแดง หมายถึง ปรากฏเอลนิโญ (ค่ามากกว่า 0.5 oC) ส่วนสีน้ำเงิน หมายถึง ปรากฏการณ์ลานีญา (ค่าน้อยกว่า -0.5 oC) โดยต้องมีค่ามากกว่า +/- 0.5oC ติดต่อกันอย่างน้อย 5 ครั้ง


ที่มา: http://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/ensostuff/ensoyears.shtml 




พายุที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในปี 2554
ปี 2554 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากพายุที่เคลื่อนตัวมาจากทะเลจีนใต้ ทั้งหมด 5 ลูก ได้แก่  พายุโซนร้อนไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก โดยพื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุด โดยช่วงปลายเดือนมิถุนายน มีพายุโซนร้อน "ไหหม่า" พัดถล่มพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ถัดมาในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม น้ำในพื้นที่ภาคเหนือยังไม่ทันระบายได้หมด พายุ “นกเตน” ได้พัดถล่มซ้ำพื้นที่เดิมอีก ทำให้ปริมาณน้ำยิ่งเพิ่มสูงขึ้น  หลังจากนี้ได้มีพายุที่ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องอีกคือ พายุ “ไห่ถาง” ที่ส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ในช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2554 ต่อมาคือ พายุ “เนสาด” ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยต่อเนื่องจากพายุ “ไห่ถาง” บริเวณที่ได้รับผลกระทบยังคงเป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคเหนือ ส่วนพายุลูกสุดท้ายคือ พายุนาลแก ที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นและทำให้มีฝนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2554
พายุโซนร้อน “ไหหม่า”

พายุโซนร้อน “ไหหม่า” ในทะเลจีนใต้ตอนบนเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงค่ำของวันที่ 24 มิ.ย. 54 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น และเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวพร้อมกับอ่อนกำลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อนเคลื่อนเข้าภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่าน และสลายตัวไปในพื้นที่ของภาคเหนือเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 54 อิทธิพลของพายุลูกนี้ทำให้มีฝนตกหนาแน่นเป็นบริเวณกว้างในภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และตากมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในช่วงวันที่ 25 - 26 มิ.ย. 54 ก่อให้เกิดน้ำท่วม
ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง


                              พายุ “ไหหม่า” ระหว่างวันที่ 15-24 มิถุนายน 2554

 แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 23-27 มิถุนายน 2554 และแผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 23-27 มิถุนายน 2554


พายุโซนร้อน “นกเตน” 

พายุโซนร้อน “นกเตน” (NOCK-TEN) ที่มีแหล่งกำเนิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลัง แรงในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 และได้ทวีกำลังแรงขึ้นตามลำดับจนกระทั่งเป็น พายุโซนร้อนแล้วเคลื่อนผ่านเกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลาง จากนั้นเคลื่อนตัวทางทิศ ตะวันตกค่อนไปทางเหนือผ่านเกาะไหหลำ และอ่าว ตังเกี๋ยขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 30 กรกฎาคม 2554 จากนั้นเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวพร้อมกับอ่อน กำลังเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านในวันเดียวกัน แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุม ภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่อนสอนในเวลาต่อมา
                                 พายุ “นกเตน” ระหว่างวันที่ 24-30 กรกฎาคม 2554
 
แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 30 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2554 และ แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 23 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2554
พายุโซนร้อน “ไห่ถาง”

พายุโซนร้อน “ไห่ถาง” (HAITANG)  มีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2554 และวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 พายุนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม แล้วอ่อนกาลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวแล้วอ่อนกาลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ากาลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทยในวันที่ 28 กรกฎาคม 2554

                                     พายุ “ไห่ถาง” ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน 2554
แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2554 และ แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2554 

พายุใต้ฝุ่น “เนสาด” 

วันที่ 28 กันยายน 2554 พายุไต้ฝุ่น“เนสาด” (NESAT) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.5 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กม./ชม. เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 22 กม./ชม. ต่อมาในวันที่ 29 กันยายน 2554 พายุนี้อยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 19.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.1 องศาตะวันออก หรือห่างจากเกาะไหหลำ ด้านตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กม./ชม. และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 25 กม./ชม. ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน 2554 พายุลูกนี้อยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ย มีศูนย์กลาง อยู่ห่างประมาณ 120 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 21.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.3 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในวันที่ 1 ตุลาคม 2554 พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ อย่างช้าๆ หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในระยะต่อมา พายุลูกนี้ส่งผลทำให้ด้านตะวันออกของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม


                             พายุ “เนสาด” ระหว่างวันที่ 23-30 กันยายน 2554

แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 29 กันยายน – 3 ตุลาคม 2554 และ แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 29 กันยายน – 3 ตุลาคม 2554

พายุโซนร้อน “นาลแก”

วันที่ 3 ตุลาคม 2554 พายุโซนร้อน “นาลแก” บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 450 กิโลเมตร ทางตะวันออก ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อมาในวันที่ 4 ตุลาคม 2554 พายุลูกนี้ยังคงอยู่ที่บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 100 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ ละติจูด 18.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.1 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 พายุดีเปรสชัน “นาลแก” เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ย มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองวิญ ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ หลังจากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในเวลาต่อมา

                             พายุ “นาลแก” ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 5 ตุลาคม 2554

แผนภาพฝนจาก NASA แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคม 2554 และ แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคม 2554
รายละเอียดเพิ่มเติมุ :
1.ภาพเส้นทางพายุ : http://weather.unisys.com/hurricane/index.php
2.แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมจาก NASA : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml#description
3.แผนภาพฝนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยา : http://www.thaiwater.net/hydro_report/gallery/index.php



ร่องมรสุม


ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณตอนบนและตอนกลางของประเทศ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ และการที่มีร่องมรสุมพาดผ่านอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการได้รับผลกระทบจากพายุถึง 5 ลูก ทำให้ปริมาณน้ำที่เข้าท่วมหลากในแต่ละพื้นที่ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น   

เดือนพฤษภาคม  มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศ ช่วงวันที่ 13-20 พฤษภาคม 2554 และในช่วงวันที่ 23-31 พฤษภาคม มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศและเคลื่อนตัวขึ้นไปทางตอนบนของประเทศในช่วงปลายเดือน ร่องมรสุมทั้งสองครั้งทำให้เกิดฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก 
เดือนมิถุนายน มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย 3 ครั้ง คือ ช่วงวันที่ 1-2 มิถุนายน 2554 พาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศ ช่วงวันที่ 13-19 มิถุนายน 2554 พาดผ่านทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงวันที่ 28-29 มิถุนายน 2554 พาดผ่านบริเวณประเทศพม่าและบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย 
เดือนกรกฎาคม  มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย 2 ครั้ง คือ ช่วงวันที่ 11-17 กรกฎาคม 2554 พาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และช่วงวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2554 พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นกัน แต่ได้เลื่อนต่ำลงมาจากครั้งแรกเล็กน้อย 
เดือนสิงหาคม  มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย 5 ครั้ง คือ ช่วงวันที่ 1-3 สิงหาคม 2554 พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงวันที่ 7-8 สิงหาคม ยังคงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ได้เลื่อนขึ้นสู่ตอนบนเล็กน้อย ต่อมามีร่องมรสุมพาดผ่านอีกครั้งช่วงวันที่ 10-12 สิงหาคม 2554 ช่วงวันที่ 15-22 สิงหาคม 2554 และช่วงวันที่ 24-30 สิงหาคม 2554 โดยยังคงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยร่องมรสุมมีการเคลื่อนลดต่ำลงด้านล่างสลับกับการเคลื่อนขึ้นสู่ด้านบน
เดือนกันยายน มีร่องมรสุมพาดผ่านพาดประเทศไทยเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ช่วงวันที่ 4-25 กันยายน 2554 โดยร่องมรสุมมีการเคลื่อนตัวสลับขึ้นลง ทำให้พาดผ่านทั้งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

เดือนตุลาคม  มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนกลางของประเทศ ช่วงวันที่ 3-17 ตุลาคม 2554 ส่งผลให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีฝนตกค่อนข้างมาก


ตัวอย่างภาพแผนที่อากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเล จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF 
ช่วงวันที่ 10 - 12 กันยายน 2554 ที่มีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง
ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน บริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ ปริมาณน้ำ
ในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้เหตุการณ์น้ำท่วมยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

10 ก.ย. 54

11 ก.ย. 54

12 ก.ย. 54

หมายเหตุ : ตัวเลขค่าน้อย หมายถึง ยิ่งมีฝนมาก ตัวเลขค่ามาก หมายถึง อากาศยิ่งหนาวมาก

รายละเอียดเพิ่มเติมุ :
ภาพแผนที่อากาศ : www.thaiwater.net , http://live1.haii.or.th/wrf_image/weather_map.php



มรสุมตะวันตกเฉียงใต้

เดือนพฤษภาคม  มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เริ่มพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตั้งแต่ต้นเดือน ทำให้มีฝนตกต่อเนื่องและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป

เดือนมิถุนายน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดเดือน โดยมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ

เดือนกรกฎาคม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมเกือบตลอดเดือน

เดือนสิงหาคม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดเดือน ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดเดือน โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายงานฝนหนักถึงหนักมาก เป็นระยะๆ จนก่อให้เกิดน้ำท่วมต่อเนื่องในหลายพื้นที่

เดือนกันยายน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดเดือน

เดือนตุลาคม ในระยะครึ่งแรกของเดือนร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับในช่วงต้นเดือนพายุไต้ฝุ่น “เนสาด” (NESAT) และพายุโซนร้อน “นาลแก” (NALGAE) ได้เคลื่อนเข้ามาและสลายตัวบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงเกือบตลอดช่วง ส่วนในระยะครึ่งหลังของเดือนบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกในระยะครึ่งแรกของเดือน จากนั้นฝนและอุณหภูมิลดลง

ภาพตัวอย่างแผนที่ความเร็วลม ที่ระดับ 1.5 กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเล จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF ช่วงวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2554
อิทธิพลจากพายุโซนร้อน "นกเตน" ส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น
โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554


29 ก.ค. 54

30 ก.ค. 54

31 ก.ค.54
รายละเอียดเพิ่มเติมุ :ภาพแผนที่ความเร็วลม : www.thaiwater.net, http://live1.haii.or.th/wrf_image/weather_map.php



ปริมาณฝน


ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปี


ปี 2544 ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,781 มิลลิเมตร ซึ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณฝนสะสมของปี 2549-2553 และมากกว่าปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยระหว่างปี 2493-2540 และเมื่อพิจารณาเส้นกราฟของปี 2554 ยังพบอีกว่า ปริมาณฝนสะสมเริ่มมีค่ามากกว่าปีอื่น ๆ ตั้งแต่เดือนมีนาคม



แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายปีเทียบค่าเฉลี่ย

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายปีที่สังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปี 2554 ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศในแต่ละภาคมีปริมาณมากกว่าค่าเฉลี่ยปี 2549-2540 อีกทั้งยังมากกว่าปริมาณฝนรวมของปี 2549 และปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก และเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมหนัก โดยปริมาณฝนรวมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤจิกายน 2554 อยู่ที่ 1,781 มิลลิเมตร มากกว่าค่าเฉลี่ย 407 มิลลเมตร และมากกว่าปี 2549 และ 2553 อยู่ 247 และ 345 มิลลิเมตร ตามลำดับ 

                       

ค่าเฉลี่ย (2493-2540)
(1,374 มม./ปี)

2549
(1,534 มม./ปี)

2553
(1,436 มม./ปี)

2554
(1,781)* 
*คำนวณตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2554

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนเทียบค่าเฉลี่ย 

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนที่สังเคราะห์จากข้อมูลฝนรายวันของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบกับปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยรายเดือนปี 2493-2540 ปี 2549 และปี 2553 สามารถสรุปได้ดังนี้

เดือนมกราคม  ปี 2554 มีปริมาณฝนค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักบริเวณดังกล่าว ตรงกันข้ามกับพื้นที่ตอนบนของประเทศที่ปริมาณฝนต่ำมาก เป็นผลทำให้เกิดภัยแล้ง     

เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 ปริมาณฝนโดยรวมทั้งประเทศมีค่าค่อนข้างต่ำ แต่หากพิจารณาเป็นพื้นที่จะพบว่าบริเวณภาคใต้มีฝนลดลงค่อนข้างมาก ส่วนตอนบนของประเทศเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้นจากเดินมกราคมเล็กน้อย

เดือนมีนาคม ปี 2554 ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ค่อนข้างมาก และปริมาณฝนรวมทั้งประเทศมีค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 48 ปี ปี 2549 และปี 2553 โดยพื้นที่ภาคใต้มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก ส่วนตอนบนของประเทศมีปริมาณฝนมากทางด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือตลอดแนวยาวลงมาจนถึงบริเวณภาคกลางตอนล่าง

เดือนเมษายน ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศปี 2554 ยังคงมีค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับปีอื่น และในเดือนนี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือเริ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาค

เดือนพฤษภาคม
 ปี 2554 ยังคงมีปริมาณฝนสะสมสูงที่สุด และมีฝนตกกระจายตัวค่อนข้างมากในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เดือนมิถุนายน
 ปี 2554 บริเวณภาคกลาง ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือปริมาณฝนลดลง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่วนภาคตะวันออก บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเดือนนี้ ปี 2554 ยังคงมีปริมาณฝนรวมทั้งประเทศมากที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่น

เดือนกรกฎาคม
 ปี 2554 ยังคงมีปริมาณฝนสะสมสูงที่สุด โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วค่อนข้างมาก

เดือนสิงหาคม
 ปี 2554 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมค่อนข้างมาก โดยปริมาณฝนรวมของเดือนนี้ มีค่าอยู่ที่ 288.84 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าเดือนสิงหาคม ปี 2553 แต่มากกว่าค่าเฉลี่ย 48 ปี และมากกว่าปี 2549

เดือนกันยายน
 ปี 2554 ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศ อยูที่ 314.94 มิลลิเมตร ซึ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่น โดยมีฝนมากบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

เดือนตุลาคม
 ปี 2554 ปริมาณฝนลดลงจากเดือนกันยายนค่อนข้างมาก โดยยังคงมีฝนตกกระจุกตัวเป็นบางแห่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องจากเดือนกันยายน สำหรับปริมาณฝนรวมทั้งประเทศเดือนนี้ ปี 2554 มีปริมาณฝนรวมมากกว่ากว่าเฉลี่ย 40 ปี แต่น้อยกว่าปี 2549 และ 2553

เดือนพฤศจิกายน
 ปี 2554 บริเวณตอนบนของประเทศปริมาณฝนลดลงค่อนข้างมาก ส่วนภาคใต้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก แต่ยังคงน้อยกว่าปี 2553

จะเห็นได้ว่าปี 2554 เริ่มมีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งเป็นฝนที่มาเร็วกว่าปกติ โดยมีฝนมากด้านตะวันตกของภาคเหนือ เดือนต่อมามีฝนมากด้านตะวันออกของภาคเหนือ และหลังจากนั้นก็มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในทุกเดือนและกระจายตัวเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ  จนถึงเดือนกันยายนที่มีฝนมากที่สุด และเริ่มมีฝนลดลงในเดือนตุลาคม
มกราคม

เฉลี่ย2493-2540 
15.36 มม./เดือน

2549 
10.08 มม./เดือน

2553 
36.98 มม./เดือน

2554
28.45 มม./เดือน
กุมภาพันธ์

เฉลี่ย2493-2540
20.18 มม./เดือน

2549 
30.5 มม./เดือน

2553 
11.94 มม./เดือน

2554
16.21 มม./เดือน
มีนาคม

เฉลี่ย2493-2540
38.70 มม./เดือน

2549 
58.47 มม./เดือน

2553 
19.15 มม./เดือน

2554
145.74 มม./เดือน
เมษายน

เฉลี่ย2493-2540
70.61 มม./เดือน

2549 
105.16 มม./เดือน

2553 
53.36 มม./เดือน

2554
102.44 มม./เดือน
พฤษภาคม

เฉลี่ย2493-2540
174.05 มม./เดือน

2549 
196.40 มม./เดือน

2553 
110.98 มม./เดือน

2554
211.95 มม./เดือน
มิถุนายน

เฉลี่ย2493-2540
169.90 มม./เดือน

2549 
175.76 มม./เดือน

2553 
148.47 มม./เดือน

2554
190.95 มม./เดือน
กรกฎาคม

เฉลี่ย2493-2540
182.82 มม./เดือน

2549 
215.11 มม./เดือน

2553 
163.39 มม./เดือน

2554
242.74 มม./เดือน
สิงหาคม

เฉลี่ย2493-2540
219.26 มม./เดือน

2549 
244.76 มม./เดือน

2553 
299.78 มม./เดือน

                  2554
          288.84 มม./เดือน
กันยายน

เฉลี่ย2493-2540
235.96 มม./เดือน

2549 
248.69 มม./เดือน

2553 
222.41 มม./เดือน

2554
314.94 มม./เดือน
ตุลาคม

เฉลี่ย2493-2540
149.12 มม./เดือน

2549 
196.26 มม./เดือน

2553 
231.78 มม./เดือน

2554
185.78 มม./เดือน
พฤศจิกายน

เฉลี่ย2493-2540
68.44 มม./เดือน

2549 
31.23 มม./เดือน

2553 
77.27 มม./เดือน

2554
52.66 มม./เดือน
ธันวาคม

เฉลี่ย2493-2540
29.72 มม./เดือน

2549 
21.23 มม./เดือน

2553 
60.08 มม./เดือน




ปริมาณฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

ปี 2554 ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีมีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณฝนรายเดือนสะสม ของสำนักการระบายน้ำเฉลี่ยคาบ 20 ปี (2534-2553) และ ปริมาณฝนรายเดือนสะสมของ กรมอุตุนิยมวิทยาเฉลี่ยคาบ 30 ปี (2524-2553) โดยในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2,257.5 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 20 ปี ของสำนักการระบายน้ำ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,654.4 มิลลิเมตร ส่วนปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 30 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,641.9 มิลลิเมตร

หากพิจารณาฝนสะสมรายเดือนของปี 2554 พบว่าเดือนตุลาคมมีปริมาณฝนสะสมสูงที่สุดอยู่ที่ 388.0 มิลลิเมตร และในปีนี้ปริมาณฝนเริ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฝนที่มาเร็วกว่าปกติ

ที่มา : สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร

ที่มา : สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร



ปริมาณน้ำในเขื่อน


ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม น้ำในอ่าง และน้ำระบายสะสมของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ สะสมของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นตัวแปรหนึ่งที่ส่งผลต่อการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ของเขื่อนดังกล่าวมีค่าสูงที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อน โดยเขื่อนภูมิพล เริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ สะสมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนช่วงเดือนเมษายน ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำไหลเข้าฯ สะสม เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนพฤษภาคม ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ สะสมริ่มเพิ่มขึ้นช่วงเดือนมิถุนายน และเมื่อนำข้อมูลดังกล่าวของทั้ง 3 เขื่อน เปรียบเทียบกับปี 2538 2549 และ 2553 ซึ่งเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมหนัก พบว่าปี 2554 ปริมาณน้ำไหลเข้าฯ สะสมมากกว่าปีที่เกิดน้ำท่วมหนักในอดีตค่อนข้างมาก 

เขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลเช้าสะสมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำระบายสะสมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล

เขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลเช้าสะสมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำระบายสะสมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์


เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ปริมาณน้ำไหลเช้าสะสมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ปริมาณน้ำระบายสะสมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

รายละเอียดเพิ่มเติมุ : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html

เปรียบเทียบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปี 2554 2553 2549
 


ปี 2554 เป็นปีที่มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศค่อนข้างมาก ไม่ใช่แต่เพียงพื้นที่ภาคเหนือเท่านั้นที่มีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างฯ ค่อนข้างมาก ทั้งพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำค่อนข้างมาก รวมทั้งมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ สะสม ค่อนข้างมาก เช่นกัน
รายงานวันที่ 31 ตุลาคม 2554 พบว่า อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำกักเก็บตั้งแต่ 100% ที่ รนก. ขึ้นไป ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ กิ่วคอหมา แควน้อย แม่งัด ลำตะคอง ลำพระเพลิง น้ำอูน อุบลรัตน์ จุฬาภรณ์ มูลบน ลำแซะ ป่าสัก กระเสียว ทับเสลา หนองปลาไหล คลองสียัด ประแสร์
หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
31-ต.ค.-54
31-ต.ค.-53
31-ต.ค.-49

ไหลเข้าสะสม
 11,656
 4,931
 7,924
ภูมิพล (2)
กักเก็บ
(99%) 13,390
 8,461
 13,294

ระบายสะสม
 6,163
 4,392
 4,591

ไหลเข้าสะสม
 10,629
 5,852
 6,852
สิริกิติ์ (2)
กักเก็บ
(100%) 9,495
 7,781
 9,464

ระบายสะสม
 8,223
 3,248
 5,216

ไหลเข้าสะสม
 448
 339
 361
แม่งัด
กักเก็บ
(103%) 274
 279
 253

ระบายสะสม
 422
 160
 373

ไหลเข้าสะสม
 1,359
 632
 903
กิ่วลม
กักเก็บ
(89%) 100
 91
 100

ระบายสะสม
 1,361
 613
 898

ไหลเข้าสะสม
 375
 167
 201
แม่กวง
กักเก็บ
(98%) 259
 148
 178

ระบายสะสม
 268
 92
 256

ไหลเข้าสะสม
 3,196
 2,167
 1,896
ลำปาว
กักเก็บ
(99%) 1,969
 1,287
 1,405
ระบายสะสม
2,330
2,087
1,657

ไหลเข้าสะสม
 492
 427
 308
ลำตะคอง
กักเก็บ
(112%) 353
 360
 237

ระบายสะสม
 376
 200
 239

ไหลเข้าสะสม
 214
 354
 194
ลำพระเพลิง
กักเก็บ
(100%) 110
 111
 106

ระบายสะสม
 201
 308
 140

ไหลเข้าสะสม
 629
 314
 323
น้ำอูน
กักเก็บ
(103%) 534
 356
 459

ระบายสะสม
 365
 122
 338

ไหลเข้าสะสม
 5,264
 4,189
 2,381
อุบลรัตน์ (2)
กักเก็บ
(113%) 2,738
 2,855
 2,141

ระบายสะสม
 3,974
 2,168
 778

ไหลเข้าสะสม
 2,161
 1,082
 2,079
สิรินธร (2)
กักเก็บ
(96%) 1,887
 1,590
 1,839

ระบายสะสม
 1,265
 576
 1,420

ไหลเข้าสะสม
 253
 266
 160
จุฬาภรณ์ (2)
กักเก็บ
(103%) 169
 176
 147

ระบายสะสม
 217
 194
 125

ไหลเข้าสะสม
 286
 162
 187
ห้วยหลวง
กักเก็บ
(75%) 101
 127
 128

ระบายสะสม
 245
 66
 90

ไหลเข้าสะสม
 66
 63
 33
ลำนางรอง
กักเก็บ
(85%) 103
 86
 47

ระบายสะสม
 23
 20
 20

ไหลเข้าสะสม
 186
 97
 137
มูลบน
กักเก็บ
(110%) 155
 119
 140

ระบายสะสม
 144
 55
 63

ไหลเข้าสะสม
 215
 140
 141
น้ำพุง (2)
กักเก็บ
(99%) 163
 123
 138

ระบายสะสม
 142
 74
 102

ไหลเข้าสะสม
 274
 194
 239
ลำแซะ
กักเก็บ
(112%) 307
 252
 253

ระบายสะสม
 198
 143
 117

ไหลเข้าสะสม
 4,958
 3,192
 3,212
ป่าสักฯ
กักเก็บ
(130%) 1,021
 976
 916

ระบายสะสม
 4,279
 2,855
 2,995

ไหลเข้าสะสม
 840
 450
 1,436
แก่งกระจาน
กักเก็บ
(81%) 577
 314
 588

ระบายสะสม
 505
 498
 1,429

ไหลเข้าสะสม
 6,937
 3,133
 6,272
ศรีนครินทร์ (2)
กักเก็บ
(91%) 16,179
 14,269
 17,135

ระบายสะสม
 4,630
 4,297
 3,605

ไหลเข้าสะสม
 6,832
 2,324
 7,336
วชิราลงกรณ (2)
กักเก็บ
(86%) 7,626
 5,035
 8,083

ระบายสะสม
 3,549
 3,869
 6,688

ไหลเข้าสะสม
 288
 120
 977
ปราณบุรี
กักเก็บ
(59%) 204
 112
 374

ระบายสะสม
 167
 291
 914

ไหลเข้าสะสม
 455
 660
 345
กระเสียว
กักเก็บ
(107%) 257
 263
 252

ระบายสะสม
 383
 533
 229

ไหลเข้าสะสม
 175
 207
 117
ทับเสลา
กักเก็บ
(102%) 163
 165
 121

ระบายสะสม
 103
 100
 54

ไหลเข้าสะสม
 68
 70
 46
บางพระ
กักเก็บ
(91%) 106
 94
 70

ระบายสะสม
 45
 35
 28

ไหลเข้าสะสม
 293
 176
 183
หนองปลาไหล
กักเก็บ
(102%) 167
 166
 164

ระบายสะสม
 281
 166
 123

ไหลเข้าสะสม
 3,315
 1,616
 3,002
รัชชประภา (2)
กักเก็บ
(80%) 4,515
 3,775
 5,143

ระบายสะสม
 2,638
 2,489
 2,372

ไหลเข้าสะสม
 1,350
 1,015
 1,285
บางลาง (2)
กักเก็บ
(46%) 666
 864
 882

ระบายสะสม
 1,820
 1,310
 1,791

ไหลเข้าสะสม
 383
 400
 353
คลองสียัด
กักเก็บ
(102%) 427
 427
 345

ระบายสะสม
 276
 195
 189

ไหลเข้าสะสม
 621
 236
 304
คลองท่าด่าน
กักเก็บ
(96%) 216
 218
 217

ระบายสะสม
 612
 194
 294

ไหลเข้าสะสม
 394
 286
 196
ประแสร์
กักเก็บ
(104%) 257
 255
 248

ระบายสะสม
 305
 192
 150

ไหลเข้าสะสม
 480
 275
กิ่วคอหมา
กักเก็บ
(110%) 187
 198

ระบายสะสม
 467
 152

ไหลเข้าสะสม
 2,950
 1,150
แควน้อย
กักเก็บ
(100%) 942
 780

ระบายสะสม
 2,691
 964


การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ปี 2554
เขื่อนภูมิพล

ช่วงเดือนเมษายน ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 45% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง ทำให้การระบายน้ำของเดือนนี้ค่อนข้างน้อย

เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ เริ่มเพิ่มมากขึ้นจะเดือนที่แล้ว แต่ยังคงมีปริมาณการระบายค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูฝนมีความต้องการใช้น้ำน้อย อีกทั้งเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง

ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม มีการระบายน้ำค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนมีความต้องการใช้น้ำน้อย และปริมาณน้ำกักเก็บมีเพียง 63%

เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำไหลเข้าค่อนข้างมาก อัตราการระบายเพิ่มการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีข้อจำกัดน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนจากอิทธิพลของพายุนกเตน และร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศ

กลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากอิทธิพลของพายุไห่ถาง เนสาด และนาลแก  และปริมาณน้ำเริ่มสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน ทำให้ต้องระบายน้ำสูงกว่าปกติ และจำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำล้นเพื่อความมั่นคงของเขื่อน
เขื่อนสิริกิติ์

ช่วงเดือนเมษายน ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 50% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง ทำให้การระบายน้ำของเดือนนี้ค่อนข้างน้อย

เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ เริ่มเพิ่มมากขึ้นจะเดือนที่แล้วเล็กน้อย และมีปริมาณการระบายค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูฝนมีความต้องการใช้น้ำน้อย อีกทั้งเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง

ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุไหหม่า และร่องมรสุมที่พัดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง จึงมีการเพิ่มอัตราการระบาย

เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน  ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุนกเตน และร่องมรสุมที่พัดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ต้องเพิ่มอัตราการระบายสูงกว่าปกติ และจำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำเพื่อความมั่นคงของเขื่อน

กลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน  ยังคงมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ค่อนข้างมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุไห่ถาง เนสาด และนาลแก ทำให้ต้องการระบายน้ำค่อนข้างมากในช่วงแรก และลดการระบายลงในช่วงเดือนตุลาคม




ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย





ปริมาณน้ำท่า



                         แผนผังแสดงตำแหน่งเขื่อน สถานีวัดน้ำท่า ประตูระบายน้ำ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต 


สถานี C.2 ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 
ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 4,686 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที (วันที่ 13 ตุลาคม 2554) ซึ่งน้อยกว่าปี 2538 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 4,820 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (วันที่ 1 ตุลาคม 2538) แต่หากคำนวณเป็นปริมาณน้ำ พบว่าปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน อยู่ที่ 39,833 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2538 อยู่ 10,728 ล้านลูกบาศก์เมตร



สถานี C.13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปี 2554 มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 3,721 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (วันที่ 21 กันยายน 2554) ซึ่งน้อยกว่าปี 2538 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 4,501 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (วันที่ 5 ตุลาคม 2554) แต่หากคำนวณเป็นปริมาณน้ำ พบว่าปี 2554 มีปริมาณน้ำไหลผ่านตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน อยู่ที่ 31,762 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2538 อยู่ 8,053 ล้านลูกบาศก์เมตร



สถานี Ct.2A หน้าศาลากลาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 713 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที( วันที่ 15 ตุลาคม 2554) ซึ่งมีค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับปี 2550 ปี 2551 ปี2552 และ ปี 2553



สถานี C.3 บ้านบางพุดทรา อ.เมือง จ.สิงห์บุรี 
ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 2,965 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที( วันที่ 14 กันยายน 2554) ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 3,033 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (30 ตุลาคม 2553) แต่มากว่าปี 2551 และปี 2552 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยุ่ที่ 2,250 และ 2,031 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ



สถานี C.7A บ้านบางแก้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง
  ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 2,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที( วันที่ 4 กันยายน 2554) ซึ่งน้อยกว่าปี 2550 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 3,517 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (23ตุลาคม 2550) แต่มากว่าปี 2551 ปี 2552 และปี 2553 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยุ่ที่ 2,059  1,759 และ 2,429 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที



สถานี C.35 บ้านป้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 
ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 1,494 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที( วันที่ 10 ตุลาคม 2554) ซึ่งมีค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับปี 2552 และปี  2553 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,230 และ 1,236 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ



สถานี C.29 บ้านสามง่าม อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 
ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 3,930 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที( วันที่ 6 ตุลาคม 2554) ซึ่งมีค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับปี 2552 และปี  2553 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,968 และ 3,526 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ  







ระดับน้ำทะเลหนุน 


ช่วงปลายเดือนตุลาคม ช่วงกลางเดือนและช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน เกิดระดับน้ำทะเลหนุนบริเวณอ่าวไทย ส่งผลให้การระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น
จากการตรวจวัดระดับน้ำของกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือที่สถานีกองบัญชาการกองทัพเรือ พบว่าช่วงปลายเดือนตุลาคม ระดับน้ำสูงสุด อยู่ที่ 2.53 เมตร ในวันที่ 30 ตุลาคม
ช่วงกลางเดือนระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 2.41 เมตร ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ส่วนช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน (22-24 พฤศจิกายน) ระดับน้ำหนุนต่ำกว่าช่วงปลายเดือนตุลาคมและช่วงกลางเดือน
พฤศจิกายน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการตรวจวัดระดับน้ำของสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานครที่สถานีสูบน้ำคลองบางอ้อ และสถานีสูบน้ำคลองบางนา 

ที่มา : กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ


ที่มา : สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร


ที่มา : สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร



แผนภาพแสดงความสูงของคลื่นในอ่าวไทย
จากแผนภาพแสดงความสูงของคลื่นบริเวณอ่าวไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2554 พบว่าเกิดการยกตัวของคลื่น
บริเวณอ่าวไทยในช่วงปลายเดือนตุลาคม กลางเดือนพฤศจิกายน และปลายเดือนพฤศจิกายน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ
ลงสู่ทะเล


ช่วงวันที่ 29-31 ตุลาคม 2554


29 ต.ค. 54

30 ต.ค. 54

31 ต.ค. 54

ช่วงวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2554


12 พ.ย. 54

13 พ.ย.54

14 พ.ย. 54

ช่วงวันที่ 19-26 พฤศจิกายน 2554


19 พ.ย. 54

20 พ.ย. 54

21 พ.ย. 54

22 พ.ย. 54

23 พ.ย. 54

24 พ.ย. 54

25 พ.ย. 54

26 พ.ย. 54


แผนภาพแสดงความเร็วลม




ช่วงวันที่ 29-31 ตุลาคม 2554 (วันละ 2 ภาพ ช่วง 7.00 น. และ 19.00 น.)


29 ต.ค. 54 7.00 น.

29 ต.ค. 54 19.00 น.

30 ต.ค. 54 7.00 น.

30 ต.ค. 54 19.00 น.

31 ต.ค. 54 7.00 น.

31 ต.ค. 54 19.00 น.

ช่วงวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2554 (วันละ 2 ภาพ ช่วง 7.00 น. และ 19.00 น.)


12 พ.ย. 54 7.00 น.

12 พ.ย. 54 19.00 น.

13 พ.ย. 54 7.00 น.

13 พ.ย. 54 19.00 น.

14 พ.ย. 54 7.00 น.

14 พ.ย. 54 19.00 น.

ช่วงวันที่ 19-26 พฤศจิกายน 2554 (วันละ 2 ภาพ ช่วง 7.00 น. และ 19.00 น.)


19 พ.ย. 54 7.00 น.

19 พ.ย. 54 19.00 น.

20 พ.ย. 54 7.00 น.

20 พ.ย. 54 19.00 น.

21 พ.ย. 54 7.00 น.

21 พ.ย. 54 19.00 น.

22 พ.ย. 54 7.00 น.

22 พ.ย. 54 19.00 น.

23 พ.ย. 54 7.00 น.

23 พ.ย. 54 19.00 น.

24 พ.ย. 54 7.00 น.

24 พ.ย. 54 19.00 น.

25 พ.ย. 54 7.00 น.

25 พ.ย. 54 19.00 น.

26 พ.ย. 54 7.00 น.

26 พ.ย. 54 19.00 น.



แผนที่น้ำท่วม
ปี 2554 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 56,657,770.01 ไร่ หรือ 90,652,432,057.77 ตารางกิโลเมตร โดยเดือนตุลาคม
เป็นเดือนที่มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด โดยมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 18,494,441.77 ไร่ ช่วงต้นปี(มกราคมและมีนาคม)พื้นที่ถูกน้ำท่วมส่วนใหญ่อยู่บริเวณ
ภาคใต้ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคมพื้นที่ถูกน้ำท่วมอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนเดือน
กุมภาพันธ์เป็นเพียงเดือนเดียวที่ไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วม

เดือน
พื้นที่ (ตร.ม.)
พื้นที่ (ไร่)
มกราคม
189,607,196.54
118,504.50
กุมภาพันธ์
-
-
มีนาคม
1,963,221,266.48
1,227,013.29
เมษายน
22,925,700,697.00
14,328,562.94
พฤษภาคม
122,616,438.84
76,635.27
มิถุนายน
739,073,358.93
461,920.85
กรกฎาคม
1,415,716,433.11
884,822.77
สิงหาคม
9,100,495,393.35
5,687,809.62
กันยายน
24,604,894,396.54
15,378,059.00
ตุลาคม
29,591,106,876.98
18,494,441.77
รวม
90,652,432,057.77
56,657,770.01

ภาพแผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมรายเดือนปี 2554 (ตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2554)












ภาพแผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล







เปรียบเทียบแผนที่น้ำท่วมปี 2549 2551 2553 และ 2554

สิงหาคม 2549

สิงหาคม 2553

สิงหาคม 2554

กันยายน 2549

กันยายน 2553

กันยายน 2554

ตุลาคม 2549

ตุลาคม 2553

ตุลาคม 2554




พื้นที่ป่าไม้
 

การสำรวจพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย

ตั้งแต่ปี 2504 ถึงปี 2549 พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2504 มีป่าไม้ 53.33% ของประเทศ
แต่เมื่อถึงปี 2549 มีป่าไม้เหลือเพียง 30.92%
ปี พ.ศ.
พื้นที่ป่าไม้(ไร่)
คิดเป็น % เทียบพื้นที่
ทั้งหมดของประเทศ
พื้นที่ป่าไม้ลดลง(ไร่)
คิดเป็น %
ลดลงจากปีก่อนหน้า
2504
171,018,125
53.33
-
-
2516
138,566,875
43.21
2,704,270.83
0.84
2519
124,010,625
38.67
4,852,083.33
1.51
2521
109,515,000
34.15
7,247,812.50
2.26
2525
97,875,000
30.52
2,910,000.00
0.91
2528
94,291,250
29.40
1,194,583.33
0.37
2531
89,876,875
28.03
1,474,458.33
0.46
2532
89,635,625
27.95
241,250.00
0.08
2534
85,436,250
26.64
2,099,670.50
0.65
2536
83,471,250
26.03
992,830.50
0.31
2536
82,178,125
25.62
636,231.00
0.20
2541
81,076,250
25.28
367,244.33
0.11
2543
106,319,239
33.15
- 9,926.37
- 3.94
2547
104,744,360
32.66
393,714.25
0.12
2548
100,625,812
31.38
4,118,519.00
1.28
2549
99,157,868
30.92
1,467,944.00
0.46
ที่มา: ข้อมูลของกรมป่าไม้ จากเอกสาร การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้โดยใช้ข้อมูล Remote sensing จัดทำโดย สทอภ., ตุลาคม 2554

แผนที่แสดงพื้นที่ป่าไม้บริเวณตอนเหนือของประเทศไทย (สีเขียว คือ พื้นที่ป่าไม้ ปี 2552 , สีแดง คือ พื้นที่ป่าไม้ที่หายไปนับแต่ปี 2545)

แผนที่แสดงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย 
(สีเขียว คือ พื้นที่ป่าไม้ ปี 2552 , สีแดง คือ พื้นที่ป่าไม้ที่หายไปนับแต่ปี 2545)



พื้นที่หน่วงน้ำบริเวณภาคเหนือตอนล่าง
บึงบระเพ็ด

บึงบระเพ็ดมีปัญหาจากการทับถมของตะกอน ปีละ 2 ล้านลบ.ม. (เท่ากับถมดินสูง 5 ม. ในสนามฟุตบอล 97 สนาม) ประกอบมีพื้นที่ถมเพื่อ
งานก่อสร้างของภาครัฐ ทำให้ความสามารถในการกักเก็บน้ำลดต่ำลงอย่างมาก


ที่มา: ข้อเสนอวาระแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โครงการฟื้นฟูแก้มลิงบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 2550




การสำรวจทางอากาศด้วยเครื่องบินไร้คนขับ


29 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองบัวและคลองสามขา แถวถนนรามอินทรา โดยขึ้นบินที่กองพลทหารราบที่ 11 แล้วบินไปทางทิศใต้ไปยังคลองบัว แล้วจึงบินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในแนวคลองบัว ข้ามถนนรามอินทรา ไปยังคลองสามขา ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 22 กิโลเมตร
(GPS Waypoints) (VDO)



29 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองลำไผ่แถวถนนรามอินทรา โดยเริ่มจากจุดที่สนใจบนคลองลำไผ่ บินเหนือคลองลำไผ่ประมาณ 2 นาที ก็จะถึงคลองบัวคลองสามขา แล้วจึงบินเหนือถนนรามอินทราไปถึงวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ แล้วจึงบินวนรอบกองพลทหารที่ 11 (ราบ 11) ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 22 กิโลเมตร
(GPS Waypoints) (VDO)



27 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองอ้อมน้อย แถวอ้อมน้อย เริ่มจากจุดที่คลองอ้อมน้อยไหลลงแม่น้ำท่าจีน โดยบินทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนคลองอ้อมน้อยไปยังถนนเพชรเกษม แล้วจึงบินลงใต้บนคลองแนวลิขิตไปยังคลองภาษีเจริญ แล้วบินไปทางทิศตะวันออกบนคลองภาษีเจริญไปยังจุดต่อกับคลองอ้อมแขม ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 25 กิโลเมตร
(GPS Waypoints) (VDO)



27 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองอ้อมแขม แถวอ้อมน้อย เริ่มจากจุดที่คลองอ้อมแขมไหลลงคลองภาษีเจริญ ขึ้นไปทางเหนือผ่านอ้อมน้อยไปจนถึงถนนเพชรเกษม ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 25 กิโลเมตร
(GPS Waypoints) (VDO)



25 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจถนนพุทธมณฑล สาย 4 โดยจะขึ้นบินหน้าพุทธมณฑล (องค์พระ) แล้วบินลงใต้ตามแนวถนนพุทธมณฑล สาย 4 ไปถึงถนนเพชรเกษมแล้วมุ่งหน้าทางทิศตะวันตกไปยังจุดตัดถนนเพชรเกษมและพุทธ มณฑล สาย 5 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร โดยจะเห็นถนนอุทธยาน (นาทีที่ 1:00) จุดตัดถนนเพชรเกษมกับพุทธมณฑลสาย 4 (นาทีที่7:30)
GPS Waypoints) (VDO)



25 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตอนแรก ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 โดยในวีดีโอนี้จะเริ่มจากจุดตัดระหว่างถนนเพชรเกษมและถนนพุทธมณฑล สาย 5 และจะิบินไปทางเหนือ โดยจะไปถึงจุดตัดถนนบรมราชชนนีในคลิปที่สอง (ระยะทางรวม 25 กิโลเมตร)
(GPS Waypoints) (VDO)



25 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตอนที่ 2 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 โดยในวีดีโอนี้จะต่อจากคลิปแรกไปทางเหนือถึงจุดตัดระหว่างถนนบรมราชชนนี (นาทีที่ 3:00) แล้วบินไปทางทิศตะวันออกไปยังพุทธมณฑล สาย 4 (นาทีที่ 7:00) จะเห็นมหาวิทยาลัยมหิดล (นาทีที่ 5:15) และสุดปลายคลิปที่พุทธมณฑล (ระยะทางรวม 25 กิโลเมตร)
(GPS Waypoints) (VDO)



24 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองอ้อมนนท์ ช่วงเหนือจากถนนนครอินทร์ไปแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะบินไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้วจึงเบี่ยงไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในคลิปนี้จะไปหยุดตรงกลางแล้ว ควรไปดูคลิปที่ 2 จนถึงจุดลงแม่น้ำเจ้าพระยา
(GPS Waypoints) (VDO)



24 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองอ้อมนนท์ ช่วงเหนือจากถนนนครอินทร์ไปแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะบินไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้วจึงเบี่ยงไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในคลิปนี้จะต่อจากคลิปที่ 1 โดยจะบินต่อจนถึงจุดลงแม่น้ำเจ้าพระยา
(GPS Waypoints) (VDO)



24 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองอ้อมนนท์ ช่วงจากถนนนครอินทร์ไปจุดต่อกับคลองบางกอกน้อย โดยจะบินไปยังทิศตะวันออกแล้วจึงเบี่ยงไปทิศใต้ ไปยังคลองบางกอกน้อยแล้วบินกลับมายังคลองอ้อมนนท์ โดยในคลิปนี้จะไปหยุดตรงจุดลงแม่น้ำเจ้าพระยา
(GPS Waypoints) (VDO)



16 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองแสนแสบ ช่วงระหว่าง ซ.รามคำแหง 127 บินไปทางทิศตะวันออก ไปนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินถึงนิคมอุตสาหกรรมบางชัน แล้วบินรอบนิคมก่อนจะจบคลิป
(GPS Waypoints) (VDO)



16 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองแสนแสบ ช่วงระหว่าง ซ.รามคำแหง 127 ไปในทิศตะวันตก ไปยังอุโมงค์ยักษ์ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554
(GPS Waypoints) (VDO)




15 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองราชมนตรีช่วงถนนพระราม 2 ถึงคลองสนามชัย ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 โดยบินขึ้นที่การทางบางขุนเทียน เป็นระยะทาง 3.8 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
(GPS Waypoints) (VDO)



15 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองสนามชัย มหาชัย ช่วงตัดกับคลองพระยาราชมนตรี ไปทางตะวันออกแล้วขึ้นเหนือ ไปถึงวัดสิงห์และจุดตัดกับคลองบางบอน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 จากระดับความสูง 200 เมตร
(GPS Waypoints) (VDO)




15 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองบางบอนตั้งแต่จุดตัดคลองสนามชัยไปทางทิศตะวันตกจนถึง คลองราชมนตรี แล้วจะบินลงใต้ไปยังถนนพระราม 2 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
(GPS Waypoints) (VDO)




15 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองระหานตั้งแต่จุดตัดกับคลองสนามชัย โดยจะบินไปทางทิศเหนือจนถึงคลองบางบอน แล้วจะบินไปทางทิศตะวันออกมุ่งหน้าไปคลองเลนเปน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ระดับความสูง 200 เมตร คลองระหานเป็นคลองเหนือใต้ที่จะใช้ในการระบายน้ำลงอ่าวไทย
(GPS Waypoints) (VDO)



15 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองเลนเปนตั้งแต่จุดตัดกับคลองบางบอน ลงทางทิศใต้จนถึง คลองสนามชัย โดยตรงท้ายของคลิปจะเป็นช่วงที่ทำการบินขึ้นจนถึงคลองสนามชัย ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ระดับความสูง 200 เมตร คลองเลนเปนเป็นคลองเหนือใต้ที่จะใช้ในการระบายน้ำลงอ่าวไทย
(GPS Waypoints) (VDO)



14 พฤศจิกายน 2554
คลองสะแกงาม (บริเวณถนนพระราม 2) บินขึ้นข้างคลองช่วงกลาง (จุดสีเหลืองในรูปแนบ) ช่วงที่เห็นคลองในวิดีโอคือช่วงที่บินขึ้นไปทางเหนือช่วง 2:00 - 2:20 และ 4:20 - 4:40
(GPS Waypoints) (VDO)




13 พฤศจิกายน 2554
คลองขุนราชพินิจใจ (ช่วงไหลลงอ่าวไทย) บินขึ้นจากถนนข้างประตูระบายน้ำคลองขุนราชพินิจใจ (พิกัด 13?34'17.59"N 100?26'45.72"E) บินตามแนวคลองไปทางด้านอ่าวไทยเป็นระยะทาง 500 เมตร และวนย้อนกลับ 2 รอบ จะเห็นแนวคลองในวิดีโอช่วงเวลา 1:23 - 4:15
(VDO)



13 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองสนามชัย มหาชัย ช่วงตัดกับคลองบางน้ำจืด ไปทางตะวันตก ไปถึงจุดไหลลงแม่น้ำท่าจีน ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทาง 22 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองสนามชัยเป็นคลองแนวตะวันออกมาตะวันตกบรรจบลงแม่น้ำท่าจีน
(GPS Waypoints) (VDO)



12 พฤศจิกายน 2554
คลองขุนราชพินิจใจ (ช่วงกลาง) บินขึ้นจากจุดวงกลมในรูป (พิกัด 13?34'57.58"N 100?27'1.66"E) ช่วงที่เห็นแนวคลองคือช่วงเวลา 3:12 - 3:32 และ 4:29 - 4:48
(GPS Waypoints) (VDO)




12 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองสนามชัย มหาชัย ช่วงตัดกับคลองบางน้ำจืด ไปทางตะวันออกถึงจุดตัดกับคลองราชมนตรีและคลองขุนราชพินิจใจ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองสนามชัยเป็นคลองแนวตะวันออกมาตะวันตกบรรจบลงแม่น้ำท่าจีน
(GPS Waypoints) (VDO)



11 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองราชมนตรีช่วงถนนพระราม 2 ถึงคลองสนามชัย ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 โดยบินขึ้นที่การทางบางขุนเทียน เป็นระยะทาง 7.7 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
(GPS Waypoints) (VDO)



11 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองราชมนตรีช่วงถนนพระราม 2 ขึ้นเหนือไปถึงคลองภาษีเจริญ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 โดยบินขึ้นที่การทางบางขุนเทียน เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
(GPS Waypoints) (VDO)



10 พฤศจิกายน 2554
คลองขุนราชพินิจใจ บินขึ้นจากจุดตัดของคลองราชมนตรี คลองสนามชัย และคลองขุนราชพินิจใจ



9 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจบิ๊กแบ๊กเหนือสนามบินดอนเมือง ช่วงเหนือของสนามบินไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังหลักหก ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินจากทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ไปทางทิศตะวันตกมุ่งหน้าหลักหก เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร
(GPS Waypoints) (VDO)

8 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจบิ๊กแบ๊กเหนือสนามบินดอนเมือง ช่วงเหนือของสนามบิน ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินถึงกองบัญชาการกองทัพอากาศและถนนพหลโยธิน ตลอดแนวบิ๊กแบ๊กทางตะวันออกของทางด่วนโทลเวย์
(GPS Waypoints) (VDO)



8 พฤศจิกายน 2554
คลองเจ็ดริ้ว บินจากบริเวณปลายด้านใต้ แล้ววนขึ้นไปทางเหนือ ช่วงเวลา 2:45 - 3:08, 4:00 - 4:27, 4:36 - 4:56 จะเห็นคลองด้านเหนือ และช่วงเวลา 4:36 - 4:56 จะเห็นคลองด้านใต้
(VDO)




4 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองประปา ช่วงจุดตัดคลองรังสิต ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 โดยไฟล์ทนี้จะทำการบินวนเหนือคลองรังสิต แล้วจึงบินเหนือคลองประปาเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร โดยจะบินจากทิศทางเหนือใต้ อากาศยานไร้นักบินบินสูง 200 เมตร จากระดับทางด่วนขั้นที่ 2
(GPS Waypoints) (VDO)



2 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ช่วงคลองมหาชัยถึงถนนพระราม 2 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 โดยไฟล์ทนี้จะบินจากจุดขึ้นไปทางเหนือถึงถนนพระราม 2
(GPS Waypoints) (VDO)




2 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ช่วงคลองมหาชัยถึงถนนพระราม 2 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 โดยไฟล์ทนี้จะบินจากจุดขึ้นไปทางใต้ถึงคลองมหาชัย
(GPS Waypoints) (VDO)




2 พฤศจิกายน 2554
การบินตรวจสอบคลองบางน้ำจืด ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินจากจุดที่คลองบางน้ำจืดไหลลงคลองมหาชัย ไปยังถนนพระราม 2
(GPS Waypoints) (VDO)


31 ตุลาคม 2554
บินสำรวจบริเวณจุดใกล้เคียงคลองสามบาท ในรัศมี 1 กิโลเมตร (ใกล้ตลาดดอนหวาย จ.นครปฐม)
(GPS Waypoints) (VDO)


28 ตุลาคม 2554วีดีโอที่บินสำรวจคลองหกวา วันที่ 28 ตุลาคม 2554 เพื่อสำรวจการไหลของน้ำ โดยขึ้นบินจากถนนกาญจนาภิเษก และบินบนคลองหกวา ไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร
(GPS Wayspoints) (VDO)



27 ตุลาคม 2554

การบินสำรวจประตูน้ำทวีวัฒนาที่จุดตัดระหว่างคลองมหาสวัสดิ์และคลองทวีวัฒนา โดยเครื่องขึ้นจากข้างคลองทวีวัฒนา แล้วมุ่งหน้าทางทิศตะวันออกเืพื่อที่จะบินเหนือคลองมหาสวัสดิ์ โดยจะเห็นจุดตัดทั้งสองคลอง แล้วจึงบ่ายลงใต้เพื่อดูประตูน้ำทวีวัฒนา จะเห็นทางรถไฟก่อน แล้วจึงเห็นประตูน้ำทวีวัฒนา ในวันที่ 27 ตุลาคม 2554
(GPS Wayspoints) (VDO)

27 ตุลาคม 2554
การบินตรวจการไหลของน้ำที่จุดที่คลองมหาสวัสดิ์ไหลลงแม่น้ำท่าจีน โดยขึ้นบินจากข้างคลองมหาสวัสดิ์ แล้วมุ่งหน้าทิศตะวันตก เพื่อบินเหนือคลองมหาสวัสดิ์ มุ่งหน้าไปแม่น้ำท่าจีน โดยประตูน้ำมหาสวัสดิ์ (ลักษณะเหมือนเกาะกลางแม่น้ำ) แล้วจะเห็นจุดที่คลองมหาสวัสดิ์บรรจบกับแม่น้ำท่าจีน ในวันที่ 27 ตุลาคม 2554
(GPS Waypoints) (VDO)



26 ตุลาคม 2554
การบินตรวจสอบการระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำฉิมพลี บนคลองมหาสวัสดิ์ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2554 โดยจะบินจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 แล้วบินไปทางทิศตะวันออกเพื่อวนเหนือ ปตร ฉิมพลี ไปทางทิศตะวันตก
(GPS waypoints) (VDO)


ที่มา : Institute of Field Robotics http://www.fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=107&Itemid=169




ข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่
 
พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

1. คลองระพีพัฒน์ มีการสูบน้ำจากคลองสาขา และพื้นที่เรือกสวนไร่นา ระบายลงคลองระพีพัฒน์ 

 

2. คลองลำปะทิวและคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต บริเวณใต้สะพานรถไฟสายตะวันออก ช่องเปิดให้น้ำไหลผ่านแคบกว่าความกว้างลำน้ำมาก และช่องด้านข้างทั้งสองฝั่ง มีตะกอนดินและสวะสะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการะบายน้ำผ่านบริเวณนี้


 

3.สถานีสูบน้ำริมชายทะเล ทุกสถานีทำงานอย่างไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากปริมาณไหลลงมาไม่เพียงพอต่อความสามารถในการสูบ และบ่อสูบมีขนาดเล็กเกินไป 

 

4. คลองบางซื่อ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ (บ่อบำบัดน้ำเสีย) และมีบ้านเรือนรุกล้ำลำน้ำอีกจำนวนมาก 

 

5. คลองบางตลาด คลองมีขนาดเล็กและตื้นเขิน ไม่สมดุลกับสถานีสูบน้ำ ที่สูบออกทางฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ถึง 4 เครื่อง

 

6. คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต บริเวณลำน้ำฃ่วงลอดใต้ถนนบางนาตราด ใต้สะพานมีตะกอนดินและสวะ สะสมจำนวนมาก บริเวณลำคลองฃ่วงตั้งแต่ถนนบางนาตราดจนถึงถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง มีบ้านเรีอนรุกล้ำลำน้ำจำนวนมาก

 

7. คลองบ้านใหม่ ช่วงที่เกิดอุทกภัย ชาวบ้านน้ำแผ่นเหล็กมาปิดกั้นการระบายน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่ ส่วนสภาพคลองตื้นเขินและมีสวะจำนวนมาก 

 

8. คลองสอง-บางบัว-ลาดพร้าว มีบ้านเรือนรุกล้ำลำน้ำจำนวนมาก เกือบตลอดทั้งแนวคลอง ช่องสะพานเหลือเพียงช่องกลางเท่านั้นที่สามารถระบายน้ำได้ เพราะการรุกล้ำลำน้ำ นอกจากนี้ยังมีตะกอนดินที่ปิดทับถมจนไม่สามารถระบายน้ำได้ อีกทั้งกลางคลองยังมีประตูน้ำที่มีช่องระบายเพียง 4-5 เมตร และประตูน้ำก็ไม่ได้ใช้งานมานานแล้ว

 
พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

1. คลองพระยาบรรลือ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณประตูระบายน้ำพระศรีสิงห์ มีระดับสูงกว่าประตูทำให้น้ำไหลข้ามประตูจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่คลองพระยาบันลือ นอกจากนี้ตลอดแนวคลองมีการเสริมคันดินสูงมากกว่า 1 เมตร 

 

2. คลองภาษีเจริญ ความลึกของคลองโดยเฉลี่ย 2-2.50 เมตร บริเวณคลองภาษีเจริญตัดกับคลองทวีวัฒนาตื้นเขิน ลึกน้อยกว่า 2 เมตร ช่วงต้นคลองฝั่งกรุงเทพมหานคร มีสิ่งกีดขวางโดยเฉพาะโป๊ะเทียบเรือ 

 

3. คลองลัดงิ้วราย คลองลัดท่าข้าม คลองลัดทั้งสองไม่ได้รับการดูแล มีสวะมากและคลองมีลักษณะแคบช่วงลอดผ่านถนน

 

4. คลองมหาสวัสดิ์ บริเวณประตูระบายน้ำฉิมพลีไม่ได้รับการดูแล มีสวะมาก และคลองประปาไม่ได้รับการป้องกัน 

 

5. คลองสี่วาพาสวัสดิ์ มีสิ่งกีดขวางตลอดแนวคลอง เช่น สะพานข้ามสำหรับคนเดิน 



6. คลองสี่วาตากล่อม-คลองบางน้ำจืด ช่วงต้นคลองสี่วาตากล่อมซึ่งรับจากคลองภาษีเจริญ มีการบุกรุกคลองกีดขวางทางน้ำ บริเวณคลองลอดใต้ถนนเอกชัยและพระราม 2 ถูกบีบให้แคบ นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟขวางทางน้ำอยู่ 

 
 

7. คลองแสมดำ คลองหลวง สภาพคลองไม่ได้รับการดูแล โดยเฉพาะคลองหลวง น้ำเน่า มีกลิ่นเหม็น 

 



ข่าวจากหนังสือพิมพ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------

7 อ.ปทุมฯวิกฤติ น้ำสูงกว่า3ม. 'ลำลูกกา'ไม่ได้รับความช่วยเหลือ [ ไทยรัฐ : 3 พ.ย. 54 ]

7 อำเภอเมืองปทุมธานีวิกฤติ หลายจุดสูงกว่า 3 เมตร "ลำลูกกา" ความช่วยเหลือเข้าไม่ถึง เร่งสร้างคันกู้ถนนสีขาว-เทศบาลท่าโขลง-ตลาดไท ระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร ขณะที่น้ำท่วมสูงกว่า 60 ซม. คาดรถจะสามารถวิ่งได้วันศุกร์นี้...

พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดพระธรรมกาย เปิดเผยว่า วัดพระธรรมกาย ได้ร่วมกับเทศบาลเทศบาลท่าโขลง และประชาชนชุมชนท่าโขลง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทำการกู้ถนนสีขาว – เทศบาลท่าโขลง – ตลาดไท รวมระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร ขณะนี้มีน้ำท่วมสูงร่วม 60 ซม. โดยมีการดำเนินการสร้างคันกั้นน้ำแบ่งเป็น 2 จุด คือช่วงคลองสองถึงคลองแอล1,2 ใช้กระสอบจำนวน 50,000 ใบ ในการทำคันกั้นน้ำที่มีความสูงประมาณ 70 ซม. และช่วงคลองแอล 1,2 ถึงเทศบาลท่าโขลง ใช้รถแบล็กโฮทำคันดิน จากนั้นทำการสูบน้ำออก โดยใช้เครื่องสูบน้ำจำนวน 6 เครื่อง พร้อมซ่อมพื้นผิวจราจรด้วย

สำหรับ การกู้ถนนสีขาวครั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เมื่อวานนี้ (1พ.ย.) และจะใช้เวลาประมาณ 4 วัน คาดว่าแล้วเสร็จภายในวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. นี้ และสามารถเปิดให้รถเล็กสัญจรไปมาได้ โดยเฉพาะชุนชนในเทศบาลท่าโขลง และพ่อค้าแม่ขายในตลาดไท งานนี้ถือเป็นความร่วมมือและความสามัคคีอันดีระหว่างวัดกับเทศบาลท่าโขลงและ ประชาชน ที่ช่วยกันกู้ถนนสีขาว ให้กลับมาใช้งานได้โดยเร็ว
ขณะ ที่พื้นที่ในจังหวัดปทุมธานี พบว่าน้ำท่วมทั่วทั้ง 7 อำเภอ โดยน้ำได้แผ่กระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งน้ำได้ท่วมแล้วประมาณ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ของจังหวัดปทุมธานี โดยบริเวณถนนที่น้ำลึกมากที่สุดได้แก่ อ.ลาดหลุมแก้ว อ.เมือง อ.สามโคก อ.ธัญบุรี อ.คลองหลวง และ อ.ลำลูกกา ที่มีระดับสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งไม่รวมตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ที่ชาวบ้านบางแห่ง ไม่สามารถที่จะเดินลุยน้ำออกมาได้ เนื่องจากน้ำสูงกว่า 3 เมตร นอกจากนี้ยังพบว่ามีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก็คือผู้ที่อยู่ ด้านในที่ห่างจากถนนใหญ่เข้าไป โดยเฉพาะชาว อ.ลำลูกกา ถึงกับโอดครวญว่า อ.ลำลูกกานั้นเหมือนอยู่ไกลปืนเที่ยง ไม่ค่อยมีหน่วยงานมาดูแลทุกข์สุข แม้แต่รถทหาร ก็แทบจะไม่มีมาวิ่งรับชาวบ้านที่ต้องออกมาทำงานและซื้อข้าวของ หรือแม้แต่จะอพยพไปอยู่อื่นก็ไม่มี แถมน้ำที่ท่วมอยู่ก็สีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็นตลอดเวลา
 

-----------------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมรันเวย์ ทอท.ปิดสนามบินดอนเมืองถึงสิ้นเดือน [ ไทยรัฐ : 25 ต.ค. 54 ]

ประธานบอร์ดทอท. รับปิดสนามบินดอนเมืองจนถึงสิ้นเดือน หลังน้ำไหลจากฐานทัพอากาศเข้ารันเวย์...

เมื่อ เวลา 17.00 น. วันที่ 25 ต.ค. พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า เนื่องจากน้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณรันเวย์สนามบินดอนเมือง เพื่อความปลอดภัยด้านการบินจึงสั่งให้มีการปิดสนามบินดอนเมืองเป็นการชั่ว คราว โดยได้ประสานไปยังกรมการบินพลเรือนให้ประกาศหยุดทำการบิน ห้ามมิให้การบินขึ้นลงของเครื่องบินตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 น. ของวันที่ 25 ต.ค.ไปจนถึงสิ้นเดือนนี้ เพื่อเฝ้าระวังระดับน้ำภายในสนามบิน

ทั้ง นี้ ยอมรับว่าน้ำที่ไหลเข้ารันเวย์นั้นได้ไหลมาจากทางด้านทิศตะวันออกของสนามบิน โดยไหลซึมออกมาจากบริเวณฐานทัพอากาศดอนเมือง ซึ่งเดิมเป็นทิศทางที่สนามบินดอนเมืองไม่ได้มีการทำแนวกระสอบทราย เนื่องจากมั่นใจว่าแนวคันกั้นน้ำของฐานทัพอากาศดอนเมืองจะสามารถสกัดน้ำไม่ ให้ไหลเข้าท่วมสนามบินได้  แต่ล่าสุดน้ำได้ไหลซึมเข้ามา ซึ่งทอท.จะไม่เข้าไปสร้างแนวกระสอบทรายกั้นน้ำที่ไหลซึมมาจากบริเวณดังกล่าว เนื่องจากเป็นระยะทางที่ยาวมาก

นอกจากนี้ น้ำจากทางด้านทิศเหนือและทางด้านทิศตะวันตก จากบริเวณร้านเจ๊เล้ง ยังมีแนวโน้มไหล่บ่าเข้ามายังพื้นที่ของสนามบินดอนเมืองด้วย โดยทางด้านทิศเหนือ ทอท.ได้เร่งเสริมกระสอบทรายให้มีความสูงเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตรแล้ว อย่างไรก็ตาม หากน้ำยังไหลเข้าท่วมพื้นที่สนามบินดอนเมืองอย่างต่อเนื่อง คาดว่าระดับน้ำคงไม่สูงมากจนสร้างความเสียหายให้กับสนามบินหรือเครื่องบินรอ การซ่อมที่จอดอยู่บริเวณสนามบินดอนเมืองแน่นอน


-----------------------------------------------------------------------------------------------

คลองประปาแตก น้ำทะลักเข้ากรุงแล้ว



-----------------------------------------------------------------------------------------------
นวนครอ่วม 'ยุทธศักดิ์'แจง น้ำท่วมเกือบ100% [ ไทยรัฐ : 18 ต.ค. 54 ]

"ยุทธศักดิ์ ศศิประภา" เผยนิคมอุตสาหกรรมนวนครหนัก เบื้องต้นทหารในพื้นที่รายงานปริมาณเข้าท่วมกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ลั่นสามารถกู้คืนได้ หากปริมาณน้ำไม่เพิ่มขึ้น เน้นระดมทหารเร่งสูบน้ำออกจากโรงงาน...
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานีนั้น มีการระดมเจ้าหน้าที่ทหารทำพนังกั้นน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยอมรับว่า มีน้ำซึมผ่านเข้ามาในนิคมบ้าง โดยระดับน้ำในช่วงกลางดึกที่ผ่านมานั้น น้ำข้างนอกมีความสูงกว่าน้ำข้างในนวนครประมาณ 1 เมตร เพราะฉะนั้นกระสอบทรายที่วางอยู่ ก็สามารถซึมได้ตลอดเวลา รวมทั้งน้ำได้เข้ามาข้างใน ทั้ง ลามไปในท่อ และเข้าไปโผล่ที่บริเวณด้านหน้าของนิคม ดังนั้นระดับน้ำจึงเพิ่มขึ้นตลอด ประกอบกับ เมื่อวานนี้ (17 ต.ค.) การที่ผมได้ลงไปตรวจเยี่ยม ก็พบว่า ช่วงที่เดินทางไปถึง ระดับน้ำได้ท่วมไปประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่นิคมฯ ตอนจะกลับ จึงมองดูอีกครั้ง ก็คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ได้แต่หวังว่า ช่วงเช้าของวันนี้ระดับน้ำน่าจะเข้าท่วมประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อย่างไรก็ตาม ได้รับรายงานจากผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 11 ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ พบว่า ตอนนี้ระดับน้ำได้เข้าท่วมทั้งหมด 80 - 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว
นอก จากนี้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ยังกล่าวต่อว่า อยากให้ทางจังหวัดได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มเติม เนื่องจากการประเมินของเจ้าหน้าที่ได้คาดการณ์ว่า ยังสามารถกู้นิคมอุตสาหกรรมนวนครได้ เพราะแต่ละโรงงานมีการนำกระสอบทรายมากั้นบริเวณโดยรอบของโรงงาน ป้องกันนำเข้าโรงงานเพิ่มเติม ดังนั้นต่อจากนี้ไป ทางทหารกำลังเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ภายในโรงงาน และปริมาณน้ำก็จะมากองกันอยู่ตรงบริเวณถนน ถ้าน้ำไม่มากกว่านี้ ก็จะช่วยผลักดันน้ำออกจากตัวโรงงานได้

ผู้ สื่อข่าวถามว่า จะสามารถกู้นิคมอุตสาหกรรมนวนครกลับมาได้หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ที่คุยกันกับผู้บริหาร สามารถกู้ได้ ถ้าปริมาณน้ำมากกว่านี้ก็ลำบากหน่อย ส่วนอุปสรรคนั้น ตอนนี้ประชาชนอพยพออกไปเป็นจำนวนมาก ขนาดนี้จึงเหลือแต่กำลังทหาร เนื่องจากกำลังพลออกไปหมดแล้ว จึงทำให้การทำงานจึงเกิดความเหนื่อยล้าบ้าง ก็สั่งให้มีการสลับผลัดเวรกัน อย่างไรก็ตามได้มีการประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับขอกำลังเข้ามายังพื้นที่ในการเร่งกู้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร

 
-----------------------------------------------------------------------------------------------

แกะรอย 5 พายุมัจจุราช!..'ธรรมชาติเอาคืน' [ ไทยรัฐ : 17 ต.ค. 54 ]

เดือดร้อนกันไปทั่วสำหรับปัญหาน้ำท่วมที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะ ลดลง หลายจังหวัดในประเทศไทยตอนนี้ยังคงต้องรับศึกหนักกับน้ำก้อนใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้พายุและฝนกระหน่ำประเทศไทยแบบเต็มๆ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาประเทศไทยเจอกับพายุไปแล้วถึง 4 ลูก ซึ่งได้สร้างความเสียหายอย่างมาก คงไม่มีใครคิดมาก่อนว่าสายลมเพชฌฆาตเหล่านี้ จะมีผลทำให้หลายๆ จังหวัดทางภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยจมหายกลายเป็นเมืองบาดาล  'ไทยรัฐออนไลน์' วันนี้ ขอพามารู้จักพายุที่ทำให้ประเทศไทยเจอกับภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ในปีนี้
ตั้งแต่ ต้นปี 2554 ในช่วงเดือนมีนาคม ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเริ่มชัดเจนขึ้นทีละนิด แต่ประชาชนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้สึกถึงภัยธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลา ต่อมา จากเดิมในช่วงมีนาคม ซึ่งปกติอากาศจต้องร้อนอบอ้าว กลับเป็นหนาวเย็น และมีฝนตก เนื่องจากมาจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงที่ประเทศจีน แผ่ปกคลุมมาถึงประเทศไทยตอนบน และในขณะเดียวกัน หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก็ส่งผลมาถึงภาคใต้ตอนกลาง ตลอดเดือนมีนาคมนั้นจึงทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือน ทำให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างและรุนแรงกว่าครั้งไหนๆ อีกทั้งยังมีเหตุดินโคลนถล่มใน จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และกระบี่  ซึ่งตั้งแต่นั้นมาภาพรวมของประเทศไทยก็ยังคงมีฝนตกอยู่มากน้อยเป็นบาง พื้นที่ แต่เป็นครั้งแรกที่ไม่มีฝนทิ้งช่วง จึงทำให้ปริมาณของน้ำมากเกินความต้องการ และที่น่าเป้นห่วงที่สุดก็คือ ประเทศไทยก็ยังคงได้รับอิทธิพลจากพายุโหมกระหน่ำเข้ามาอีกหลายลูก ทั้งพายุโซนร้อนไหหม่า, พายุโซนร้อนนกเตน, พายุโซนร้อนไห่ถาง พายุไต้ฝุ่นเนสาด และพายุโซนร้อนนาลแก



พายุโซนร้อนไหหม่า 

'ไหหม่า' (Haima) เป็นชื่อพายุมาจากประเทศจีน มีความหมายว่า 'ม้าน้ำ' พายุลูกนี้เกิดจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ร่องความกดอากาศต่ำ ซึ่งเข้ามาเมื่อเดือนมิถุนายน โดยเคลื่อนเข้าฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนบนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนผ่านประเทศลาว จนอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 จากนั้นได้เคลื่อนเข้าปกคลุมที่จังหวัดน่าน และสลายตัวในวันเดียว ซึ่งมีผลทำให้ภาคเหนือตอนบนของไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากอย่างต่อเนื่อง มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมง มีระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว จ.น่าน วัดได้ 335.2 มิลลิเมตร

ผลกระทบจากพายุโซนร้อนไหหม่า

หลังจากที่พายุสลาย ตัวลงที่ จ.น่าน เพียงวันเดียว ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 มีรายงานน้ำท่วมฉับพลัน น้ำปาไหลหลาก ดินถล่มที่ จ.แพร่ เชียงราย พะเยา น่าน ตาก และสุโขทัย มีผู้เสียชีวิตรวม 3 ราย ประชาชนเดือดร้อน 105,703 ครัวเรือน 411,573 8 คน พื้นที่เกษตรเสียหาย 159,598 ไร่




พายุโซนร้อนนกเตน

พายุ นกเตน  (Nok-Ten) หรือพายุนกกระเต็น ซึ่งเป็นชื่อที่ประเทศลาวได้ตั้งไว้นั้น เป็นพายุที่เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้าน ตะวันตก จนทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งในวันที่ 25 กรกฎาคม ได้ทวีความแรงขึ้นจนเป็นพายุโซนร้อนและเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ที่ฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลาง จากนั้นเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือที่เกาะไหหลำ และอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งที่เวียดนามตอนบนในวันที่ 30 กรกฎาคม กระทั่งมาผ่านประเทศลาวพร้อมกับอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 31 กรกฎาคม ซึ่งในวันเดียวกันก็เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยที่ จ.น่าน อ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือที่ จ.แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

ผลกระทบจากพายุโซนร้อนนกเตน

อิทธิพลจากพายุ ลูกนี้ ในส่วนของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกกระจายหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำฝนมากท่ีสุดใน 24 ชั่วโมง วัดได้ 405.9 มิลลิเมตร ที่ อ.เมือง จ.หนองคาย เกิดเหตุน้ำท่วมรวม 20 จังหวัด ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนบน มีผู้เสียชีวิต 20 ราย สูญหาย 1 คน บาดเจ็บ 11 คน ประชาชนเดือดร้อน 314,732 ครัวเรือน 1,029,716 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 619,723 ไร่


หลัง จากที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และร่องความกดอากาศต่ำที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่ยั้งแล้ว ในช่วงเดือนกันยายน ประเทศไทยยังต้องรับมือจากอิทธิพลพายุหมุนเขตร้อนอีก 2 ลูกใหญ่ ส่งผลให้หลายจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคกลางตอนบนและตอนล่าง รวมไปถึงภาคอีสานตอนบนเกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ ขยายเป็นวงกว้าง

พายุโซนร้อนไห่ถาง

พายุ โซนร้อนไห่ถาง (Haitang) แปลว่า ดอกแคร็ปแอปเปิ้ลบานจากประเทศจีนลูกนี้ เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 27 กันยายน 2554 และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนตัวมาที่ลาว จากนั้นอ่อนกำลังลงอีกครั้งเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปก คลุมที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทยในวันที่ 28 กันยายน 2554

พายุโซนร้อนเนสาด

พายุ โซนร้อนเนสาด (Nesat) เป็นชื่อที่ตั้งโดยประเทศกัมพูชา แปลว่า การจับปลา หรือคนจับปลา ซึ่งเดิมทีเป็นพายุไต้ฝุ่นที่เคลื่อนตัวผ่านอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งที่เมืองฮา ลอง ประเทศเวียดนาม ในช่วงที่มีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 30 กันยายน 2554
ผลกระทบจากพายุโซนร้อนไห่ถางและเนสาด

จาก การถาโถมอย่างแรงของพายุทั้ง 2 ลูกนี้ ในส่วนของประเทศไทยตอนบนนั้น ทำให้ฝนตกชุกหนักถึงหนักมากอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดน้ำท่วมขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่  ซึ่งในบางแห่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์นี้มาก่อน และด้วยปริมาณน้ำที่มากเกินปกติ ยังได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่าง มาก โดยเบื้องต้นนั้นได้มีการประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ แล้วว่ามีมูลค่าถึง 2 หมื่นกว่าล้านบาท ล่าสุดได้วัดค่าปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนกันยายนแล้ว ว่า มีค่าสูงกว่าปกติประมาณ 32% ซึ่งสูงกว่าทุกปีที่ตรวจวัดมา

พายุโซนร้อนนาลแก

พายุ โซนร้อนนาลแก (Nalgae) จากเกาหลีเหนือ แปลว่า ปีก เป็นพายุลูกล่าสุดที่พัดเข้ามาสู่ในประเทศไทย เดิมทีเป็นพายุไต้ฝุ่น แต่อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน เคลื่อนตัวผ่านเกาะไหหลำ เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย และอ่อนกำลังลงอีกครั้งเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ ที่เมืองดองฮอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่  5 ตุลาคม 2554

ผลกระทบจากพายุโซนร้อนนาลแก

เหมือน เป็นเคราะห์ซ้ำ หลังจากที่เจอพายุ 2 ลูกใหญ่ในเวลาไล่เลี่ยกันในเดือนกันยายน เพราะในเดือนตุลาคม ที่ประเทศไทยต้องเจอกับพายุนาลแก ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนาแน่น จนหลายพื้นที่เกิดอุทกภัยอย่างหนัก ทั้งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งในระยะนี้ยังมีแนวโน้มว่า อุกทกภัยครั้งนี้จะยาวนาน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต ตลอดจนพื้นที่การเกษตร และพื้นที่เศรษฐกิจจำนวนมาก ซึ่งสถานการณ์ล่าสุดพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมก็ถูกน้ำท่วมไปด้วย และเส้นทางคมนาคมทั้งสายเอเชีย และพหลโยธินที่มุ่งสู่ภาคเหนือ ก็ถูกปิดเส้นทางเดินรถชั่วคราว ซ้ำหนักในแถบ จ.ปทุมธานี นครนายก สมุทรปราการ รวมไปถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังต้องรับช่วงต่อกับเหตุการณ์ครั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้กรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของไทย ได้รับความเสียหายมากขึ้น
อย่าง ไรก็ดี การอยู่กับภัยธรรมชาติ ซึ่งถือว่าปีนี้รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น สิ่งที่สามารถทำได้ก็คอการเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมือ เนื่องจากในเดือนตุลาคม-ธันวาคม ทางกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่ายังคงมีปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าค่าปกติอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ซึ่งกำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูน้ำหลาก ปี 2554  ปีแห่งการต่อสู้เพื่ออยู่รอด คงเป็นที่จดจำของทุกคน ทั้งผู้ที่ประสบภัย และผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ หากมองในแง่บวกอยู่บ้าง ก็นับว่าเป็นอีก 1 เหตุการณ์สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนไทย ที่ไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนก็ยังมีน้ำใจช่วยเหลือไม่ทิ้งกัน
     -----------------------------------------------------------------------------------------------
บัวทองเคหะท่วมแล้ว! น้ำสูงกว่า1ม. 8พันหลังจมบาดาล [ ไทยรัฐ : 14 ต.ค. 54 ]

ท่วมแล้ว! หมู่บ้านบัวทองเคหะน้ำขึ้น 1 เมตร พบเอ่อล้นจากคลองพิมลราชา บ้านเรือนกว่า 8 พันหลัง จมบาดาลได้รับความเดือดร้อน วอนให้ความช่วยเหลือด่วน...

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 ต.ค.54 ศูนย์วิทยุบางบัวทอง ได้แจ้งว่า หมู่บ้านบัวทอง เคหะ ม.1 ต.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ได้เกิดเหตุน้ำท่วม โดยหมู่บ้านดังกล่าวเป็นหมู่บ้านใหญ่หลายโครงการ บ้านเรือนไทย บ้านกาณต์มณี หมู่บ้านมนลดา โดยมีชาวบ้าน ม.14 หมู่ 3 กว่า 8,000 หลังคาเรือน โดยมีน้ำท่วมด้านหน้าโครงการต่างๆ สูงกว่า 50 ซม. ส่วนด้านใน น้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร

สอบถามนายวรชัย วาณิช อดีต ส.อบต.ในพื้นที่ กล่าวว่า น้ำได้เอ่อล้นจากคลองพระพิมลราชา ทางด้าน ซอยโรงหมี่ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย เข้าท่วมหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างขนของหนีน้ำ บางรายอพยพไปอยู่ที่อื่น อ.บางบัวทอง ส่งเรือมาให้ชาวบ้านใช้ 4 ลำ ทหารนำรถหกล้อ 1 คัน เรือ 2 ลำ ช่วยชาวบ้านขนของออกมา แต่ก็ยังไม่พอ ในขณะที่ความช่วยเหลือด้านในยังไปไม่ถึง

  
-----------------------------------------------------------------------------------------------
โรงงานกว่า900โรงจมบาดาล เสียหายไม่ต่ำกว่า2.6หมื่นล้าน [ ไทยรัฐ : 12 ต.ค. 54 ]
รมว.อุตฯเผย น้ำท่วมโรงงานอุตสาหกรรม 28 จังหวัด ทำโรงงานดำบาดาล 930 โรงงาน เฉพาะ 3 จังหวัดอยุธยา-ลพบุรี-นครสวรรค์ เสียหายหนักสุด ประเมินแล้วกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่โรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบทั้งประเทศว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใน 59  จังหวัด  มี 28 จังหวัด ที่โรงงานอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วม ตั้งแต่โอทอป เอสเอ็มอี จนถึงโรงงานขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบรวม 930 โรงงาน โดยโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  และนครสวรรค์ ได้รับความเสียหายสูงสุด เพราะเกิดความเสียหายทางตรงและทางอ้อมโดยรวมไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท  ประกอบกับค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 25,000 ล้านบาท รวมเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว 26,000 ล้านบาท รวมตัวเลขของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ยังไม่รวมผลเสียหายของนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินตรวจสอบ

รมว.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า หรือ ไฮเทค ขณะนี้ยังปลอดภัย โดยเช้าวันนี้แนวกั้นน้ำรั่วตามรูขนาดเล็ก จึงระดมทหาร 150  นาย และแรงงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยหยุดการไหลซึมในทิศเหนือ ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นขณะนี้ต่ำกว่าคันดินเพียง  50  เซนติเมตร  การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการหยุดเดินเครื่อง พร้อมอพยพแรงงานเรียบร้อยแล้ว  เหลือเพียงเจ้าหน้าที่ต้องเฝ้าระวังและเสริมกำลังแข็งแกร่งของแนวดินกั้นน้ำ พร้อมกันนี้มีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ  สินค้า  ออกไปยังพื้นที่ปลอดภัยแล้ว  อย่างไรก็ตาม แนวคันดินของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค โดยเฉลี่ยสูง 5.50 เมตร  กำลังเพิ่มทิศเหนือเป็น 6 เมตร  เนื่องจากมีปัญหาการรั่วซึมของน้ำในนิคมฯ ส่วนอีก 3 ด้าน คันดินยังคงมีสภาพที่จะรับน้ำได้อีก  60 เซนติเมตร
ส่วน นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน  เป็นนิคมในเครือของ ช.การช่าง  ได้มีการเตรียมเครื่องมือขนาดหนักเสริมคันดิน  จึงค่อนข้างมั่นใจว่าจะปลอดภัย  ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ยังดี  เขื่อนดินยังมีความห่างจากน้ำ  1.30 เมตร  กนอ.ขอให้ผู้ประกอบการหยุดดำเนินการเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์  แต่ได้รับความร่วมมือบางส่วน เนื่องจากบางโรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่ายังสามารถดำเนินการต่อไปได้  อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังคงเฝ้าระวังแนวดินกั้นน้ำตลอด มี  111  โรงงานในนิคมฯ

นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่ มี  99  โรงงาน ยังปลอดภัย แนวคันดินยังสูงกว่าระดับ 70 เซนติเมตร  ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมชลประทานระบุว่า เขื่อนป่าสักลดการปล่อยน้ำลงจาก 750  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เหลือ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ทำให้ลดกระแสน้ำลงสู่พื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลดน้อยลง  อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำยังเท่าเดิม  จึงยังคงเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากอุทกภัยทุก พื้นที่         

สำหรับ พื้นที่ปทุมธานี  เขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร  นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี  เขื่อนดินกั้นน้ำยังอยู่ในสภาพที่จะป้องกันอย่างดี  ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งวอร์รูม หรือศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย กระทรวงอุตสาหกรรมขึ้นมาดูแล  นำโดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม  และผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด ตั้งแต่รองปลัดกระทรวง ทำหน้าที่สับเปลี่ยนดูแลตลอด  24  ชั่วโมง  พร้อมส่งหน่วยเฉพาะกิจไปเฝ้าระวังทุกนิคมอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรม ลาดกระบัง  แนวคันดินสูง  1.60  เมตร  สูงจากน้ำ  56  เซนติเมตร  ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบางชัน  คันดินยังสูงกว่าระดับน้ำ  50  เซนติเมตร โดยคันดินสูง  2.20  เมตร  แนวป้องกันยังแข็งแรงปลอดภัย  และทั้ง  2  นิคมฯ ยังผลิต ไม่มีการอพยพคนแต่อย่างใด  อย่างไรก็ตาม  กนอ.ได้ขอความร่วมมือให้ผู้บริหารทั้ง  2  นิคมฯ  ต่อสู้กับภัยน้ำ พร้อมมีการตั้งศูนย์เฉพาะกิจขึ้นมาดูแล

ส่วนนิคม อุตสาหกรรมบางพลี และนิคมอุตสาหกรรมบางปู  กระทรวงอุตสาหกรรมไม่เป็นห่วง  อย่างไรก็ตาม  มีการวางแผนป้องกันอย่างเต็มที่  เนื่องจากบางปู เป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก  ประกอบกับน้ำเหนือยังมีระยะทางอีกไกล และมีข้อดีที่ กทม. เร่งระบายน้ำ ประกอบกับมีถนนมอเตอร์เวย์ขวางกั้นทางน้ำไหล

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการแถลงข่าวสถานการณ์น้ำท่วมทุกวัน เวลา 10.00 น. และ 17.00 น.

----------------------------------------------------------------------------------------------
'นครสวรรค์'ยังวิกฤติ เขตเศรษฐกิจจมบาดาล [ ไทยรัฐ : 11 ต.ค. 54 ]

พ่อเมืองปากน้ำโพ เผยยังอุดช่องโหว่คันกั้นน้ำไม่ได้ ทำให้เขตเศรษฐกิจจมบาดาลทั้งหมดแล้ว โดยระดับน้ำสูงใกล้เคียงกับน้ำในแม่น้ำ เหลือฝั่งศาลากลางที่ยังท่วมไม่ถึง ส่วนสะพานเดชาฯ ยังแกร่งใช้การได้ ขณะเดียวกันมีชาวบ้านร่วม 2,000 ราย ลงทะเบียนเข้าศูนย์อพยพแล้ว...
เมื่อ เวลาประมาณ  12.30 น. วันที่ 11 ต.ค. นายชัยโรจน์ มีแดง ผวจ.นครสวรรค์ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เขตเทศบาลนคร นครสวรรค์ ว่า หลังคันกั้นแม่น้ำปิงบริเวณหลังโรงน้ำแข็งเก่าตลาดบ่อนไก่พังถล่มเป็นแนว ประมาณ 100 เมตร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา จังหวัด ร่วมกับเทศบาล ทหารจากกองทัพภาคที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้เข้าสกัดกั้นน้ำและดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงในขณะนี้ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพียงสามารถล้อมน้ำเอาไว้ เนื่องจากกระแสน้ำรุนแรงและเพิ่มระดับอย่างรวดเร็วจนเข้าปฏิบัติงานยากลำบาก ทำให้น้ำท่วมฝั่งตลาดหรือ เขตเศรษฐกิจทั้งหมดแล้ว โดยระดับน้ำใกล้เคียงกับแม่น้ำ ส่วนฝั่งศาลากลางจังหวัดน้ำยังไม่ท่วม แต่มีการวางแนวป้องกันและแจ้งเตือนประชาชนไว้แล้ว
ทั้ง นี้ ตั้งแต่คันกั้นน้ำพังมีการประกาศให้ประชาชนอพยพไปยังศูนย์อพยพทั้ง 5 แห่งตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ มีประชาชนลงทะเบียนเข้าศูนย์ แล้วประมาณ 2 พันคน จากความสามารถรองรับได้ประมาณ 1 หมื่นคน ยังไม่มีปัญหา เบื้องต้นได้เน้นแจกจ่ายอาหารให้ทั่วถึงและเพียงพอ ควบคู่ไปกับการเข้าตรวจสอบและช่วยเหลือประชาชนอพยพออกจากพื้นที่
ผู้ ว่าราชการ จ.นครสวรรค์ กล่าวถึงความกังวลสะพานเดชาติวงศ์จะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมจนทำให้ตัด ขาดการสัญจรไปยังภาคเหนือว่า เบื้องต้นยังไม่พบความเสียหาย ขณะที่เจ้าหน้าที่ยืนยันว่า สามารถรองรับแรงกดทับและรับน้ำหนักได้ประมาณ 5-6 เท่า อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้

  
----------------------------------------------------------------------------------------------

วารีพิโรธที่โรจนะ 'เก๋งฮอนด้า'จมมิดกว่า 200 คัน [ ไทยรัฐ : 9 ต.ค. 54 ]

อยุธยาวิกฤติหนัก! น้ำทะลักท่วมนิคมฯโรจนะ 20 โรงงาน จมน้ำสูง 2-3 เมตร ขณะที่ฮอนด้าย้ายรถออกมาไม่ทัน ปล่อยจมน้ำ 200 คัน ส่วนที่ อ.ผักไห่ พบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย เนื่องจากไฟดูด ด้าน มจร.วังน้อย พร้อมช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอยุธยา เปิดพื้นที่ให้หลบภัยชั่วคราว ...

วันที่ 9 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า เริ่มวิกฤติหนัก โดยน้ำจากตัวเมืองอยุธยาท่วมถนนสายโรจนะขยายวงกว้างไปถึงปากประตูทางเข้า 1 และ 2 ของสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ต.คานหาม อ.อุทัย ตั้งแต่เวลา 20.00 น. วานนี้(8ต.ค.) ระดับน้ำสูง 30-50 ซม. จากนั้นน้ำจากคลองข้าวเม่าได้ข้ามทุ่งโจมตีคันดินด้านโรงงานผลิตรถยนต์ ฮอนด้าที่สูง 5 เมตร กว้าง 3-5 เมตรพังทลาย กระแสน้ำพุ่งเข้าอย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่ได้ระดมพลทหารกว่า 200 นาย คนงานในนิคมฯ และชาวบ้านช่วยกรอกทรายใส่กระสอบ นำไปกั้นกระแสน้ำตลอดทั้งคืน จนกระแสน้ำเบาบางลง แต่โรงงานจำนวน 20 โรง ต้องจมน้ำระดับความสูง 2-3 เมตร ส่วนที่เหลือเจ้าหน้าที่ได้วางแนวกระสอบทรายสูงกว่า 3 เมตร ป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าไปชั้นใน
นาย ประยูร ติ่งทอง อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ทางนิคมได้ป้องกันเต็มที่เสริมคันดินแล้ว แต่กระแสน้ำได้เข้าทางทุ่งนา ซึ่งดินด้านนี้จะอ่อนตัวกว่าด้านอื่น น้ำจึงทะลักเข้ามาได้ เจ้าหน้าที่ได้เร่งอุดตลอดทั้งคืนจนน้ำหยุดแล้ว แต่กระแสน้ำได้เข้าท่วมโรงงานบางส่วนน้ำสูง 2-3 เมตร และป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมชั้นใน ซึ่งสวนอุตสาหกรรมโรจนะ มีโรงงาน 223 โรง มีการลงทุนไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท น้ำท่วมไปแล้วประมาณ 20 โรงงาน ส่วนที่เหลือเราจะป้องกันเต็มที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาช่วงบ่ายน้ำได้ทะลักเข้าท่วมสวนอุตสาหกรรมโรจนะทั้งประตู 1 และ 2 น้ำขังสูง 2-3 เมตร ขยายวงกว้างท่วมแล้ว 90% ประมาณ 200 โรงงาน สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้าได้เร่งขนย้ายรถจำนวน 3,000 คัน ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. แต่ยังคงเหลือรถที่ยังจอดอยู่ภายในโรงงานประมาณ 200 คันจมน้ำ ค่าเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

นายทวี นริสศิริกุล รอง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางไปตรวจเยี่ยมศูนย์อพยพ ที่บริเวณอาคารพาณิชย์ ริมถนนสายเอเชีย ตรงข้ามศูนย์ราชการ ซึ่งเมื่อคืนมีฝนตกหนัก ทำให้ผู้อพยพที่อยู่ในเต็นท์ประมาณ 4,700 คน ส่วนใหญ่เป็นคนแก่และเด็กต้องเปียกปอน จึงได้ให้เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาล เข้าทำการรักษาผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคไข้หวัดและน้ำกัดเท้า

ขณะ ที่สถานการณ์น้ำท่วมในเกาะเมืองเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยายังท่วมสูง ขยายวงกว้างเข้าท่วมที่ทำการองค์การโทรศัพท์ทีโอที ทำให้น้ำท่วมหม้อแปลงไฟฟ้า เจ้าหน้าที่จึงต้องใช้ไฟปั่นช่วย โทรศัพท์พื้นฐานและระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั้งจังหวัด ทำให้การติดต่อสื่อสารขัดข้อง

ทั้งนี้กลางดึกที่ผ่านมา น้ำได้ล้นคันกั้นน้ำของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่จึงต้องย้ายผู้ป่วยหนักไปไว้ตามโรงเรียนแพทย์ อาทิ รพ.รามา รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ เป็นต้น ตลอดทั้งคืน นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์โกลาหล เมื่อญาติและคนไข้พยายามที่จะย้ายออกจาก รพ. แต่การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากน้ำท่วมหมดทั้งเกาะเมือง

ด้าน เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แจ้งว่าขณะนี้ได้ตั้งศูนย์บัญชาการโรงพยาบาลสนาม(เคลื่อนที่) ที่บริเวณตลาดรุ่งเจริญ ด้านหลังศูนย์อพยพผู้ประสบภัยของจังหวัดฯ โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหมุนเวียนมาเข้าเวรรักษา หากผู้ประสบภัยป่วยมารักษาได้ทันที

ที่ อ.ผักไห่ น้ำยังคงท่วมขังสูง 2-3 เมตร พบผู้เสียชีวิตจากไฟดูด 1 ราย ทราบชื่อ นายสมพร วัฒนะจิตตพงษ์ อายุ 81 ปี ขณะกำลังออกจากบ้านไปทำธุระ เดินลุยน้ำที่ขังราว 15 ซม. แล้วยืนจับเสาไฟฟ้า ทำให้ถูกไฟดูดเสียชีวิตคาที่

ขณะที่ พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) กล่าวว่า ตามที่พื้นที่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ประสบภัยน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จึงจะเปิดอาคารเรียนรวมให้เป็นสถานที่อพยพสำหรับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม และไม่มีที่อยู่อาศัย โดยเบื้องต้นได้มีคนงานจากนิคมอุตสาหกรรมโรจนะติดต่อมาเพื่อขอใช้พื้นที่ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ในการพักอาศัยเพื่อหลบภัยน้ำท่วมแล้วประมาณ 400 คน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีพื้นที่รองรับเพียงพอ และสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยได้ ขณะเดียวกันทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ วังน้อย ยังเปิดรับบริจาคสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วย
  

-----------------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมกรุงเก่า"นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร"จมมิด เสียหายกว่าหมื่นล้าน!! [ คมชัดลึก : 5 ตุลาคม 54 ]


นายสุนทร พงษ์เผ่า  ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  รายงานเมื่อวันที่  5 ตุลาคม ว่า  นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  ได้กลายเป็นเมืองที่จมบาดาลไปทันที ภาย หลังที่เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา  เกิดคันกั้นน้ำแตกระดับน้ำไหลหลากกว่า 3-4 เมตรทะลักเข้าจมโรงงานขนาดใหญ่กว่า 46 แห่ง โดยแต่ละแห่งเป็นโรงงานขนาดพันล้านถึงหลายหมื่นล้าน และเกือบทุกโรงงานมีอาคารโกดังการผลิตโรงงานละกว่า 10 อาคารหรือ 10 โรงงานย่อยในบริษัทใหญ่    นอกจากนี้ยังมีโรงงานขนาดย่อมที่เป็นโรงงงานซับคอนแท็กของโรงงานขนาดใหญ่อีก เป็นร้อยโรงงาน ได้จมน้ำลงทั้งหมด โดยพบว่าเกือบทุกโรงงานไม่สามารถที่จะขนย้ายสิ่งของได้ทัน  โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบพื้นที่น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ลงตรวจสอบพื้นที่และพบว่าสร้างความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้าน
ขณะที่แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมฯ เปิดเผยว่า ความเสียหายของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนครเบื้องต้น 3-4 หมื่นล้าน
ทั้งนี้  ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังได้บันทึกภาพถ่ายรวมทั้งคลิปวิดีโอน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร  มาให้ได้รับทราบความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลกับพี่น้องชาวไทยอีกด้วย
สำหรับ 46  บริษัท  ที่อยู่ภายใน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร  มีดังนี้
1  บริษัท คาโต้เล็ค (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และวงจรอิเล็กทรอนิกส์  
2. บริษัท คุมิ (ไทยแลนด์) จำกัด  ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากพลาสติก
3  บริษัท คูราโม่ (ไทยแลนด์) จำกัด  ผลิตและประกอบชุดสายไฟสำเร็จรูป
4  บริษัท เค.วี.เอส. เพลทติ้ง จำกัด  CHEMICAL PLATING
5  บริษัท จี ไอ เค (ไทยแลนด์) จำกัด  ผลิตแม่พิมพ์โลหะ
6  บริษัท โจนส์แอนด์ไวน์นิ่ง จำกัด  หุ่นรองเท้าทำด้วยพลาสติก
7  บริษัท เชียง ไทย นิตติ้ง จำกัด  เสื้อผ้าสำเร็จรูป ถักเสื้อไหมพรม
8  บริษัท ซี.ดี.เอส. เอเซีย จำกัด  ผลิตภัณฑ์โลหะ เช่น DOOR HANDLE,FURNITURE HANDLE
9  บริษัท ไดมุ (ไทยแลนด์)จำกัด  พิมพ์สิ่งพิมพ์
10  บริษัท ท็อป ไฮเทค (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิตแม่พิมพ์โลหะและชิ้นส่วนพลาสติก
11  บริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด  ชิ้นส่วนภายในยานยนต์ เช่น เบาะนั่ง แผงประตู แผงหลังคา พวงมาลัย
12  บริษัท เทราล ไทย จำกัด  ชิ้นส่วนปั๊มน้ำและชิ้นส่วนเครื่องจักร
13  บริษัท ไทย นิชชิน โมลด์ จำกัด  แม่พิมพ์และชิ้นส่วนพลาสติก
14  บริษัท ไทย มารูจูน จำกัด  ทำแบบ (DIES) และชิ้นส่วนยานยนต์
15  บริษัท ไทยคีทาฮาร่า จำกัด  ผลิตกล่องกระดาษและกล่องพลาสติก
16  บริษัท ไทยชิบาอุระเด็นชิ จำกัด  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิก (THERMISTOR SENSORS)
17  บริษัท ไทยฮิดากะ จำกัด  ผลิตแม่พิมพ์โลหะ รางม่านพร้อมอุปกรณ์ ชิ้นส่วนโครงพัดลมและใบพัดลมระบายอากาศ
18  บริษัท ธนาคม อินเจคชั่น จำกัด  รองเท้า และชิ้นส่วนรองเท้าทำจาก PVC
19  บริษัท เน็กซัส อิเลคเคมิค จำกัด  ชุบเคลือบผิวโลหะ (Electro Plating)
20  บริษัท บี.เอส.คามิยะ จำกัด  CHEMICAL PLATING
21  บริษัท พี พี ไอ จำกัด  ผลิตสีตีเส้นจราจร ผลิตสีน้ำมัน,สีน้ำ,น้ำมันขัดเงา,น้ำมันผสมสี,น้ำมันล้างสี
และผลิตภัณฑ์โลหะสำหรับงานจราจร
22  บริษัท เฟิสท์ แอพพาเรล (ไทยแลนด์) จำกัด  เสื้อผ้าสำเร็จรูป
23  บริษัท เอม อิเล็คทริค (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
24  บริษัท มาสโปร แอมเทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ผลิตประกอบอุปกรณ์ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
25  บริษัท เมเทค คิทามูระ (ประเทศไทย) จำกัด  ชุบเคลือบผิวโลหะ
26  บริษัท ยามาโมโต้ เฟาน์ดรี (ประเทศไทย) จำกัด  หล่อโลหะ
27  บริษัท โยชิทาเคะ เวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิตและประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ ข้อต่อ ข้องอ (STRAINER) และวาล์ว
28  บริษัท โยเนะเด็น (ประเทศไทย) จำกัด  ชุดสายไฟ และอุปกรณ์
29  บริษัท รัตนนครเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับงานอุตสาหกรรม
30  บริษัท วี.เอ็น.เคมีคัลซัพพลาย จำกัด  กาวยางสังเคราะห์และปูนยาแนวสำเร็จรูป
31  บริษัท เวสเซล (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิต HAND TOOLS และAIR TOOLS PARTS เช่น SCREWORIVER SETS
32  บริษัท สยาม เค็นเซทสุ จำกัด  ผลิตภัณฑ์พลาสติกและประกอบชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
33  บริษัท สยาม เอ็นเคเอส จำกัด  น้ำยาชุบเคลือบผิวโลหะ,ทำให้โลหะแวววาว และนำยาลอกผิวโลหะ
34  บริษัท สยามยามาโต้ อินดัสทรี จำกัด  ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและสำนักงาน
35  บริษัท อาควา นิชิฮาร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำ ถังเก็บเคมีภัณฑ์ อุปกรณ์สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย
ทำจากพลาสติกและไฟเบอร์กลาส
37  บริษัท อินโนเวชั่น นครหลวง ฟุตแวร์ จำกัด  รองเท้ากีฬา
38  บริษัท อี พี อี (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ แม่พิมพ์ ปั๊มโลหะและประกอบปืนยิงอิเลคตรอน ชิ้นส่วนโทรทัศน์สี
39  บริษัท เอคโค่ แทนเนอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิตหนังสำเร็จรูป
40  บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด  รองเท้าและชิ้นส่วนรองเท้าทำจากหนัง
41  บริษัท เอ็น ไอ (ประเทศไทย) จำกัด  PLASTIC MOULDING DINES,METAL STAMPING DIES AND ITS
COMPONENTS FOR SEMICONDUCTOR AND ELECTRONIC PRODUCTS,
COMPONENTS OF AUTOMATIC MACHINES FOR SEMICONDUCTOR PRODUCTS
42  บริษัท เอฟ.ที.เอ็น จำกัด  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตโลหะและชิ้นส่วนโลหะสำหรับผลิตภัณพ์ยานยนต์ และสำหรับผลิตภัณฑ์และสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์การชุบเคลือบผิวโลหะ และพลาสติก
43  บริษัท ฮิดะ อยุธยา (ประเทศไทย) จำกัด  ผลิต TRANSFORMER ADAPTOR และชุดสายไฟฟ้าสำเร็จรูป
44  บริษัท ไฮเทค-รับเบอร์ โปรดัคส์ จำกัด  ชิ้นส่วนจากยางและซิลิโคนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์
45  บริษัท บ้านแพน เอนจิเนียริ่ง แอนด์ โฮลดิ้ง จำกัด  ก่อสร้างแฟลตเพื่อขายหรือให้เช่า
46  บริษัท สหรัตนนคร จำกัด  ก่อสร้างอาคารทาวน์เฮ้าส์เพื่อขายหรือให้บริการ,  สถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อ
 -----------------------------------------------------------------------------------------------

กรมชลฯ และทหารเตรียมอุดประตูบางโฉมศรี [ ไทยรัฐ : 30 ก.ย. 54 ]

สถานการณ์ที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ต. ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี หลังน้ำทะลักจนทำให้ประตูกั้นน้ำพัง ล่าสุด กรมชลประทานร่วมกับทหาร เตรียมระดมก้อนหินที่บรรจุในกล่องเหล็ก กว่า 1,000 กล่องวางขวางกระแสน้ำลดความเชี่ยว...

เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2554 ที่บริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ต. ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ได้มี ทหารช่างพัฒนา จาก กองทัพบก กว่า 100 นาย ระดมก้อนหินมาเทเพื่อที่จะบรรจุในตู้กล่องเหล็ก จำนวนมาก โดยจะะลำเลียงใส่โป๊ะขนไปวาง ลงบริเวณน้ำที่ไหลเชียวหลากเพื่อเป็นการลดความแรงของน้ำ ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี อ.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เพื่อลดแรงดันที่หลากไปท่วมจังหวัดลพบุรี ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เนื่องจากระดับน้ำในจังหวัดลพบุรี ระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ

นาย มนตรี ตันตระกูล วิศวกรใหญ่ควบคุมการก่อสร้างกรมประทาน ที่เดินทางลงพื้นที่บริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรีวันนี้ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมการที่จะลดความรุนแรงของน้ำจากประตูระบายน้ำจริง โดยจะนำกำลังทหารช่างพัฒนา จาก กองทัพบก กว่า 100 นาย ระดมก้อนหินที่บรรจุในกล่องเหล็ก กว่า 1,000 กล่อง โดยจะะลำเลียงใส่โป๊ะขนไปวาง ลงบริเวณน้ำที่ไหลเชียวเพื่อเป็นการลดความแรงของน้ำ ทั้งนี้ จะทำความเข้าใจกับชาวบ้านตำบลชีน้ำร้ายก่อนว่าไม่ได้ปิดไม่ให้น้ำไหลแต่จะลด ความแรงของกระแสน้ำ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เย็นวันนี้เป็นต้นไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------
263 หมู่บ้านสุโขทัยอ่วมรอบ 8 ยอดตายพุ่ง 8 ศพ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 ก.ย. 54 ]

สุโขทัย พื้นที่ 4 อำเภอ 43 ตำบล 263 หมู่บ้านของสุโขทัยอ่วมอีก หลังน้ำท่วมสูง เป็นรอบที่ 8 ถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรง ใกล้ขาดซ้ำ ขณะที่ชาวบ้าน-พระสงฆ์ ร่วมลงแรงขนกระสอบทราบล้อมอาคารโรงเรียนบ้านปากแคว หวังให้เด็กเรียนได้พรุ่งนี้ (12 ก.ย.) หลังต้องปิดยาวกว่าเดือน ขณะที่ยอดชาวบ้านสังเวยน้ำท่วมปีนี้ เพิ่มเป็น 8 ศพแล้ว
     
       ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำ ท่วมที่ จ.สุโขทัย วันนี้ (11 ก.ย.) ว่า กลับเข้าสู่วิกฤตอีกครั้ง หลังมีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ประกอบกับน้ำเหนือไหลบ่าลงมาหนุน ทำให้บ้านเรือนราษฎร 263 หมู่บ้าน 43 ตำบล ในพื้นที่ 4 อำเภอ ถูกน้ำท่วมสูงเป็นระลอกที่ 8 ส่วนถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรง ตรงบริเวณหมู่ 6 (สายหลัง) ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย ที่ขาด 3 ช่วง และมีการนำสะพานเหล็ก มาวางเชื่อมให้สัญจรได้แล้วนั้น ล่าสุด แขวงการทางสุโขทัย ต้องเร่งนำไม้ยูคา และกระสอบทราย เข้าไปซ่อมแซมใต้คอสะพาน เนื่องจากถูกกระแสน้ำกัดเซาะ จนได้รับความเสียหายเพิ่ม
     
       ส่วนที่โรงเรียนบ้านปากแคว ทางพระสงฆ์พร้อมด้วยชาวบ้าน รวมเกือบ 100 คน ได้ช่วยกันขนกระสอบทราย ทำแนวล้อมตัวอาคารเรียน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง และให้เด็กนักเรียน สามารถมาเรียนได้ตามปรกติ ในวันจันทร์นี้ (12 ก.ย.) เพราะที่ผ่านมา โรงเรียนถูกน้ำท่วม จนต้องหยุดยาวมานานเกือบ 1 เดือนแล้ว
     
       สำหรับในพื้นที่ตัวเมืองสุโขทัย ทางเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ก็ได้ทำการระบายน้ำออกอย่างเร่งด่วน หลังจากมีน้ำยมทะลักผ่านท่อเข้ามาท่วมบ้านเรือน ร้านค้า และถนน ในหลายชุมชมของเขตเทศบาล
     
       ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำท่วม จ.สุโขทัย มีผู้ได้รับความเดือดร้อนแล้วกว่า 120,000 คน รวมเสียชีวิต 8 ราย และมีนาข้าวเสียหายอีกกว่า 300,000 ไร่
    

-----------------------------------------------------------------------------------------------

น้ำเหนือไหลบ่า กรุงเก่าจมน้ำสูงกว่า 2 เมตร [ ไทยรัฐ : 20 ส.ค. 54 ]

น้ำเหนือไหลบ่าหนัก 7 กรุงเก่าอ่วม จมใต้บาดาลสูงกว่า 2 เมตร ไร่นาเสียหายหนัก ชาวบ้านเร่งขนของย้ายขึ้นที่สูง...

วัน ที่ 20 สิงหาคม 2554 นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.ว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจสถานการณ์น้ำท่วม ที่บริเวณหน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมารวมกันแล้วไหลลงสู่ อ.บางปะอิน อ.บางไทรแล้วไหลผ่าน จ.ปทุมธานี
โดยมีนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.อยุธยา และนายวิทยา ผิวผ่อง ผวจ.พระนครศรีอยุธยาให้การต้อนรับและกล่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาทได้ปล่อยน้ำมาที่ท้ายเขื่อน 1870 ลบม./วินาที ทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง10-20 ซ.ม.ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการที่ตั้งอยู่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำได้รับความเดือดร้อนจำนวน 7 อำเภอได้แก่ อ.พระนครศรีอยุธยา อ.เสนา อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.มหาราช อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร ระดับน้ำท่วมขังสูง 50-140 ซ.ม.ทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายจำนวน 24,314 ไร่ ชาวบ้านขนของไว้ที่สูง จึงได้สั่งการให้ทุกอำเภอเร่งช่วยเหลือประชาชนโดยมีเงินฉุกเฉินสำรองช่วย เหลืออำเภอละ 1 ล้านบาท

ส่วนสถานที่น่าเป็นห่วงคือ พระตำหนักสิริยาลัย วัดไชยวัฒนาราม วัดธรรมมาราม ระดับน้ำเหลืออีกเพียง 40 ซ.ม.จะล้นตลิ่ง อ.บางบาล น้ำจากคลองบางหลวงและคลองบางบาล ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน อย่างหนักที่ ต.บางหัก ต.บางหลวง ต.บางหลวงโดด ต.วัดตะกู ต.ไทรน้อย น้ำท่วมขังสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้านต้องหนุนของหนีน้ำขึ้นอีกครั้ง บางส่วนอพยพไปอาศัยอยู่ริมถนนพร้อมกับสัตว์เลี้ยง
ส่วนที่ อ.เสนา น้ำจากแม่น้ำน้อยยังไหลทะลักท่วมตลาดเสนา(ตลาดบ้านแพน)เพิ่มสูงขึ้นราว 30-60 ซ.ม.ชาวบ้านและร้านค้าต้องขนของหนีและย้ายไว้ที่สูงส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ แม่น้ำน้ำท่วมสูงกว่า 160 ซ.ม. ระดับน้ำที่หน้าประตูระบายน้ำคลองขนมจีน ต.สามกอ สูงกว่า3 เมตร ต้องรอชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวก่อนสิ้นเดือนนี้ อ.พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าคลองเมืองรอบเกาะเมืองอยุธยาไหลท่วมบ้านเรือน ประชาชนที่อยู่ริมคลองต้องขนของและสัตว์เลี้ยงหนีไว้ที่สูง

ต่อมา นายวิทยา บุรณศิริ รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจดูน้ำท่วมที่บริเวณวัดจุฬามณี ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล โดยมีนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย พร้อมคณะเดินทางไปร่วมพร้อมแจกถุงยังชีพให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือด ร้อนจากอุทกอภัยน้ำท่วมจำนวน 1,350 ชุด จากนั้น ได้เดินทางไปตรวจที่ อ.บางปะอิน พร้อมแจกถุงยังชีพอีกจำนวน 300 ชุด และตรวจดูน้ำที่บริเวณวัดไชยวัฒนาราม
นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย กล่าวว่า สถานการณ์การน้ำท่วมที่อยุธยาซ้ำซาก สมัยโบราณมีการขนส่งทางน้ำ น้ำไหลหลากก็ท่วมเป็นประจำ การจัดการน้ำเมื่อก่อนทำนาปี พอจัดการบริหารน้ำดี ชาวนาทำนาปลัง และบางที่ก็ทำนาตลอดทั้งปี ดังนั้นเจ้าหน้าที่กรมชลประทานจัดการบริหารน้ำให้ดีน้ำก็จะไม่ท่วม ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องหันไปคิดย้อนหลังและแก้ไข

    

-----------------------------------------------------------------------------------------------