วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มุมมองต่อความมั่งคั่งและอิสระภาพทางการเงิน

มุมมองต่อความมั่งคั่งและอิสระภาพทางการเงิน

มีคำพูดอยู่ประโยคนึง ได้ยินมาแล้วจำได้แม่นมาคิดดูก็ว่ามีเหตุผล
"คนที่จะมีความมั่งคั่งและมีอิสระภาพทางการเงินได้นั้น ต้องมีรายได้อย่างน้อย สามทางนี้ ค่าเช่า ดอกเบี้ย และเงินปันผล"

หากเรามีเงินแต่ขาดรายได้ มันก็ไม่ต่างกับสามล้อถูกหวย
สิ่งสำคัญคือ รายได้ที่เข้ามา หรือที่เรียกว่า "กระแสเงินสด"

ดังนั้นมุมมองต่อทรัพย์สินที่เราสะสม แท้จริงแล้วการสะสมเงิน อาจไม่นำมาซึ่งอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริงก็ได้
(ยกเว้นว่าดอกเบี้ยรับเกินกว่า คชจ แต่สุดท้ายก็ยังแพ้เงินเฟ้อ)
การสะสม Asset ที่สร้างกระแสเงินสดได้ต่างหาก ที่จะสร้างอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง

คำว่า "การสะสม Asset" นั่นหมายถึงการเพิ่มจำนวนของ asset
สำหรับ นลท ที่มองเงินเป็น Asset ที่สร้างรายได้ได้มากกว่าเงินเฟ้อ และ คชจ ก็ไม่ผิดที่จะสะสมเงิน และสำหรับ นลท ที่มอง Asset ตัวอื่นเป็นทรัพย์สิน ที่สร้างรายได้ ก็ไม่จำเป็นต้องสะสมเงิน ขึ้นกับมุมมอง

เช่น คนทำ โรงแรม ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้ ก็ย่อมอยากมี "จำนวน" โรงแรมในมือมากขึ้น

เช่นเดียวกัน หากมีหุ้นที่มั่นใจว่าในอนาคตระยะยาว มีมูลค่าเพิ่มขึ้น (เพราะมองเห็นการเติบโตของ บ.) ก็อาจจะอยากได้ "จำนวน" มากขึ้น
แต่หุ้นมีข้อดีคือ สามารถ เทรดลดทุนได้

คนที่สะสมคอมโมก็เช่นกัน ตัวอย่างเช่นทอง
หากเชื่อว่าในระยะยาวสุดท้ายก็หนีเงินเฟ้อได้ และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น สิ่งที่ นลท ต้องการก็คือการเพิ่ม "จำนวน"
และลดต้นทุน แต่คอมโมนั้นไม่สามารถปันผลได้
ดังนั้น การเทรด เพื่อสร้าง "กระแสเงินสด" จึงสำคัญ

คนที่มีอคติ มองวิธีการที่แตกต่างจากตน แล้วโต้เถียงกันนั้น มันไม่ได้ช่วยอะไรได้เลย การเรียนรู้ มุมมอง วิธีคิด ระบบเทรด หลากหลายต่างหาก ที่จะช่วยพัฒนาตนเองได้ แม้ว่าจะนำมาใช้หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างน้อยจะทำให้เข้าใจวิธีคิด จุดซื้อ จุดขาย ของคนแต่ละกลุ่มในตลาด ที่แตกต่างจากเราได้

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คาดงบ น้าแอด 3Q56

คาดงบน้าแอด 3Q56



งบออกแล้ว  ผิดคาด สิ่งที่ไม่ได้รวมอยู่ในคาดการณ์(นอกเหนือคาดการณ์)
 คือ ค่า IC ที่ลดลงจาก 1บ เหลือ 45สต ทำให้รายได้ลดลง
เป็นเหตุให้คาดการณ์คลาดเคลื่อนไปเยอะพอสมควร






วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิกฤตต้มยำกุ้ง

วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย

(อังกฤษ1997 Asian financial crisis) หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการณ์เงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น[1]
แม้จะทราบกันดีแล้วว่าวิกฤตการณ์นี้มีอยู่และมีผลกระทบอย่างไร แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกับขอบเขตและทางแก้ไขอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ฮ่องกง มาเลเซีย ลาวและฟิลิปปินส์ก็เผชิญกับปัญหาค่าเงินทรุดเช่นกัน สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไนและเวียดนามได้รับผลกระทบน้อยกว่า ถึงแม้ว่าทุกประเทศที่กล่าวมานี้จะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียอุปสงค์และความเชื่อมั่นตลอดภูมิภาค
สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นจาก 100% เป็น 167% ในสี่ประเทศใหญ่อาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2536-38 ก่อนจะขึ้นไปสูงถึง 180% ในช่วงที่วิกฤตการณ์เลวร้ายที่สุด ในเกาหลีใต้ สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 21% และแตะระดับสูงสุดที่ 40% ขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่อยู่ทางเหนือได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก มีเพียงในไทยและเกาหลีใต้เท่านั้นที่หนี้สัดส่วนบริการต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น[2]
ถึงแม้ว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ในเอเชียได้ออกนโยบายการเงินที่ดูแล้วสมบูรณ์ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ก้าวเข้ามาเพื่อริเริ่มโครงการมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินในเกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ความพยายามที่จะยับยั้งวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระดับโลกได้ช่วยรักษาเสถียรภาพสถานการณ์ในประเทศในอินโดนีเซียได้เพียงเล็กน้อย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หลังจากครองอำนาจมายาวนานกว่า 30 ปี ท่ามกลางการจลาจลที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากค่าเงินรูเปียห์อ่อนตัวลงอย่างร้ายแรง ผลกระทบของวิกฤตการณ์ดังกล่าวกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2541 ในปีเดียวกันนั้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ มีเพียงสิงคโปร์และไต้หวันเท่านั้นที่พิสูจน์แล้วว่าเกือบจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในวิกฤตการณ์เลย แต่ทั้งสองประเทศก็ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามปกติ สิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปี พ.ศ. 2542 นักวิเคราะห์ได้มองเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังเริ่มฟื้นตัว

จนถึง พ.ศ. 2540 ทวีปเอเชียได้ดึงดูดการไหลเข้าของทุนรวมเกือบครึ่งเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รักษาอัตราดอกเบี้ยที่สูงซึ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาผลตอบแทนในอัตราที่สูง ผลคือ เศรษฐกิจในภูมิภาคมีเงินไหลเข้าในปริมาณมากและมูลค่าสินทรัพย์สะสมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจภูมิภาคอย่างไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก คิดเป็น 8-12% ของจีดีพี ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สัมฤทธิ์ผลดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงโดยสถาบันการเงิน ซึ่งรวมไปถึงไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก และเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจเอเชีย"
ในปี พ.ศ. 2537 นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง พอล ครุกแมน ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งโจมตีแนวคิด "ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจเอเชีย" เขาโต้แย้งว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกนั้นตามประวัติศาสตร์แล้วเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยรวมในด้านผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างจำกัดหรือไม่เพิ่มขึ้นเลย ครุกแมนแย้งอีกว่ามีเพียงการเติบโตในผลิตภาพปัจจัยรวม มิใช่การลงทุน เท่านั้นที่สามารถนำไปสู่ความมั่งคั่งในระยะยาวได้ หลังจากวิกฤตการณ์การเงินอุบัติขึ้น หลายคนมองว่าครุกแมนสามารถรู้ล่วงหน้า แม้เขาว่า เขาไม่ได้ทำนายถึงวิกฤตการณ์หรือคาดการณ์ความลึกของมันได้

จากวิกิพีเดีย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ตอน “6 สาเหตุ ที่ทำให้… ประเทศไทยเข้าสู่..วิกฤต !!”
คณะกรรมการการศึกษาและเสนอแนะ
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ(ศปร.)
ได้จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัย “ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ”
ซึ่งได้วิเคราะห์ปัญหาความผิดพลาดของการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
และสาเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ……………….
ที่นำไปสู่การปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวในปี 2540 ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ดังนี้


1.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

ปี 2530 – 2539 ในช่วงที่เศรษฐกิจของไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง
ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็มีการขาดดุล และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 14,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่หดตัวลง 1.9% จากที่เคยขยายตัวสูงในปีก่อนหน้าถึง 24.82%
อันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตเพื่อ……………………………..  “การส่งออก”       เป็นสำคัญ





2.ปัญหาหนี้ต่างประเทศ

…ปี 2533   ไทยรับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของไอเอ็มเอฟ  เพื่อเปิดระบบการเงินของไทยสู่สากล
…เดือนเมษายน พ.ศ. 2534   ประกาศผ่อนคลายการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
…เดือนกันยายน 2535 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย
(Bangkok International Banking Facilities : BIBF)
…เดือนมีนาคม 2536    มีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับมอบใบอนุญาตให้ดำเนินการได้
ทำให้เกิดการขยายตัวของระบบการเงินของประเทศ
ที่ส่งผลต่อการก่อหนี้ด้อยสภาพขึ้นมากในสถาบันการเงิน
และการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในเมืองไทย
ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้น
ในระดับสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยเฉพาะ   หนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศรวม
นั่นหมายถึง ถ้าต่างชาติ…เรียกคืน “หนี้ระยะสั้น” ทันที
คนไทยคงจะไม่มีปัญญาหาเงิน…มาจ่าย..แน่
สรุปคือ  ระหว่างปี 2532-37 มีการเปิดเสรีทางการเงิน หลายต่อ…หลายครั้ง
ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก
โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
เนื่องจากค่าเงินที่กำหนดไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้คนไทยที่กู้เงินนอก………. ไม่เคยคิดว่า อัตราแลกเปลี่ยน………. 25 บาทต่อดอลลาร์
วันดีคืนดี………. มันจะกลายไปเป็น………………………………………..  55 บาทต่อดอลลาร์

3.การลงทุนเกินตัว และฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ในช่วงปี 2530-2539  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน สนามกอล์ฟ สวนเกษตร
เนื่องจากผู้ประกอบการมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
และระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่กำลังร้อนแรงได้ง่าย
เพื่อมาลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทำให้เกิดความต้องการเก็งกำไร
ซึ่งได้ดึงดูดให้มีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมาก
เช่น การซื้อขายใบจอง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด เป็นต้น
จนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่

4.ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน

…ปลายปี 2539 เกิดปัญหาความไม่เชื่อมั่นอย่างรุนแรงต่อสถาบันการเงินในประเทศ
รัฐบาลสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง ปิดธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง
…เดือนมีนาคม 2540  กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุนอีก 10 แห่ง
…วันที่ 27 มิถุนายน 2540 ต้องสั่งปิด 16 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
…วันที่ 5 สิงหาคม 2540 ปิดอีก 42 บริษัท รวมเป็น 58 สถาบันการเงิน

รัฐบาลใช้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน
ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
เข้าสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต่าง ๆ
สิ้นเงินไปมากกว่า 6 แสนล้านบาท
เมื่อลูกหนี้เริ่มไม่สามารถชำระหนี้ได้
โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการลงทุนเกินกว่าความต้องการซื้อ
ทำให้ธนาคารมีปัญหาสภาพคล่อง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลพุ่งขึ้นสูง
โดยเอ็นพีแอลสูงสุดที่ 52.3% ของสินเชื่ออสังหาฯ รวม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542
นั่นหมายถึง มากกว่า……………. ครึ่งหนึ่ง… ของสินเชื่อบ้าน  ทั้งระบบ  
ลูกหนี้ ไม่มีตัง…………………….. ไม่มีตัง…………………………….  จ่าย !

5.ความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบาย

นโยบายการเปิดให้มีการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจเมื่อปี 2536
ที่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี
โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่ยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่
ทำให้ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไม่มีเสถียรภาพ

ปริมาณเงินในระบบได้สูงขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อแบงก์ชาติพยายามดูดซับสภาพคล่องโดยการขายพันธบัตร
ยิ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ ……………………………… สูงอยู่แล้ว …………………..ไม่ลดลง
ยิ่งทำให้เกิดมีเงินทุน ………………………………….ไหลเข้ามามากยิ่งขึ้น
6.การโจมตีค่าเงินบาท

ปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมานานดังกล่าว
ทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาส ……………………………………… โจมตีค่าเงินบาทของไทย
ซึ่งเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และนักลงทุนสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือ
โจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุนมีชื่อเรียกว่า Hedge Funds
เช่น กองทุน Quantum Fund ซึ่งดูแลโดยนาย George Soros
และนักเก็งกำไรอื่นๆ …………………………………………… ที่คอยผสมโรง ..โจมตีค่าเงินบาท





นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง ……………………… ไทยและเทศ
ก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน
ในการเก็งกำไรค่าเงินบาทนั้น นักเก็งกำไรอาศัยข้ออ้างจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ
จากการที่ประเทศ ………………………………………………ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก
และหนี้ระยะสั้นสูง ……………………………………..เมื่อเทียบกับเงินสำรองทางการ
เพื่อใช้เป็นข่าวลือว่าจะ ………………………………………… มีการลดค่าเงินบาท  ในเร็วๆนี้




ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินทุนสำรองทางการถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของเงินสำรองทั้งหมด มาใช้เพื่อปกป้องค่าเงินบาท
จนทำให้ …………………………. ณ.วันที่ 2 ก.ค. 40
มีเงินสำรองทางการเหลืออยู่เพียง  ……………………… 2,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เทียบกับเมื่อปลายปี 2539 ที่เคยมีถึง …………………. 38,7 00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และเป็นวันที่ นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าแบงค์ชาติ ประกาศ “ลอยตัวค่าเงินบาท”
และยังถือเป็นวันเริ่มต้นแห่งการเข้าสู่ “วิกฤตเศรษฐกิจ” ครั้งที่เลวร้ายที่สุดของ.. ประเทศไทย

เครดิต บทความจาก  ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


ผลกระทบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา 
          - สัดส่วนระหว่าง หนี้ต่างประเทศ กับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก 100% กลายเป็น 180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์
          - IMF (หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด
          - ประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้
          - ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน บ้านจัดสรร ปิดกิจการ พนักงานถูกปลด มีหนี้เกิดขึ้นมาก มีการกดดันให้รัฐบาลลาออก
          - ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด และต้องกู้จาก IMF จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

          - สำหรับการแก้ไขนั้น ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน IMF ให้แนวทางโดยดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด และปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน แต่ก็ส่งผลให้ปัญหาหนักขึ้น โดยราคาสินค้า และค่าบริการต่าง ๆ แพงขึ้น รัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงเพียงประคองสถานการณ์ และให้ประชาชนหันมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อมา รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงเริ่มสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินและการทำธุรกิจ โดยมีการสนับสนุน SMEs กองทุนหมู่บ้าน OTOP ประชาชนจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น