วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิกฤตต้มยำกุ้ง

วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย

(อังกฤษ1997 Asian financial crisis) หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการณ์เงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น[1]
แม้จะทราบกันดีแล้วว่าวิกฤตการณ์นี้มีอยู่และมีผลกระทบอย่างไร แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกับขอบเขตและทางแก้ไขอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ฮ่องกง มาเลเซีย ลาวและฟิลิปปินส์ก็เผชิญกับปัญหาค่าเงินทรุดเช่นกัน สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไนและเวียดนามได้รับผลกระทบน้อยกว่า ถึงแม้ว่าทุกประเทศที่กล่าวมานี้จะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียอุปสงค์และความเชื่อมั่นตลอดภูมิภาค
สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นจาก 100% เป็น 167% ในสี่ประเทศใหญ่อาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2536-38 ก่อนจะขึ้นไปสูงถึง 180% ในช่วงที่วิกฤตการณ์เลวร้ายที่สุด ในเกาหลีใต้ สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 21% และแตะระดับสูงสุดที่ 40% ขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่อยู่ทางเหนือได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก มีเพียงในไทยและเกาหลีใต้เท่านั้นที่หนี้สัดส่วนบริการต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น[2]
ถึงแม้ว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ในเอเชียได้ออกนโยบายการเงินที่ดูแล้วสมบูรณ์ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ก้าวเข้ามาเพื่อริเริ่มโครงการมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินในเกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ความพยายามที่จะยับยั้งวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระดับโลกได้ช่วยรักษาเสถียรภาพสถานการณ์ในประเทศในอินโดนีเซียได้เพียงเล็กน้อย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หลังจากครองอำนาจมายาวนานกว่า 30 ปี ท่ามกลางการจลาจลที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากค่าเงินรูเปียห์อ่อนตัวลงอย่างร้ายแรง ผลกระทบของวิกฤตการณ์ดังกล่าวกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2541 ในปีเดียวกันนั้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ มีเพียงสิงคโปร์และไต้หวันเท่านั้นที่พิสูจน์แล้วว่าเกือบจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในวิกฤตการณ์เลย แต่ทั้งสองประเทศก็ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามปกติ สิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปี พ.ศ. 2542 นักวิเคราะห์ได้มองเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังเริ่มฟื้นตัว

จนถึง พ.ศ. 2540 ทวีปเอเชียได้ดึงดูดการไหลเข้าของทุนรวมเกือบครึ่งเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รักษาอัตราดอกเบี้ยที่สูงซึ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาผลตอบแทนในอัตราที่สูง ผลคือ เศรษฐกิจในภูมิภาคมีเงินไหลเข้าในปริมาณมากและมูลค่าสินทรัพย์สะสมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจภูมิภาคอย่างไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก คิดเป็น 8-12% ของจีดีพี ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สัมฤทธิ์ผลดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงโดยสถาบันการเงิน ซึ่งรวมไปถึงไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก และเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจเอเชีย"
ในปี พ.ศ. 2537 นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง พอล ครุกแมน ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งโจมตีแนวคิด "ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจเอเชีย" เขาโต้แย้งว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกนั้นตามประวัติศาสตร์แล้วเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยรวมในด้านผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างจำกัดหรือไม่เพิ่มขึ้นเลย ครุกแมนแย้งอีกว่ามีเพียงการเติบโตในผลิตภาพปัจจัยรวม มิใช่การลงทุน เท่านั้นที่สามารถนำไปสู่ความมั่งคั่งในระยะยาวได้ หลังจากวิกฤตการณ์การเงินอุบัติขึ้น หลายคนมองว่าครุกแมนสามารถรู้ล่วงหน้า แม้เขาว่า เขาไม่ได้ทำนายถึงวิกฤตการณ์หรือคาดการณ์ความลึกของมันได้

จากวิกิพีเดีย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ตอน “6 สาเหตุ ที่ทำให้… ประเทศไทยเข้าสู่..วิกฤต !!”
คณะกรรมการการศึกษาและเสนอแนะ
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ(ศปร.)
ได้จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัย “ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ”
ซึ่งได้วิเคราะห์ปัญหาความผิดพลาดของการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
และสาเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ……………….
ที่นำไปสู่การปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวในปี 2540 ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ดังนี้


1.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

ปี 2530 – 2539 ในช่วงที่เศรษฐกิจของไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง
ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็มีการขาดดุล และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 14,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่หดตัวลง 1.9% จากที่เคยขยายตัวสูงในปีก่อนหน้าถึง 24.82%
อันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตเพื่อ……………………………..  “การส่งออก”       เป็นสำคัญ





2.ปัญหาหนี้ต่างประเทศ

…ปี 2533   ไทยรับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของไอเอ็มเอฟ  เพื่อเปิดระบบการเงินของไทยสู่สากล
…เดือนเมษายน พ.ศ. 2534   ประกาศผ่อนคลายการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
…เดือนกันยายน 2535 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย
(Bangkok International Banking Facilities : BIBF)
…เดือนมีนาคม 2536    มีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับมอบใบอนุญาตให้ดำเนินการได้
ทำให้เกิดการขยายตัวของระบบการเงินของประเทศ
ที่ส่งผลต่อการก่อหนี้ด้อยสภาพขึ้นมากในสถาบันการเงิน
และการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในเมืองไทย
ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้น
ในระดับสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยเฉพาะ   หนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศรวม
นั่นหมายถึง ถ้าต่างชาติ…เรียกคืน “หนี้ระยะสั้น” ทันที
คนไทยคงจะไม่มีปัญญาหาเงิน…มาจ่าย..แน่
สรุปคือ  ระหว่างปี 2532-37 มีการเปิดเสรีทางการเงิน หลายต่อ…หลายครั้ง
ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก
โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
เนื่องจากค่าเงินที่กำหนดไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้คนไทยที่กู้เงินนอก………. ไม่เคยคิดว่า อัตราแลกเปลี่ยน………. 25 บาทต่อดอลลาร์
วันดีคืนดี………. มันจะกลายไปเป็น………………………………………..  55 บาทต่อดอลลาร์

3.การลงทุนเกินตัว และฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ในช่วงปี 2530-2539  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน สนามกอล์ฟ สวนเกษตร
เนื่องจากผู้ประกอบการมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
และระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่กำลังร้อนแรงได้ง่าย
เพื่อมาลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทำให้เกิดความต้องการเก็งกำไร
ซึ่งได้ดึงดูดให้มีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมาก
เช่น การซื้อขายใบจอง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด เป็นต้น
จนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่

4.ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน

…ปลายปี 2539 เกิดปัญหาความไม่เชื่อมั่นอย่างรุนแรงต่อสถาบันการเงินในประเทศ
รัฐบาลสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง ปิดธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง
…เดือนมีนาคม 2540  กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุนอีก 10 แห่ง
…วันที่ 27 มิถุนายน 2540 ต้องสั่งปิด 16 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
…วันที่ 5 สิงหาคม 2540 ปิดอีก 42 บริษัท รวมเป็น 58 สถาบันการเงิน

รัฐบาลใช้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน
ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
เข้าสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต่าง ๆ
สิ้นเงินไปมากกว่า 6 แสนล้านบาท
เมื่อลูกหนี้เริ่มไม่สามารถชำระหนี้ได้
โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการลงทุนเกินกว่าความต้องการซื้อ
ทำให้ธนาคารมีปัญหาสภาพคล่อง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลพุ่งขึ้นสูง
โดยเอ็นพีแอลสูงสุดที่ 52.3% ของสินเชื่ออสังหาฯ รวม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542
นั่นหมายถึง มากกว่า……………. ครึ่งหนึ่ง… ของสินเชื่อบ้าน  ทั้งระบบ  
ลูกหนี้ ไม่มีตัง…………………….. ไม่มีตัง…………………………….  จ่าย !

5.ความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบาย

นโยบายการเปิดให้มีการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจเมื่อปี 2536
ที่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี
โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่ยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่
ทำให้ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไม่มีเสถียรภาพ

ปริมาณเงินในระบบได้สูงขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อแบงก์ชาติพยายามดูดซับสภาพคล่องโดยการขายพันธบัตร
ยิ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ ……………………………… สูงอยู่แล้ว …………………..ไม่ลดลง
ยิ่งทำให้เกิดมีเงินทุน ………………………………….ไหลเข้ามามากยิ่งขึ้น
6.การโจมตีค่าเงินบาท

ปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมานานดังกล่าว
ทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาส ……………………………………… โจมตีค่าเงินบาทของไทย
ซึ่งเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และนักลงทุนสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือ
โจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุนมีชื่อเรียกว่า Hedge Funds
เช่น กองทุน Quantum Fund ซึ่งดูแลโดยนาย George Soros
และนักเก็งกำไรอื่นๆ …………………………………………… ที่คอยผสมโรง ..โจมตีค่าเงินบาท





นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง ……………………… ไทยและเทศ
ก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน
ในการเก็งกำไรค่าเงินบาทนั้น นักเก็งกำไรอาศัยข้ออ้างจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ
จากการที่ประเทศ ………………………………………………ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก
และหนี้ระยะสั้นสูง ……………………………………..เมื่อเทียบกับเงินสำรองทางการ
เพื่อใช้เป็นข่าวลือว่าจะ ………………………………………… มีการลดค่าเงินบาท  ในเร็วๆนี้




ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินทุนสำรองทางการถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของเงินสำรองทั้งหมด มาใช้เพื่อปกป้องค่าเงินบาท
จนทำให้ …………………………. ณ.วันที่ 2 ก.ค. 40
มีเงินสำรองทางการเหลืออยู่เพียง  ……………………… 2,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เทียบกับเมื่อปลายปี 2539 ที่เคยมีถึง …………………. 38,7 00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และเป็นวันที่ นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าแบงค์ชาติ ประกาศ “ลอยตัวค่าเงินบาท”
และยังถือเป็นวันเริ่มต้นแห่งการเข้าสู่ “วิกฤตเศรษฐกิจ” ครั้งที่เลวร้ายที่สุดของ.. ประเทศไทย

เครดิต บทความจาก  ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


ผลกระทบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา 
          - สัดส่วนระหว่าง หนี้ต่างประเทศ กับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก 100% กลายเป็น 180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์
          - IMF (หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด
          - ประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้
          - ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน บ้านจัดสรร ปิดกิจการ พนักงานถูกปลด มีหนี้เกิดขึ้นมาก มีการกดดันให้รัฐบาลลาออก
          - ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด และต้องกู้จาก IMF จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

          - สำหรับการแก้ไขนั้น ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน IMF ให้แนวทางโดยดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด และปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน แต่ก็ส่งผลให้ปัญหาหนักขึ้น โดยราคาสินค้า และค่าบริการต่าง ๆ แพงขึ้น รัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงเพียงประคองสถานการณ์ และให้ประชาชนหันมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อมา รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงเริ่มสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินและการทำธุรกิจ โดยมีการสนับสนุน SMEs กองทุนหมู่บ้าน OTOP ประชาชนจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น