วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กองทุนรวม TRUEGIF


กองทุนรวม TRUEGIF


  • ชื่อโครงการจัดการ (ไทย) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท
  • บริษัทจัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จากัด
  • ผู้ดูแลผลประโยชน์ ธนาคารกสิกรไทย จากัด (มหาชน)


เป็นกองทุนรวมชนิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน ซึ่งบริษัทจัดการจะยื่นขอจดทะเบียน
หน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

สิท ธิป ร ะ โ ย ช น์แ ล ะนโยบายการจ่ายเงินปันผลและการคืนเงินลงทุน
การจ่ายเงินแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถกระทำได้เป็นครั้งคราว
ในรูปของการจ่ายเงินปันผลและการคืนเงินลงทุนด้วยการลดทุนตามที่โครงการ
จัดการกองทุนและกฎหมายหลักทรัพย์ให้กระทาได้
   กองทุนมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละสองครั้ง
ในกรณีที่กองทุนมีกำไรเพียงพอ โดยเมื่อรวมแล้วในแต่ละรอบปีบัญชี จ่ายใน
อัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกาไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว
กองทุนอาจจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
จากกาไรสะสมได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการจะไม่จ่ายเงินปันผลไม่ว่าจะเป็น
การจ่ายจากกำไรสุทธิที่ปรับปรุงข้างต้น หรือจากกาไรสะสมในกรณีที่กองทุนยังมี
ยอดขาดทุนสะสมอยู่

ความเสี่ยงของกองทุน อยู่ในระดับ 8 ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงสุดของกองทุนรวม


  • ทรัพย์สินที่ลงทุน 






  • กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจานวน 6,000 เสา

    • และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้สาหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่
    • เป็นทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มซึ่งทรูจะส่งมอบหรือดาเนินการให้มีการส่งมอบเสาโทรคมนาคมจานวน
    • 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ เสาโทรคมนาคมจานวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31
    • ธันวาคม พ.ศ. 5228 (ข) กรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนาแสงหลัก (core fiber optic cable grid) และอุปกรณ์ระบบ
    • สื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด





  • สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิที่เกิดขึ้นจากการให้เช่าทรัพย์สินโทรคมนาคมบางประเภท



  • คาดว่า กสท. โทรคมนาคม จะยังคงใช้ทรัพย์สิน
    โทรคมนาคมที่มีการขายรายได้สุทธิที่เกิดจากการให้เช่า ให้แก่กองทุนต่อไปจนกว่าสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์HSPA จะสิ้นสุด

    ทั้งนี้ กองทุนจะไม่มีสิทธิในรายได้ใด ๆ ที่จะเกิดจากการให้บริการดาเนินงานและการบารุงรักษาโดย BFKT ตามสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์ HSPA ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินโทรคมนาคมของ BFKT และเสาโทรคมนาคมของ AWC และกองทุนจะไม่มีสิทธิในรายได้ใด ๆ ที่เกิดจากการให้เช่าโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Active อันรวมถึง Node B ซึ่งใช้ในการให้บริการ 3G ของ กสท. โทรคมนาคม บนคลื่นความถี่ในย่านความถี่ 820 MHz ยกเว้นอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ



    ตามสัญญาโอนขายทรัพย์สินและสิทธิรายได้ที่กองทุนจะเข้าทากับ BFKT นั้น BFKT จะให้สิทธิแก่
    กองทุนในการซื้อ (call option) เสาโทรคมนาคมของ BFKT จานวน 1,432 เสา กองทุนไม่สามารถรับรองได้ว่ากองทุนจะได้ใช้สิทธิในการซื้อ (call option) ทรัพย์สินโทรคมนาคมของ BFKT อย่างแน่นอน

    กองทุนจะมีสิทธิในการรับ
    รายได้สุทธิจากเสาโทรคมนาคมกว่า 5,845 เสา และกองทุนจะซื้อทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มซึ่งประกอบด้วยเสาโทรคมนาคมอีกจานวน 6,000 เสา ทาให้กองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุน (ทั้งที่เป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิ) จะเพิ่มขึ้นเป็น 11,845 เสาภายในสิ้นปี พ.ศ.2558

    โดย Analysys Mason
    ประมาณการว่าผู้ใช้บริการข้อมูลเคลื่อนที่จะเติบโตขึ้นในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 46 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงปี พ.ศ. 2560 และจานวนการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายทั้งหมดจะเติบโตขึ้นในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 23 ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน

    กองทุนจะมีสิทธิได้รับค่าเช่าจากผู้เช่าและบริหารจัดการหลักบนเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มที่เป็น
    กรรมสิทธิ์ของกองทุน โดยกาหนดระยะเวลาผูกพันถึงปี พ.ศ. 2570 ภายใต้สัญญาเช่า ดาเนินการและบริหารจัดการหลักกับเรียลฟิวเจอร์ โดยมีอัตราค่าเช่าตั้งต้นที่คงที่ซึ่งจะมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นรายปีโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ในอัตราคงที่ซึ่งจะสะท้อนถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
    ทั้งนี้ อัตราค่าเช่าที่ปรับขึ้นจริงนั้นอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ก็ได้

    จานวนเสาโทรคมนาคมเริ่มต้นทั้งสิ้น 5,845 เสา ที่กองทุนจะมีสิทธิในรายได้สุทธิแบ่งเป็น เสา
    โทรคมนาคมของ BFKT จานวน 1,482 เสา และเสาโทรคมนาคมของ AWC จานวน 4,360 เสา 
    เสาโทรคมนาคมส่วนนี้จะถูกนาออกให้เช่าโดย BFKT แก่ กสท. โทรคมนาคม แต่เพียงผู้เดียวตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์ HSPA โดยค่าเช่าในส่วนที่เป็นเสาโทรคมนาคมของ BFKT จะเป็นค่าเช่าคงที่หลังหักค่าใช้จ่ายในอัตราเริ่มต้นที่ 19,565 บาทต่อเสาต่อเดือน ในปี พ.ศ. 5227 และ พ.ศ. 5228 และในส่วนที่เป็นเสาโทรคมนาคมของ AWC ในอัตราเริ่มต้นที่ 22,000 บาทต่อเสาต่อเดือน ในปี พ.ศ. 5227 และ พ.ศ. 5228

    นอกจากนี้ ทรูได้ตกลงที่จะส่งมอบหรือดาเนินการให้มีการส่งมอบเสาโทรคมนาคมเพิ่มเติมให้แก่กองทุนจานวน6,000 เสา ซึ่ง เสาโทรคมนาคม 3,000 เสาในจานวนนั้นจะส่งมอบให้แก่กองทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2557 และเสาโทรคมนาคมที่เหลือ 3,000 เสาจะส่งมอบให้แก่กองทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้เรียลฟิวเจอร์ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มทรูที่ได้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในย่านความถี่ 2100 MHz จะเป็นผู้เช่าและบริหารจัดการหลักสาหรับทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มจานวน 6,000 เสานี้ และตกลงที่จะเช่าพื้นที่ (slots)บนเสาเพิ่มเติม โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 15,249 พื้นที่ (slots) บนเสาโทรคมนาคมเหล่านี้โดยประมาณ โดยคาดว่าภายในต้นปี พ.ศ. 2560 อัตราการใช้พื้นที่ (occupancy rate) โดยเฉลี่ยของทรัพย์สิน
    เสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มจานวน 6,000 เสานี้จะเท่ากับ 2.54 ต่อเสา โดยประมาณ เปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มจะมีความสามารถในการรองรับโดยเฉลี่ยต่อเสาโทรคมนาคมที่ 3.76

    ทั้งนี้ กองทุนจะเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ที่เกิดจากการให้เช่า เสาโทรคมนาคมรวม 11,842 เสา ซึ่งประกอบด้วยเสาที่ตั้งอยู่บนพื้นดินจานวน 9,088 เสา เสาที่ตั้งอยู่บนดาดฟ้าจานวน 5,522 เสา และ ระบบ Distributed Antenna System จานวน 205 เสา

    (คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือชี้ชวน  หาอ่านฉบับเต็มได้จาก หนังสือชี้ชวน)


    -----------------------------------------------------------------------






    ความเห็นส่วนตัว
    เป็นกองทุนที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก ทั้งทางเทคนิคการเงิน ข้อตกลงต่างๆ สัญญาต่างๆ
    ส่วนตัวคิดว่ากองทุนนี้ นลท รายย่อยไม่สามารถเข้าใจรายละเอียดได้ทั้งหมด ไม่เหมาะกับ นลท รายย่อย มีการใช้เครื่องมือทางการเงิน  call option ของสัญญาอีกด้วย

    จากที่อ่านเข้าใจว่า ทรัพย์สินหลักคือ เสาจำนวนไม่เกิน 12,000 ต้น
    รายได้คือค่าเช่า สูงสุด ได้ต้นละ 22,000 บ ต่อเดือน
    ลองคำนวนดู  12,000ต้น *22,000 บาทต่อเดือน *12เดือน = 3168M ต่อปี
    รายได้ก่อนหัก คชจ ต่อปีอยู่ที่ 3,168MB (เป็นกรณีสูงสุด เพราะค่าเช่าไม่ได้ที่ 22,000 บต่อเดือนทุกต้น และ จำนวนเสาไม่ใช่ 12,000 ต้น ตั้งแรกแรกเริ่ม เป็นการทยอยส่งมอบ)

    ลองดูด้านมูลค่ากองทุน คาดว่ามูลค่าจะประมาณ 58,080 ล้านบาท

    คำนวนหาผลตอบแทนกองทุนดูนะครับ    (แบบคร่าวๆนะครับ)
      (3,168/58,080)*100 = 5.45%  

    เป็นอย่างสูงคือเป็น กรณี Best case นะครับ อย่างที่บอก คำนวนจาก ค่าเช่าเดือนละ 22,000 บต่อเดือน และคำนวนจากจำนวนเสา 12,000 ต้น

    ได้ทราบมาว่า true จะถือหุ้นนกองนี้ประมาณ 18%
    ปกติที่ผมเจอมา บ.ที่ออกกองอสังหาต่างๆ จะถือหุ้นในกองประมาณ 25%-30% 
    ทำให้คิดว่าผลตอบแทนไม่จูงใจให้ บ.แม่ถือ ???


    --------------------------------------------------------------------


    การปรากฏข้อมูลรายละเอียดของร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน เวอร์ชั่นแรก ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท (TRUEGIF) ผ่าน www.sec.or.th ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้แนวโน้มความจริงที่จะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเริ่มมีความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะมีกระแสข่าวที่ระบุว่า ดีลการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม ทรูโกรท (TRUEGIF) ของ บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น คาดกองทุน TRUEGIF จะเสนอขายหน่วยลงทุนในวันที่ 11-12 ธันวาคม 2556 นี้ โดยจะการทำ book building และขายในวันเดียวกันนอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนที่ คาดว่าจะอยู่ที่ 7.0-8.5% เพิ่มขึ้นจากเดิม เพราะได้รวมความเสี่ยงทางการเมืองเข้าไปด้วย ส่วนวงเงินการระดมทุนนั้น ขึ้นอยู่กับผลการสำรวจความต้องการจองซื้อ ของผู้ลงทุนสถาบัน ที่จะมีการกำหนดราคาเสนอขายเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ขึ้นหนังสือชี้ชวนการเสนอขายกองทุน TRUEGIF แล้ว แต่ยังไม่ได้ระบุถึงวงเงินจากการเสนอขายหน่วยลงทุนและช่วงเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวกองทุนตั้งเป้าหมายจะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 6-8 หมื่นล้านบาท โดย TRUE จะถือหุ้น 18% ในกองทุนนี้ หลังจากนำกองทุนเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย TRUEGIF จะเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของไทย หลังการจดทะเบียนกองทุนมูลค่า 2.13 พันล้านดอลลาร์ ของ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง ในช่วงที่ผ่านมาโดยมี เครดิต สวิส และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้ประสานงานร่วมในการ เสนอขายกองทุน TRUEGIF ในระดับโลก และเป็นนายทะเบียน ร่วมกับแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ และยูบีเอส ขณะที่สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เป็นผู้นำการจัดจำหน่าย- เปิดร่างหนังสือชี้ชวน TRUEGIFสำหรับภาพรวมการลงทุนของกองทุนฯ ทรูโกรทนี้ จัดตั้งขึ้นเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีการจำหน่ายลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นช่องทางให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนให้ได้มีโอกาสลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของกองทุน ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของกองทุน คือการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนเพื่อเป็นรายได้ให้แก่กองทุนเพื่อให้กองทุนสามารถจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในระยะยาวบริษัทจัดการจะดำเนินการให้กองทุนนำเงินที่ได้จากการเสนอขายครั้งแรกไปลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ประกอบด้วย กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจำนวน 6 พันเสา และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เป็นทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่ม ซึ่งทรู จะส่งมอบหรือดำเนินการให้มีการส่งมอบเสาโทรคมนาคม จำนวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2557 และเสาโทรคมนาคมจำนวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2558นอกจากนี้ยังมีกรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนำแสงหลัก (core fiber optic cable grid) และอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง และระบบบรอดแบรด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด รวมถึงสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สิทธิที่เกิดขึ้น และรวมถึงวันเริ่มคำนวณรายได้จนถึงวันครบกำหนดสัญญา HSPA ที่เกิดจากการให้เช่าทรัพย์สินโทรคมนาคม ของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) หรือ BFKT และเสาโทรคมนาคมของบริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น หรือ AWC ดังต่อไปนี้1.เสาโทรคมนาคมจำนวนหนึ่ง และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้อง 2.ระบบใยแก้วนำแสงสำหรับจุดเด่นของกองทุน บริษัทจัดการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับเงินปันผลเพื่อการสร้างผลตอบแทน ในระยะยาว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับต่อการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมเข้าลงทุน โดยกองทุนมีจุดเด่นและมีกลยุทธ์การบริหารทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมเข้าลงทุน ดังนี้1.การมีกองทรัพย์สินซึ่งประกอบไปด้วยเสาโทรคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมอื่นๆ ทั้งที่เป็นกรรมสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สิทธิ จำนวนมาก และกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งกองทุนจะได้รับประโยชน์จากการที่เป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรม ซึ่งการเข้ามาในตลาดมีอุปสรรคอย่างมากเนื่องจากบริษัทจัดการเชื่อว่า กองทรัพย์สินอันประกอบด้วยทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่มีลักษณะเฉพาะของกองทุนจะเป็นหนึ่งในกองทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายที่สุดของประเทศไทย และทำให้กองทุนสามารถบริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์แก่ผู้เช่าและบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนได้ ณ วันที่กองทุนลงทุน กองทุนจะมีสิทธิในการรับรายได้สุทธิจากเสาโทรคมนาคมอีก จำนวน 5,845 เสา และกองทุนจะซื้อทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มซึ่งประกอบด้วยเสาโทรคมนาคม อีกจำนวน 6,000 เสา ทำให้กองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุนทั้งที่เป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สิทธิ จะเพิ่มขึ้นเป็น 11,845 เสา ภายในสิ้นปี 2558 โดยเสาโทรคมนาคมของกองทุนจะตั้งอยู่ในทุก 77 จังหวัด ของประเทศไทย ซึ่งกองทรัพย์สินที่เป็นเสาโทรคมนาคมนี้จะทำให้กองทุนสามารถนำเสนอเสาโทรคมนาคม ที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ให้แก่ผู้เช่าและบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนและทำให้โครงข่ายของผู้เช่าและบริหารจัดการหลักของกองทุนสามารถครอบคลุมจำนวนประชากรมากกว่า 90% บนคลื่นความถี่ในย่านความถี่ 850MHz และ 2100MHz ได้ภายในอีกสามปีข้างหน้า2.กองทุนอยู่ในสถานะที่ดีที่จะได้รับประโยชน์จากการขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนไปใช้บริการระบบ 3G และ 4G LTE ในประเทศไทย3.การจำกัดความเสี่ยงจากการพึ่งพาการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย จากรายได้จากสัญญาระยะยาว และสิทธิในการได้รับรายได้สิทธิ ซึ่งเป็นฐานในการจัดสรรผลตอบแทนการลงทุนที่ต่อเนื่องให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระยะยาวและ 4.เสาโทรคมนาคมของกองทุนมีพื้นที่รองรับเพิ่มที่รองรับเพิ่มเติมจำนวนมาก และอยู่ในสถานที่ตั้งที่ดีที่จะเติบโตได้จากการเพิ่มการเช่าพื้นที่ร่วม ทำให้สามารถมีรูปแบบทางธุรกิจที่พร้อมเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมีความสามารถในการรักษาระดับของต้นทุนในการดำเนินการ- โครงสร้างกองทุน TRUEGIFบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น TRUE เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเห็นชอบให้บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย เข้าทำธุรกรรมกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (กองทุน) ซึ่งอยู่ระหว่างการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะมีการจำหน่ายไปในธุรกรรมขายทรัพย์สินและรายได้และให้เช่าทรัพย์สินจะไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท และมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะมีการได้มาในธุรกรรมเช่ากลับและเช่า/เช่าช่วงจะไม่เกิน 55,000 ล้านบาท (ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 15 ปี)สำหรับธุรกรรมการขายทรัพย์สินและรายได้และให้เช่าทรัพย์สิน ได้แก่ (1) เสาโทรคมนาคม (ซึ่งรวมทั้งเสาที่ตั้งบนพื้นดินเสาที่ตั้งบนดาดฟ้าและโครงข่าย Distributed Antenna System) จำนวนประมาณ 13,000 เสา (2) โครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber OpticCable, “FOC") อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ จำนวน 45,000 คอร์กิโลเมตร (core-km) และ 9,000 ลิ้งค์ และ (3) โครงข่ายบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด มีจำนวน 1.2 ล้านพอร์ตรวมทั้งขายสิทธิรายได้ สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ที่เกิดจากการให้เช่าอุปกรณ์ 3G HSPA (Node B และอุปกรณ์โครงข่ายหลัก) จำนวน 13,500 สถานีฐาน และให้เช่าทรัพย์สิน เสาโทรคมนาคม ไม่เกิน 100 เสาทั้งนี้ ทรัพย์สินที่ขายให้แก่กองทุนเป็นทรัพย์สินสำหรับกิจการโครงสร้างพื้นฐานซึ่งสามารถใช้ร่วมกันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ โดยบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยมีความตั้งใจจะเช่าทรัพย์สินที่ขายให้แก่กองทุนกลับมาเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งมิใช่การเช่าทรัพย์สินทั้งหมดที่ขายให้แก่กองทุนแต่จะเช่ากลับมาเฉพาะส่วนที่บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยต้องการใช้ประโยชน์เท่านั้นสำหรับทรัพย์สินส่วนที่บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยยังมิได้ใช้ประโยชน์นั้น กองทุนสามารถนำไปหาประโยชน์โดยการให้ผู้ประกอบการรายอื่นเช่าได้ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนด เงื่อนไขที่ระบุในสัญญาเช่าหลักและสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยและกองทุนจะได้ตกลงกันเพื่อเข้าทำสัญญาดังกล่าวต่อไปบริษัทฯจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินรายได้ และ/หรือการให้เช่าทรัพย์สินไปชำระหนี้สินบางส่วนซึ่งรวมถึงเงินกู้ที่บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินซึ่งจะช่วยปรับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุน นอกจากนี้ บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยอาจนำเงินบางส่วนไปลงทุนในโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนอกจากนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังมีมติให้ขายเงินลงทุนในบริษัทย่อยที่มิใช่ธุรกิจหลักของบริษัทฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจให้มีความชัดเจนและรองรับการจัดโครงสร้างของกลุ่มบริษัทฯ ในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯสามารถลดค่าใช้จ่าย และเงินลงทุนต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก- โบรกฯ เชียร์ซื้อเป้าหมาย 14.20 บ.ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แนะนำซื้อหุ้นTRUE โดยให้ราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 14.20 บาทภายหลังจากที่หนังสือชี้ชวน กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท หรือ TRUEGIF ขึ้น Website ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แล้ว แม้ว่ายังไม่ใช่การอนุมัติอย่างเป็นทางการจาก ก.ล.ต. แต่การที่หนังสือชี้ชวนถูกโพสขึ้น Website ของ ก.ล.ต. เท่ากับว่าหนังสือชี้ชวนไม่ติดประเด็นที่มีนัยสำคัญกับ ก.ล.ต. แล้ว รอเพียงการพิจารณาขั้นสุดท้ายซึ่งจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ ในระหว่างนี้ TRUE สามารถทำการโรดโชว์เพื่อนำเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน TRUEGIF (กองทุนโครงสร้างพื้นฐานทรูโกรท) แก่สาธารณะได้ แต่ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทนของกองทุนได้จนกว่าจะได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ ทำให้ TRUE ขายกองทุนได้ทันปีนี้ แต่กระบวนการในการจดทะเบียนกองทุนในตลาดหลักทรัพย์ และการบันทึกกำไรพิเศษจะเกิดขึ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญTRUEGIF สำคัญอย่างไรกับ TRUEเป็นบวกจากการนำ TRUEGIF เข้า IPO เพื่อระดมเงินทุนเราคาดเงินสดจากการขายกองทุนฯ หักส่วนที่TRUE ถืออยู่ที่ราว 52,150 ล้านบาท และนำไปชำระหนี้ราว 60% ของเงินสดทั้งหมด ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายหายไปราว 40-60% ต่อปี เงินที่เหลือนำไปลงทุนต่อได้โดยไมต้องกู้เงินเพิ่ม และกำไรพิเศษราว 22,750 ล้านบาท (หลังภาษี) ทำให้ฐานทุนสูงขึ้นคาด DE ratio ปี 2556 ที่ 5.8 เท่า (กรณีกำไรพิเศษรับรู้ทันปี 2556) ลดลงจาก 11.9 เท่าในปี 2555 และจะลดลงเป็น 4.8 ในปี 2557 และ Net Debt / EBITDA ลดลงจาก 5.6 เท่าในปี 2555 เป็น 3.8 เท่าในปี 2556 และ 3.3 เท่าในปี 2557ผลต่อความสามารถทำกำไรปัจจุบัน TRUE หมดอายุสัมปทานระบบ 2จี มีประเด็นบวกคือทำให้ย้ายลูกค้ามาอยู่บนคลื่นใหม่ได้เร็ว ลดค่าใช้จ่ายส่วนแบ่งรายได้ลงได้ เป็นบวกต่ออัตรากำไรขั้นต้น และการใช้งาน Non-voice มากขึ้นของ Prepiad เป็นบวกต่อ ARPU การนำเงินไปชำระหนี้ก่อนกำหนดทำให้ดอกเบี้ยจ่ายปี 2557 จะลดลงเราคาดที่ 4,758 ล้านบาท จากระดับปกติที่ 7,000 – 8,000 ล้านบาท แม้เรายังคงคาด SG&A เพิ่มขึ้น 6% YoY และมีค่าเช่าจ่ายให้ IFF (TRUEGIF) เพิ่มขึ้น เสียรายได้จาก CAT ให้ IFF และเพื่อประมาณการแบบระมัดระวังยังไม่รวมรายได้เงินปันผลจากกองทุนฯ ในปี 2557 TRUE จะมีกำไรปกติในปี 2557 ที่ 2,648 ล้านบาท จากปี 2556 คาดขาดทุนปกติราว 7,865 ล้านบาทสำหรับผลประกอบการสุทธิอาจมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตัดค่าเสื่อมราคาของโครงข่ายระบบ 2 จี ที่จะหมดช่วงเวลาต่ออายุชั่วคราวในเดือน ก.ย. 2557 ราว 5,000 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนสุทธิ 2,352 ล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่เงินสด จึงไม่กระทบการประเมินมูลค่า อย่างไรก็ตามหาก SG&A ของบริษัทลดลงได้จะเป็นบวกต่อประมาณการของเราและ Consensus ให้ปรับประมาณการขึ้นได้หุ้น Turnaround ของผู้รับคามเสี่ยงได้สูงด้วยการที่ผลประกอบการเพิ่มถึงจุด Turnaround ในปี 2557 จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงเพื่อคาดหวังกำไรจากส่วนต่างราคามากกว่าเงินปันผล เนื่องจากหากบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าที่ประเมินเป็นความเสี่ยงให้ผลประกอบการต่างจากที่ประเมินไว้ได้ จากผลของการปรับประมาณหลังเกิด TRUEGIF และปรับไปใช้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2557 ทำให้ราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 14.20 บาท (DCF, WACC 1.4%) จากเดิมที่ 10.10 บาท มี Upside gain 57% เพิ่มคำแนะนำเป็น ซื้อ จาก TRADING BUY แม้ยังไม่คาดหวังการจ่ายเงินปันผล แต่หากบริษัทลดพาร์ล้างขาดทุนสะสมและจ่ายเงินปันผลได้จะเป็น Positive surprise

    ---------------------------------------------------------------------------------
    กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท หรือ TRUEGIF ได้ฤกษ์ขายไอพีโอวันจันทร์ที่ 9-16 ธันวาคมนี้ เคาะราคาไอพีโอที่ 10 บาทต่อหน่วยลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์คาดเงินที่นักลงทุนจะได้รับในปีแรกประมาณ 8.8% โดยแบ่งเป็นเงินปันผล 6.87% และการจ่ายลดทุน 1.93% อันเนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจากค่าเช่าล่วงหน้า

    นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท (ทรูจีไอเอฟ หรือ TRUEGIF) ถือเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่จัดขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนของผู้ประกอบการ

    โดยทรัพย์สินที่กองทุนจะเข้าลงทุนครั้งแรก ได้แก่ (1) กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคม จำนวน 6,000 เสา (2) กรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนำแสงหลัก และอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้องความยาว 5,112 กิโลเมตร และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด จำนวน 1.2 ล้านพอร์ต และ (3) สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิที่เกิดจากการให้เช่าเสาโทรคมนาคม จำนวน 5,845 เสา และระบบใยแก้วนำแสงและอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณความยาว 47,250 กิโลเมตร รวมถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวจำนวนหนึ่งซึ่งกองทุนมีสิทธิในการซื้อ หรือรับโอนตามเงื่อนไข และเวลาที่กำหนด

    นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด ในฐานะผู้จัดการกองทุน กล่าวว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก..ต.แล้วเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน สำหรับประมาณการเงินที่นักลงทุนจะได้รับในปีแรกประมาณ 8.8% จะแบ่งเป็นประมาณการการจ่ายเงินปันผล 6.87% และการจ่ายลดทุน 1.93% อันเนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจากค่าเช่าล่วงหน้า ทั้งนี้ การจ่ายลดทุนจะเกิดเฉพาะ 2 ปีแรกเท่านั้น ในขณะที่ค่าเช่าที่กองทุนจะได้รับจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินที่นักลงทุนได้รับในแต่ละปีจะค่อนข้างคงที่

    ทั้งนี้ TRUEGIF เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรายแรกในประเทศไทย มีมูลค่าการเสนอขายประมาณ 58,080 ล้านบาท ราคาเสนอขายหน่วยละ 10.00 บาท โดยจะมีจำนวนหน่วยลงทุนที่เสนอขายต่อผู้จองซื้อทั่วไปประมาณ 2,381.28 ล้านหน่วย ซึ่งจำนวนหน่วยลงทุนขั้นต่ำของการจองซื้อ 5,000 หน่วย และเพิ่มเป็นจำนวนทวีคูณของ 1,000 หน่วย และจะประกาศผลการจัดสรรหน่วยลงทุนภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ต่อไป

    โดยจะมีการเปิดจองซื้อหน่วยลงทุนสำหรับผู้จองซื้อทั่วไประหว่างวันที่ 9-15 ธันวาคม 2556 ตามเวลาทำการของแต่ละสาขาของผู้จัดการการจัดจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศ หรือผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน และวันที่ 16 ธันวาคม 2556 ตั้งแต่เวลาเปิดทำการจนถึงเวลา 12.00 น.

    ----------------------------------------------------------------------------------

    จาก PAPER บางโบรค บอกว่า  TRUEGIF ให้ผลตอบแทนที่ 7.XX% 
    และ ทรูอาจถือหุ้น 18% โดยให้เหตุผลในการถือหุ้นน้อยว่า ความคุ้มค่าของการลด ดอกเบี้ยคุ้มกว่าเงินปันผล

    อ่านแล้วก็ งง ในจุดนี้ เพราะหากสามารถปันผลได้  7.XX% เงินปันผลย่อมคุ้มกว่า ดบ เงินกู้แน่นอน
    หรือปันผลได้ 7.xx% จริง แต่ทรูมีเหตุผลอื่นที่ไม่อยากถือเสาไว้เองในระยะยาว เช่น อนาคตการขึ้นค่าเช่า ขึ้นได้น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ระยะยาวด้อยค่าลงเรื่อยๆ  หรือ มีเทคโนโลยีใหม่ ที่อาจเข้ามาในระยะ 1x ปี ที่ไม่ต้องใช้ "เสา" อีกต่อไป หรือ หากการส่ง DATA ผ่านดาวเทียม มี คชจ ถูกลง จนคุ้มค่าที่จะแข่งขัน เสาอาจไร้ราคา ค่าเช่าลดลงในอนาคต เหล่านี้ล้วนน่าคิด ว่าเป็นสาเหตุให้ทรูถือกองทุนนี้ในสัดส่วนน้อยๆ


    BWG Company Visit 27/11/2013

    BWG Company Visit 27-Nov-2013

    Participants : คุณเอกรินทร์ เหลืองวิริยะ รองกรรมการผู้จัดการ , คุณทัศนีย์ ทองดี , คุณสุทัศ (CFO)

    ธุรกิจในปัจจุบัน
    ธุรกิจการฝังกลบขยะ 
    ยังไงเมืองไทยก็ต้องมีการฝังกลบ เพราะขยะบางส่วนเผาไม่ได้ ตอนนี้มีทำกันแค่สองเจ้า BWG และ GENCO (แต่ GENCO ตอนนี้รับขยะได้น้อยมาก เพราะหลุมที่ Maptaput เต็มแล้ว ต้องขนขยะมาแยกที่ ศุนย์แสมดำก่อนแล้วจึกขนต่อมาฝังที่ สวนผึ้ง ซึ่งจะต้อง double handing
    ภาพรวมตลาดขยะฝังกลบ โตไปเรื่อยๆตามอุตสาหกรรมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ยิ่งมีการผลิตเยอะยิ่งมีขยะเยอะ
    ทุกวันนี้ประเทศไทยมีขยะทั้งระบบจากโรงงานมากมาย (ประมาณ 20 กว่าล้านตันต่อปี) แต่สามารถเอามากำจัดแบบถูกวิธีแค่ประมาณ 10%
    เนื่องจากระยะหลังกรมโรงงานเข้มงวด โรงงานต่างๆมากขึ้น โดยปรกติ โรงงานทั่วไปต้องต่อใบอนุญาติ ร.ง. 4 กันกรมโรงงานอยู่แล้วทุกปี เวลาเค้ามาต่อใบอนุญาติ กรมโรงงานก็จะขอตรวจว่าเอาwasteไปกำจัดถูกวิธีหรือเปล่า ต้องshow ว่าเอาไปฝังกับ BWG , GENCO หรือเอาไปเผาถูกวิธีหรือเปล่า ถ้าดูแล้วทำถูกก็จะต่อใบ ร.ง.4 ให้ ด้วยวิธีนี้จะค่อยๆทำให้ขยะนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น และโรงงานใหม่ๆที่มี ISO18000 จะมีระบบคอยตรวจสอบให้มีการกำจัดwaste ให้ถูกวิธี 
    นอกเนือจาก volume ที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทาง BWG ก็ได้ทำการทะยอยปรับราคาขายขึ้น โดยจะปรับราคากับลูกค้าที่หมดสัญญาก่อน
    ที่ผ่านมาที่ฝังกลบที่สระบุรีไม่เคยถูกน้ำท่วม 

    BWT (Better World Transport) 
    ช่วงนี้ยังไม่ค่อยมีกำไรเพราะเพิ่งลงทุนซื้อรถใหม่จำนวนมาก โดยตัดค่าเสื่อม 5 ปี
    และอาจจะมีการลงทุนทำลานจอดรถขนาดใหญ่เพื่อรองรับการขยายงาน ไม่ค่อยมีผลกระทบจากราคาน้ำมันเพราะสามารถผลักให้ลูกค้าได้
    ปัจจุบันรถขนwaste มีการแข่งขันไม่มาก เพราะรถประเภทนี้เป็นรถจำเพาะที่ต้องมีใบอนุญาติพิเศษทั้งรถละคนขับ ตอนนี้ลูกค้าต้องต่อคิวเพื่อจองรถไปขนwaste BWG ดูแลคนขับดีมากบางคนมีรายได้เดือนล่ะ 30000 บาท
    ตอนนี้รับขนขยะให้เฉพาะลูกค้า BWG ในอนาคตอาจจะรับขนขยะให้เจ้าอื่นด้วย
    และอาจจะนำ BWT เข้าตลาดในอนาคตข้างหน้า

    นโยบายจ่ายปันผล จะอยู่ที่ 50% ของกำไรจาก”งบเดี่ยว”

    AKP ที่กำไรดูค่อนข้างต่ำเพราะมีค่าเสื่อมเยอะจากการปรับปรุงเตาเผา

    อาจจะมีการย้าย office โดยมีแผนจะสร้าง office ใหม่แถวลาดพร้าว(ใช้เงิน 70 ล้าน แบ่งเป็นที่ดิน 20 ล ,อาคาร 50 ล)
    จากปัจจุบันที่เช่าอยู่ในอาคารค่อนข้างเก่า

    New Project

    1.RDF Project ดูรูปข้างล่าง
    เป็นการเอาขยะมาย่อยจากชิ้นใหญ่ลงมาเป็นเล็กๆ และใช้ฟิล์มพลาสตอกห่อไว้เป็นแท่งๆ ให้พร้อมส่งเตาเผาต่อไป

    เอาขยะจากไหนมาทำ RDF ?

    ขยะใหม่ non-hazardจากโรงงานต่างๆ (พวกเศษผ้า เศษกระดาษ เศษไม้ พลาสติก หรือสิ่งที่มี heating value) และขยะเก่าจากหลุมnon-hazardที่มีอยู่ล้านกว่าตัน แต่การจะเปิดหลุมเอาขยะเก่าขึ้นมาจะทำได้แค่บางช่วงเวลา เพราะกลัวกลิ่นจะรบกวนชาวบ้าน

    เฟส1 Capacity : ประมาณ 250 ตันต่อวัน (2 กะ) แต่ตอนนี้ผลิตวันล่ะ 100-150 ตันต่อวัน (เดินเครื่องประมาณวันล่ะ 8 - 10 ชม) เริ่มผลิตตั้งแต่ตุลาคม 56 ทดลองขายให้ลูกค้าไปแล้ว 4 เจ้า ทั้งโรงปูนและ โรงไฟฟ้าชีวะมวล (แต่ไม่เปิดเผยว่าขายให้ที่ไหน)
    เงินลงทุนเฟสแรก ประมาณ200 ล้านบาท (ตัดค่าเสื่อม 10ปี)

    ข้อเด่นของproject RDF คือนอกจากจะขายได้ราคาดีแล้ว ยังช่วยประหยัดพื้นที่ฝังกลบด้วย 
    แทนที่จะใช้พื้นที่ฝังกลบหมดถายใน 20 ปี ก็ช่วยยึดอายุไปได้

    RDF ที่ผลิตมี heating value ประมาณครึ่งนึงของราคาถ่านหิน (ถ่านหินที่โรงปูนใช้ราคาตันล่ะ 3500 บาท)
    ราคา RDF ที่ขายให้โรงปูนช่วงทดลองจะขายให้ตันล่ะ 1000 บาท แต่หลังจากนี้จะปรับราคาขึ้นไปเป็นตันล่ะ 1500 บาท

    ต้นทุนการผลิต RDF ตันล่ะ 600 - 700 บาทต่อตัน base on การผลิต 100 - 150 ตันต่อวัน ถ้าผลิตมากกว่านี้ ต้นทุนจะถูกลง ต้นทุนหลักๆจะเป็นค่าเสื่อม ค่าใช้จ่ายอื่นๆไม่มากนัก (ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าคนงาน)

    ระยะเวลาคืนทุนของ RDF เฟส 1 ประมาณ 4 ปี

    RDFเฟส 2 
    เงินลงทุน 2-3 ร้อยล้าน จะทำให้เพิ่ม "capacity รวม" เป็น 500 ตันต่อวัน คาดว่าจะเริ่มลงทุนต้นปี 57 เริ่มผลิตปลายปี 57 เป็นอย่างเร็ว

    2.โรงไฟฟ้าขยะ 
    "ตอนนี้กำลัง ศึกษาความเป็นไปได้นะครับ ยังไม่ได้มีแผนเป็นทางการนะครับ"
    เตรียมการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ โดยใช้วัตถุดิบจาก RDF ประมาณวันล่ะ 300 ตัน
    คาดว่า จะสร้างโรงฟ้าขนาด 9.8 MW ที่แก่งคอย เนื้อที่ประมาณ 42 ไร่ 
    Adder ประมาณ 3.5 บาท (โรงไฟฟ้าชีวะมวลได้ Adder 2.5 บาท)
    เงินลงทุนโดยประมาณ ยังไม่แน่ใจ แต่ไม่เพิ่มทุน จะกู้เงินแบงค์และใช้กระแสเงินสด
    เบื้องต้นBWGจะถือหุ้น 100% , IRR โรงไฟฟ้าประมาณ 20% , อย่างเร็วสุดคาดจะสร้างเสร็จในปี 59
    EIA ไม่ต้องทำชุดใหญ่ ทำแค่ Mini EIA เพราะอยู่ในเขตการนิคม และขนาดโรงไฟฟ้าไม่เกิน 10 MW 
    ประกอบกับโรงไฟฟ้าจะมีการควบคุมมลพิษที่เข้มงวด น่าจะผ่านได้ไม่ยาก

    =====
    ขอบคุณพี่ๆที่ช่วยประสานงานในการจัด company visit ในครั้งนี้ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

    บทความจากคุณ Tarzann ไทยวิ นะครับ

    --------------------------------------------------------------------------

    ***  ผมเพิ่มเติม งบรายไตรมาส และ chart รายได้เข้ามาด้วย เพื่อความสะดวกในการหาข้อมูล