วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กองทุนรวม TRUEGIF


กองทุนรวม TRUEGIF


  • ชื่อโครงการจัดการ (ไทย) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท
  • บริษัทจัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จากัด
  • ผู้ดูแลผลประโยชน์ ธนาคารกสิกรไทย จากัด (มหาชน)


เป็นกองทุนรวมชนิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน ซึ่งบริษัทจัดการจะยื่นขอจดทะเบียน
หน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

สิท ธิป ร ะ โ ย ช น์แ ล ะนโยบายการจ่ายเงินปันผลและการคืนเงินลงทุน
การจ่ายเงินแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถกระทำได้เป็นครั้งคราว
ในรูปของการจ่ายเงินปันผลและการคืนเงินลงทุนด้วยการลดทุนตามที่โครงการ
จัดการกองทุนและกฎหมายหลักทรัพย์ให้กระทาได้
   กองทุนมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละสองครั้ง
ในกรณีที่กองทุนมีกำไรเพียงพอ โดยเมื่อรวมแล้วในแต่ละรอบปีบัญชี จ่ายใน
อัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกาไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว
กองทุนอาจจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
จากกาไรสะสมได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการจะไม่จ่ายเงินปันผลไม่ว่าจะเป็น
การจ่ายจากกำไรสุทธิที่ปรับปรุงข้างต้น หรือจากกาไรสะสมในกรณีที่กองทุนยังมี
ยอดขาดทุนสะสมอยู่

ความเสี่ยงของกองทุน อยู่ในระดับ 8 ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงสุดของกองทุนรวม


  • ทรัพย์สินที่ลงทุน 






  • กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจานวน 6,000 เสา

    • และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้สาหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่
    • เป็นทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มซึ่งทรูจะส่งมอบหรือดาเนินการให้มีการส่งมอบเสาโทรคมนาคมจานวน
    • 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ เสาโทรคมนาคมจานวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31
    • ธันวาคม พ.ศ. 5228 (ข) กรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนาแสงหลัก (core fiber optic cable grid) และอุปกรณ์ระบบ
    • สื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด





  • สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิที่เกิดขึ้นจากการให้เช่าทรัพย์สินโทรคมนาคมบางประเภท



  • คาดว่า กสท. โทรคมนาคม จะยังคงใช้ทรัพย์สิน
    โทรคมนาคมที่มีการขายรายได้สุทธิที่เกิดจากการให้เช่า ให้แก่กองทุนต่อไปจนกว่าสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์HSPA จะสิ้นสุด

    ทั้งนี้ กองทุนจะไม่มีสิทธิในรายได้ใด ๆ ที่จะเกิดจากการให้บริการดาเนินงานและการบารุงรักษาโดย BFKT ตามสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์ HSPA ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินโทรคมนาคมของ BFKT และเสาโทรคมนาคมของ AWC และกองทุนจะไม่มีสิทธิในรายได้ใด ๆ ที่เกิดจากการให้เช่าโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Active อันรวมถึง Node B ซึ่งใช้ในการให้บริการ 3G ของ กสท. โทรคมนาคม บนคลื่นความถี่ในย่านความถี่ 820 MHz ยกเว้นอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ



    ตามสัญญาโอนขายทรัพย์สินและสิทธิรายได้ที่กองทุนจะเข้าทากับ BFKT นั้น BFKT จะให้สิทธิแก่
    กองทุนในการซื้อ (call option) เสาโทรคมนาคมของ BFKT จานวน 1,432 เสา กองทุนไม่สามารถรับรองได้ว่ากองทุนจะได้ใช้สิทธิในการซื้อ (call option) ทรัพย์สินโทรคมนาคมของ BFKT อย่างแน่นอน

    กองทุนจะมีสิทธิในการรับ
    รายได้สุทธิจากเสาโทรคมนาคมกว่า 5,845 เสา และกองทุนจะซื้อทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มซึ่งประกอบด้วยเสาโทรคมนาคมอีกจานวน 6,000 เสา ทาให้กองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุน (ทั้งที่เป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิ) จะเพิ่มขึ้นเป็น 11,845 เสาภายในสิ้นปี พ.ศ.2558

    โดย Analysys Mason
    ประมาณการว่าผู้ใช้บริการข้อมูลเคลื่อนที่จะเติบโตขึ้นในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 46 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงปี พ.ศ. 2560 และจานวนการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายทั้งหมดจะเติบโตขึ้นในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 23 ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน

    กองทุนจะมีสิทธิได้รับค่าเช่าจากผู้เช่าและบริหารจัดการหลักบนเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มที่เป็น
    กรรมสิทธิ์ของกองทุน โดยกาหนดระยะเวลาผูกพันถึงปี พ.ศ. 2570 ภายใต้สัญญาเช่า ดาเนินการและบริหารจัดการหลักกับเรียลฟิวเจอร์ โดยมีอัตราค่าเช่าตั้งต้นที่คงที่ซึ่งจะมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นรายปีโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ในอัตราคงที่ซึ่งจะสะท้อนถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
    ทั้งนี้ อัตราค่าเช่าที่ปรับขึ้นจริงนั้นอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ก็ได้

    จานวนเสาโทรคมนาคมเริ่มต้นทั้งสิ้น 5,845 เสา ที่กองทุนจะมีสิทธิในรายได้สุทธิแบ่งเป็น เสา
    โทรคมนาคมของ BFKT จานวน 1,482 เสา และเสาโทรคมนาคมของ AWC จานวน 4,360 เสา 
    เสาโทรคมนาคมส่วนนี้จะถูกนาออกให้เช่าโดย BFKT แก่ กสท. โทรคมนาคม แต่เพียงผู้เดียวตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์ HSPA โดยค่าเช่าในส่วนที่เป็นเสาโทรคมนาคมของ BFKT จะเป็นค่าเช่าคงที่หลังหักค่าใช้จ่ายในอัตราเริ่มต้นที่ 19,565 บาทต่อเสาต่อเดือน ในปี พ.ศ. 5227 และ พ.ศ. 5228 และในส่วนที่เป็นเสาโทรคมนาคมของ AWC ในอัตราเริ่มต้นที่ 22,000 บาทต่อเสาต่อเดือน ในปี พ.ศ. 5227 และ พ.ศ. 5228

    นอกจากนี้ ทรูได้ตกลงที่จะส่งมอบหรือดาเนินการให้มีการส่งมอบเสาโทรคมนาคมเพิ่มเติมให้แก่กองทุนจานวน6,000 เสา ซึ่ง เสาโทรคมนาคม 3,000 เสาในจานวนนั้นจะส่งมอบให้แก่กองทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2557 และเสาโทรคมนาคมที่เหลือ 3,000 เสาจะส่งมอบให้แก่กองทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้เรียลฟิวเจอร์ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มทรูที่ได้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในย่านความถี่ 2100 MHz จะเป็นผู้เช่าและบริหารจัดการหลักสาหรับทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มจานวน 6,000 เสานี้ และตกลงที่จะเช่าพื้นที่ (slots)บนเสาเพิ่มเติม โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 15,249 พื้นที่ (slots) บนเสาโทรคมนาคมเหล่านี้โดยประมาณ โดยคาดว่าภายในต้นปี พ.ศ. 2560 อัตราการใช้พื้นที่ (occupancy rate) โดยเฉลี่ยของทรัพย์สิน
    เสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มจานวน 6,000 เสานี้จะเท่ากับ 2.54 ต่อเสา โดยประมาณ เปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มจะมีความสามารถในการรองรับโดยเฉลี่ยต่อเสาโทรคมนาคมที่ 3.76

    ทั้งนี้ กองทุนจะเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ที่เกิดจากการให้เช่า เสาโทรคมนาคมรวม 11,842 เสา ซึ่งประกอบด้วยเสาที่ตั้งอยู่บนพื้นดินจานวน 9,088 เสา เสาที่ตั้งอยู่บนดาดฟ้าจานวน 5,522 เสา และ ระบบ Distributed Antenna System จานวน 205 เสา

    (คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือชี้ชวน  หาอ่านฉบับเต็มได้จาก หนังสือชี้ชวน)


    -----------------------------------------------------------------------






    ความเห็นส่วนตัว
    เป็นกองทุนที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก ทั้งทางเทคนิคการเงิน ข้อตกลงต่างๆ สัญญาต่างๆ
    ส่วนตัวคิดว่ากองทุนนี้ นลท รายย่อยไม่สามารถเข้าใจรายละเอียดได้ทั้งหมด ไม่เหมาะกับ นลท รายย่อย มีการใช้เครื่องมือทางการเงิน  call option ของสัญญาอีกด้วย

    จากที่อ่านเข้าใจว่า ทรัพย์สินหลักคือ เสาจำนวนไม่เกิน 12,000 ต้น
    รายได้คือค่าเช่า สูงสุด ได้ต้นละ 22,000 บ ต่อเดือน
    ลองคำนวนดู  12,000ต้น *22,000 บาทต่อเดือน *12เดือน = 3168M ต่อปี
    รายได้ก่อนหัก คชจ ต่อปีอยู่ที่ 3,168MB (เป็นกรณีสูงสุด เพราะค่าเช่าไม่ได้ที่ 22,000 บต่อเดือนทุกต้น และ จำนวนเสาไม่ใช่ 12,000 ต้น ตั้งแรกแรกเริ่ม เป็นการทยอยส่งมอบ)

    ลองดูด้านมูลค่ากองทุน คาดว่ามูลค่าจะประมาณ 58,080 ล้านบาท

    คำนวนหาผลตอบแทนกองทุนดูนะครับ    (แบบคร่าวๆนะครับ)
      (3,168/58,080)*100 = 5.45%  

    เป็นอย่างสูงคือเป็น กรณี Best case นะครับ อย่างที่บอก คำนวนจาก ค่าเช่าเดือนละ 22,000 บต่อเดือน และคำนวนจากจำนวนเสา 12,000 ต้น

    ได้ทราบมาว่า true จะถือหุ้นนกองนี้ประมาณ 18%
    ปกติที่ผมเจอมา บ.ที่ออกกองอสังหาต่างๆ จะถือหุ้นในกองประมาณ 25%-30% 
    ทำให้คิดว่าผลตอบแทนไม่จูงใจให้ บ.แม่ถือ ???


    --------------------------------------------------------------------


    การปรากฏข้อมูลรายละเอียดของร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน เวอร์ชั่นแรก ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท (TRUEGIF) ผ่าน www.sec.or.th ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้แนวโน้มความจริงที่จะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเริ่มมีความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะมีกระแสข่าวที่ระบุว่า ดีลการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม ทรูโกรท (TRUEGIF) ของ บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น คาดกองทุน TRUEGIF จะเสนอขายหน่วยลงทุนในวันที่ 11-12 ธันวาคม 2556 นี้ โดยจะการทำ book building และขายในวันเดียวกันนอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนที่ คาดว่าจะอยู่ที่ 7.0-8.5% เพิ่มขึ้นจากเดิม เพราะได้รวมความเสี่ยงทางการเมืองเข้าไปด้วย ส่วนวงเงินการระดมทุนนั้น ขึ้นอยู่กับผลการสำรวจความต้องการจองซื้อ ของผู้ลงทุนสถาบัน ที่จะมีการกำหนดราคาเสนอขายเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ขึ้นหนังสือชี้ชวนการเสนอขายกองทุน TRUEGIF แล้ว แต่ยังไม่ได้ระบุถึงวงเงินจากการเสนอขายหน่วยลงทุนและช่วงเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวกองทุนตั้งเป้าหมายจะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 6-8 หมื่นล้านบาท โดย TRUE จะถือหุ้น 18% ในกองทุนนี้ หลังจากนำกองทุนเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย TRUEGIF จะเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของไทย หลังการจดทะเบียนกองทุนมูลค่า 2.13 พันล้านดอลลาร์ ของ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง ในช่วงที่ผ่านมาโดยมี เครดิต สวิส และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้ประสานงานร่วมในการ เสนอขายกองทุน TRUEGIF ในระดับโลก และเป็นนายทะเบียน ร่วมกับแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ และยูบีเอส ขณะที่สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เป็นผู้นำการจัดจำหน่าย- เปิดร่างหนังสือชี้ชวน TRUEGIFสำหรับภาพรวมการลงทุนของกองทุนฯ ทรูโกรทนี้ จัดตั้งขึ้นเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีการจำหน่ายลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นช่องทางให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนให้ได้มีโอกาสลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของกองทุน ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของกองทุน คือการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนเพื่อเป็นรายได้ให้แก่กองทุนเพื่อให้กองทุนสามารถจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในระยะยาวบริษัทจัดการจะดำเนินการให้กองทุนนำเงินที่ได้จากการเสนอขายครั้งแรกไปลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ประกอบด้วย กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจำนวน 6 พันเสา และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เป็นทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่ม ซึ่งทรู จะส่งมอบหรือดำเนินการให้มีการส่งมอบเสาโทรคมนาคม จำนวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2557 และเสาโทรคมนาคมจำนวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2558นอกจากนี้ยังมีกรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนำแสงหลัก (core fiber optic cable grid) และอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง และระบบบรอดแบรด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด รวมถึงสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สิทธิที่เกิดขึ้น และรวมถึงวันเริ่มคำนวณรายได้จนถึงวันครบกำหนดสัญญา HSPA ที่เกิดจากการให้เช่าทรัพย์สินโทรคมนาคม ของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) หรือ BFKT และเสาโทรคมนาคมของบริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น หรือ AWC ดังต่อไปนี้1.เสาโทรคมนาคมจำนวนหนึ่ง และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้อง 2.ระบบใยแก้วนำแสงสำหรับจุดเด่นของกองทุน บริษัทจัดการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับเงินปันผลเพื่อการสร้างผลตอบแทน ในระยะยาว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับต่อการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมเข้าลงทุน โดยกองทุนมีจุดเด่นและมีกลยุทธ์การบริหารทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมเข้าลงทุน ดังนี้1.การมีกองทรัพย์สินซึ่งประกอบไปด้วยเสาโทรคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมอื่นๆ ทั้งที่เป็นกรรมสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สิทธิ จำนวนมาก และกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งกองทุนจะได้รับประโยชน์จากการที่เป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรม ซึ่งการเข้ามาในตลาดมีอุปสรรคอย่างมากเนื่องจากบริษัทจัดการเชื่อว่า กองทรัพย์สินอันประกอบด้วยทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่มีลักษณะเฉพาะของกองทุนจะเป็นหนึ่งในกองทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายที่สุดของประเทศไทย และทำให้กองทุนสามารถบริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์แก่ผู้เช่าและบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนได้ ณ วันที่กองทุนลงทุน กองทุนจะมีสิทธิในการรับรายได้สุทธิจากเสาโทรคมนาคมอีก จำนวน 5,845 เสา และกองทุนจะซื้อทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมส่วนเพิ่มซึ่งประกอบด้วยเสาโทรคมนาคม อีกจำนวน 6,000 เสา ทำให้กองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุนทั้งที่เป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สิทธิ จะเพิ่มขึ้นเป็น 11,845 เสา ภายในสิ้นปี 2558 โดยเสาโทรคมนาคมของกองทุนจะตั้งอยู่ในทุก 77 จังหวัด ของประเทศไทย ซึ่งกองทรัพย์สินที่เป็นเสาโทรคมนาคมนี้จะทำให้กองทุนสามารถนำเสนอเสาโทรคมนาคม ที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ให้แก่ผู้เช่าและบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนและทำให้โครงข่ายของผู้เช่าและบริหารจัดการหลักของกองทุนสามารถครอบคลุมจำนวนประชากรมากกว่า 90% บนคลื่นความถี่ในย่านความถี่ 850MHz และ 2100MHz ได้ภายในอีกสามปีข้างหน้า2.กองทุนอยู่ในสถานะที่ดีที่จะได้รับประโยชน์จากการขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนไปใช้บริการระบบ 3G และ 4G LTE ในประเทศไทย3.การจำกัดความเสี่ยงจากการพึ่งพาการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย จากรายได้จากสัญญาระยะยาว และสิทธิในการได้รับรายได้สิทธิ ซึ่งเป็นฐานในการจัดสรรผลตอบแทนการลงทุนที่ต่อเนื่องให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระยะยาวและ 4.เสาโทรคมนาคมของกองทุนมีพื้นที่รองรับเพิ่มที่รองรับเพิ่มเติมจำนวนมาก และอยู่ในสถานที่ตั้งที่ดีที่จะเติบโตได้จากการเพิ่มการเช่าพื้นที่ร่วม ทำให้สามารถมีรูปแบบทางธุรกิจที่พร้อมเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมีความสามารถในการรักษาระดับของต้นทุนในการดำเนินการ- โครงสร้างกองทุน TRUEGIFบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น TRUE เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเห็นชอบให้บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย เข้าทำธุรกรรมกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (กองทุน) ซึ่งอยู่ระหว่างการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะมีการจำหน่ายไปในธุรกรรมขายทรัพย์สินและรายได้และให้เช่าทรัพย์สินจะไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท และมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะมีการได้มาในธุรกรรมเช่ากลับและเช่า/เช่าช่วงจะไม่เกิน 55,000 ล้านบาท (ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 15 ปี)สำหรับธุรกรรมการขายทรัพย์สินและรายได้และให้เช่าทรัพย์สิน ได้แก่ (1) เสาโทรคมนาคม (ซึ่งรวมทั้งเสาที่ตั้งบนพื้นดินเสาที่ตั้งบนดาดฟ้าและโครงข่าย Distributed Antenna System) จำนวนประมาณ 13,000 เสา (2) โครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber OpticCable, “FOC") อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ จำนวน 45,000 คอร์กิโลเมตร (core-km) และ 9,000 ลิ้งค์ และ (3) โครงข่ายบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด มีจำนวน 1.2 ล้านพอร์ตรวมทั้งขายสิทธิรายได้ สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ที่เกิดจากการให้เช่าอุปกรณ์ 3G HSPA (Node B และอุปกรณ์โครงข่ายหลัก) จำนวน 13,500 สถานีฐาน และให้เช่าทรัพย์สิน เสาโทรคมนาคม ไม่เกิน 100 เสาทั้งนี้ ทรัพย์สินที่ขายให้แก่กองทุนเป็นทรัพย์สินสำหรับกิจการโครงสร้างพื้นฐานซึ่งสามารถใช้ร่วมกันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ โดยบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยมีความตั้งใจจะเช่าทรัพย์สินที่ขายให้แก่กองทุนกลับมาเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งมิใช่การเช่าทรัพย์สินทั้งหมดที่ขายให้แก่กองทุนแต่จะเช่ากลับมาเฉพาะส่วนที่บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยต้องการใช้ประโยชน์เท่านั้นสำหรับทรัพย์สินส่วนที่บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยยังมิได้ใช้ประโยชน์นั้น กองทุนสามารถนำไปหาประโยชน์โดยการให้ผู้ประกอบการรายอื่นเช่าได้ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนด เงื่อนไขที่ระบุในสัญญาเช่าหลักและสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยและกองทุนจะได้ตกลงกันเพื่อเข้าทำสัญญาดังกล่าวต่อไปบริษัทฯจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินรายได้ และ/หรือการให้เช่าทรัพย์สินไปชำระหนี้สินบางส่วนซึ่งรวมถึงเงินกู้ที่บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินซึ่งจะช่วยปรับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุน นอกจากนี้ บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยอาจนำเงินบางส่วนไปลงทุนในโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนอกจากนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังมีมติให้ขายเงินลงทุนในบริษัทย่อยที่มิใช่ธุรกิจหลักของบริษัทฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจให้มีความชัดเจนและรองรับการจัดโครงสร้างของกลุ่มบริษัทฯ ในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯสามารถลดค่าใช้จ่าย และเงินลงทุนต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก- โบรกฯ เชียร์ซื้อเป้าหมาย 14.20 บ.ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แนะนำซื้อหุ้นTRUE โดยให้ราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 14.20 บาทภายหลังจากที่หนังสือชี้ชวน กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท หรือ TRUEGIF ขึ้น Website ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แล้ว แม้ว่ายังไม่ใช่การอนุมัติอย่างเป็นทางการจาก ก.ล.ต. แต่การที่หนังสือชี้ชวนถูกโพสขึ้น Website ของ ก.ล.ต. เท่ากับว่าหนังสือชี้ชวนไม่ติดประเด็นที่มีนัยสำคัญกับ ก.ล.ต. แล้ว รอเพียงการพิจารณาขั้นสุดท้ายซึ่งจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ ในระหว่างนี้ TRUE สามารถทำการโรดโชว์เพื่อนำเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน TRUEGIF (กองทุนโครงสร้างพื้นฐานทรูโกรท) แก่สาธารณะได้ แต่ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทนของกองทุนได้จนกว่าจะได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ ทำให้ TRUE ขายกองทุนได้ทันปีนี้ แต่กระบวนการในการจดทะเบียนกองทุนในตลาดหลักทรัพย์ และการบันทึกกำไรพิเศษจะเกิดขึ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญTRUEGIF สำคัญอย่างไรกับ TRUEเป็นบวกจากการนำ TRUEGIF เข้า IPO เพื่อระดมเงินทุนเราคาดเงินสดจากการขายกองทุนฯ หักส่วนที่TRUE ถืออยู่ที่ราว 52,150 ล้านบาท และนำไปชำระหนี้ราว 60% ของเงินสดทั้งหมด ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายหายไปราว 40-60% ต่อปี เงินที่เหลือนำไปลงทุนต่อได้โดยไมต้องกู้เงินเพิ่ม และกำไรพิเศษราว 22,750 ล้านบาท (หลังภาษี) ทำให้ฐานทุนสูงขึ้นคาด DE ratio ปี 2556 ที่ 5.8 เท่า (กรณีกำไรพิเศษรับรู้ทันปี 2556) ลดลงจาก 11.9 เท่าในปี 2555 และจะลดลงเป็น 4.8 ในปี 2557 และ Net Debt / EBITDA ลดลงจาก 5.6 เท่าในปี 2555 เป็น 3.8 เท่าในปี 2556 และ 3.3 เท่าในปี 2557ผลต่อความสามารถทำกำไรปัจจุบัน TRUE หมดอายุสัมปทานระบบ 2จี มีประเด็นบวกคือทำให้ย้ายลูกค้ามาอยู่บนคลื่นใหม่ได้เร็ว ลดค่าใช้จ่ายส่วนแบ่งรายได้ลงได้ เป็นบวกต่ออัตรากำไรขั้นต้น และการใช้งาน Non-voice มากขึ้นของ Prepiad เป็นบวกต่อ ARPU การนำเงินไปชำระหนี้ก่อนกำหนดทำให้ดอกเบี้ยจ่ายปี 2557 จะลดลงเราคาดที่ 4,758 ล้านบาท จากระดับปกติที่ 7,000 – 8,000 ล้านบาท แม้เรายังคงคาด SG&A เพิ่มขึ้น 6% YoY และมีค่าเช่าจ่ายให้ IFF (TRUEGIF) เพิ่มขึ้น เสียรายได้จาก CAT ให้ IFF และเพื่อประมาณการแบบระมัดระวังยังไม่รวมรายได้เงินปันผลจากกองทุนฯ ในปี 2557 TRUE จะมีกำไรปกติในปี 2557 ที่ 2,648 ล้านบาท จากปี 2556 คาดขาดทุนปกติราว 7,865 ล้านบาทสำหรับผลประกอบการสุทธิอาจมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตัดค่าเสื่อมราคาของโครงข่ายระบบ 2 จี ที่จะหมดช่วงเวลาต่ออายุชั่วคราวในเดือน ก.ย. 2557 ราว 5,000 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนสุทธิ 2,352 ล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่เงินสด จึงไม่กระทบการประเมินมูลค่า อย่างไรก็ตามหาก SG&A ของบริษัทลดลงได้จะเป็นบวกต่อประมาณการของเราและ Consensus ให้ปรับประมาณการขึ้นได้หุ้น Turnaround ของผู้รับคามเสี่ยงได้สูงด้วยการที่ผลประกอบการเพิ่มถึงจุด Turnaround ในปี 2557 จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงเพื่อคาดหวังกำไรจากส่วนต่างราคามากกว่าเงินปันผล เนื่องจากหากบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าที่ประเมินเป็นความเสี่ยงให้ผลประกอบการต่างจากที่ประเมินไว้ได้ จากผลของการปรับประมาณหลังเกิด TRUEGIF และปรับไปใช้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2557 ทำให้ราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 14.20 บาท (DCF, WACC 1.4%) จากเดิมที่ 10.10 บาท มี Upside gain 57% เพิ่มคำแนะนำเป็น ซื้อ จาก TRADING BUY แม้ยังไม่คาดหวังการจ่ายเงินปันผล แต่หากบริษัทลดพาร์ล้างขาดทุนสะสมและจ่ายเงินปันผลได้จะเป็น Positive surprise

    ---------------------------------------------------------------------------------
    กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท หรือ TRUEGIF ได้ฤกษ์ขายไอพีโอวันจันทร์ที่ 9-16 ธันวาคมนี้ เคาะราคาไอพีโอที่ 10 บาทต่อหน่วยลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์คาดเงินที่นักลงทุนจะได้รับในปีแรกประมาณ 8.8% โดยแบ่งเป็นเงินปันผล 6.87% และการจ่ายลดทุน 1.93% อันเนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจากค่าเช่าล่วงหน้า

    นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท (ทรูจีไอเอฟ หรือ TRUEGIF) ถือเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่จัดขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนของผู้ประกอบการ

    โดยทรัพย์สินที่กองทุนจะเข้าลงทุนครั้งแรก ได้แก่ (1) กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคม จำนวน 6,000 เสา (2) กรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนำแสงหลัก และอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้องความยาว 5,112 กิโลเมตร และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด จำนวน 1.2 ล้านพอร์ต และ (3) สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิที่เกิดจากการให้เช่าเสาโทรคมนาคม จำนวน 5,845 เสา และระบบใยแก้วนำแสงและอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณความยาว 47,250 กิโลเมตร รวมถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวจำนวนหนึ่งซึ่งกองทุนมีสิทธิในการซื้อ หรือรับโอนตามเงื่อนไข และเวลาที่กำหนด

    นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด ในฐานะผู้จัดการกองทุน กล่าวว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก..ต.แล้วเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน สำหรับประมาณการเงินที่นักลงทุนจะได้รับในปีแรกประมาณ 8.8% จะแบ่งเป็นประมาณการการจ่ายเงินปันผล 6.87% และการจ่ายลดทุน 1.93% อันเนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจากค่าเช่าล่วงหน้า ทั้งนี้ การจ่ายลดทุนจะเกิดเฉพาะ 2 ปีแรกเท่านั้น ในขณะที่ค่าเช่าที่กองทุนจะได้รับจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินที่นักลงทุนได้รับในแต่ละปีจะค่อนข้างคงที่

    ทั้งนี้ TRUEGIF เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรายแรกในประเทศไทย มีมูลค่าการเสนอขายประมาณ 58,080 ล้านบาท ราคาเสนอขายหน่วยละ 10.00 บาท โดยจะมีจำนวนหน่วยลงทุนที่เสนอขายต่อผู้จองซื้อทั่วไปประมาณ 2,381.28 ล้านหน่วย ซึ่งจำนวนหน่วยลงทุนขั้นต่ำของการจองซื้อ 5,000 หน่วย และเพิ่มเป็นจำนวนทวีคูณของ 1,000 หน่วย และจะประกาศผลการจัดสรรหน่วยลงทุนภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ต่อไป

    โดยจะมีการเปิดจองซื้อหน่วยลงทุนสำหรับผู้จองซื้อทั่วไประหว่างวันที่ 9-15 ธันวาคม 2556 ตามเวลาทำการของแต่ละสาขาของผู้จัดการการจัดจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศ หรือผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน และวันที่ 16 ธันวาคม 2556 ตั้งแต่เวลาเปิดทำการจนถึงเวลา 12.00 น.

    ----------------------------------------------------------------------------------

    จาก PAPER บางโบรค บอกว่า  TRUEGIF ให้ผลตอบแทนที่ 7.XX% 
    และ ทรูอาจถือหุ้น 18% โดยให้เหตุผลในการถือหุ้นน้อยว่า ความคุ้มค่าของการลด ดอกเบี้ยคุ้มกว่าเงินปันผล

    อ่านแล้วก็ งง ในจุดนี้ เพราะหากสามารถปันผลได้  7.XX% เงินปันผลย่อมคุ้มกว่า ดบ เงินกู้แน่นอน
    หรือปันผลได้ 7.xx% จริง แต่ทรูมีเหตุผลอื่นที่ไม่อยากถือเสาไว้เองในระยะยาว เช่น อนาคตการขึ้นค่าเช่า ขึ้นได้น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ระยะยาวด้อยค่าลงเรื่อยๆ  หรือ มีเทคโนโลยีใหม่ ที่อาจเข้ามาในระยะ 1x ปี ที่ไม่ต้องใช้ "เสา" อีกต่อไป หรือ หากการส่ง DATA ผ่านดาวเทียม มี คชจ ถูกลง จนคุ้มค่าที่จะแข่งขัน เสาอาจไร้ราคา ค่าเช่าลดลงในอนาคต เหล่านี้ล้วนน่าคิด ว่าเป็นสาเหตุให้ทรูถือกองทุนนี้ในสัดส่วนน้อยๆ