วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2562

MCS

MCS

ธุรกิจของบริษัทคือการผลิตโครงเหล็กขนาดใหญ่สำหรับอาคารสูงซึ่ง 90% บริษัทส่งออกให้ผู้รับเหมารายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการสร้างโครงสร้างเหล็กคือเหล็กรีดร้อนพิเศษ ซึ่งต้องสั่งนำเข้าจากประเทศ ญี่ปุ่น  และเกาหลี

ลูกค้าของบริษัท เป็น 4 บริษัทก่อสร้างผู้นำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่มีความทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก สินค้าของบริษัท ได้มาตรฐาน และสามารถผลิตได้สูงกว่ามาตรฐาน JASS 6 ( Japanese Architectural Standard  specification )

ของประเทศญี่ปุ่นและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น โครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ที่บริษัทผลิตมีการใช้กันมากในประเทศที่มีแผ่นดินไหวเกิดบ่อยครั้ง ขึ้นรูปตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แบบครบวงจรซึ่งจะมีแต่บริษัทใหญ่ๆในญี่ปุ่นเท่านั้นที่สามารถทำได้

บริษัทเป็นบริษัทนอกประเทศญี่ปุ่นที่ได้ส่งงานโครงสร้างเหล็กไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นรายใหญ่ และผลงานการผลิตเป็นหนึ่งในสิบด้าน กำลังการผลิต รายได้หลักของบริษัทประมาณ 90% มาจากกลุ่มลูกค้าในประเทศญี่ปุ่น และมีสัญญาล่วงหน้า

บริษัทมีภาระหนี้สินอยู่ในระดับที่น้อย โดยมีหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 0.36 เท่า ในปี 2561  โดยหนี้สินส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจากการสั่งซื้อวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิต โครงสร้างเหล็ก

บริษัทผลิตโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่สำหรับโครงการก่อสร้างทั้งในและต่างประเทศโดยส่วนใหญ่ร้อยละ 90  จำหน่ายให้กับผู้รับเหมารายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยโครงสร้างเหล็ก  ที่บริษัทผลิตจะนำมาประกอบขึ้นโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น โครงการก่อสร้างอาคารสูง โรงไฟฟ้า สะพาน  Terminal ของสนามบิน

โดยจุดเด่นคือประหยัดเวลาในการก่อสร้างลดมลภาวะในบริเวณหน่วยงานก่อสร้างและสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี งานออกแบบเพื่อใช้โครงสร้างเหล็กนั้นสิ่งสำคัญคือสามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ดีกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก อีกทั้งขนาดจะเล็กและเบากว่าคอนกรีต

บริษัทนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ส่วนแบ่งตลาดของวัสดุก่อสร้างประเภทโครงสร้างเหล็กใน 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่นหากไม่นับรวมโครงสร้างที่เป็นไม้

ผู้ผลิตที่มีความสามารถในการผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน นั้น มีอยู่อย่างจำกัด การแข่งขันในประเทศญี่ปุ่นจึงอยู่ในกลุ่มของผู้ผลิตที่สามารถผลิตได้ตามมาตรฐานและเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น เท่านั้น

ผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในเรื่องค่าจ้างแรงงาน เนื่องจากโครงสร้างเหล็กเป็นแรงงานที่ใช้ฝีมือในการประกอบ ที่ต้องมีทักษะและประสบการณ์ ซึ่งแรงงานประเภทนี้ในประเทศญี่ปุ่นจะมีค่าแรงที่สูงมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตที่ประเทศญี่ปุ่นสูง

ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ผลิต 3 รายในประเทศญี่ปุ่นที่มีการผลิตครบวงจรเหมือนบริษัท แต่ผู้ผลิตดังกล่าวมีโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดที่ห่างไกลจากโตเกียว ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่มากกว่าเมืองอื่นๆ ดังนั้นผู้ผลิตดังกล่าวจะต้องส่งชิ้นงานจากแหล่งผลิตเข้ามาโตเกียว

ซึ่งค่าขนส่งในประเทศญี่ปุ่นมีต้นทุนค่อนข้างแพง นอกจากนี้การขนส่งในประเทศญี่ปุ่นสำหรับชิ้นงานขนาดใหญ่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของถนนและสะพานบางแห่งที่ไม่สามารถรองรับได้

จะเห็นได้ว่าบริษัท MCS สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กในประเทศญี่ปุ่นได้  ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตสูงสุด 70,000 ตันต่อปีซึ่งมีนโยบายว่าต้องการทำให้มีกำลังการผลิตถึง 100,000 ตันต่อปี

วัตถุดิบในการผลิตที่สำคัญได้แก่เหล็กแผ่นรีดร้อนคุณภาพสูงโดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 98 ของวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต โดยมีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี

เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะเน้นด้านคุณภาพผู้ผลิตในประเทศยังไม่สามารถผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนคุณภาพสูง ที่ใช้ในการผลิตได้ ทำให้ปัจจุบัน บริษัทต้องนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศ ทั้งหมด 100%

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Oppday CENTEL 1Q62 17/5/62

Oppday CENTEL 1Q62 17/5/62
ถึงแม้ว่านักท่องเที่ยวใน ไตรมาส 1 จะมีการเติบโตแต่ก็เติบโตเพียงแค่ 1% กว่าๆเท่านั้นเอง ธุรกิจโรงแรมในไตรมาส 1 ยังได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้วจากอุบัติเหตุทางด้านเรือที่ภูเก็ตนะครับ ถึงแม้จะมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงเดือนมกราคมแต่ กุมภาพันธ์ก็ลดลงไป แล้วมีนาคมก็ลดลงไป ทั้งไตรมาสก็ลดลงไปเล็กน้อย

ตลาดทั่วโลกซึ่งเป็นตลาดหลักของเราก็ลดลงไปด้วยตลาดอาเซียนเอเชียใต้มีการเติบโต ยังมีปัจจัยที่สำคัญเช่น การเลื่อนวันเลือกตั้งจากเดือนกุมภาพันธ์เป็นมีนาคมทำให้ organizer ที่ปกติจะจัดงาน MICE ออร์แกนไนเซอร์ที่เป็น International มีความกังวลใจก็เลื่อนการจัดงาน ส่งผลต่อโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลเวิลด์ ตลาดมัลดีฟมีดีมานด์เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกแต่ก็มีซัพพลายด์เพิ่มขึ้นด้วย ประเทศไทยก็มี Supply เพิ่มขึ้นพอสมควรดังนั้นจึงมีการแข่งขันตัดราคากันทั้งที่ไทยและที่มัลดีฟ การเปิดตัวของโรงแรมบางโรงแรมที่พัทยาในปลายไตรมาส 4  ซึ่งใช้นโยบายราคาเป็นหลักก็ส่งผลกระทบต่อระดับราคาห้องพักในพัทยา แต่ก็เริ่มดีขึ้นในเดือนนี้เท่าที่ดูจากสัญญาณ

ส่วนธุรกิจอาหารปีนี้คงได้รับผลกระทบจากตัวเลขเศรษฐกิจ เรื่องส่งออก ที่เป็นผลจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับอเมริกาและการบริโภค การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจคงจะ slow down GDP ไม่น่าจะถึง 4 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ซึ่งจะส่งผล กระทบต่อธุรกิจอาหารของเรา

สำหรับไตรมาส 1  CENTEL มี ยอดรายได้ 5,600 ล้าน โดยประมาณ ลดลง1.7% yoy โดยลดลงในโหมดของรายได้ธุรกิจโรงแรมถึง 6.6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะหมวดธุรกิจรายได้ของอาหารโตขึ้น 3.4 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากจำนวนสาขาที่เปิดเพิ่มขึ้นจากปลายปีที่แล้ว  956 สาขาเป็น 1,003 สาขา EBIDA ทำได้ประมาณ 1,500 ล้าน ลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ yoy  ebitda margin 26.5 เปอร์เซ็นต์ ลดลงไปประมาณ 2.5% yoy กำไร 826 ล้าน ลดลงไป 6.5% yoy เพราะมีรายได้จากบริษัทประกันจ่ายชดเชยจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ธุรกิจอาหารและธุรกิจโรงแรมได้มา 101 ล้านหักภาษีแล้วก็เหลือ 80 ล้าน ดังนั้นกำไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายได้จากประกันจะอยู่ที่ 745 ล้าน ลดลงไป 16% yoy

สินทรัพย์รวม 27,100 ล้าน เพิ่มขึ้น 682 ล้านเพิ่มขึ้นในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน โดยเฉพาะด้านของเงินสด เนื่องจากไตรมาส 4 ของเราค่อนข้างดีและไตรมาส 1 เป็นช่วงพีคของธุรกิจโรงแรมของเราด้วย มีรายการเงินสดประมาณ 400 ล้านมีเงินที่เหลือของธุรกิจอาหารไปลงทุนประมาณ 180 ล้าน รวมทั้งลูกหนี้ 120 ล้านโดยประมาณ ส่วนของผู้ถือหุ้นมีอยู่ 14,260 ล้าน โดยหนี้สินเหลือ 12,800 ล้าน สัดส่วนของผู้ถือหุ้น  53% หนี้สิน 47% ซึ่งปีที่แล้วไตรมาส 1  ผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 48% และหนี้สิน 52 เปอร์เซ็นต์ เป็นเพราะเรามีทยอยชำระคืนเงินกู้ พี่ครบกำหนดเป็นระยะ จึงทำให้ยอดหนี้สินอยู่ประมาณ 7 พันล้าน โดยเป็นหนี้สินระยะสั้น 34%  และเป็นหุ้นกู้ บวกกับหนี้สินระยะยาว 66 เปอร์เซ็นต์ เคยเป็นหนี้สิน US Dollar 20%  เป็นบาท 80% ทะเลโชว์ 1.1 เท่า interest bearing debt to equity  อยู่ที่ 0.5 เท่า

ธุรกิจด้านโรงแรมภาพรวมอุตสาหกรรม ประเทศไทย  ในไตรมาสที่ 1  เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ 10.8 ล้านคนเพิ่มขึ้น 1.5% โดยมีนักท่องเที่ยวจากจีนและยุโรปปรับตัวลดลงเมื่อเทียบ yoy  นักท่องเที่ยวจีนปรับตัวลดลง 2.1% นักท่องเที่ยวยุโรป ปรับลดลง 2.5% นักท่องเที่ยวหลัก มาจาก 5 ประเทศ จีน มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีและญี่ปุ่นโดยคนจีนยังคงสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด 29 เปอร์เซ็นต์  เป็นจำนวน 1 ล้านคนที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยในไตรมาสที่ 1 และมี นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย เติบโตมากขึ้นถึง 25% ถึงแม้เราจะมีนักท่องเที่ยวอินเดียเพิ่มขึ้นแต่เมื่อเทียบอัตราการใช้จ่าย กับนักท่องเที่ยวจีน ก็ยังน้อยกว่านักท่องเที่ยวจีนอยู่ นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเติบโต 9.5 เปอร์เซ็นต์ นักท่องเที่ยวมาเลเซียโตขึ้น 8.4% นักท่องเที่ยวเกาหลีโตขึ้น 7.1 เปอร์เซ็น นักท่องเที่ยวรัสเซียปรับตัวลดลง 0.6% เป็นผลมาจากปัจจัยบางส่วนจากค่าเงินรูเบิ้ลด้วย นักท่องเที่ยวเยอรมันปรับตัวลดลง 7% แต่ในสัดส่วนของทอดเรามีนักท่องเที่ยวเยอรมันไม่เยอะมาก มีเพียงประมาณ 5% ซึ่งจะอยู่ตาม luxury Resort

ในส่วนของทางเซ็นทาราเอง นักท่องเที่ยวหลักๆก็จะมีคนไทย คนจีน คนรัสเซีย คนอังกฤษ คนเยอรมัน ออสเตรเลีย อินเดียและก็คนอเมริกัน

มาดูภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของมัลดีฟส์ ที่เรามีสัดส่วนรายได้ประมาณ 20% จากมัลดีฟ ในไตรมาสที่ 1 มีนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวที่มัลดีฟ 482,978 คน โตขึ้น 15% คิดเป็นอัตราการเข้าพักของทั้งประเทศอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับด้านอุปทาน ในไตรมาส 1 ปีนี้ มีทั้งหมด 45,106 เตียง มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 10% yoy ในแง่ของสัญชาติของนักท่องเที่ยวในมัลดีฟส์ จะเป็นชาวยุโรป 56 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าดูเป็นรายสัญชาติ นักท่องเที่ยวจีนก็ยังมาเป็นอันดับ 1 เป็นจำนวน  16% 76,568 คน นักท่องเที่ยวอินเดีย นอกจากจะปรับตัวขึ้นในประเทศไทยแล้วก็ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในมัลดีฟส์ด้วยเช่นกัน เติบโตขึ้น 86% yoy ในมัลดีฟส์ รองลงมาเป็นนักท่องเที่ยวอเมริกัน +44 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยนักท่องเที่ยวชาวอิตาลี เติบโต  27% นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสเติบโต 28%

ในส่วนของเซ็นทาราเอง ในมัลดีฟส์ จะมีลูกค้าเป็นคนอังกฤษ จีน ออสเตรเลีย อินเดีย คนไทย แล้วก็คนอเมริกันที่เป็นสัดส่วนหลัก

ในส่วนของเซ็นทราในไตรมาสที่ 1 มีจำนวนห้องพัก 13,477 ห้อง (รวมทั้งที่ลงทุนเองและที่รับบริหารจัดการ) คิดเป็นจำนวนโรงแรมทั้งหมด 68 โรงแรม (รวมทั้งระหว่างการดำเนินการและกำลังพัฒนา ) โดยเปิดดำเนินการแล้ว 7563 ห้อง คิดเป็น 39 โรงแรม โดยที่เป็นส่วนของทางเซ็นทาราลงทุนเอง 4184 ห้อง คิดเป็นโรงแรมจำนวน 17 โรงแรม ที่เหลืออีก 22 โรงแรมเป็นส่วนที่เรารับจ้างบริหารจัดการ ถ้าในอนาคตโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาสามารถเปิดดำเนินการได้เราก็จะมีสัดส่วนที่เราลงทุนเอง เพิ่มขึ้น และก็กระจายไปต่างประเทศมากขึ้น

ในส่วนของไปป์ไลน์ มีทั้งหมด 5914 ห้อง (รวมทั้งที่เราลงทุนเองและรับจ้างบริหาร ) มีกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ เช่น AEC,  Middle East, Indian Ocean

ในส่วนที่เราลงทุนเองในปีนี้ก็มี โคซี่พัทยานาเกลือ 282 ห้อง จะเปิดให้บริการในเดือนกันยายนปีนี้ ในปี 2021 จะมีโครงการใหญ่ ที่ดูไบ 601 ห้องที่คาดว่าจะเปิดให้บริการ ที่มาวันนี้เรามีลงทุนเพิ่มเติมอีก 310 ห้อง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2022 สำหรับในปีนี้โรงแรมภายใต้การบริหารจัดการ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ 2 โรงแรม รวมกัน 329 ห้อง อยู่ในไทยทั้ง 2 โรงแรม ประกอบด้วยโรงแรม เซ็นทาราสนธิสาเรสซิเดนซ์  ที่ศรีราชาโรงแรมนี้ 150 ห้อง คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในประมาณปลายไตรมาส 2 อีกโรงแรม อยู่ที่กระบี่ เซ็นทารากระบี่อ่าวนางบีช  179 ห้อง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปลายไตรมาส 3

ในส่วนของโรงแรมไตรมาส 1 มีรายได้รวมกันอยู่ที่ 2756 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 6.5 เปอร์เซ็นต์ ebitda margin อยู่ที่ 42.7 เปอร์เซ็นต์ 1176 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 11.2 เปอร์เซ็นต์ เรื่องที่ต่างระหว่างไตรมาส 1 ปีนี้กับปีที่แล้วคือ  demand มีการปรับตัวลดลง ทั้งจากนักท่องเที่ยวจีนและนักท่องเที่ยวยุโรป เขายังมีในส่วนของการบริหารงาน เซ็นทาราแกรนด์เกาะสมุย มีการปิดปรับปรุงจำนวน 36 ห้อง ปิดมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

รายได้ค่าห้องพักเฉลี่ยปีนี้ ไตรมาส 1 ปรับตัวลดลง 5.7 เปอร์เซ็นต์ (RevPar -5.7%)อยู่ที่ 4,615 บ. อัตราการเข้าพักลดลง 2.7 เปอร์เซ็นต์ (OCC -2.7%) และราคาห้องพักลดลง 2.6 เปอร์เซ็นต์ (ARR -2.6%)

ในประเทศไทยรายได้ห้องพักลดลง 6.7 เปอร์เซ็นต์ (RevPar -6.7%) อยู่ที่ 3750 บ โดยที่ อัตราการเข้าพักอยู่ที่ 82.8 เปอร์เซ็นต์  ลดลง 3.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในไตรมาสเดียวกัน ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับตัวลดลง 3% อยู่ที่ 4,530 บาท

ในกรุงเทพฯ อัตราการเข้าพักอยู่ที่ 80.5 เปอร์เซ็นต์ ลดลง 5.8 เปอร์เซ็นต์  yoy โดยที่ RevPar -5% อยู่ที่ 2,657 บ. ค่าห้องเฉลี่ย +1.7% อยู่ที่ 3,299 บ. ส่วนหนึ่งมาจากการลดลงของการจัดกิจกรรมงานสัมมนางานประชุม ในช่วงการเลือกตั้ง ไม่ค่อยจัดกันในช่วงนี้ Decrease  from MICE

ในส่วนของต่างจังหวัด อัตราการเข้าพักลดลง 2% อยู่ที่ 83.9% RevPar -6.9% อยู่ที่ 4,288 บ. ราคาห้องพักเฉลี่ย ARR -4.8% อยู่ที่ 5,111 บ.

ในส่วนของมัลดีฟส์ อัตราการเข้าพัก เพิ่มขึ้น 4.7 เปอร์เซ็นต์ ไปอยู่ที่ 90.9%  RevPar (USD)-3.2% อยู่ที่  17,956 บ.  สาเหตุจาก ARR (Average room rate) -8.1% มาอยู่ที่  19,746 บ.

รายได้มากกว่า 80% มาจากประเทศไทย และมาจากกรุงเทพเป็นหลัก มาจากมัลดีฟประมาณ 18% และที่หัวหินจะมีรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักเพิ่มขึ้น

ในส่วนของอาหาร ณสิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้มีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,003 สาขา โดยเพิ่มขึ้น 12% yoy จำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นคือ 104 สาขา โดยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่เพิ่มขึ้น มาจากแบรนด์หลักสี่แบรนด์ คือ KFC มิสเตอร์โดนัท แอนตี้แอนและ  ออตโตยะ ภาพรวมของรายได้ทั้งหมด และจำนวนสาขามาจากต่างจังหวัดประมาณ 65%

ในส่วนของรายได้ในไตรมาส 1  ปีนี้อยู่ที่ 2887 ล้านบาทเติบโต 3.4 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Ebida อยู่ที่ 322 ล้านบาทลดลง 5.4 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ ebitda margin  อยู่ที่ 11.2 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 12.2 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุ จากวัตถุดิบบางตัวมีราคาเพิ่มขึ้น และเรามีจัดโปรโมชั่นในบางช่วง มีผลทำให้ profit margin ลดลง

SSS(Same store sale) -3.8% ส่วน Total system sale +3.4%  จะเห็นได้ว่า  same Store Sales  ของกรุงเทพฯและต่างจังหวัดเป็นเทรนด์เดียวกันมาตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีที่แล้ว จนถึงไตรมาส 1 ของปีนี้  ถ้าเป็นเมื่อก่อนเทรนด์จะไม่ค่อยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ซึ่งโดยปกติแล้วของกรุงเทพมักจะ performance ดีกว่า

(เห็นได้ชัดว่าแรงซื้อลดลงทั้งจาก กทม และ ตจว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน - Joe789)

Phrasal Revenue Break Down KFC มีสัดส่วน 57%  โดยที่ไตรมาสนี้บวก 7.5 เปอร์เซ็นต์ yoy  มิสเตอร์โดนัทมีสัดส่วน 14% ไตรมาสนี้ลบ 13.8 เปอร์เซ็นต์ yoy  OOTOYA มีสัดส่วนรายได้ 8%  ไตรมาสนี้บวก 2.9% yoy Auntie Anne's  มีสัดส่วนรายได้ 7% ไตรมาสนี้บวก 1.1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 14 เปอร์เซ็นต์เป็นอื่นๆ รายได้ ไตรมาสนี้บวกขึ้น 6.1 เปอร์เซ็นต์ yoy มิสเตอร์โดนัทมีการแข่งขันที่สูง โดนัทสามารถหาซื้อได้ตามร้านเบเกอรี่ทั่วๆไป ดังนั้นมิสเตอร์โดนัทจะดีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการทำโปรโมชั่นเป็นสำคัญ เรามองภาพในไตรมาสที่ผ่านมาตัวมิสเตอร์โดนัทมีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาซึ่งจะไปกระทบตัวปริมาณคนที่เข้ามาซื้อค่อนข้างมากทางทีมผู้บริหารพยายามแก้ปัญหาโดยในเดือนนี้มีการจัดทำโปรโมชั่น เปิดตัว product ที่มีสินค้าราคาถูกคือชิ้นละประมาณ 10 บาท ซึ่ง feedback ก็ทำให้ Total System Sale เป็นบวก ส่วน same store sell เป็น Flat

มีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่คือแบรนด์สุกี้เฮ้าส์ เปิดตัวในวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ลักษณะเป็นสุกี้โฮมเมดสไตล์ สาขาแรกอยู่ที่เกตเวย์บางซื่อ คาดว่าปีนี้จะเปิดได้ทั้งหมด 4 สาขา จุดคุ้มทุนอยู่ที่ ประมาณ 3 ปี ลักษณะตัว product จะแตกต่างจากร้านสุกี้ทั่วไปคือจะมีการเสิร์ฟที่มีลูกเล่นมากขึ้น เช่นหมูกระปุก เป็นหมูข้างในมีควันเปิดออกมาแล้วจะมีควันออกมา กุ้งเต้นลั้นลา จะมีไข่อยู่ในกระปุกเวลาเราจะทานก็จะเขย่ากระปุกก่อนแล้วค่อยเทลงไปในน้ำซุป สิ่งที่แตกต่างคือน้ำจิ้มเราจะมีเคาน์เตอร์น้ำจิ้มหลากหลายให้เลือกหลายแบบและน้ำก็เป็นแบบ refill

Capex & Guidance
งบลงทุนของปีนี้จนถึงปี 2021 อยู่ที่ประมาณ 27,000 ลบ โดยที่เป็นของปีนี้เจ็ดพันห้าร้อยล้าน ปีหน้า 11,200 ล้าน และปี 2021 ประมาณ 8 พันล้าน ส่วนใหญ่ถ้าเป็นงบปกติของธุรกิจโรงแรมแต่ละปีเราจะกันสำหรับการ replacement ต่างๆ 600-800 ล้าน และในส่วนของธุรกิจอาหาร ประมาณสัก 1,000 ล้าน เรามีการสำรองเงินเอาไว้สำหรับโครงการที่เราจะขยายโปรเจคใหม่ๆทั้งธุรกิจโรงแรมและอาหารรวมแล้วประมาณ 12,000 ล้านด้วยกัน

แนวโน้มภาพรวมในปีนี้
ในส่วนของธุรกิจโรงแรมปีนี้ อาจจะกลับจากช่วงปีที่แล้ว เพราะครึ่งปีที่แล้วช่วงแรกดี แต่ครึ่งปีหลังตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคมไม่ดีเนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ภูเก็ต แต่ปีนี้เนื่องจากมีเหตุการณ์ ที่เรียนไปแล้วจะทำให้ขึ้นปีแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกปีที่แล้วก็อาจจะอ่อนตัวลงในขณะที่ขึ้นปีหลังโดยมาตรการที่รัฐบาลมีการกระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองหลักเมืองรองและ visa on available ที่ขยายจนถึงตุลาคม ทำให้เรามองว่าครึ่งปีหลังนี้เรามีรัฐบาลที่ตั้งแน่นอนแล้วนโยบายที่กระตุ้นเศรษฐกิจก็จะออกมามากขึ้นก็จะทำให้ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหารดีขึ้นด้วยในครึ่งปีหลัง

สำหรับเซนเทลในครึ่งปีหลัง น่าจะมีการเปิดโคซี่พัทยานาเกลือซึ่งอยู่ตรงข้ามเซ็นทาราแกรนด์มิราจ 282 ห้องในเดือนกันยายนแน่นอน บุคลากรและระบบก็เตรียมพร้อมหมดแล้ว

แต่ปีนี้การเติบโตทางด้านรายได้อาจจะต่ำกว่าการเติบโต ของรายได้ห้องพักต่อห้องที่มีขาย เพราะว่าเราจะมีการปรับปรุง Centara Grand ที่สมุยว่าจะเริ่มประมาณเดือนหน้า และที่เซ็นทาราแกรนด์ที่เซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งอาจจะปิดบางส่วนเป็นส่วนส่วนไปปิดครั้งละ 3 floor  สาม floor ก็ประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ ปกติ Centara Grand At Central World  จะมีอัตราการเข้าพัก 85% ดังนั้นการปิดไป 3 floor คาดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก

อัตราการเข้าพักของธุรกิจโรงแรมในปีนี้ก็พยายาม ยืนให้ได้ 83% เพราะปีที่แล้วเราทำได้ร่วม 83% ถ้าไม่รวมโคซี่สมุยกับแจ้งวัฒนะซึ่งปีที่แล้วมันเพิ่มเติมเข้ามา ดังนั้นในปีนี้เราพยายามยืนให้ได้ที่ 83 เปอร์เซ็นต์แต่ถ้าสามารถ pick up นักท่องเที่ยวเพิ่มก็อาจจะไปได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์

RevPar ปีที่แล้วทั้งปีติดลบ 0.1% และไตรมาส 1 ที่ผ่านมา  เราติดลบไปเยอะ ส่วนเดือนเมษายนจำนวนนักท่องเที่ยวก็ยังไม่เข้ามาเยอะแต่ก็เห็นสัญญาณ ในเดือนพฤษภาคม Room Rate เทียบกับปีที่แล้วเริ่มบวกขึ้นมาบ้าง ดังนั้น RevPar ปีนี้น่าจะ Flat

สำหรับธุรกิจอาหาร คาดว่าเศรษฐกิจน่าจะค่อยๆดีขึ้นในขึ้นครึ่งปีหลังถึงแม้จะมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบก็แล้วแต่  แต่ด้วยพื้นฐานของประเทศไทยซึ่ง GDP Growth คงไม่ถึง 4 เปอร์เซ็นต์ ด้วยมาตรการต่างๆของรัฐบาลที่ออกมาจะส่งเสริมให้มีการกระตุ้นมีการบริโภคมากขึ้นประกอบกับกลุ่ม Food ของเราจะมีแบรนด์ตัวอาหารมาอีก 3 แบรนด์ คือ อาหารอร่อยดี , สุกี้เฮ้าส์และ Life Food ดังนั้นน่าจะทำให้ในแง่ของ Total System  Sale น่าจะโตประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ เป้าหมายในการขยายสาขาอยู่ที่ 8-9 เปอร์เซ็นต์ สิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1003 สาขา ทั้งปีอาจอยู่ที่ 1050 ถึง 1060 สาขา ส่วน same Store Sales เนื่องจากไตรมาส 1 ติดลบอยู่แล้ว ทำให้คาดไว้ที่ประมาณ 3.8 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าครึ่งปีหลังน่าจะ pick up เป็นบวกบวกบวกขึ้นมา จนกระทั่งทั้งปีเป็น Flat

Q&A
ผลกระทบจากพรบแรงงาน กลุ่มธุรกิจของเราก็อยู่ที่ประมาณ 58 ล้าน

แนวโน้มของเดือนเมษายนและพฤษภาคมก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ยังคล้ายๆกับไตรมาส 1  แต่ก็หวังว่าในครึ่งปีหลังน่าจะดีเพราะฐานมันต่ำ ในครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว ทางทีมบริหารของ Centel มีการ Monitor กันทุกอาทิตย์ และกลุ่มเราค่อนข้างตอบรับได้เร็ว

งบลงทุน 27000 ล้านใน 3 ปี แหล่งที่มาของเงินทุน
D/E อยู่ที่ 0.5 เท่าก็ยังมี Room เรามีการทำประมาณการ 3 ปี 5 ปีและ 10 ปี ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือทางการเงินไม่ว่าเราจะกู้โดยตรงหรือจะออกหุ้นกู้ สิ่งต่างๆเหล่านี้เราพิจารณาแล้วยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน ยังสามารถที่จะ service ดอกเบี้ยและทุกอย่างได้ตามปกติ โดยสรุปก็คือมาจากสถาบันการเงินหรือโดยการออกหุ้นกู้ หรืออาจจะมีกู้แบบ Project Finance

ในส่วนของการปรับปรุง Centara Grand At Central World เราจะปิดปรับปรุงทีละ 3 floor และก็จะมีไว้อีก 1 floor เป็นบัฟเฟอร์ ใช้เวลาไม่น่าจะเกิน 18 เดือน

สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยยังมีอัตราการเติบโตได้ ในระยะยาว เนื่องจากในภูมิภาคอาเซียนเป็นที่สนใจ โดยเฉพาะโลเคชั่นสถานที่ตั้งของประเทศไทยมีความได้เปรียบ เหมือนเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่จะเดินทางไปยังประเทศอินโดจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมทั้งอินโดนีเซีย บรูไน จากเหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ที่เกิดในไทยธุรกิจเรื่องการท่องเที่ยวก็ยังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้มีการเติบโตเกือบทุกปีถ้ามองแนวทางการพัฒนาของประเทศอย่างเช่นตอนนี้มี EEC ซึ่งมีกฎหมายพิเศษขึ้นมาต่างประเทศก็ให้ความสนใจ จะเข้ามาพัฒนาบริเวณนั้นรวมทั้งโครงการ infrastructure แอร์พอร์ตลิงค์ต่างๆ และถ้ามองภาพใหญ่ที่จีน พยายามที่จะ มี silk road แล้วก็ยังมี คลองคอดกระ แล้วก็ยังมีความพยายามที่ Connect จากเหนือมาใต้จากตะวันออกมาตะวันตก เชื่อมประเทศต่างๆ เหล่านี้ก็จะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตอย่างยั่งยืน และการพยายามโปรโมทการท่องเที่ยวเมืองรองก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยมีการเติบโตมากยิ่งขึ้น ถ้าเราไปมองดูการพัฒนา ของธุรกิจโรงแรมในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาหรือในยุโรป ทุกครั้งที่ infrastructure ไปถึงที่ไหน ก็จะมีโรงแรมผุดขึ้นตามนั้นตามสถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์เมืองที่ได้รับการพัฒนาอันนี้ก็เช่นเดียวกัน เมืองรองต่างๆของไทย ยังมีศักยภาพ ยังมี Unseen In Thailand อีกเยอะ

ส่วนธุรกิจอาหารมองว่าการบริโภคเป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งธุรกิจที่ควบคู่ไปกับธุรกิจอาหารก็คือค้าปลีก retail  จะเห็นว่าเดอะแร็ปเปอร์ที่ทำค้าปลีกในไทยมีแข่งขันเปิดขยายสาขา ซึ่ง developer เหล่านี้ก็มีการศึกษาถึงแผนการพัฒนาถึงโอกาสที่จะไปเปิดสาขาในแต่ละที่ กำลังซื้อต่างๆซึ่งธุรกิจอาหารเราก็จะเปิดตามไปใน retail Space ต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยหนึ่ง ที่มีผลต่อการเติบโตของ GDP คือการบริโภค ไลฟ์สไตล์ของคนไทยก็เริ่มเปลี่ยนมากขึ้น นิยมบริโภคนอกบ้านก็จะเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจอาหารที่จะขยายไป ส่วนหนึ่งที่ทางกลุ่มมองว่า น่าจะเป็นช่องทางการจัดจำหน่าย อีกช่องทางหนึ่งเพิ่มเติมจากการเปิดสาขา คือพวก Call Center  Delivery ทั้งหลาย เช่น LINE Man , Grab food  Food Panda ลาล่ามูฟพวกนี้ซึ่งการเติบโตแต่ละปีดับเบิ้ลดิจิ ซึ่งสัดส่วนจากธุรกิจอาหารของเรามีอยู่ 5-6 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากพวก delivery พวกนี้ เราทดลองเปิดร้านอาหารอร่อยดีสาขาอยู่ที่สีลมอีกสาขาอยู่ที่สายไหม ปรากฏว่าสัดส่วนที่ขายอาหาร จากการที่เขาโทรสั่งแล้วส่ง มีมากทีเดียว แนวโน้มช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งไลฟ์สไตล์คนก็เริ่มเปลี่ยนไปมากขึ้น โดยสรุปคือธุรกิจอาหารและธุรกิจโรงแรมในไทยยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่สำหรับต่างประเทศถ้าจะดูต่างประเทศต้องไปดู United nations  ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว WTO (World tourism Organization ) ซึ่งประมาณการว่า  ทุกปีจะมีการท่องเที่ยวทั่วโลกโดยรวมทั่วโลก 8-9 เปอร์เซ็นต์ เติบโต และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโต ทางกลุ่มเราก็จะมองดูว่าประเทศไหนบ้างในนี้ที่มีศักยภาพอย่างเช่นเวียดนาม หรือในอาเซียนอันไหนที่มีศักยภาพเราก็เลือกอยู่ว่า เลือกรับบริหารแน่นอนไปก่อน Jointventure หรือไปทำ m&a หรือไปพัฒนาใหม่เลยก็มี
เป้าหมายที่เราตั้งไว้อย่าง เช่น มัลดีฟ ตะวันออกกลางศรีลังกา เกตเวย์ซิตี้ต่างๆ จะเห็นว่าเราขยายใน middle East โดยไปจอยเวนเจอร์กับกลุ่มพัฒนาธุรกิจใหญ่ สปอนเซอร์โดยรัฐบาลของเขา oman Qatar ซึ่งกาตาร์ที่จริงจะเปิดปลายปีนี้แต่อาจจะเลื่อนไปเป็นปีหน้าและผลการดำเนินงานเท่าที่ดูก็ค่อนข้างจะอินไลน์กับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ เกตเวย์ซิตี้ไม่ว่าญี่ปุ่น เราตั้งเป้าหมายไว้ในยุโรปก็มีติวติดต่อศึกษาออสเตรเลียก็ดู อย่างที่ได้เรียนไว้จากปัจจุบัน 39 โรงแรมจะกลายเป็น 68 โรงแรม เพิ่มมาอีก 29 เนี่ยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ต่างประเทศ เราจะกระจายความเสี่ยงของธุรกิจโรงแรมมากขึ้น สำหรับธุรกิจอาหาร กลุ่มเซ็นทรัลขยายอยู่ในเวียดนามอยู่แล้ว ไม่เปลี่ยนไปขยายในศูนย์การค้าซึ่งทาง CEO ของ food  มีการศึกษาว่าเป็นไปได้ไหมว่าจะไปขยายยังไงร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่นหรือร่วมกับผู้ประกอบการอินเตอร์เนชั่นแนล หรือจะเอาบางแบรนด์ที่เขาอนุญาตให้เราเข้าไปขยาย ก็ยังมีการศึกษาอยู่ รวมทั้งประเทศอาเซียนอื่นด้วยที่กลุ่ม Food มีการมองอยู่ว่ามีแบรนด์ดังแบรนด์ที่น่าสนใจไหมพี่จะเพิ่มและไม่ใช่เฉพาะต่างประเทศในไทยก็ดูว่ามี startup แนวดาวรุ่ง มีแนวโน้ม EBITDA MARGIN ดีๆให้เราเข้าไปจอยเวนเจอร์โดยเราเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่ เพราะสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของเราค่อนข้างต่ำ แล้วฟู้ดเงินกู้น้อยมากแทบไม่มีเลย สิ้นปีที่แล้วมีเงินเหลือถึง 180 ล้าน ที่เรากันเงินเอาไว้หมื่นกว่าล้านเพื่อจะเอาไปลงอะไรยังไงเราก็มองอยู่

โดยสรุปธุรกิจอาหารและโรงแรมไม่ว่าในหรือต่างประเทศก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อยู่ และกลุ่ม Centel เราก็มีเป้าหมายที่จะไปทั้งในและต่างประเทศด้วย

ปีนี้เราจ่ายปันผล 65 สตางค์ต่อหุ้นนับว่าสูงสุดแล้วเท่าที่เคยจ่ายมา

เหตุการณ์ไฟไหม้ในลานจอดรถไม่ได้กระทบกับทรัพย์สินของโรงแรม แต่เราก็มีการทำประกัน Business interruption เอาไว้ ซึ่งร้านอาหารที่อยู่ในห้างก็ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ก็มีการทำเครมประกันค่าเสียโอกาส

ให้เมืองดูไบน่าจะเปิดได้ตามแผนในปี 2021 น่าจะเป็นช่วงปลายปี 601 ห้องส่วนที่มัลดีฟเนื่องจากเราอยากจะให้ตัวต้นทุนในการถมเกาะเหมาะสมที่สุดจึงได้มีการพยายามที่จะเรียกคอนแทคเตอร์มาบิดในการถมเกาะเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ดี คาดว่าจะเปิดได้ประมาณ ครึ่งแรกของปี 2022 จำนวน   310 ห้อง

ร้านอาหารของ Centel มีสัดส่วนเฟรนไชน์กี่แห่ง
ถือว่ามีสัดส่วนน้อยถ้าเป็นแบรนด์ของเราเองตอนนี้ก็มีเดอะเทอเรสมี 9 สาขาและอร่อยดี 3 สาขารวมกันเป็น 12 สาขาจาก 1,003 สาขา ตอนนี้ร้านอร่อยดีจะตั้งตาเก็บไว้ จะมีทั้งหมด 10 สาขาและแบรนด์ใหม่สุกี้เฮ้าส์ 4 สาขาสำหรับปีนี้

ทางกลุ่ม cpn หากมีพื้นที่เหลือทางเราก็จะเข้าไปบิด เพื่อที่จะดูว่าเหมาะสมกับโรงแรมประเภทไหน เราจะเข้าไปเสริมตรงนั้นเพื่อให้เกิด synergy ด้วยกัน

ในธุรกิจโรงแรมถ้าโลเคชั่นดีๆ คู่แข่งหรือแม้แต่ตัวเองก็อยากจะไปตั้ง สมมุติว่าอีก 2 3 ปีอย่าลืมว่าต้องมี demand เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง mix user ของเรา เซ็นทรัลเวิลด์มีค่อนข้างจะครบ ดังนั้นค่อนข้างจะมั่นใจว่าด้วยพื้นฐาน และทีมงานการตลาด น่าจะรักษาสัดส่วนและ maintain รายได้ของเราได้ตามเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่นเซ็นทรัลลาดพร้าว แต่เดิมก็มีแห่งเดียวโดดโดดต่อมาก็มียูเนี่ยนมอลล์และมีของเทสโก้โลตัสมาเปิด ถ้าถามว่าจำนวนคนที่ไปศูนย์การค้าที่เซ็นทรัลลาดพร้าวลดลงไหมก็ไม่ได้ลดลง ดังนั้นถึงแม้จะมีคู่แข่งมาทางกลุ่มเรากลับมองว่าก็จะเป็นการโปรโมท area แถวนั้น เหมือนที่เราไปสิงคโปร์ที่เราไปออร์ชาร์ดโร้ดโรงแรมเต็มไปหมด 2 ข้างทาง ก็จะช่วยทำให้เรากระตุ้นให้เรา บริหารงานจัดการ ทำอะไรต่างๆให้ดีขึ้นแข่งขันเสนอบริการที่ดีให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ

สุกี้เฮ้าส์เป็นแบรนด์ของเราเอง สาขาแรกอยู่ที่บางซื่อซึ่งเรามองว่าอีกหน่อยบางซื่อจะเป็นชุมทางสำคัญ จากการที่กลุ่ม Food ทำวิจัยมานานพอสมควรและกล้านำเสนอสุกี้เฮ้าส์ ก็น่าจะเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ประสบความสำเร็จ

การปิดซ่อมโรงแรมเซ็นทาราแอทเซ็นทรัลเวิลด์ เราเคยมีประสบการณ์เมื่อปี 2009  ซึ่งตอนนั้นเราปรับปรุง เราก็ไม่ได้ปิด ไปดูงบย้อนหลัง  รายได้ก็ไม่ได้รับผลกระทบเพราะทีมงานที่ดูแลโรงแรมนั้นอยู่เขาจะรู้ว่า ในปีนึงแต่ละช่วงของเดือนเป็นอย่างไร ธุรกิจประเภทไหนมายังไงเขาก็จะ assign ถ้าเป็นนักธุรกิจมา ก็จะ sensitive เรื่องนี้มาก ก็จะ assign ให้อยู่ในบาง floor ที่ไม่ได้รับผลกระทบ  แต่ถ้ามาเป็นกรุ๊ป ซึ่งอาจจะ rate ถูกนิดนึงแล้วไม่ concern เรื่องพวกนี้เท่าไหร่แล้วก็ assign ให้ ผู้บริหารเขาก็จะหลีกเลี่ยงอยู่แล้ว ถ้าอัตราการเข้าพักไม่ใช่ 85% ปิดปรับปรุง 3 floor ก็จะมี Buffer for นึง เราก็จะ assign ข้างล่างข้างล่างก่อน คือพยายามหลีกเลี่ยงเรามีประสบการณ์ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไร

งาน Food ที่เป็นแบรนด์เราเองก็มี The Terrace  อร่อยดีสุกี้เฮ้าส์ Life food นอกนั้นก็จะเป็น franchise ไม่มีขายแฟรนไชส์ เราบริหารเอง

By Joe789