วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วงจรแห่งความตกต่ำ

วงจรแห่งความตกต่ำ คือ วงจรที่พยายามประหยัดค่าใช้จ่ายจนเกินพอดี จนละทิ้งเรื่องคุณภาพลงไป เป็นเรื่องปกติที่เมื่อประหยัดค่าใช้จ่ายมากๆ คุณภาพและบริการย่อมลดลง เมื่อคุณภาพและบริการลดลง สิ่งที่ตามมาคือรายได้ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อรายได้ลดลงก็ยิ่งจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อตัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น คุณภาพกับบริการยิ่งตกต่ำมากขึ้นไปอีก ยิ่งส่งผลให้รายได้ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็คือ จบเกม นี่คือสาเหตุนึงที่คนตระหนี่ ทำกิจการใหญ่โตไม่ได้ เพราะทุกกิจการย่อมต้องผ่านช่วงเวลากำไรลดลง จาก คชจ เพิ่มขึ้น หรือกำไรลดลงเพราะ คชจ เท่าเดิมแต่รายได้ลดลง แต่การแก้ไขปัญหาของ ผบห ที่มีวิสัยทัศน์จะแตกต่างกับ ผบห ที่ตระหนี่ ตรงจุดเหล่านี้อย่างเห็นได้ชัด
    
     แล้ว ผบห ที่มีวิสัยทัศน์จะแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อเจอเหตุการณ์เดียวกัน (กำไรลด คชจ เพิ่ม) อย่างแรกกำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้าให้ชัดเจน ตามด้วย ลด คชจ ที่ไม่จำเป็นออก แต่จะไม่ลดจนคุณภาพและบริการตกต่ำ ตามด้วย และเพิ่มบริการให้ตรงกับที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการ รวมถึงเพิ่มค่าบริการ หรือราคาสินค้า เพื่อเป็นการคัดลูกค้าให้เหลือเฉพาะกลุ่มที่เป็นเป้าหมายจริงๆ และเพื่อให้ราคาสมเหตุ สมผลกับคุณภาพและบริการที่มีให้ลูกค้า รวมทั้งต้องโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ ถึงคุณภาพและบริการที่เรามีให้

การลด คชจ แต่เพียงอย่างเดียวมีแต่จะทำให้กิจการตายซาก รอวันตายจริงเท่านั้น เพราะมองแต่กำไรเฉพาะหน้า
ต้องสร้างวงจรแห่งความรุ่งเรืองคืนมาให้ได้กิจการจึงจะมีอนาคต นั่นคือหน้าที่ของผู้บริหาร แน่นอนนั่นรวมถึงการพากิจการหลีกห่างอุตสาหกรรมตะวันตกดินด้วย

วงจรแห่งความรุ่งเรือง จะสามารถเพิ่มรายได้เข้ามาได้ แต่ต้องเกิดจากการมี คุณภาพและบริการที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นคือต้องลงทุนใน คชจ ที่มากขึ้นก่อน ก่อนลงทุนเพิ่ม คชจ แล้วต้องโฟกัสเป้าหมายเพื่อไม่ให้ คชจ เหล่านั้นสูญเปล่า กิจการที่เพิ่ม คชจ เพื่อเพิ่มคุณภาพและบริการได้ถูกใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น ที่จะสามารถเพิ่มรายได้จากการเพิ่มราคาสินค้าและบริการได้
#คิดไปเรื่อยเปื่อย