Thursday, June 27, 2013 -- CPALL:ซีพีออลล์ เทนเดอร์หุ้น MAKRO วันที่ 28 มิ.ย.-5 ส.ค.หุ้นละ 787 บาท
กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--รอยเตอร์
บมจ.ซีพี ออลล์ จะทำคำเสนอซื้อหุ้นบมจ.สยาม
แม็คโคร ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.-5 ส.ค.นี้ ในราคาหุ้นละ
787 บาท หลังวานนี้ทำบิ๊กล็อตซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MAKRO แล้ว
CPALL แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า วันนี้้ิบริษัทได้ยื่นคำเสนอซื้อหุ้น
MAKRO ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.)แล้ว
โดยหุ้นที่จะทำเทนเดอร์ฯ ครั้งนี้ จำนวน 81.26 ล้านหุ้น หรือ
33.86% ไม่รวมกับหุ้นที่ได้มาก่อนหน้านี้ สำหรับแหล่งเงินที่นำมาใช้ซื้อหุ้น
มาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และเงินที่ได้รับการสนับสนุนจาก
สถาบัันการเงิน
วานนี้ CPALL ทำรายการบิ๊กล็อตซื้อหุ้น MAKRO จากผู้ถือหุ้น
รายใหญ่ของ MAKRO โดยหลังการทำบิ๊กล้อตดังกล่าว เมื่อรวมกับหุ้นที่ถือ
อยู่ก่อนหน้านี้แล้วทั้งทางตรงทางอ้อม ทำให้ CPALL ถือหุ้น MAKRO
จำนวน 158.74 ล้านหุ้น สัดส่วน 66.14%
CPALL แจ้งว่า หลังการเข้าซื้อกิจการ MAKRO แล้ว บริษัทไม่มี
แผนนำ MAKRO ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขณะที่
จะร่วมกับ MAKRO ในการพิจารณาทบทวน และปรับปรุงนโยบายการดำเนิน
ธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ก่อนหน้านี้ิ ผู้บริหาร CPALL ระบุว่า หลังการซื้อ MAKRO แล้ว
จะมีการเปิดสาขาในต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นในประเทศลาว กัมพูชา
และเมียนมาร์ก่อน เนื่องจากใกล้กับไทย เงินลงทุนมาจากส่วนของ MAKRO เอง
สำหรับ synergy ร่วมกันระหว่าง CPALL และ MAKRO นั้น
จะต้องหารือร่วมกันทั้ง 2 บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนก.ค.นี้
วานนี้ ราคาหุ้น CPALL ปิดตลาดที่ 39.00 บาท ส่วน MAKRO
ปิดที่ 772 บาท--จบ--
(โดย กชกร บุญลาย เรียบเรียง--วพ--)
((kochakorn.boonlai@thomsonreuters.com;โทร.0-2648-9731;Reuters
Messaging:kochakorn.boonlai.thomsonreuters.com@reuters.net))
Best Regards,
Kittiya Thai-artvithi (zAii*)
Marketing Officer, Retail.
Tel. 02-624-6249, 02-695-5767
Fax. 02-695-5984
Mobile. 084-676-8627
Disclaimer: This email and any files transmitted with it are confidential and intended solely for the use of the individual or organization to whom they are addressed. If you are not the intended recipient, you should not copy, re-transmit, use, or disclose its contents, but should return it to the sender and delete your copy from your system. KT ZMICO Securities Company Limited does not accept legal responsibility for the contents of this message. Any views or opinions expressed are solely those of the author and do not necessarily represent those of KT ZMICO Securities Company Limited.
เปิดยุทธศาสตร์ซีพี ออลล์
แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เตรียมขยายดีซีภูมิภาค เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ในแถบอีสานตอนใต้ , ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง แต่ละสาขาจะมีพื้นที่คลังสินค้าราว 1.7 - 2 หมื่นตารางเมตร
ด้วยยุทธศาสตร์เดินหน้าขยายสาขาร้านเซเว่น อีเลฟเว่นให้ได้ 1 หมื่นสาขาภายใน 5 ปี รวมไปถึงเป้าหมายที่คาดว่าจะมีสาขาได้มากถึง 1.5 หมื่นสาขา ทำให้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ต้องวางรากฐานการจัดการให้มีความพร้อม ไม่ใช่แค่ระบบไอที หรือบัญชี การเงินเท่านั้น
การจัดการด้านโลจิสติกส์ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นหัวใจในการบริหารจัดการระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่ การคัดเลือกสินค้ามาจำหน่าย จนถึงระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขา ที่มีอยู่นับหมื่นแห่งทั่วประเทศ
++ เปิดแผนลงทุน 4 ศูนย์เฉียด 3 พันล.
นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ กล่าวว่า การบริหารจัดการสินค้าและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคให้รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และยังคงคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี ถือว่ามีความสำคัญยิ่งในระบบค้าปลีก ซึ่งการจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องมีระบบการซัพพลายเชนที่ดี
โดยซีพี ออลล์ ใช้เวลาพัฒนาระบบมานานว่า 20 ปี จากระยะแรกที่ให้ซัพพลายเออร์ไปผู้จัดส่งสินค้าไปยังสาขา ในรูปแบบ Cash Van แต่เมื่อสาขาเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องปรับรูปแบบการขนส่งเป็นแบบรวมส่ง ด้วยการตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) ขึ้น ถือเป็นผู้บุกเบิกระบบการกระจายสินค้าผ่านดีซี เป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย ซึ่งส่งผลให้ระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขาต่างๆ มีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
สำหรับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี บริษัทเตรียมขยายดีซีภูมิภาค เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ในแถบอีสานตอนใต้ , ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง แต่ละสาขาจะมีพื้นที่คลังสินค้าราว 1.7 - 2 หมื่นตารางเมตร ใช้เงินลงทุนราว 500 - 600 ล้านบาท โดยจะทยอยลงทุนและก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมการกระจายสินค้าในทุกสาขาทั่วประเทศ
นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างดีซีมหาชัย เพื่อรองรับร้านเซเว่น จำนวน 2 พันสาขาในเขตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก , ภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน โดยดีซีมหาชัยมีพื้นที่ราว 2.5 หมื่นตารางเมตร ใช้งบลงทุน 1 พันล้านบาท
"เซเว่น พัฒนาระบบกระจายสินค้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทนำระบบ IT เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และสามารถจัดส่งสินค้าได้ภายใน 24 ชม. หลังรับออร์เดอร์ อย่างไรก็ดีในอนาคตเชื่อมั่นว่าเซเว่น ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดหลังจากที่รายได้ของประชากรเริ่มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสาน"
++ 6 ศูนย์ครอบคลุมทั่วไทย
ด้านนายชูศิลป์ จิรวงศ์ศรี รองกรรมการผู้จัดการ สำนักกระจายสินค้า กล่าวว่า ซีพี ออลล์ มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการนำระบบ Warehouse Management System (WMS) ในการบริหารจัดการสินค้า และระบบ Digital Picking ซึ่งเป็นการจัดและขนส่งสินค้าด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้จัดสินค้าได้ตรงตามใบสั่งซื้อของแต่ละสาขาได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
โดยเครือข่ายระบบดีซี จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้าอุปโภคบริโภค (Dry Grocery Distribution Center) อาทิ เครื่องดื่ม , ของใช้ , เครื่องเขียน เป็นต้น และศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Chilled Distribution Center) อาทิ นม , ไส้กรอก , ข้าวกล่อง เป็นต้น
ปัจจุบันซีพี ออลล์ มีดีซีรวมทั้งสิ้น 6 แห่ง แบ่งเป็นดีซีในกรุงเทพฯ 2 แห่ง ได้แก่ ดีซีบางบัวทอง มีพื้นที่ 2.5 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง , กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 2.45 พันสาขา และดีซีสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 2.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ภาคกลาง 4 จังหวัดและชลบุรี จำนวน 1.78 พันสาขา
ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (RDC) 4 แห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 845 สาขา , ขอนแก่น มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัดในภาคอีสาน จำนวน 855 สาขา , ชลบุรี มีพื้นที่ 1 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในภาคตะวันออก จำนวน 520 สาขา และดีซีล่าสุด ลำพูน มีพื้นที่ 1.7 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 643 สาขา ใช้งบลงทุนในเฟสแรก 550 ล้านบาท และจะลงทุนอีกกว่า 100 ล้านบาทในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ในเฟส 2 ในอนาคตอันใกล้
++ แม็คโครเอื้อกระจายสินค้า
ส่วนการเข้าซื้อกิจการของแม็คโคร ผู้ประกอบการค้าส่งรายใหญ่ของซีพี ออลล์ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเสริมด้านการกระจายสินค้าให้กับซีพี ออลล์รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับซีพี ออลล์มากขึ้นนั้น นายพิทยา บอกว่า ห้างแม็คโครซึ่งมีอยู่เกือบ 60 แห่งนั้น ในบางแห่งจะสามารถใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าให้กับเซเว่นได้ ทำให้สามารถทดแทนการตั้งศูนย์กระจายสินค้าได้ ขณะที่บางแห่งยังไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ในอนาคต ซีพี ออลล์ ยังสามารถกระจายสินค้าให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะแบรนด์จากต่างประเทศที่เข้ามาขยายตลาดในเมืองไทย หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีสินค้าจากต่างประเทศ ที่ให้ซีพี ออลล์ เป็นผู้กระจายสินค้าให้ อาทิ ขนมแคร็กเกอร์ , ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
การจัดการด้านโลจิสติกส์ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นหัวใจในการบริหารจัดการระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่ การคัดเลือกสินค้ามาจำหน่าย จนถึงระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขา ที่มีอยู่นับหมื่นแห่งทั่วประเทศ
++ เปิดแผนลงทุน 4 ศูนย์เฉียด 3 พันล.
นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ กล่าวว่า การบริหารจัดการสินค้าและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคให้รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และยังคงคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี ถือว่ามีความสำคัญยิ่งในระบบค้าปลีก ซึ่งการจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องมีระบบการซัพพลายเชนที่ดี
โดยซีพี ออลล์ ใช้เวลาพัฒนาระบบมานานว่า 20 ปี จากระยะแรกที่ให้ซัพพลายเออร์ไปผู้จัดส่งสินค้าไปยังสาขา ในรูปแบบ Cash Van แต่เมื่อสาขาเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องปรับรูปแบบการขนส่งเป็นแบบรวมส่ง ด้วยการตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) ขึ้น ถือเป็นผู้บุกเบิกระบบการกระจายสินค้าผ่านดีซี เป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย ซึ่งส่งผลให้ระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขาต่างๆ มีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
สำหรับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี บริษัทเตรียมขยายดีซีภูมิภาค เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ในแถบอีสานตอนใต้ , ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง แต่ละสาขาจะมีพื้นที่คลังสินค้าราว 1.7 - 2 หมื่นตารางเมตร ใช้เงินลงทุนราว 500 - 600 ล้านบาท โดยจะทยอยลงทุนและก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมการกระจายสินค้าในทุกสาขาทั่วประเทศ
นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างดีซีมหาชัย เพื่อรองรับร้านเซเว่น จำนวน 2 พันสาขาในเขตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก , ภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน โดยดีซีมหาชัยมีพื้นที่ราว 2.5 หมื่นตารางเมตร ใช้งบลงทุน 1 พันล้านบาท
"เซเว่น พัฒนาระบบกระจายสินค้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทนำระบบ IT เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และสามารถจัดส่งสินค้าได้ภายใน 24 ชม. หลังรับออร์เดอร์ อย่างไรก็ดีในอนาคตเชื่อมั่นว่าเซเว่น ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดหลังจากที่รายได้ของประชากรเริ่มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสาน"
++ 6 ศูนย์ครอบคลุมทั่วไทย
ด้านนายชูศิลป์ จิรวงศ์ศรี รองกรรมการผู้จัดการ สำนักกระจายสินค้า กล่าวว่า ซีพี ออลล์ มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการนำระบบ Warehouse Management System (WMS) ในการบริหารจัดการสินค้า และระบบ Digital Picking ซึ่งเป็นการจัดและขนส่งสินค้าด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้จัดสินค้าได้ตรงตามใบสั่งซื้อของแต่ละสาขาได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
โดยเครือข่ายระบบดีซี จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้าอุปโภคบริโภค (Dry Grocery Distribution Center) อาทิ เครื่องดื่ม , ของใช้ , เครื่องเขียน เป็นต้น และศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Chilled Distribution Center) อาทิ นม , ไส้กรอก , ข้าวกล่อง เป็นต้น
ปัจจุบันซีพี ออลล์ มีดีซีรวมทั้งสิ้น 6 แห่ง แบ่งเป็นดีซีในกรุงเทพฯ 2 แห่ง ได้แก่ ดีซีบางบัวทอง มีพื้นที่ 2.5 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง , กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 2.45 พันสาขา และดีซีสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 2.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ภาคกลาง 4 จังหวัดและชลบุรี จำนวน 1.78 พันสาขา
ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (RDC) 4 แห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 845 สาขา , ขอนแก่น มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัดในภาคอีสาน จำนวน 855 สาขา , ชลบุรี มีพื้นที่ 1 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในภาคตะวันออก จำนวน 520 สาขา และดีซีล่าสุด ลำพูน มีพื้นที่ 1.7 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 643 สาขา ใช้งบลงทุนในเฟสแรก 550 ล้านบาท และจะลงทุนอีกกว่า 100 ล้านบาทในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ในเฟส 2 ในอนาคตอันใกล้
++ แม็คโครเอื้อกระจายสินค้า
ส่วนการเข้าซื้อกิจการของแม็คโคร ผู้ประกอบการค้าส่งรายใหญ่ของซีพี ออลล์ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเสริมด้านการกระจายสินค้าให้กับซีพี ออลล์รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับซีพี ออลล์มากขึ้นนั้น นายพิทยา บอกว่า ห้างแม็คโครซึ่งมีอยู่เกือบ 60 แห่งนั้น ในบางแห่งจะสามารถใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าให้กับเซเว่นได้ ทำให้สามารถทดแทนการตั้งศูนย์กระจายสินค้าได้ ขณะที่บางแห่งยังไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ในอนาคต ซีพี ออลล์ ยังสามารถกระจายสินค้าให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะแบรนด์จากต่างประเทศที่เข้ามาขยายตลาดในเมืองไทย หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีสินค้าจากต่างประเทศ ที่ให้ซีพี ออลล์ เป็นผู้กระจายสินค้าให้ อาทิ ขนมแคร็กเกอร์ , ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,844 วันที่ 16-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ธนินท์"เผย CPALL เล็งนำสินทรัพย์ MAKRO ตั้งกองทุนอสังหาฯ
อินโฟเควสท์ (24 เม.ย. 56)--นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บมจ.ซีพี ออลล์(CPALL)กล่าวว่า CPALL ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อเข้า
ทั้งนี้ นายธนินท์ ยอมรับว่าราคาซื้อหุ้น MAKRO ค่อนข้างแพง แต่เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มการเต
CPALL ลั่น! 2 ปี คืนหนี้กู้ซื้อ MAKRO หมด พร้อมพิจารณาจัดตั้งกองทุน
วันพุธที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 15:36:07 น.ผู้เข้าชม : 1047 คน
นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เปิดเผยถึงกรณีคืนหนี้ที่กู้มาซื้อหุ้นบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO นั้น คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ปี จะสามารถชำระคืนได้หมด โดยบริษัทจะใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน มาชำระคืนหนี้ที่กู้มาซื้อหุ้น MAKRO ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปีจะชำระได้หมด ขณะที่บริษัทและที่ปรึกษาทางการเงิน อยู่ระหว่างการศึกษา เรื่องการจัดตั้งกองทุน จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ส่วนกรณีที่ราคาหุ้น CPALL ปรับลงวันนี้ มาจากแรงขาย ของนักลงทุนที่ยังไม่มั่นใจ ซึ่งมองว่าเป็นระยะสั้น
CPALL ไม่มีแผนถอน MAKRO ออกจากตลาดหุ้น เล็งส่งขยายสาขาลาว-เวียดนาม-จีน
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 23 เมษายน 2556 15:13:36 น.
บมจ.ซีพี ออลล์(CPALL) เปิดเผยว่า บริษัทไม่มีแผนจะเพิกถอนหุ้น บมจ.สยามแม็คโคร(MAKRO)ออกจากตลาดหลักทรัพย์หลังเข้าซื้อหุ้นกว่า 64% และเตรียมทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ออฟเฟอร์)หุ้นทั้งหมดที่เหลือ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ในราวเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ โดยการทำรายการทั้งหมดจะใช้เงินจากกระแสเงินสดและเงินกู้จากสถาบันการเงิน พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่มีแผนเพิ่มทุนเพื่อนำมาใช้ในการนี้
สำหรับสาเหตุที่บริษัทซื้อหุ้น MAKRO ในราคาสูงกว่ากระดานเทรดหลัก เนื่องจากได้คิดมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าการค้าและทีมบริหารที่มีฝืมือ และบริษัทคาดว่าเมื่อรวมยอดขายของ MAKRO เข้ามาแล้วจะทำให้ยอดขายรวมของบริษัทสูงกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท
บริษัทยังมีแผนจะใช้ MAKRO เป็นหัวหอกในการเตรียมพร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) โดยเริ่มจากการเปิดสาขา MAKRO ในลาวและเวียดนาม รวมทั้งเปิดสาขาในจีนด้วย
อินโฟเควสท์
CPALL เผย เหตุเทกโอเวอร์ MARKO หวังใช้เป็นฐานรุก AEC เพราะ CPALLทำ
ธุรกิจได้เฉพาะในประเทศ
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า สาเหตุที่บริษัทฯ ไปซื้อหุ้น บริษัท สยาม แม็คโคร จำกัด
(มหาชน) (MAKRO) เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ
AEC โดยบริษัทฯ จะใช้ MAKRO เป็นแขนขาในการรุกตลาดอาเซียน ซึ่งมีจำนวน
ประชากรสูงถึง 600 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดสาขาแรกได้ในประเทศลาว หรือ
เวียดนาม หลังจากนั้นจะพิจารณาประเทศอื่นๆ ต่อไป
' เราเล็งเห็นว่าเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตสินค้าไทยที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกไป
จำหน่ายยังตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีประชากรสูงถึง 600 ล้านคน เนื่องจากสินค้าของ
ไทยเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพสูง ปัจจุบันยังขาดอยู่แต่เพียงช่องทางจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ
เท่านั้น ดังนั้น CPALL จึงมั่นใจว่าการเข้าซื้อ MAKRO จะช่วยเสริมศักยภาพช่องทางการ
จำหน่ายสินค้าได้ เนื่องจาก MAKRO เป็นผู้นำการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสด
แช่แข็ง ที่ประสบความสำเร็จมาโดยตลอด'นายก่อศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้บริษัทฯ มีไลเซนส์ หรือใบอนุญาต ที่สามารถนำ MAKRO ไปเปิดสาขาได้
ทุกประเทศในอาเซียน และจีน ยกเว้นอินเดีย โดยหากบริษัทฯต้องการเข้าไปทำธุรกิจใน
อินเดียต้องใช้เครื่องหมายการค้าอื่น
CPALL เผย หลังดีลซื้อ-ขายเสร็จสิ้น สัดส่วนหนี้สิน/อีบิทด้า จะอยู่ที่ 5 เท่า แต่จะลดลง
เรื่อยๆ ตามผลประกอบการที่ดีขึ้น ยันซื้อ MAKRO ราคาไม่แพง
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า ภายหลังการซื้อหุ้น MAKRO เสร็จสิ้น บริษัทฯ จะมีสัดส่วน
หนี้สินต่ออีบิทด้า จะอยู่ที่ประมาณ 5 เท่า ซึ่งถือว่าไม่สูงและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดย
อัตราส่วนดังกล่าวจะลดลงเรื่อยๆตามแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้น
ด้านนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์
จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL กล่าวว่า การซื้อหุ้น MAKRO ครั้งนี้ไม่ได้แพง อย่างที่หลาย
ฝ่ายมอง เนื่องจาก MAKRO เป็นบริษัทที่มีศักยภาพสูง บริษัทให้ราคาสูงจากรูปแบบการค้า
และทีมงานที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นสิ่งที่ CPALL อยากได้มากที่สุด โดยยืนยันว่าภายหลังการซื้อ
หุ้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร MAKRO แต่อย่างใด
ด้านนายอาทิตย์ นันทวิทยา รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า
หลังจากที่ CPALL ซื้อหุ้น MAKRO หนี้สินต่ออีบิทด้าที่ประมาณ 5 เท่า ซึ่งถือว่าไม่สูงเมื่อ
เทียบกับธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ โดยในบางบริษัทมีหนี้สินต่ออีบิทด้าสูงถึง 10 เท่าก็ยังสามารถกู้
เงินจากสถาบันการเงินได้ เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดสม่ำเสมอ และมี
ความมั่นคงสูง
'CPALL มีหนี้สินต่ออีบิทด้า ที่ 5 เท่า หมายความว่า เขามีศักยภาพในการชำระ
หนี้หมดใน 5 ปี หากไม่นำเงินไปทำอย่างอื่นเลย แต่ในทางปฏิบัติคงเป็นไปไม่ได้ ต้องมีการ
จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น และลงทุนอื่นๆ ซึ่งหากตัดเรื่องการจ่ายปันผลและการลงทุนออกไป
บริษัทก็อาจจะสามารถชำระหนี้ได้หมดภายในระยะเวลา 10 ปี ถือเป็นระดับที่รับได้ และไม่
มีความเสี่ยงต่อธนาคารแต่อย่างใด'นายอาทิตย์ กล่าว
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า ภายหลังการซื้อหุ้น MAKRO เสร็จสิ้น บริษัทฯ จะมีสัดส่วน
หนี้สินต่ออีบิทด้า จะอยู่ที่ประมาณ 5 เท่า
ตรงนี้ มีความหมายมาก นั่นหมายความว่า หาก cpall นำกำไรที่เป็นกระแสเงินสดจริง (ที่ไม่โดนหักด้วยค่าเสื่อม) มาใช้หนี้ทั้งหมด จะสามารถใช้หนี้ได้หมดภายใน 5ปี
หรือพูดแบบบ้านๆ เข้าใจง่ายๆคือ cpall ทำงานฟรี 5ปี แล้วได้กิจการ makro มาครอบครองฟรีๆ
CPALL เผย เทกโอเวอร์ MAKRO ไม่ต้องเพิ่มทุน
โดยใช้กระแสเงินสดซื้อ 10% ที่เหลือกู้ SCB-สถาบันการเงินทั่วโลก ทั้งรูปเงินบาทและดอลล์
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า การซื้อหุ้น บริษัท สยาม แมคโคร จำกัด (มหาชน) ( MAKRO) ครั้งนี้ จะใช้เงินทุนจำนวน 1.89 แสนล้านบาท โดยบริษัทฯจะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดประมาณ 10% ส่วนที่เหลือจะกู้ยืมจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก รวมทั้ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยเงินกู้จะมีทั้งเงินบาทและดอลลาร์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเงินสกุลดอลลาร์
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า การซื้อหุ้น บริษัท สยาม แมคโคร จำกัด (มหาชน) ( MAKRO) ครั้งนี้ จะใช้เงินทุนจำนวน 1.89 แสนล้านบาท โดยบริษัทฯจะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดประมาณ 10% ส่วนที่เหลือจะกู้ยืมจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก รวมทั้ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยเงินกู้จะมีทั้งเงินบาทและดอลลาร์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเงินสกุลดอลลาร์
ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารที่ตอบรับให้ธนาคารกู้แล้ว 5-6 แห่ง แต่ขณะนี้อยู่ระหว่าง
เจรจาเพิ่มเติมอีก คาดว่าจะมีสถาบันการเงินอื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้อีกในอนาคต
' ยืนยันว่าบริษัทฯ จะไม่เพิ่มทุนจดทะเบียน เนื่องจากการซื้อหุ้นครั้งนี้ขึ้นอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น โดยยืนยันว่าการทำธุรกรรมนี้ไม่มีส่วนใดที่จะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น จะไม่มีเรื่องการเพิ่มทุนและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลหรือนโยบายปันผลของบริษัทฯ แต่อย่างใด รวมทั้ง
การกู้เงินครั้งนี้ก็ไม่มีเงื่อนไขกับธนาคารเรื่องการลดการจ่ายเงินปันผลลง ' นายเกรียงชัย กล่าว
เจรจาเพิ่มเติมอีก คาดว่าจะมีสถาบันการเงินอื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้อีกในอนาคต
' ยืนยันว่าบริษัทฯ จะไม่เพิ่มทุนจดทะเบียน เนื่องจากการซื้อหุ้นครั้งนี้ขึ้นอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น โดยยืนยันว่าการทำธุรกรรมนี้ไม่มีส่วนใดที่จะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น จะไม่มีเรื่องการเพิ่มทุนและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลหรือนโยบายปันผลของบริษัทฯ แต่อย่างใด รวมทั้ง
การกู้เงินครั้งนี้ก็ไม่มีเงื่อนไขกับธนาคารเรื่องการลดการจ่ายเงินปันผลลง ' นายเกรียงชัย กล่าว
บมจ. ซีพี ออลล์ (CPALL)
|
การรวมตัวของผู้นำในสองธุรกิจ
|
คำชี้แจงที่สำคัญ : บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) อาจเข้าเป็นที่ปรึกษาทางการเงิ
|
ประเด็นการลงทุน : ราคาหุ้นอาจถูกกดดันในระยะสั้
|
Tender Offer หุ้น MAKRO : คณะกรรมการ CPALL อนุมัติการเข้าซื้อหุ้น MAKRO จำนวน 154.4 ล้านหุ้น หรือ 64.35% จาก SHV ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MAKRO ที่ราคาหุ้นละ787 บาท และ ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดใน MAKRO ที่ราคาเดียวกัน รวมมูลค่าทั้งหมด 188,880 ล้านบาท ระยะเวลา Tender Offer อยู่ในช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. โดย MAKROจะไม่ Delist
ไม่เพิ่มทุน : CPALL จะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และ เงินกู้ โดยบริษัทคาดจะกู้เงิน 90% ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็น Bridging loan จากธนาคาร 5 แห่ง ระยะเวลา 1 ปี (เมื่อครบกำหนดคาดว่าจะมีการ Refinance โดยไม่มีการเพิ่มทุน) คาด Net debt / EBITDA ที่ 5.4 เท่า และ จะลดลงเหลือประมาณ 3 เท่าภายใน 3 ปีข้างหน้าจากการทยอยคืนหนี้และผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้น ส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ผลประโยชน์ที่ได้ : CPALL ยังมีแผนขยายสาขาเหมือนเดิม ส่วนผลประโยชน์ที่คาดจะได้รับจากการซื้อ MAKRO คือ 1) กำไรจาก MAKRO ซึ่งมีผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง เป็นผู้นำในธุรกิจ Cash and Carry และ มีฐานะการเงินแข็งแกร่งเป็นเงินสดสุทธิ 2) อัตรากำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากการมียอดขายรวมกันถึง 3 แสนล้านบาท ซึ่งสูงสุดในไทย และ เป็นอันดับสามในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ทำให้มีอำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตสูง และ ประหยัดต้นทุนเนื่องจากเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า และ Economies of scale และ 3) Unlock valueสาขาของ MAKRO ซึ่งอยู่บนที่ดินของบริษัทเองถึง 5 3 แห่ง (จากสาขาทั้งหมด 57 แห่ง) มีมูลค่าทางบัญชีเพียง 8 พันล้านบาท โดยอาจมีการจัดตั้ง REIT นอกจากนั้น MAKRO ยังมีศักยภาพเติบโตจากการขยายไปยังภูมิภาคเอเชีย
ดอกเบี้ยจ่ายถูกชดเชยด้วยกำไรจาก MAKRO และ Synergy : ภายใต้สมมติฐานการรวมงบการเงินของ MAKRO ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2556 คาด CPALL มีกำไรสุทธิปี 2556 ใกล้เคียงประมาณการเดิมที่ 1.25 หมื่นล้านบาท แม้ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 2.3 พันล้านบาท แต่ถูกชดเชยด้วยการรับรู้กำไรของ MAKRO และ ผลประโยชน์จากการรวมธุรกิจ ส่วนในปี2557 คาดกำไรสุทธิของ CPALL เพิ่มจากประมาณการเดิม 5% เป็น 1.48 หมื่นล้านบาท จากกำไร MAKRO และ Synergy จากการรวมธุรกิจคาด 1.2 พันล้านบาท (เทียบกับในปีแรกของการรวม BIGC + Carrefour มี Synergy 1.7 พันล้านบาท อัตรากำไรเพิ่มขึ้น 161bps) ขณะที่คาดว่ามีดอกเบี้ยจ่าย 6,800 ล้านบาทต่อปี (แต่ประหยัดภาษี 1,360 ล้านบาท)
อังคารที่ 23 เมษายน 2556 13:37:45 น.
บมจ. สยามแม็คโคร(MAKRO)เปิดเผยว่า ในวันนี้บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี(SHV) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ว่า SHV ได้ตกลงทำสัญญากับบมจ.ซีพี ออลล์(CPALL) เพื่อขายหุ้นทั้งหมดของ SHV และบริษัทในเครือของ SHV ที่ถือหุ้นในบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 154,429,500.00 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 64.35 ของจำนวนหุ้นที่ออก และจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 787 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาคำเสนอซื้อของบริษัทผู้ซื้อ โดยถือตามอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทและดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะมีการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จประมาณวันที่ 30 มิถุนายน 2556
ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับมติเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ซื้อและบริษัทผู้ซื้อจะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของบริษัทในราคา 787 บาทต่อหุ้น ภายใต้กฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนด้วย