เผยโฉม 10 ประเทศที่ถือครองทองคำมากสุดในโลก ท่ามกลางราคาที่ปรับตัวขึ้น หลังสหรัฐประกาศนโยบายคิวอี 3 แบบไร้ขีดจำกัด
ราคาทองคำได้แรงผลักจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนมองหา ท่ามกลางความวิตกว่าอาจก่อภาวะเงินเฟ้อ และทำให้มูลค่าของเงินลดลง นอกจากนี้ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศยังสะสมทองคำในคลังเพิ่มขึ้นด้วย
จากข้อมูลของสภาทองคำโลก ประจำเดือนกันยายน ระบุว่า ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ซื้อทองคำมากถึง 157.5 ตัน ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้น 63% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 137.9% เมื่อเทียบจากปีก่อน
เมื่อพิจารณาข้อมูลการถือครองทองคำจากที่แต่ละประเทศรายงานต่อสภาทองคำโลก และคำนวณสัดส่วนการถือครองทองคำที่อยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศ พบว่า ประเทศที่ร่ำรวยทองคำในท้องพระคลังมากสุด คือ “สหรัฐ” โดยตัวเลขถือครองทองคำอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 8,133.5 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 75.4% ของทุนสำรอง สหรัฐเคยครอบครองทองคำมากสุดในโลกถึง 20,663 ตัน ในปี 2495 ก่อนลดระดับลงต่ำกว่าหลักหมื่นตันตั้งแต่ปี 2511
รองแชมป์ที่ถือครองทองคำมากสุด คือ “เยอรมนี” สะสมทองคำไว้ 3,395.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 72.3% ในทุนสำรองระหว่างประเทศ ก่อนหน้านี้ เยอรมนีเคยขายทองคำภายใต้ข้อตกลงระหว่างธนาคารกลาง (ซีบีจีเอ) ฉบับที่ 1 และ 2
โดยข้อตกลงแต่ละฉบับมีอายุ 5 ปี ขณะที่ข้อตกลงฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่ 3 (27 กันยายน 2552-26 กันยายน 2557) กำหนดข้อตกลงในการขายทองคำไม่เกิน 400 ตันต่อปี หรือไม่เกิน 2,000 ตัน ตลอดเวลา 5 ปี แต่ธนาคารกลางเยอรมนี หรือที่เรียกว่า บุนเดสแบงก์ ขายทองคำออกมา 6 ตัน ในปี 2552 และขายไปราว 4.7 ตัน นับจากวันที่ 7 กันยายน 2554
อันดับ 3 “อิตาลี” แดนมะกะโรนีถือครองทองคำอย่างเป็นทางการ 2,451.8 ตัน หรือมีทองคำคิดเป็น 71.2%ในทุนสำรองระหว่างประเทศ ก่อนหน้านี้ แบงก์ชาติอิตาลีไม่ได้ประกาศขายทองคำภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอ ฉบับ 1 และ 2 รวมถึงไม่มีแผนขายทองคำในข้อตกลงฉบับปัจจุบัน ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารในอิตาลีต่างเชียร์ให้ธนาคารกลางอิตาลีซื้อทองคำ และหนุนบัญชีงบดุลของธนาคารต่างๆ ก่อนการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test)
อันดับ 4 “ฝรั่งเศส” สะสมทองคำไว้ราว 2,435.4 ตัน มีสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ 71.7% แดนน้ำหอมเคยขายทองคำ 572 ตัน ภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอ ฉบับ 2 อีกทั้งใช้ทองคำ 17 ตัน เพื่อซื้อหุ้นในธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ในปลายปี 2547 แต่ไม่มีแผนจะขายทองคำภายใต้ข้อตกลงฉบับล่าสุด
อันดับ 5 “จีน” ถือครองทองคำประมาณ 1,054.1 ตัน ขณะที่สัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 1.7% ซึ่งยังค่อนข้างน้อยมาก เมื่อเทียบจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่จีนมีสูงถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ การสะสมทองคำเพิ่มเติมในทุนสำรองถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับจีนที่จะผลักดันค่าเงินหยวนสู่สากล
อันดับ 6 “สวิตเซอร์แลนด์” ตุนทองคำไว้ 1,040.1 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรองที่อยู่ในรูปทองคำคิดเป็น 12.1% ก่อนหน้านี้ ทางการสวิสประกาศขายทองคำ 1,300 ตัน ที่ประเมินว่าเกินกว่าความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงิน โดยทยอยขาย 1,170 ตัน ภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอฉบับแรก และขายอีก 130 ตัน ภายใต้ข้อตกลงฉบับที่ 2 แต่ยังไม่มีแผนขายทองคำในข้อตกลงฉบับปัจจุบัน
อันดับ 7 ได้แก่ “รัสเซีย” ที่มีทองคำ 936.6 ตันในคลังหลวง หรือคิดเป็น 9.6% ในทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด โดยรัสเซียเริ่มสะสมทองคำตั้งแต่ปี 2549 เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับในตะกร้าทุนสำรอง
อันดับ 8 “ญี่ปุ่น” ถือครองทองคำอยู่ราว 765.2 ตัน คิดเป็นสัดส่วนในทุนสำรอง 3.1% ทางการญี่ปุ่นมีทองคำในมือแค่ราว 6 ตัน ในยุค 1950 ธนาคารกลางญี่ปุ่นเริ่มจริงจังกับการตุนทองเมื่อปี 2502 อยู่ที่ 169 ตัน แต่ในปีที่แล้ว แบงก์ชาติญี่ปุ่นต้องขายทองคำออกมา เพื่อปั๊มเงิน 20 ล้านล้านเยน สู่ระบบเศรษฐกิจ หลังเกิดเหตุสึนามิพัดถล่มและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อันดับ 9 “เนเธอร์แลนด์” สะสมทองคำไว้ 612.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 60.7% ของทุนสำรอง เนเธอร์แลนด์ขายทองคำ 235 ตัน ภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอฉบับแรก และ 165 ตัน ในฉบับที่ 2 แต่ไม่มีแผนขายทองคำในข้อตกลงฉบับปัจจุบัน
อันดับ 10 “อินเดีย” ถือครองทองคำ 557.7 ตัน คิดเป็น 9.9% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่า ธนาคารกลางอินเดียให้ความสำคัญกับทองคำในฐานะการลงทุนที่ปลอดภัย อีกทั้งเป็นผู้ซื้อทองคำรายสำคัญจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แต่รัฐบาลมักไม่เปิดเผยแผนการซื้อทองคำต่อสาธารณะ
ส่วน “ไทย” สะสมทองคำมากเป็นอันดับ 25 มีอยู่ 152.4 ตัน หรือคิดเป็น 4.5% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ
ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
ปริมาณทองคำสำรอง ที่ถือครองโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ หรือกลุ่มองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ
อันดับ | ประเทศ/องค์กร | ปริมาณทองคำ (ตัน) | สัดส่วนของ ทุนสำรองระหว่างประเทศ |
---|---|---|---|
1 | สหรัฐอเมริกา | 8,133.5 | 76.6% |
2 | เยอรมนี | 3,396.3 | 73.7% |
- | กองทุนการเงินระหว่างประเทศ | 2,814.0 | |
3 | อิตาลี | 2,451.8 | 73.4% |
4 | ฝรั่งเศส | 2,435.4 | 71.8% |
5 | จีน | 1,054.1 | 1.8% |
6 | สวิตเซอร์แลนด์ | 1,040.1 | 15.3% |
7 | อิหร่าน | 907 | 42.0% |
8 | รัสเซีย | 883.2 | 9.2% |
9 | ญี่ปุ่น | 765.2 | 3.5% |
10 | เนเธอร์แลนด์ | 612.5 | 61.9% |
11 | อินเดีย | 557.7 | 09.6% |
- | ธนาคารกลางยุโรป | 502.1 | 35.0% |
12 | ไต้หวัน | 422.4 | 5.9% |
13 | โปรตุเกส | 382.5 | 89.2% |
14 | เวเนซุเอลา | 372.9 | 67.7% |
15 | ซาอุดีอาระเบีย | 322.9 | 3.3% |
16 | สหราชอาณาจักร | 310.3 | 17.6% |
17 | เลบานอน | 286.8 | 32.2% |
18 | สเปน | 281.6 | 39.2% |
19 | ออสเตรีย | 280.0 | 57.0% |
20 | เบลเยียม | 227.5 | 41.2% |
21 | แอลจีเรีย | 173.6 | 79.5% |
22 | ไทย | 152.4 | 4.6% |
23 | ลิเบีย | 143.8 | 5.6% |
24 | ฟิลิปปินส์ | 142.7 | 10.4% |
25 | สิงคโปร์ | 127.4 | 3.0% |
26 | สวีเดน | 125.7 | 13.6% |
27 | แอฟริกาใต้ | 125.0 | 13.8% |
- | ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ | 119.0 | |
28 | ตุรกี | 116.1 | 7.0% |
29 | กรีซ | 111.7 | 81.3% |
30 | เม็กซิโก | 106.3 | 4.0% |
31 | โรมาเนีย | 103.7 | 11.3% |
32 | โปแลนด์ | 102.9 | 5.3% |
33 | ออสเตรเลีย | 79.9 | 09.5% |
34 | คูเวต | 79.0 | 13.8% |
35 | อียิปต์ | 75.6 | 14.8% |
36 | อินโดนีเซีย | 73.1 | 3.5% |
37 | คาซัคสถาน | 73.6 | 12.5% |
38 | เดนมาร์ก | 66.5 | 4.1% |
39 | ปากีสถาน | 64.4 | 18.9% |
40 | อาร์เจนตินา | 54.7 | 6.4% |
41 | โบลิเวีย | 49.3 | 22.9% |
42 | ฟินแลนด์ | 49.1 | 24.6% |
43 | บัลแกเรีย | 39.9 | 12.0% |
44 | เกาหลีใต้ | 39.4 | 0.7% |
45 | เบลารุส | 38.5 | 41.4% |
- | ประชาคมเศรษฐกิจแห่งแอฟริกาตะวันตก | 36.5 | 12.9% |
46 | มาเลเซีย | 36.4 | 1.5% |
47 | เปรู | 34.7 | 4.0% |
48 | บราซิล | 33.6 | 0.5% |
49 | สโลวาเกีย | 31.8 | 67.6% |
50 | ยูเครน | 27.9 | 4.5% |
51 | เอกวาดอร์ | 26.3 | 32.0% |
52 | ซีเรีย | 25.8 | 7.9% |
53 | โมร็อกโก | 22.0 | 5.6% |
54 | ไนจีเรีย | 21.4 | 03.2% |
55 | เซอร์เบีย | 14.1 | 5.1% |
56 | ไซปรัส | 13.9 | 58.3% |
57 | บังกลาเทศ | 13.5 | 07.5% |
58 | เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส | 13.1 | 36.3% |
59 | จอร์แดน | 12.8 | 5.5% |
60 | สาธารณรัฐเช็ก | 12.5 | 1.6% |
61 | กาตาร์ | 12.4 | 4.4% |
62 | กัมพูชา | 12.4 | 16.6% |
63 | โคลอมเบีย | 10.4 | 1.8% |
64 | ลาว | 8.8 | 36.5% |
65 | ศรีลังกา | 8.1 | 5.3% |
66 | ลัตเวีย | 7.7 | 5.5% |
67 | เอลซัลวาดอร์ | 7.3 | 14.6% |
68 | กัวเตมาลา | 6.9 | 5.8% |
69 | มาซิโดเนีย | 6.8 | 14.8% |
70 | ตูนิเซีย | 6.7 | 4.5% |
71 | ไอร์แลนด์ | 6.0 | 15.1% |
72 | เนปาล | 6.0 | |
73 | ลิทัวเนีย | 5.8 | 4.1% |
74 | บาห์เรน | 4.7 | |
75 | ทาจิกิสถาน | 4.4 | |
76 | มอริเชียส | 3.9 | 6.5% |
77 | แคนาดา | 3.4 | 0.3% |
78 | สโลวีเนีย | 3.2 | 15.8% |
79 | อารูบา | 3.1 | 24.2% |
80 | ฮังการี | 3.1 | 0.3% |
81 | คีร์กีซสถาน | 2.6 | 7.5% |
82 | มองโกเลีย | 2.3 | 4.8% |
83 | ลักเซมเบิร์ก | 2.2 | 10.6% |
84 | ซูรินาเม | 2.2 | 13.1% |
85 | ฮ่องกง | 2.1 | 0.05% |
86 | ไอซ์แลนด์ | 2.0 | 1.3% |
87 | ปาปัวนิวกินี | 2.0 | 2.8% |
88 | ตรินิแดดและโตเบโก | 1.9 | 1.1% |
89 | แอลเบเนีย | 1.6 | 3.4% |
90 | เยเมน | 1.6 | 1.8% |
91 | แคเมอรูน | 0.9 | 1.2% |
92 | ฮอนดูรัส | 0.7 | 1.4% |
93 | ปารากวัย | 0.7 | 0.7% |
94 | สาธารณรัฐโดมินิกัน | 0.6 | 1.1% |
95 | กาบอง | 0.4 | 0.8% |
96 | มาลาวี | 0.4 | 8.9% |
97 | สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | 0.3 | 8.4% |
98 | ชาด | 0.3 | 2.4% |
99 | สาธารณรัฐคองโก | 0.3 | 0.4% |
100 | อุรุกวัย | 0.3 | 0.1% |
101 | ฟิจิ | 0.2 | - |
102 | เอสโตเนีย | 0.2 | 6.0% |
103 | ชิลี | 0.2 | - |
104 | มอลตา | 0.2 | 1.6% |
105 | คอสตาริกา | 0.1 | 0.1% |
106 | เฮติ | 0.0 | 0.1% |
107 | บุรุนดี | 0.0 | 0.5% |
รวม | 30,807.6 |