10/6/2013
หากมองระยะสองปี นับว่าน่าสนใจมากครับ
โบรกฯ คาด MAKRO ควบรวม CPALL ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย พร้อมแนะนำนักลงทุน ถือ
ซีพีออลล์ ผุดเซเว่น'สแตนด์อะโลน'
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทเปิดร้านเซเว่นอีเลฟเว่นรูปแบบใหม่ มีขนาดใหญ่ ในรูปแบบสแตนด์อะโลน บนพื้นที่ 1-2 ไร่ มีพื้นที่ขายราว 300 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่จอดรถ 4-5 คัน เน้นเปิดให้บริการในชุมชนขนาดใหญ่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ โดยเฉพาะลูกค้าที่ขับรถยนต์มา หลังจากที่พบว่าปัจจุบันผู้บริโภคมีรถยนต์มากขึ้นจากนโยบายรถคันแรกของภาครัฐ โดยร้านเซเว่น แบบสแตนด์อะโลน ใช้งบลงทุนประมาณ 10 ล้านบาทต่อสาขา ปัจจุบันเริ่มเปิดให้บริการแล้วราว 10 สาขา เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่ ซึ่งรูปแบบของร้านดังกล่าวสามารถเปิดให้บริการได้ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด แต่ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร พฤติกรรมการบริโภค ล่าสุด บริษัทอยู่ระหว่างก่อสร้างร้านเซเว่น แบบสแตนด์อะโลน และประหยัดพลังงานขึ้น ที่บริเวณด้านหน้าสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ มีพื้นที่ขนาด 1 ไร่ พร้อมที่จอดรถ ใช้งบลงทุนราว 20 ล้านบาท ซึ่งที่นี่จะเป็นโมเดลประหยัดพลังงานแห่งใหม่ที่ถือว่าครบครันที่สุด ทั้งด้านระบบไฟ ที่ใช้หลอดแอลอีดี , ระบบทำความร้อน , ทำความเย็น รวมถึงระบบโซลาร์เซลล์ เป็นต้น โดยที่ผ่านมามีร้านเซเว่น ประหยัดพลังงานเกิดขึ้นแล้วหลายแห่ง แต่เป็นการทดลองเพื่อศึกษาและหาแนวทางในการประหยัดพลังงานรูปแบบต่างๆ โดยเริ่มต้นสาขาแรกที่แบริ่ง อย่างไรก็ดี ร้านเซเว่น แบบสแตนด์อะโลนนี้ ถือเป็นการรวมร้านค้าปลีกในกลุ่มซีพีออลล์ไว้ด้วยกัน โดยภายในร้านถูกแบ่งออกเป็นมุมต่างๆ เช่น มุมกาแฟคัดสรร , มุมขายยาเอ็กซ์ตร้า , มุมหนังสือบุ๊คสไมล์ เป็นต้น นอกจากนี้สินค้าที่มีจำหน่ายยังมีความหลากหลาย โดยมีทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร เครื่องดื่ม ของที่ระลึก ฯลฯ " จากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่า ร้านเซเว่น ที่ตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมันจะมียอดซื้อสินค้าสูงกว่าลูกค้าทั่วไป โดยพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ขับรถยนต์มาทำให้สามารถซื้อสินค้าได้สะดวก อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่นิยมเดินทาง ทำให้ยอดขายต่อบิลสูง ขณะเดียวกันจากจำนวนผู้บริโภคที่ขับรถยนต์มากขึ้น ทำให้เชื่อว่าร้านเซเว่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีพื้นที่จอดรถ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มีรถ และสามารถซื้อสินค้าได้มากขึ้นตามไปด้วย" ทั้งนี้ ปัจจุบัน (สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556) มีร้านเซเว่นอีเลฟเว่น เปิดให้บริการราว 7.2 พันสาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็นร้านเซเว่น ที่บริหารโดยบริษัทเอง 3.3 พันสาขา และร้านแฟรนไชส์ 3.9 พันสาขา คิดเป็นสัดส่วน 45 : 55 โดยบริษัทมีนโยบายขยายสาขา 500-550 สาขาต่อปี ส่งผลให้สิ้นปีมีสาขารวมกว่า 7.4 พันสาขา
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,851 วันที่ 9 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ผลจากการที่ บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) ผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11)เข้าซื้อบริษัท สยามแม็คโคร (MAKRO) สัญชาติเนเธอร์แลนด์ ราคา 188,880 ล้านบาท พลิกโฉมร้านค้าปลีกทันสมัยในเมืองไทยอย่าง 7-11 เติบโตรวดเร็วขึ้น และทำให้ CPALL กลายเป็นผู้ที่มีส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีกสูงสุดกลายเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกสำคัญในภูมิภาคเอเชีย
การผนึกกลยุทธ์สำคัญในระยะอันใกล้นี้ คือ การรวมกันทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนล้านบาท และมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้จัดจำหน่าย การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และแผนการขยายงานเชิงรุกมากขึ้นของทั้งสองบริษัท
เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา CPALL ประกาศซื้อกิจการ 64.35% ของ MAKRO จาก SHV Nederland B.V. ส่วนที่เหลือต้องทำคำเสนอซื้อจากรายย่อยทั้งหมดในตลาดหุ้น โดยต้องยื่นขออนุมัติต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในราคาหุ้นละ 787 บาท
CPALL ระบุว่าจะใช้เงินกู้ 90% ที่เหลือเป็นเงินสด
ราคาดังกล่าวนักวิเคราะห์ในตลาดประเมินว่า เป็นการซื้อที่ราคาแพง และการกู้เงินจำนวนมากเมื่อเทียบกำไรของ MAKRO นับว่าไม่คุ้มทุน ขณะที่ผู้ซื้อประเมินว่า สมเหตุผล และมีวิธีการบริหารสินทรัพย์
สถานการณ์นี้ไม่ต่างจากเมื่อครั้งบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (BIGC) เข้าซื้อคาร์ฟูร์เมื่อปี 2554 ที่ในที่สุด BIGC ก็พิสูจน์ตัวเองว่าประสบความสำเร็จในการผนึกกำลังเชิงกลยุทธ์ กลายเป็นหุ้นที่น่าซื้อที่สุดในกลุ่มขณะนี้
ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ CPALL กล่าวว่า แพงหรือถูกขึ้นอยู่กับใครซื้อ ถ้าซื้อเพื่อทำแม็คโครอย่างเดียว แพง แต่ถ้าซื้อเพื่อทำหลายอย่าง ไม่แพง เพราะจะมีการผนึกกำลังเชิงกลยุทธ์ และมีโอกาสเติบโตอีกมาก
CPALL จะกลายเป็นเบอร์ 1 ของร้านค้าปลีกด้วยยอดขาย 3 แสนล้านบาท ที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับผู้จัดจำหน่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ที่จะส่งผลให้มีการขยายงานอย่างมีประสิทธิภาพ
CPALL จะทำให้ MAKRO มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ 53 ร้านค้า จากทั้งหมด 57 แห่งที่ MAKRO เป็นเจ้าของ ในจำนวนนี้ 38 แห่งอยู่ในเมืองหลักที่อาจจัดโครงสร้างการบริหารงานใหม่อาจนำไปขายเพื่อเข้าจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์นำเงินมาจ่ายหนี้เงินกู้ และทีมงานของ MAKRO ล้วนมีประสิทธิภาพ บริหารงานได้ด้วยแบรนด์ MAKRO ไม่ต้องรอใบอนุญาตจาก 7-11 ที่มีข้อจำกัด
“คุณสุชาดา อิทธิจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแม็คโคร จะบริหารงานแม็คโครต่อไป” ธนินท์ กล่าว
ทั้งนี้ แม้ว่าจะกู้เงินจำนวนมากเพื่อนำมาซื้อหุ้น MAKRO ครั้งนี้ แต่ “ธนินท์” ยืนยันว่า CPALL จะยังคงจ่ายปันผลเท่าเดิมหุ้นละ 0.90 บาท และไม่เพิ่มทุนอีก 1.5 ปี
การประกาศครั้งนี้ CPALL หวังว่าผู้ถือหุ้นจะลงคะแนนเสียงมากกว่า 75% ให้การซื้อหุ้น MAKRO ผ่านการพิจารณาเพื่อให้ธุรกรรมนี้เกิดขึ้นได้ในสิ้นไตรมาส 3 ปีนี้ และยืนยันจะไม่นำหุ้น MAKRO ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
5 ปีที่ผ่านมา (2550-2555) ธุรกิจค้าปลีกหรือร้านค้าของชำในประเทศไทยเติบโตปีละ 5.5% โดยค้าปลีกทันสมัยเติบโตสูงถึง 8.7% แต่ CPALL เติบโตมากกว่านั้นเป็นปีละ 16.2% และ MAKRO ปีละ 12.6%
ไฮเปอร์มาร์เก็ตกลับเติบโตช้า โดย เทสโก้ โลตัส เติบโตปีละ 9.5% และบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ปีละ 13.3% (รวมกิจการกับคาร์ฟูร์แล้ว)
อย่างไรก็ตาม CPALL มีข้อจำกัดในการเติบโตนอกประเทศเพราะต้องรอใบอนุญาตจาก 7-11 ภายหลังการรวมกันจะทำให้ข้อจำกัดนี้หมดไป
ซิตี้กรุ๊ป วิเคราะห์ว่า การซื้อกิจการ MAKRO ทำให้ CPALL ได้ดีจากการรู้ข้อมูลสมาชิกของ MAKRO ปัจจุบัน MAKRO มีสมาชิก 2.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นสมาชิกที่ไม่ใช่ค้าปลีกอาหาร 1.4 แสนคน 6.4 แสนคนเป็นสมาชิกค้าปลีกอาหาร 3.33 แสนคนเป็น|ผู้ประกอบการ และที่เหลือรวมผู้จัดจำหน่ายรายเล็ก
รายชื่อสมาชิกเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการขยายร้านค้า 7-11 ที่จะทำให้ CPALL ประสบความสำเร็จในการขยายร้านค้าให้ได้ปีละ 550 สาขาเติบโตเร็วขึ้น และทำให้ไม่มีความเสี่ยงในการขยายสาขา
MAKRO ภายใต้ CPALL จะเติบโตอย่างรวดเร็วจากเดิมขยาย 3-5 สาขาต่อปี ผลของการที่จะเปิดร้านค้าอาหารขนาดเล็กจะทำให้การขยายงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและกลายเป็นอันดับ 1 เช่นเดียวกับการขยายสาขาสยามโฟรเซ่น ช็อป ที่เป็นร้านค้าปลีกอาหารเป็นโอกาสในการเติบโตธุรกิจเงินสดของ MAKRO
หากกลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จ MAKRO จะหันไปทำซูเปอร์มาร์เก็ตจากความเชี่ยวชาญของ CPALL
ซิตี้กรุ๊ปได้วิเคราะห์กลยุทธ์นี้ว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จ อ้างอิงจากธุรกรรมการซื้อกิจการคาร์ฟูร์ของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เมื่อปี 2554
ซิตี้กรุ๊ปได้วิเคราะห์กลยุทธ์นี้ว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จ อ้างอิงจากธุรกรรมการซื้อกิจการคาร์ฟูร์ของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เมื่อปี 2554
ประการแรก อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น จากทั้งคู่ที่ดำเนินธุรกิจคนละตลาดกัน และมียอดขายสินค้าที่แตกต่างกัน และมีการแลกเปลี่ยนผู้จัดจำหน่ายกัน โดยเฉพาะสินค้าเพื่อการบริโภค CPALL จะได้ประโยชน์จากแหล่งอาหารสดของ MAKRO
ประการที่สอง รวมยอดขาย 3 แสนล้านบาท ที่มีนัยสำคัญโดยตรงต่อการรวมค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ที่ประหยัดต้นทุนต่อยอดขายได้
ประการที่สาม ประหยัดการบริหารงานน้อยมาก (ค่าขนส่งและการบริหารสินค้าคงคลัง) ที่จะต้องรอติดตามในระยะกลาง
ประการที่สี่ ทีมงานของ CPALL จะต้องเร่งให้ MAKRO ขยายสาขาเชิงรุก 2-4 สาขาต่อปี และเน้นลูกค้าที่เป็นสมาชิกของ MAKRO ลูกค้าร้านค้าปลีกที่ไม่ใช่อาหาร 1.4 แสนคน ที่จะทำให้แฟรนไชส์ 7-11 มีลูกค้าเพิ่มอีก 10% จาก 7,000 ร้านค้าที่เปิดตลอดคืน
“เป็นการเติบโตที่มีนัยสำคัญสำหรับ CPALL ถ้ามีการเปิดสาขา 7-11 เพิ่มขึ้นจาก 550 สาขา เป็น 650 สาขาต่อปี ที่คาดว่าจะเห็น 7-11 มี 1 หมื่นร้านค้าในปี 2561”
ซิตี้กรุ๊ปปรับกำไรปี 2557-2558 ของ MAKRO เป็นเติบโต 30% และเติบโต 12% ดังนั้นจึงให้ราคาที่เหมาะสมของ CPALL ที่ 47.50 บาท และ MAKRO 640 บาท และแนะนำขาย MAKRO และซื้อ CPALL
นักวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ ยังแนะนำให้ “ถือ” CPALL เนื่องจากมูลค่าเหมาะสมที่ 47 บาท ได้คำนึงถึงธุรกรรมซื้อกิจการครั้งนี้แล้ว
ราคาหุ้น CPALL ปัจจุบันซื้อขายที่สัดส่วนราคาต่อกำไรปี 2556 ที่ 28 เท่า และ 23 เท่า ปี 2557
ทั้งนี้ คงต้องดูผลงานเชิงประจักษ์ของ MAKRO ในอนาคต โดยอัตรากำไรขั้นต้นของ CPALL ทุก 0.1% มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเหมาะสม CPALL ประมาณ 1.5%
ความเห็นส่วนตัวนะคับ 18/5/2013
เท่าที่ดูจากหลายๆโบรค คาด eps cpall 2557 ได้ประมาณ 1.80
กว่าจะถึงตอนนั้น เรื่องราวต่างๆปัญหาต่างๆ ก็คลายไปหมดแล้ว
และจากที่ ผบห ยืนยันว่าจะไม่มีการเพิ่มทุน หลายรอบมาก หากคำพูด ผบห เชื่อถือได้จริง
ลองมาคำนวนราคา ณ ปี 2557 ที่ cpall น่าจะเป็น
cpall ที่ผ่านมาเทรดที่ พีอี 35-40 เท่า ที่ผ่านมาปัญหาหนักหน่วง พีอีที่เทรดก็แถว 33
กรณีปี 2557 ปัญหาผ่านพ้นไปหมด พีอี น่าจะเทรดเท่าไรดี
สมมติ นะครับ สมมติ เทรดที่ 35 เท่า จะได้ราคา 63บ เท่ากับ สองปีมี upside 46%
แต่หากเทรดที่ 40 เท่า จะได้ราคา 72บ สองปีจะมี upside 67%
หรือหากมองอีกมุม คือ ราคานี้ 43 มีค่าพีอีที่ 24เท่าในปี 2557
กว่าจะถึงตอนนั้น เรื่องราวต่างๆปัญหาต่างๆ ก็คลายไปหมดแล้ว
และจากที่ ผบห ยืนยันว่าจะไม่มีการเพิ่มทุน หลายรอบมาก หากคำพูด ผบห เชื่อถือได้จริง
ลองมาคำนวนราคา ณ ปี 2557 ที่ cpall น่าจะเป็น
cpall ที่ผ่านมาเทรดที่ พีอี 35-40 เท่า ที่ผ่านมาปัญหาหนักหน่วง พีอีที่เทรดก็แถว 33
กรณีปี 2557 ปัญหาผ่านพ้นไปหมด พีอี น่าจะเทรดเท่าไรดี
สมมติ นะครับ สมมติ เทรดที่ 35 เท่า จะได้ราคา 63บ เท่ากับ สองปีมี upside 46%
แต่หากเทรดที่ 40 เท่า จะได้ราคา 72บ สองปีจะมี upside 67%
หรือหากมองอีกมุม คือ ราคานี้ 43 มีค่าพีอีที่ 24เท่าในปี 2557
หากมองระยะสองปี นับว่าน่าสนใจมากครับ
โบรกฯ คาด MAKRO ควบรวม CPALL ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย พร้อมแนะนำนักลงทุน ถือ
บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่าการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ (16 พ.ค.56) ผู้บริหาร
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO ยังไม่สามารถออกความเห็นได้มากนัก
เกี่ยวกับการซื้อกิจการของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เนื่องจากต้องรอให้
การประชุมผู้ถือหุ้นของ CPALL (12 มิ.ย. นี้) ผ่านพ้นไปก่อน แต่โดยภาพรวมแล้ว ค่อนข้างมีมุม
มองเชิงบวกต่อการได้ CPALL มาเป็นพันธมิตร ในขณะที่แผนการเปิดสาขาใหม่นั้นยังไม่มีการ
เปิดเผย แต่คาดว่าช่วง 2H56 มีแนวโน้มเปิดเพิ่มอีก เพราะมีพื้นที่แล้วบางแห่ง
ทั้งนี้แม้ทาง MAKRO ยังให้ความเห็นได้มากนัก แต่ฝ่ายวิจัยยังมีมุมมองเชิงบวกต่อ
ดีลนี้ และเชื่อว่าจะเป็น Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากทั้ง CPALL และ MAKRO อยู่ในธุรกิจที่
เกี่ยวกับด้านอาหารคล้ายกัน จึงสามารถต่อยอดร่วมกันได้ ทั้งในด้านอำนาจการต่อรองที่สูงขึ้น
บวกกับทีมงานของกลุ่ม CP ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาหาร
นอกจากนี้ ยังแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนพนักงาน ซึ่งเป็นปัญหาของ MAKRO มา
โดยตลอด ในการเปิดสาขาใหม่ (1 สาขาใหม่ MAKRO จ้างพนักงานราว 200 คน) ขณะที่
CPALL มีวิทยาลัยการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรให้แก่ร้าน 7-eleven มา
โดยตลอด และจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ MAKRO ได้
ส่วนในด้านของการเปิดสาขาใหม่นั้น จากเป้าหมายเบื้องต้นของ CPALL ที่ตั้งไว้ว่าจะ
ผลักดันให้ MAKRO เปิดราว 7-11 แห่ง/ปี เพิ่มจากปกติที่เปิด 4-5 แห่ง/ปี แม้ MAKRO ยังไม่
สามารถให้รายละเอียดได้ แต่ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า เป็นไปได้สูง เพราะ CPALL มีทีมงานที่ใหญ่มาก
ในการหาทำเลทั่วประเทศกว่า 200 คน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้แก่ MAKRO ขณะที่ปัญหาด้าน
เงินทุนในการเปิดสาขานั้น ไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะ MAKRO มีกระแสเงินสดสูงกว่า 6 พัน
ล้านบาท/ปี และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การเปิดสาขาใช้เงินลงทุนราว 500ล้านบาท/แห่ง บวก
กับการบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดี เพราะเป็นธุรกิจเงินสด และสามารถใช้เงินจาก ซัพพลาย
เออร์มาหมุนในกิจการได้ก่อน (Cash cycle เป็นลบ)
โดยเบื้องต้น หากสามารถยืดเวลาการชำระหนี้ต่อ ซัพพลายเออร์ได้ 1 วัน จะมีเงินสด
เหลือเพิ่มขึ้นราว 270 ล้านบาท ซึ่งฝ่ายวิจัยยังมีมุมมองเชิงบวกต่อดีลนี้ แต่เนื่องจากราคา
Tender offer MAKRO ที่ 787 บาท ตอบรับผลบวกบางส่วนไปแล้ว จึงแนะนำถือ และให้นักลง
ทุนขายที่ราคา Tenderoffer โดยให้ Switch ไป CPALL (ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 60 บาท)
แทน