-ทำไมมีข่าวจาก ผบห ว่าเคลียร์หนั้หมดภายในสองปีได้
ปัญหาคือเงินที่แบงค์ปล่อยกู้เป็นเงินระยะสั้น เพียงปีเดียว
เพราะทางเลือกในการหาเงินมาใช้หนี้ ลองดูกันทีละทางนะครับ
ออกกองอสังหา จุดนี้กองอสังหาแรกเริ่ม ipo เกือบทั้งหมด จะมีรายได้ในรูปค่าเช่าที่ไม่น้อยกว่า 5% นั่นแปลว่าหากนำแมคโครมาออก กองอสังหา แล้วแมคโครเป็นผู้เช่าหลัก แมคโครจะต้องจ่ายค่าเช่าไม่ต่ำกว่า 5% ของขนาดกอง หากสมมติให้ขนาดกองเท่ากับเงินกู้ทั้งหมด (ซึ่งความจริงเป็นไปไม่ได้ เพราะ asset มีมูลค่าไม่ถึงขนาดนั้น) 170,000M แมคโครจะต้องจ่ายค่าเช่าไม่น้อยกว่า 8500M
แพงกว่า ดบ แบงค์ที่อยู่ที่ประมาณ 3.5%
(อนึ่ง ขนาดกองสูงสุด ผมคาดว่าทำได้ไม่เกิน 60,000M )
ทางเลือกต่อมา การออกหุ้นกู้ จะออกได้ขนาดไหน ในเมื่อ PTT ออกยังได้ประมาณ 10,000M แล้ว cpall จะออกได้ขนาดไหน และหนี้ที่สูง d/e 4เท่ากว่าๆ ดอกที่ออกหุ้นกู้จะต้องเท่าไร
ทางเลือกในการเจรจายืดอายุหนี้ คงได้แค่บางส่วน และยืดหนี้แล้วดอกเบี้ยจะเท่าเดิมได้ไหม และส่วนที่ไม่ได้ยืดหนี้จะเอาเงินจากไหน
ทางออกที่ง่ายที่สุด "เพิ่มทุน"
-ทำไม ดร ถึงไม่พูดถึงเรื่องการจ่ายคืนเงินต้น ทั้งที่ ดร รู้ดีเรื่องแบบนี้เพราะ ดร เคยทำงานด้านการเงินมาก่อน
ผมคิดว่าเรื่องการเงินแบบนี้ ดร น่าจะมองออกแต่ต้น ครับ คนเก่งมองอะไรทะลุปรุโปร่ง เห็นภาพชัดเจน ส่วนทำไมไม่พูดถึงเรื่องนี้ ต้องคิดถึงใจเขาใจเรา ครับ
update 30/4/2013
ทางออกอีกทางของ cpall
เป็นที่รู้กันดีว่า cpall ต้องการจะไปขยายที่ จีน และเวียดนาม แต่ติดเรื่องไลเซ่น ที่ขอมานานมากแล้ว แต่ยังไม่ได้สักที ดีลนี้เกียวพันอย่างไรกับเรื่องนี้
โดยส่วนตัวมองว่า ทางนึงเป็นการ บีบ บ.แม่ของ 7-11 เพื่อให้ออกไลเซ่นให้แก่ cpall โดยเหมือนบอกเป็นนัยๆ ว่า หากไม่ออกให้ จะใช้ แมคโคร ออก ตปท แทนละนะ และหากหนักหนา ก็อาจจะปลดป้าย 7-11 ออก เพื่อประหยัดค่าลิขสิทธิ์ (จดุนี้ผมไม่รู้ว่า cpall จ่ายให้ บ.แม่เท่าไร และจ่ายอย่างไร) แต่เข้าใจว่า เป็นเงินไม่น้อย และหากปลดป้าย 7-11 ออกจริง กำไรจะมากขึ้นพอควร เอาป้ายแมคโครใส่แทน จะใส่เป็น makro mini , makro express หรืออะไรก็ตาม แต่ทำเลคงเดิม พนงคงเดิม ระบบคงเดิม
ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด เปลี่ยนแค่ชื่อร้าน และที่สำคัญคือ 7-11 จะหายไปจากเมืองไทยโดยปริยาย
ทางออกทางนี้เหมือนจะแก้ปัญหาได้หลายอย่าง ทั้งกำไรที่มากขึ้น ทั้งแก้เรื่องออกไป ตปท เป็นการส่งสัญญาณ ที่ท่าทางจะเอาจริง
ทั้งหมดเป็นเพียงมุมมองส่วนตัวเท่านั้นนะครับ
บริษัทดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยภายใต้สัญญาให้ใช้สิทธิที่บริษัททำกับ 7-Eleven, Inc. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ตามข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทมีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” และเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือทางด้านการฝึกอบรมและด้านเทคนิคความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อจาก 7-Eleven, Inc. ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม 2546 7-Eleven, Inc. ได้เข้าทำสัญญาให้ความยินยอม ซึ่งเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (“CPG”) กับ 7-Eleven, Inc. โดย 7-Eleven, Inc. ได้ตกลงให้ความยินยอมต่อการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน รวมถึงการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยสัญญาให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดอายุ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะเลิกสัญญาหากเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือในกรณีที่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญาตามสัญญาให้ความยินยอมซึ่งจะมีผลเป็นการยกเลิกสัญญาให้ใช้สิทธิด้วย ในกรณีที่สัญญาให้ใช้สิทธิถูกยกเลิก บริษัทจะสูญเสียสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และบริษัทอาจต้องชำระค่าเสียหายต่างๆ ให้แก่ 7-Eleven, Inc. นอกจากนี้หากความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท หรือ CPG กับ 7-Eleven, Inc. เปลี่ยนแปลงไปในทางลบ บริษัทอาจไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก 7-Eleven, Inc. เท่าที่ควร
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556
เปรียบเทียบทางเลือกเงินลงทุนของ cpall
-cpall เงินลงทุน ซื้อ แมคโคร เป็นเงิน 188,880 M กำไรปี 2556 คาด 4,160 M แต่เอากำไรที่ได้ต้องเอาไปจ่าย ดบ หมด เท่ากับ ปีแรกของเงินลงทุนกำไรไม่มีเหลือเลย
-เทียบเคียง หาก cpall ต้องการกำไร 4,160 M โดยที่เป็นกำไรของตัวเองขึ้นมาเลย ไม่ต้องจ่าย ดบ โดยการเปิดสาขาเพิ่ม จะต้องเปิดประมาณ 3,500 สาขา โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 21,000M ก็จะได้กำไรเพิ่มมาไม่น้อยกว่า 4,160M เงินลงทุน 21,000M ถามว่า cpall มีไหม เรียกได้ว่าไม่ต้องกู้เลย ทำได้สบายๆ แบงค์ไม่มีได้แอ้ม ดบ
Forbes เรียกดีลนี้ว่า Dumb deal
ผมเองตั้งแต่ได้ยินข่าวลือ ก็คิดว่ามันเป็นได้แค่ข่าวลือ ฟันธงว่าไม่มีทางเป็นจริงได้
(สรุป ผมโง่เองคับ ที่คิดว่าคนรวยทำอะไรโง่ๆไม่เป็น )
ถามถึงเรื่องการจ่ายคืนเงินต้น
-ทำไม cpall ถึงมีหนี้ในรูป เยน และดอลล่าร์
-ทำไมมีข่าวจาก ผบห ว่าเคลียร์หนั้หมดภายในสองปีได้
-ทำไม ดร ถึงไม่พูดถึงเรื่องการจ่ายคืนเงินต้น ทั้งที่ ดร รู้ดีเรื่องแบบนี้เพราะ ดร เคยทำงานด้านการเงินมาก่อน
จะเฉลยตอนหน้านะครับ
-เทียบเคียง หาก cpall ต้องการกำไร 4,160 M โดยที่เป็นกำไรของตัวเองขึ้นมาเลย ไม่ต้องจ่าย ดบ โดยการเปิดสาขาเพิ่ม จะต้องเปิดประมาณ 3,500 สาขา โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 21,000M ก็จะได้กำไรเพิ่มมาไม่น้อยกว่า 4,160M เงินลงทุน 21,000M ถามว่า cpall มีไหม เรียกได้ว่าไม่ต้องกู้เลย ทำได้สบายๆ แบงค์ไม่มีได้แอ้ม ดบ
Forbes เรียกดีลนี้ว่า Dumb deal
ผมเองตั้งแต่ได้ยินข่าวลือ ก็คิดว่ามันเป็นได้แค่ข่าวลือ ฟันธงว่าไม่มีทางเป็นจริงได้
(สรุป ผมโง่เองคับ ที่คิดว่าคนรวยทำอะไรโง่ๆไม่เป็น )
ถามถึงเรื่องการจ่ายคืนเงินต้น
-ทำไม cpall ถึงมีหนี้ในรูป เยน และดอลล่าร์
-ทำไมมีข่าวจาก ผบห ว่าเคลียร์หนั้หมดภายในสองปีได้
-ทำไม ดร ถึงไม่พูดถึงเรื่องการจ่ายคืนเงินต้น ทั้งที่ ดร รู้ดีเรื่องแบบนี้เพราะ ดร เคยทำงานด้านการเงินมาก่อน
จะเฉลยตอนหน้านะครับ
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556
รวมกราฟหุ้น ราคาลงรุนแรง
กราฟ Month ทั้งหมดนะครับ
bbl ลงหนักช่วงต้มยำกุ้ง และสามารถฟื้นกลับมาได้ แต่ก็นะกี่ปีกว่าจะฟื้น
เทียบกับ kbank ที่ลงช่วงต้มยำกุ้งและฟื้นได้ดีกว่า
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556
จับตามองธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน…เติบโตสูง แข่งขันรุนแรง
เจอบทความน่าสนใจเลยเอามาไว้อ่านครับ จับตามองธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน…เติบโตสูง แข่งขันรุนแรงผู้เขียน: ปราณิดา ศยามานนท์ และ ณัฐชยา อารักษ์วิชานันท์ |
ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านมีศักยภาพเติบโตสูงจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ต้องจับตามองภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเนื่องจากผู้เล่นรายใหญ่เร่งขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในต่างจังหวัด และผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ยังมีการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการในแต่ละพื้นที่ด้วย
ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านเติบโตโดดเด่นจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าจากร้าน modern trade มากขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ความต้องการสินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อนเกิดภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงปลายปี 2011 จะเห็นได้จากการเติบโตของยอดค้าปลีกในหมวดดังกล่าวของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เติบโตถึง 16% ต่อปีในช่วงปี 2009-2012 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่สูงกว่ายอดค้าปลีกโดยรวมในหมวด Non-grocery ที่เติบโตเพียงราว 3% ต่อปี โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากรายได้ของประชากรที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยสัดส่วนประชากรที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป (>15,000 บาท) ในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นจาก 37% เป็น 46% ของประชากรทั้งหมดในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นจาก 14% เป็น 19% ของประชากรทั้งหมดในต่างจังหวัดในช่วงปี 2007-2011 ทั้งนี้ คาดว่า ภายในปี 2020 สัดส่วนของผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไปทั่วประเทศจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากราว 20% ในปัจจุบันมาอยู่ที่ราว 40% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าตกแต่งบ้านและซ่อมแซมบ้านมากขึ้น สะท้อนจากค่าใช้จ่ายหมวดเกี่ยวกับบ้านในช่วงปี 2007-2011 ของผู้บริโภคในกรุงเทพฯเติบโตถึง 33% ต่อปี และผู้บริโภคในต่างจังหวัดเติบโต 10% ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่ผู้บริโภคชอบความสะดวกสบายและต้องการความหลากหลายของสินค้า ทำให้หันมาซื้อสินค้าจากร้านค้าประเภท modern trade มากขึ้นอีกทั้งบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปรับปรุงตกแต่งบ้านด้วยตนเอง (DIY: Do It Yourself) ทำให้สินค้าเกี่ยวกับบ้านเป็นที่ต้องการของผู้บริโภครายย่อยมากขึ้น
แนวโน้มการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดยังเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด และในปี 2013 ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ยังมีแผนขยายการลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการในต่างจังหวัด ตัวอย่างเช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ที่มีแผนการลงทุนกว่า 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นโครงการในกรุงเทพฯ 73% และในต่างจังหวัด อีก 23% และ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศแผนการลงทุนประมาณ 43,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 80% และในต่างจังหวัดอีก 20% โดยจังหวัดที่ผู้ประกอบการต่างให้ความสนใจนอกจากกรุงเทพฯ คือ ภูเก็ต ชลบุรี หัวหิน เชียงใหม่ ขอนแก่น และอุดรธานี ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างและสินค้าเกี่ยวกับบ้านเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง
นอกจากหัวเมืองใหญ่แล้ว จังหวัดอื่นๆ ก็ยังมีโอกาสเข้าไปเปิดสาขาได้อีก ที่น่าสนใจคือ จันทบุรี ตรัง ลพบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงราย สมุทรสงคราม และอ่างทอง โดยจำนวนสาขาของร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านในจังหวัดเหล่านี้ยังมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับความหนาแน่นของประชากร ทั้งนี้ เครื่องชี้อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือการใช้ไฟฟ้า หลายจังหวัดยังมีการใช้ไฟฟ้าของภาคครัวเรือนสูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 1,600 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องชี้อีกตัวหนึ่งที่ใช้สะท้อนการใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ บางจังหวัดเช่นเชียงรายและจันทบุรีซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัจจัยเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาซื้อสินค้าได้ด้วย
ผู้เล่นรายใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นโมเดลแบบ Big Box มีการขยายสาขาแบบก้าวกระโดด เพื่อครอบครองทำเลทองก่อนคู่แข่ง การครอบครองทำเลก่อนคู่แข่งได้จะได้เปรียบเป็นอย่างมากเนื่องจากที่ดินในทำเลใกล้เมืองและใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยหายากและมีราคาแพงขึ้น นอกจากนี้ การขยาย 1 สาขาต้องใช้เวลา 6-9 เดือนในการก่อสร้าง ดังนั้นยิ่งขยายสาขาได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะตอบสนองผู้บริโภคในพื้นที่เร็วมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในทำเลที่ยังไม่มีคู่แข่งแบบ modern trade เข้าไป และได้ประโยชน์จากการเป็น first mover อีกด้วย โดยเฉพาะผู้เล่นหลักในโมเดล Home center หรือ Big Box ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีสินค้ามากกว่า 50,000 SKUs ต่างแข่งขันกันขยายสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ อาทิ โฮมโปรมีแผนขยายสาขาไม่ต่ำกว่า 8 สาขา สยามโกลบอลเฮ้าส์ ขยาย 10-12 สาขา และ ไทวัสดุขยาย10 สาขา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสาขาในจังหวัดที่ยังไม่ได้ไปเปิด นอกจากนี้ ร้านค้าปลีกในรูปแบบ Specialty store อย่างบุญถาวร ก็มีแผนขยาย 2 สาขาในจังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต และอินเด็กซ์ ขยาย 3 สาขา ในปี 2013
ผู้ประกอบการเริ่มเข้ามาแข่งขันเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่มีส่วนแบ่งตลาด เพื่อให้ครอบคลุมในหลาย segment มากขึ้น ผู้บริโภคสินค้าเกี่ยวกับบ้านนั้น แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มผู้บริโภครายย่อย และกลุ่มผู้รับเหมาหรือผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกลุ่มแรกนั้นพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันยังคงนิยมไปเลือกสินค้าเกี่ยวกับบ้านเอง แต่ถ้ามีความต้องการเฉพาะเจาะจง ก็จะเลือกไปที่ Specialty store เช่น เมื่อต้องการกระเบื้องก็จะนึกถึงบุญถาวร หรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ก็นึกถึงอินเด็กซ์ แต่ถ้าต้องการความสะดวกสบายแบบไปเพียงแห่งเดียวได้ผลิตภัณฑ์หลากหลาย จะเลือก Home Center อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเริ่มเห็นความต้องการเฉพาะกลุ่มที่หลากหลาย ซึ่งโมเดลที่ประสบความสำเร็จคือ การที่ผู้ประกอบการเริ่มหันมารุกตลาดใน segment อื่นๆ มากขึ้น เช่น กลุ่มเซ็นทรัลรีเทลหันมาลงทุนในกลุ่มวัสดุก่อสร้างเพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครบทุก segment จากเดิมที่มีโฮมเวิร์คซึ่งเน้นกลุ่มลูกค้ารายย่อย และล่าสุดโฮมโปร ผู้ประกอบการรายใหญ่ในโมเดล Big Box ก็มีแผนลงทุนมาเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มคือ กลุ่มช่างและผู้รับเหมา โดยมีแผนเปิดสาขาภายใต้แบรนด์ เมกา โฮม ซึ่งเน้นสินค้าหนักเช่น อิฐ ปูน ทราย ในขณะที่โฮมโปร จะยังคงขยายสาขาต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้ารายย่อย เช่นเดียวกับโฮมเวิรค์ที่มีไทวัสดุมาเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้รับเหมา
การให้บริการที่ครบวงจรและ loyalty program เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการค้าปลีกแต่ละรายไม่เพียงแต่การเน้นตัวสินค้าเท่านั้น ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านส่วนใหญ่จะมีการแข่งขันในการให้บริการที่ครบวงจร ตั้งแต่ออกแบบ ติดตั้ง จนถึงซ่อมแซม ซึ่งโมเดลที่จะสร้างความแตกต่างคือ ผู้ประกอบการเริ่มให้ความสำคัญกับบริการซ่อมแซมมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการจะหาช่างซ่อมแซม ตกแต่งบ้านเล็กๆ น้อยๆ นั้นยากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายจึงเพิ่มกลยุทธ์เน้น Home service ซึ่งให้บริการตรวจเช็ค ทำความสะอาด เปลี่ยนสุขภัณฑ์ จนไปถึงการทาสี ปรับปรุงบ้าน ซึ่งมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้รายได้ส่วนนี้จะไม่ใช่รายได้หลักและมีสัดส่วนไม่มาก แต่ถือเป็นจุดขายสร้างความพอใจให้กับลูกค้าและดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการมี loyalty program เนื่องจากความถี่ของการซื้อสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านนั้น โดยทั่วไปจะไม่บ่อยเท่ากับสินค้าอุปโภคบริโภคบริโภค การมี loyalty program หรือ บัตรสมาชิกซึ่งให้สิทธิประโยชน์ทั้งส่วนลดหรือการสะสมคะแนนเพื่อแลกซื้อของต่างๆในราคาที่ถูกลง จะเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าในร้านได้อีกทางหนึ่ง
|
วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556
Forward P/E คร่าวๆของ CPALL 2556,2557
Forward P/E คร่าวๆของ CPALL 2556 , 2557
update 25/4/2013
ที่ update คิด 2556 กำไร makro จากการถือหุ้น 100% เหมือนกับเงินกู้ที่คำนวนที่ ถือหุ้น 100%
และคิดรวมงบเฉพาะ 4Q56 ของแมคโคร
ส่วน 2557 คิดกำไร makro รวมงบเต็มปี บนการถือหุ้น makro 100% เช่นเดียวกัน
update 25/4/2013
ที่ update คิด 2556 กำไร makro จากการถือหุ้น 100% เหมือนกับเงินกู้ที่คำนวนที่ ถือหุ้น 100%
และคิดรวมงบเฉพาะ 4Q56 ของแมคโคร
ส่วน 2557 คิดกำไร makro รวมงบเต็มปี บนการถือหุ้น makro 100% เช่นเดียวกัน
วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556
รวมข่าว cpall & makro ช่วง takeover
Thursday, June 27, 2013 -- CPALL:ซีพีออลล์ เทนเดอร์หุ้น MAKRO วันที่ 28 มิ.ย.-5 ส.ค.หุ้นละ 787 บาท
กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--รอยเตอร์
บมจ.ซีพี ออลล์ จะทำคำเสนอซื้อหุ้นบมจ.สยาม
แม็คโคร ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.-5 ส.ค.นี้ ในราคาหุ้นละ
787 บาท หลังวานนี้ทำบิ๊กล็อตซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MAKRO แล้ว
CPALL แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า วันนี้้ิบริษัทได้ยื่นคำเสนอซื้อหุ้น
MAKRO ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.)แล้ว
โดยหุ้นที่จะทำเทนเดอร์ฯ ครั้งนี้ จำนวน 81.26 ล้านหุ้น หรือ
33.86% ไม่รวมกับหุ้นที่ได้มาก่อนหน้านี้ สำหรับแหล่งเงินที่นำมาใช้ซื้อหุ้น
มาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และเงินที่ได้รับการสนับสนุนจาก
สถาบัันการเงิน
วานนี้ CPALL ทำรายการบิ๊กล็อตซื้อหุ้น MAKRO จากผู้ถือหุ้น
รายใหญ่ของ MAKRO โดยหลังการทำบิ๊กล้อตดังกล่าว เมื่อรวมกับหุ้นที่ถือ
อยู่ก่อนหน้านี้แล้วทั้งทางตรงทางอ้อม ทำให้ CPALL ถือหุ้น MAKRO
จำนวน 158.74 ล้านหุ้น สัดส่วน 66.14%
CPALL แจ้งว่า หลังการเข้าซื้อกิจการ MAKRO แล้ว บริษัทไม่มี
แผนนำ MAKRO ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขณะที่
จะร่วมกับ MAKRO ในการพิจารณาทบทวน และปรับปรุงนโยบายการดำเนิน
ธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ก่อนหน้านี้ิ ผู้บริหาร CPALL ระบุว่า หลังการซื้อ MAKRO แล้ว
จะมีการเปิดสาขาในต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นในประเทศลาว กัมพูชา
และเมียนมาร์ก่อน เนื่องจากใกล้กับไทย เงินลงทุนมาจากส่วนของ MAKRO เอง
สำหรับ synergy ร่วมกันระหว่าง CPALL และ MAKRO นั้น
จะต้องหารือร่วมกันทั้ง 2 บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนก.ค.นี้
วานนี้ ราคาหุ้น CPALL ปิดตลาดที่ 39.00 บาท ส่วน MAKRO
ปิดที่ 772 บาท--จบ--
(โดย กชกร บุญลาย เรียบเรียง--วพ--)
((kochakorn.boonlai@thomsonreuters.com;โทร.0-2648-9731;Reuters
Messaging:kochakorn.boonlai.thomsonreuters.com@reuters.net))
Best Regards,
Kittiya Thai-artvithi (zAii*)
Marketing Officer, Retail.
Tel. 02-624-6249, 02-695-5767
Fax. 02-695-5984
Mobile. 084-676-8627
Disclaimer: This email and any files transmitted with it are confidential and intended solely for the use of the individual or organization to whom they are addressed. If you are not the intended recipient, you should not copy, re-transmit, use, or disclose its contents, but should return it to the sender and delete your copy from your system. KT ZMICO Securities Company Limited does not accept legal responsibility for the contents of this message. Any views or opinions expressed are solely those of the author and do not necessarily represent those of KT ZMICO Securities Company Limited.
เปิดยุทธศาสตร์ซีพี ออลล์
แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เตรียมขยายดีซีภูมิภาค เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ในแถบอีสานตอนใต้ , ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง แต่ละสาขาจะมีพื้นที่คลังสินค้าราว 1.7 - 2 หมื่นตารางเมตร
ด้วยยุทธศาสตร์เดินหน้าขยายสาขาร้านเซเว่น อีเลฟเว่นให้ได้ 1 หมื่นสาขาภายใน 5 ปี รวมไปถึงเป้าหมายที่คาดว่าจะมีสาขาได้มากถึง 1.5 หมื่นสาขา ทำให้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ต้องวางรากฐานการจัดการให้มีความพร้อม ไม่ใช่แค่ระบบไอที หรือบัญชี การเงินเท่านั้น
การจัดการด้านโลจิสติกส์ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นหัวใจในการบริหารจัดการระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่ การคัดเลือกสินค้ามาจำหน่าย จนถึงระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขา ที่มีอยู่นับหมื่นแห่งทั่วประเทศ
++ เปิดแผนลงทุน 4 ศูนย์เฉียด 3 พันล.
นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ กล่าวว่า การบริหารจัดการสินค้าและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคให้รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และยังคงคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี ถือว่ามีความสำคัญยิ่งในระบบค้าปลีก ซึ่งการจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องมีระบบการซัพพลายเชนที่ดี
โดยซีพี ออลล์ ใช้เวลาพัฒนาระบบมานานว่า 20 ปี จากระยะแรกที่ให้ซัพพลายเออร์ไปผู้จัดส่งสินค้าไปยังสาขา ในรูปแบบ Cash Van แต่เมื่อสาขาเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องปรับรูปแบบการขนส่งเป็นแบบรวมส่ง ด้วยการตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) ขึ้น ถือเป็นผู้บุกเบิกระบบการกระจายสินค้าผ่านดีซี เป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย ซึ่งส่งผลให้ระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขาต่างๆ มีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
สำหรับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี บริษัทเตรียมขยายดีซีภูมิภาค เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ในแถบอีสานตอนใต้ , ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง แต่ละสาขาจะมีพื้นที่คลังสินค้าราว 1.7 - 2 หมื่นตารางเมตร ใช้เงินลงทุนราว 500 - 600 ล้านบาท โดยจะทยอยลงทุนและก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมการกระจายสินค้าในทุกสาขาทั่วประเทศ
นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างดีซีมหาชัย เพื่อรองรับร้านเซเว่น จำนวน 2 พันสาขาในเขตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก , ภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน โดยดีซีมหาชัยมีพื้นที่ราว 2.5 หมื่นตารางเมตร ใช้งบลงทุน 1 พันล้านบาท
"เซเว่น พัฒนาระบบกระจายสินค้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทนำระบบ IT เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และสามารถจัดส่งสินค้าได้ภายใน 24 ชม. หลังรับออร์เดอร์ อย่างไรก็ดีในอนาคตเชื่อมั่นว่าเซเว่น ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดหลังจากที่รายได้ของประชากรเริ่มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสาน"
++ 6 ศูนย์ครอบคลุมทั่วไทย
ด้านนายชูศิลป์ จิรวงศ์ศรี รองกรรมการผู้จัดการ สำนักกระจายสินค้า กล่าวว่า ซีพี ออลล์ มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการนำระบบ Warehouse Management System (WMS) ในการบริหารจัดการสินค้า และระบบ Digital Picking ซึ่งเป็นการจัดและขนส่งสินค้าด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้จัดสินค้าได้ตรงตามใบสั่งซื้อของแต่ละสาขาได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
โดยเครือข่ายระบบดีซี จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้าอุปโภคบริโภค (Dry Grocery Distribution Center) อาทิ เครื่องดื่ม , ของใช้ , เครื่องเขียน เป็นต้น และศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Chilled Distribution Center) อาทิ นม , ไส้กรอก , ข้าวกล่อง เป็นต้น
ปัจจุบันซีพี ออลล์ มีดีซีรวมทั้งสิ้น 6 แห่ง แบ่งเป็นดีซีในกรุงเทพฯ 2 แห่ง ได้แก่ ดีซีบางบัวทอง มีพื้นที่ 2.5 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง , กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 2.45 พันสาขา และดีซีสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 2.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ภาคกลาง 4 จังหวัดและชลบุรี จำนวน 1.78 พันสาขา
ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (RDC) 4 แห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 845 สาขา , ขอนแก่น มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัดในภาคอีสาน จำนวน 855 สาขา , ชลบุรี มีพื้นที่ 1 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในภาคตะวันออก จำนวน 520 สาขา และดีซีล่าสุด ลำพูน มีพื้นที่ 1.7 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 643 สาขา ใช้งบลงทุนในเฟสแรก 550 ล้านบาท และจะลงทุนอีกกว่า 100 ล้านบาทในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ในเฟส 2 ในอนาคตอันใกล้
++ แม็คโครเอื้อกระจายสินค้า
ส่วนการเข้าซื้อกิจการของแม็คโคร ผู้ประกอบการค้าส่งรายใหญ่ของซีพี ออลล์ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเสริมด้านการกระจายสินค้าให้กับซีพี ออลล์รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับซีพี ออลล์มากขึ้นนั้น นายพิทยา บอกว่า ห้างแม็คโครซึ่งมีอยู่เกือบ 60 แห่งนั้น ในบางแห่งจะสามารถใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าให้กับเซเว่นได้ ทำให้สามารถทดแทนการตั้งศูนย์กระจายสินค้าได้ ขณะที่บางแห่งยังไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ในอนาคต ซีพี ออลล์ ยังสามารถกระจายสินค้าให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะแบรนด์จากต่างประเทศที่เข้ามาขยายตลาดในเมืองไทย หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีสินค้าจากต่างประเทศ ที่ให้ซีพี ออลล์ เป็นผู้กระจายสินค้าให้ อาทิ ขนมแคร็กเกอร์ , ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
การจัดการด้านโลจิสติกส์ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นหัวใจในการบริหารจัดการระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่ การคัดเลือกสินค้ามาจำหน่าย จนถึงระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขา ที่มีอยู่นับหมื่นแห่งทั่วประเทศ
++ เปิดแผนลงทุน 4 ศูนย์เฉียด 3 พันล.
นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ กล่าวว่า การบริหารจัดการสินค้าและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคให้รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และยังคงคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี ถือว่ามีความสำคัญยิ่งในระบบค้าปลีก ซึ่งการจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องมีระบบการซัพพลายเชนที่ดี
โดยซีพี ออลล์ ใช้เวลาพัฒนาระบบมานานว่า 20 ปี จากระยะแรกที่ให้ซัพพลายเออร์ไปผู้จัดส่งสินค้าไปยังสาขา ในรูปแบบ Cash Van แต่เมื่อสาขาเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องปรับรูปแบบการขนส่งเป็นแบบรวมส่ง ด้วยการตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) ขึ้น ถือเป็นผู้บุกเบิกระบบการกระจายสินค้าผ่านดีซี เป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย ซึ่งส่งผลให้ระบบการจัดส่งสินค้าไปยังสาขาต่างๆ มีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
สำหรับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี บริษัทเตรียมขยายดีซีภูมิภาค เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ในแถบอีสานตอนใต้ , ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง แต่ละสาขาจะมีพื้นที่คลังสินค้าราว 1.7 - 2 หมื่นตารางเมตร ใช้เงินลงทุนราว 500 - 600 ล้านบาท โดยจะทยอยลงทุนและก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมการกระจายสินค้าในทุกสาขาทั่วประเทศ
นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างดีซีมหาชัย เพื่อรองรับร้านเซเว่น จำนวน 2 พันสาขาในเขตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก , ภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน โดยดีซีมหาชัยมีพื้นที่ราว 2.5 หมื่นตารางเมตร ใช้งบลงทุน 1 พันล้านบาท
"เซเว่น พัฒนาระบบกระจายสินค้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทนำระบบ IT เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และสามารถจัดส่งสินค้าได้ภายใน 24 ชม. หลังรับออร์เดอร์ อย่างไรก็ดีในอนาคตเชื่อมั่นว่าเซเว่น ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดหลังจากที่รายได้ของประชากรเริ่มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสาน"
++ 6 ศูนย์ครอบคลุมทั่วไทย
ด้านนายชูศิลป์ จิรวงศ์ศรี รองกรรมการผู้จัดการ สำนักกระจายสินค้า กล่าวว่า ซีพี ออลล์ มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการนำระบบ Warehouse Management System (WMS) ในการบริหารจัดการสินค้า และระบบ Digital Picking ซึ่งเป็นการจัดและขนส่งสินค้าด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้จัดสินค้าได้ตรงตามใบสั่งซื้อของแต่ละสาขาได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
โดยเครือข่ายระบบดีซี จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้าอุปโภคบริโภค (Dry Grocery Distribution Center) อาทิ เครื่องดื่ม , ของใช้ , เครื่องเขียน เป็นต้น และศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Chilled Distribution Center) อาทิ นม , ไส้กรอก , ข้าวกล่อง เป็นต้น
ปัจจุบันซีพี ออลล์ มีดีซีรวมทั้งสิ้น 6 แห่ง แบ่งเป็นดีซีในกรุงเทพฯ 2 แห่ง ได้แก่ ดีซีบางบัวทอง มีพื้นที่ 2.5 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง , กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 2.45 พันสาขา และดีซีสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 2.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ภาคกลาง 4 จังหวัดและชลบุรี จำนวน 1.78 พันสาขา
ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (RDC) 4 แห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 845 สาขา , ขอนแก่น มีพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัดในภาคอีสาน จำนวน 855 สาขา , ชลบุรี มีพื้นที่ 1 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในภาคตะวันออก จำนวน 520 สาขา และดีซีล่าสุด ลำพูน มีพื้นที่ 1.7 หมื่นตารางเมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 643 สาขา ใช้งบลงทุนในเฟสแรก 550 ล้านบาท และจะลงทุนอีกกว่า 100 ล้านบาทในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ในเฟส 2 ในอนาคตอันใกล้
++ แม็คโครเอื้อกระจายสินค้า
ส่วนการเข้าซื้อกิจการของแม็คโคร ผู้ประกอบการค้าส่งรายใหญ่ของซีพี ออลล์ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเสริมด้านการกระจายสินค้าให้กับซีพี ออลล์รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับซีพี ออลล์มากขึ้นนั้น นายพิทยา บอกว่า ห้างแม็คโครซึ่งมีอยู่เกือบ 60 แห่งนั้น ในบางแห่งจะสามารถใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าให้กับเซเว่นได้ ทำให้สามารถทดแทนการตั้งศูนย์กระจายสินค้าได้ ขณะที่บางแห่งยังไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ในอนาคต ซีพี ออลล์ ยังสามารถกระจายสินค้าให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะแบรนด์จากต่างประเทศที่เข้ามาขยายตลาดในเมืองไทย หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีสินค้าจากต่างประเทศ ที่ให้ซีพี ออลล์ เป็นผู้กระจายสินค้าให้ อาทิ ขนมแคร็กเกอร์ , ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,844 วันที่ 16-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ธนินท์"เผย CPALL เล็งนำสินทรัพย์ MAKRO ตั้งกองทุนอสังหาฯ
อินโฟเควสท์ (24 เม.ย. 56)--นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บมจ.ซีพี ออลล์(CPALL)กล่าวว่า CPALL ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อเข้า
ทั้งนี้ นายธนินท์ ยอมรับว่าราคาซื้อหุ้น MAKRO ค่อนข้างแพง แต่เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มการเต
CPALL ลั่น! 2 ปี คืนหนี้กู้ซื้อ MAKRO หมด พร้อมพิจารณาจัดตั้งกองทุน
วันพุธที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 15:36:07 น.ผู้เข้าชม : 1047 คน
นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เปิดเผยถึงกรณีคืนหนี้ที่กู้มาซื้อหุ้นบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO นั้น คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ปี จะสามารถชำระคืนได้หมด โดยบริษัทจะใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน มาชำระคืนหนี้ที่กู้มาซื้อหุ้น MAKRO ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปีจะชำระได้หมด ขณะที่บริษัทและที่ปรึกษาทางการเงิน อยู่ระหว่างการศึกษา เรื่องการจัดตั้งกองทุน จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ส่วนกรณีที่ราคาหุ้น CPALL ปรับลงวันนี้ มาจากแรงขาย ของนักลงทุนที่ยังไม่มั่นใจ ซึ่งมองว่าเป็นระยะสั้น
CPALL ไม่มีแผนถอน MAKRO ออกจากตลาดหุ้น เล็งส่งขยายสาขาลาว-เวียดนาม-จีน
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 23 เมษายน 2556 15:13:36 น.
บมจ.ซีพี ออลล์(CPALL) เปิดเผยว่า บริษัทไม่มีแผนจะเพิกถอนหุ้น บมจ.สยามแม็คโคร(MAKRO)ออกจากตลาดหลักทรัพย์หลังเข้าซื้อหุ้นกว่า 64% และเตรียมทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ออฟเฟอร์)หุ้นทั้งหมดที่เหลือ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ในราวเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ โดยการทำรายการทั้งหมดจะใช้เงินจากกระแสเงินสดและเงินกู้จากสถาบันการเงิน พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่มีแผนเพิ่มทุนเพื่อนำมาใช้ในการนี้
สำหรับสาเหตุที่บริษัทซื้อหุ้น MAKRO ในราคาสูงกว่ากระดานเทรดหลัก เนื่องจากได้คิดมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าการค้าและทีมบริหารที่มีฝืมือ และบริษัทคาดว่าเมื่อรวมยอดขายของ MAKRO เข้ามาแล้วจะทำให้ยอดขายรวมของบริษัทสูงกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท
บริษัทยังมีแผนจะใช้ MAKRO เป็นหัวหอกในการเตรียมพร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) โดยเริ่มจากการเปิดสาขา MAKRO ในลาวและเวียดนาม รวมทั้งเปิดสาขาในจีนด้วย
อินโฟเควสท์
CPALL เผย เหตุเทกโอเวอร์ MARKO หวังใช้เป็นฐานรุก AEC เพราะ CPALLทำ
ธุรกิจได้เฉพาะในประเทศ
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า สาเหตุที่บริษัทฯ ไปซื้อหุ้น บริษัท สยาม แม็คโคร จำกัด
(มหาชน) (MAKRO) เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ
AEC โดยบริษัทฯ จะใช้ MAKRO เป็นแขนขาในการรุกตลาดอาเซียน ซึ่งมีจำนวน
ประชากรสูงถึง 600 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดสาขาแรกได้ในประเทศลาว หรือ
เวียดนาม หลังจากนั้นจะพิจารณาประเทศอื่นๆ ต่อไป
' เราเล็งเห็นว่าเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตสินค้าไทยที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกไป
จำหน่ายยังตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีประชากรสูงถึง 600 ล้านคน เนื่องจากสินค้าของ
ไทยเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพสูง ปัจจุบันยังขาดอยู่แต่เพียงช่องทางจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ
เท่านั้น ดังนั้น CPALL จึงมั่นใจว่าการเข้าซื้อ MAKRO จะช่วยเสริมศักยภาพช่องทางการ
จำหน่ายสินค้าได้ เนื่องจาก MAKRO เป็นผู้นำการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสด
แช่แข็ง ที่ประสบความสำเร็จมาโดยตลอด'นายก่อศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้บริษัทฯ มีไลเซนส์ หรือใบอนุญาต ที่สามารถนำ MAKRO ไปเปิดสาขาได้
ทุกประเทศในอาเซียน และจีน ยกเว้นอินเดีย โดยหากบริษัทฯต้องการเข้าไปทำธุรกิจใน
อินเดียต้องใช้เครื่องหมายการค้าอื่น
CPALL เผย หลังดีลซื้อ-ขายเสร็จสิ้น สัดส่วนหนี้สิน/อีบิทด้า จะอยู่ที่ 5 เท่า แต่จะลดลง
เรื่อยๆ ตามผลประกอบการที่ดีขึ้น ยันซื้อ MAKRO ราคาไม่แพง
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า ภายหลังการซื้อหุ้น MAKRO เสร็จสิ้น บริษัทฯ จะมีสัดส่วน
หนี้สินต่ออีบิทด้า จะอยู่ที่ประมาณ 5 เท่า ซึ่งถือว่าไม่สูงและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดย
อัตราส่วนดังกล่าวจะลดลงเรื่อยๆตามแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้น
ด้านนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์
จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL กล่าวว่า การซื้อหุ้น MAKRO ครั้งนี้ไม่ได้แพง อย่างที่หลาย
ฝ่ายมอง เนื่องจาก MAKRO เป็นบริษัทที่มีศักยภาพสูง บริษัทให้ราคาสูงจากรูปแบบการค้า
และทีมงานที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นสิ่งที่ CPALL อยากได้มากที่สุด โดยยืนยันว่าภายหลังการซื้อ
หุ้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร MAKRO แต่อย่างใด
ด้านนายอาทิตย์ นันทวิทยา รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า
หลังจากที่ CPALL ซื้อหุ้น MAKRO หนี้สินต่ออีบิทด้าที่ประมาณ 5 เท่า ซึ่งถือว่าไม่สูงเมื่อ
เทียบกับธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ โดยในบางบริษัทมีหนี้สินต่ออีบิทด้าสูงถึง 10 เท่าก็ยังสามารถกู้
เงินจากสถาบันการเงินได้ เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดสม่ำเสมอ และมี
ความมั่นคงสูง
'CPALL มีหนี้สินต่ออีบิทด้า ที่ 5 เท่า หมายความว่า เขามีศักยภาพในการชำระ
หนี้หมดใน 5 ปี หากไม่นำเงินไปทำอย่างอื่นเลย แต่ในทางปฏิบัติคงเป็นไปไม่ได้ ต้องมีการ
จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น และลงทุนอื่นๆ ซึ่งหากตัดเรื่องการจ่ายปันผลและการลงทุนออกไป
บริษัทก็อาจจะสามารถชำระหนี้ได้หมดภายในระยะเวลา 10 ปี ถือเป็นระดับที่รับได้ และไม่
มีความเสี่ยงต่อธนาคารแต่อย่างใด'นายอาทิตย์ กล่าว
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า ภายหลังการซื้อหุ้น MAKRO เสร็จสิ้น บริษัทฯ จะมีสัดส่วน
หนี้สินต่ออีบิทด้า จะอยู่ที่ประมาณ 5 เท่า
ตรงนี้ มีความหมายมาก นั่นหมายความว่า หาก cpall นำกำไรที่เป็นกระแสเงินสดจริง (ที่ไม่โดนหักด้วยค่าเสื่อม) มาใช้หนี้ทั้งหมด จะสามารถใช้หนี้ได้หมดภายใน 5ปี
หรือพูดแบบบ้านๆ เข้าใจง่ายๆคือ cpall ทำงานฟรี 5ปี แล้วได้กิจการ makro มาครอบครองฟรีๆ
CPALL เผย เทกโอเวอร์ MAKRO ไม่ต้องเพิ่มทุน
โดยใช้กระแสเงินสดซื้อ 10% ที่เหลือกู้ SCB-สถาบันการเงินทั่วโลก ทั้งรูปเงินบาทและดอลล์
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า การซื้อหุ้น บริษัท สยาม แมคโคร จำกัด (มหาชน) ( MAKRO) ครั้งนี้ จะใช้เงินทุนจำนวน 1.89 แสนล้านบาท โดยบริษัทฯจะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดประมาณ 10% ส่วนที่เหลือจะกู้ยืมจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก รวมทั้ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยเงินกู้จะมีทั้งเงินบาทและดอลลาร์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเงินสกุลดอลลาร์
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
(มหาชน) CPALL เปิดเผยว่า การซื้อหุ้น บริษัท สยาม แมคโคร จำกัด (มหาชน) ( MAKRO) ครั้งนี้ จะใช้เงินทุนจำนวน 1.89 แสนล้านบาท โดยบริษัทฯจะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดประมาณ 10% ส่วนที่เหลือจะกู้ยืมจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก รวมทั้ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยเงินกู้จะมีทั้งเงินบาทและดอลลาร์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเงินสกุลดอลลาร์
ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารที่ตอบรับให้ธนาคารกู้แล้ว 5-6 แห่ง แต่ขณะนี้อยู่ระหว่าง
เจรจาเพิ่มเติมอีก คาดว่าจะมีสถาบันการเงินอื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้อีกในอนาคต
' ยืนยันว่าบริษัทฯ จะไม่เพิ่มทุนจดทะเบียน เนื่องจากการซื้อหุ้นครั้งนี้ขึ้นอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น โดยยืนยันว่าการทำธุรกรรมนี้ไม่มีส่วนใดที่จะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น จะไม่มีเรื่องการเพิ่มทุนและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลหรือนโยบายปันผลของบริษัทฯ แต่อย่างใด รวมทั้ง
การกู้เงินครั้งนี้ก็ไม่มีเงื่อนไขกับธนาคารเรื่องการลดการจ่ายเงินปันผลลง ' นายเกรียงชัย กล่าว
เจรจาเพิ่มเติมอีก คาดว่าจะมีสถาบันการเงินอื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้อีกในอนาคต
' ยืนยันว่าบริษัทฯ จะไม่เพิ่มทุนจดทะเบียน เนื่องจากการซื้อหุ้นครั้งนี้ขึ้นอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น โดยยืนยันว่าการทำธุรกรรมนี้ไม่มีส่วนใดที่จะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น จะไม่มีเรื่องการเพิ่มทุนและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลหรือนโยบายปันผลของบริษัทฯ แต่อย่างใด รวมทั้ง
การกู้เงินครั้งนี้ก็ไม่มีเงื่อนไขกับธนาคารเรื่องการลดการจ่ายเงินปันผลลง ' นายเกรียงชัย กล่าว
บมจ. ซีพี ออลล์ (CPALL)
|
การรวมตัวของผู้นำในสองธุรกิจ
|
คำชี้แจงที่สำคัญ : บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) อาจเข้าเป็นที่ปรึกษาทางการเงิ
|
ประเด็นการลงทุน : ราคาหุ้นอาจถูกกดดันในระยะสั้
|
Tender Offer หุ้น MAKRO : คณะกรรมการ CPALL อนุมัติการเข้าซื้อหุ้น MAKRO จำนวน 154.4 ล้านหุ้น หรือ 64.35% จาก SHV ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MAKRO ที่ราคาหุ้นละ787 บาท และ ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดใน MAKRO ที่ราคาเดียวกัน รวมมูลค่าทั้งหมด 188,880 ล้านบาท ระยะเวลา Tender Offer อยู่ในช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. โดย MAKROจะไม่ Delist
ไม่เพิ่มทุน : CPALL จะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และ เงินกู้ โดยบริษัทคาดจะกู้เงิน 90% ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็น Bridging loan จากธนาคาร 5 แห่ง ระยะเวลา 1 ปี (เมื่อครบกำหนดคาดว่าจะมีการ Refinance โดยไม่มีการเพิ่มทุน) คาด Net debt / EBITDA ที่ 5.4 เท่า และ จะลดลงเหลือประมาณ 3 เท่าภายใน 3 ปีข้างหน้าจากการทยอยคืนหนี้และผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้น ส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ผลประโยชน์ที่ได้ : CPALL ยังมีแผนขยายสาขาเหมือนเดิม ส่วนผลประโยชน์ที่คาดจะได้รับจากการซื้อ MAKRO คือ 1) กำไรจาก MAKRO ซึ่งมีผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง เป็นผู้นำในธุรกิจ Cash and Carry และ มีฐานะการเงินแข็งแกร่งเป็นเงินสดสุทธิ 2) อัตรากำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากการมียอดขายรวมกันถึง 3 แสนล้านบาท ซึ่งสูงสุดในไทย และ เป็นอันดับสามในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ทำให้มีอำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตสูง และ ประหยัดต้นทุนเนื่องจากเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า และ Economies of scale และ 3) Unlock valueสาขาของ MAKRO ซึ่งอยู่บนที่ดินของบริษัทเองถึง 5 3 แห่ง (จากสาขาทั้งหมด 57 แห่ง) มีมูลค่าทางบัญชีเพียง 8 พันล้านบาท โดยอาจมีการจัดตั้ง REIT นอกจากนั้น MAKRO ยังมีศักยภาพเติบโตจากการขยายไปยังภูมิภาคเอเชีย
ดอกเบี้ยจ่ายถูกชดเชยด้วยกำไรจาก MAKRO และ Synergy : ภายใต้สมมติฐานการรวมงบการเงินของ MAKRO ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2556 คาด CPALL มีกำไรสุทธิปี 2556 ใกล้เคียงประมาณการเดิมที่ 1.25 หมื่นล้านบาท แม้ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 2.3 พันล้านบาท แต่ถูกชดเชยด้วยการรับรู้กำไรของ MAKRO และ ผลประโยชน์จากการรวมธุรกิจ ส่วนในปี2557 คาดกำไรสุทธิของ CPALL เพิ่มจากประมาณการเดิม 5% เป็น 1.48 หมื่นล้านบาท จากกำไร MAKRO และ Synergy จากการรวมธุรกิจคาด 1.2 พันล้านบาท (เทียบกับในปีแรกของการรวม BIGC + Carrefour มี Synergy 1.7 พันล้านบาท อัตรากำไรเพิ่มขึ้น 161bps) ขณะที่คาดว่ามีดอกเบี้ยจ่าย 6,800 ล้านบาทต่อปี (แต่ประหยัดภาษี 1,360 ล้านบาท)
อังคารที่ 23 เมษายน 2556 13:37:45 น.
บมจ. สยามแม็คโคร(MAKRO)เปิดเผยว่า ในวันนี้บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี(SHV) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ว่า SHV ได้ตกลงทำสัญญากับบมจ.ซีพี ออลล์(CPALL) เพื่อขายหุ้นทั้งหมดของ SHV และบริษัทในเครือของ SHV ที่ถือหุ้นในบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 154,429,500.00 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 64.35 ของจำนวนหุ้นที่ออก และจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 787 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาคำเสนอซื้อของบริษัทผู้ซื้อ โดยถือตามอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทและดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะมีการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จประมาณวันที่ 30 มิถุนายน 2556
ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับมติเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ซื้อและบริษัทผู้ซื้อจะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของบริษัทในราคา 787 บาทต่อหุ้น ภายใต้กฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนด้วย
อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์
CPALLซื้อหุ้น MAKRO 64.35%หุ้นละ 787 บ.รวม 1.22แสนลบ.เตรียมทำเทนเดอร์ฯ
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 23 เมษายน 2556 11:12:25 น.
บมจ.ซีพี ออลล์(CPALL)เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 22 เม.ย.56 มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อหุ้นของ บมจ.สยามแม็คโคร(MAKRO) บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท โอเอชที (OHT) รวมเป็นหุ้นของ MAKRO ที่จะได้มาทั้งทางตรงทางอ้อมจำนวน 64.53% ในราคา 787.00 บาท หรือเทียบเท่าหุ้นละ 27.50 เหรียญสหรัฐ เป็นจำนวน 154,429,500 หุ้น รวมเป็นมูลค่าสิ่งตอบแทนประมาณ 121,536 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 4,247 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ บริษัทลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับบริษัท เอสเอชวี เนเธอร์แลนด์ บี.วี.(SHV) ในวันที่ 23 เมษายน 2556 แล้ว ซึ่งรวมถึงสิทธิในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
พร้อมกันนั้น ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดใน MAKRO หลังจากบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมคิดเป็นอัตราประมาณ 64.35% โดยมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะมีการได้มาจากการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นตามสัญญาซื้อขายหุ้นเสร็จสมบูรณ์และหากผู้ถือหุ้นทุกรายของ MAKRO ตอบรับคำเสนอซื้อฯจะคิดเป็นหุ้นสามัญ 85,570,500 หุ้น ที่มูลค่าหุ้นละ 787.00 บาท คิดเป็นจำนวนรวม 67,344 ล้านบาท หรือเทียบเท่า ประมาณ 2,353 ล้านเหรียญสหรัฐ
ดังนั้น เมื่อรวมการได้มาซึ่งหุ้น MAKRO ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากผู้ขายตามสัญญาซื้อขายหุ้น ซึ่งรวมถึงการได้มาซึ่งสิทธิการใช้ IP และ IT และจากการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ MAKRO ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์ทั้งหมดของ MAKRO ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท จำนวนหุ้นที่จะได้มาทั้งหมดจะเท่ากับ 240,000,000 หุ้น ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 188,880 ล้านบาท หรือ 6,600.00 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นราคาต่อหุ้นที่ 787.00บาท หรือ 27.50 เหรียญสหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยน 28.6181 บาทต่อ 1.0 เหรียญสหรัฐ
MAKRO ประกอบธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกบัตรของแม็คโคร บริษัท เป็นบริษัทในกลุ่มเอสเอชวีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภททั่วโลก สำหรับแม็คโครในประเทศไทย บริษัท ดำเนินงานโดยทีมผู้บริหารมืออาชีพซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และมีทีมบริหารประจำแต่ละสาขาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในปี 2532 บริษัท ได้เปิดห้างแม็คโคร สาขาแรก คือ สาขาลาดพร้าว ณ สิ้นปี 2555 บริษัท มีสาขารวมทั้งสิ้น 57 สาขา และร้านจำหน่ายอาหารแช่แข็งขนาดเล็ก "สยามโฟรเซ่น" อีก 5 แห่งโดยในปัจจุบันมีธุรกิจหลักคือ การดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองภายใต้ชื่อ "แม็คโคร" ซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ สินค้าอุปโภคบริโภคและบริการของศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร ประกอบด้วย 1)เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ซ่อมบำรุง (Electrical Appliances and D.I.Y.) 2)เครื่องเขียน เครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องใช้ในสำนักงานอัตโนมัติ 3)อุปกรณ์เครื่องครัว อุปกรณ์ที่ใช้ในธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจให้บริการด้านอาหาร 4)เครื่องกีฬา เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน 5)สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย 6)ผัก ผลไม้สด เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารนม 7)ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งและแช่เย็น 8)เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว 9)ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ชำระล้าง และเครื่องสำอางค 10)สินค้าชำทั่วไป (General Grocery) 11)ยา และอาหารเสริม 12)เบเกอรี่ 13)ภัตตาคาร
นอกจากนั้น บริษัทยังเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าโดยการจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง (D.O.B : Distributor Own Brand) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจจัดจำหน่ายทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในรูปแบบ Cash & Carry อย่างแม็คโคร หรือห้างสรรพสินค้าต่างก็ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ในปัจจุบัน บริษัทดำเนินการจำหน่ายสินค้า D.O.B. ทั้งประเภทอุปโภคและบริโภค
ส่วนการประกอบธุรกิจของบริษัทย่อย บริษัท สยามฟูดเซอร์วิส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายอาหารจากต่างประเทศและในประเทศด้วยอาหารที่มีคุณภาพดีเยี่ยมด้านผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อาหารทะเลมันฝรั่งผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งอาหารโดยที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆจะมีการจัดเก็บและจัดส่งไปยังทุกจังหวัดของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การควบคุมอุณหภูมิให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด บริษัทวีนาสยาม ฟู้ดจำกัด ประกอบธุรกิจทางการค้าและจัดจำหน่ายอาหาร รวมทั้งธุรกิจนำเข้าและส่งออกอาหารที่มีคุณภาพสูง ด้านผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ อาหารทะเลมันฝรั่งผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งอาหารเป็นต้น
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดกับ CPALL บริษัทเชื่อว่าจะได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีและมั่นคง จากการดำเนินธุรกิจของ MAKRO โดยเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและการตลาดที่โดดเด่นอย่างชัดเจน มีทีมงานบริหารที่มีประสบการณ์และความสามารถสูง อันเห็นได้จากผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เติบโตอย่างมั่นคง มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่มีการเติบโตสูง และสร้างผลกำไรได้ดี
อีกทั้ง ช่วยสร้างผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นผ่านการสร้างประโยชน์ร่วมกันของทั้งสององค์กรและการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความสามารถในการเจรจาราคากับคู่ค้า จากยอดขายรวมที่สูงถึง 300,000 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพโดยการร่วมมือกันในการวางแผนการกระจายสินค้า เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการ การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนต่อผู้ถือหุ้น
และ เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและมูลค่าเพิ่มจากอสังหาริมทรัพย์และตราสินค้าของ MAKRO โอกาสในการสร้างผลตอบแทนและมูลค่าเพิ่มจากการใช้แบรนด์ MAKRO และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อขยายธุรกิจใน AEC และทั่วภูมิภาคเอเชีย สร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยของอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ของ MAKRO ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ซื้อกิจการ MAKRO จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท และวงเงินตามสัญญาในการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันการเงิน
อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 23 เมษายน 2556 11:12:25 น.
บมจ.ซีพี ออลล์(CPALL)เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 22 เม.ย.56 มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อหุ้นของ บมจ.สยามแม็คโคร(MAKRO) บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท โอเอชที (OHT) รวมเป็นหุ้นของ MAKRO ที่จะได้มาทั้งทางตรงทางอ้อมจำนวน 64.53% ในราคา 787.00 บาท หรือเทียบเท่าหุ้นละ 27.50 เหรียญสหรัฐ เป็นจำนวน 154,429,500 หุ้น รวมเป็นมูลค่าสิ่งตอบแทนประมาณ 121,536 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 4,247 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ บริษัทลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับบริษัท เอสเอชวี เนเธอร์แลนด์ บี.วี.(SHV) ในวันที่ 23 เมษายน 2556 แล้ว ซึ่งรวมถึงสิทธิในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
พร้อมกันนั้น ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดใน MAKRO หลังจากบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมคิดเป็นอัตราประมาณ 64.35% โดยมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะมีการได้มาจากการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นตามสัญญาซื้อขายหุ้นเสร็จสมบูรณ์และหากผู้ถือหุ้นทุกรายของ MAKRO ตอบรับคำเสนอซื้อฯจะคิดเป็นหุ้นสามัญ 85,570,500 หุ้น ที่มูลค่าหุ้นละ 787.00 บาท คิดเป็นจำนวนรวม 67,344 ล้านบาท หรือเทียบเท่า ประมาณ 2,353 ล้านเหรียญสหรัฐ
ดังนั้น เมื่อรวมการได้มาซึ่งหุ้น MAKRO ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากผู้ขายตามสัญญาซื้อขายหุ้น ซึ่งรวมถึงการได้มาซึ่งสิทธิการใช้ IP และ IT และจากการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ MAKRO ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์ทั้งหมดของ MAKRO ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท จำนวนหุ้นที่จะได้มาทั้งหมดจะเท่ากับ 240,000,000 หุ้น ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 188,880 ล้านบาท หรือ 6,600.00 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นราคาต่อหุ้นที่ 787.00บาท หรือ 27.50 เหรียญสหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยน 28.6181 บาทต่อ 1.0 เหรียญสหรัฐ
MAKRO ประกอบธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกบัตรของแม็คโคร บริษัท เป็นบริษัทในกลุ่มเอสเอชวีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภททั่วโลก สำหรับแม็คโครในประเทศไทย บริษัท ดำเนินงานโดยทีมผู้บริหารมืออาชีพซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และมีทีมบริหารประจำแต่ละสาขาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในปี 2532 บริษัท ได้เปิดห้างแม็คโคร สาขาแรก คือ สาขาลาดพร้าว ณ สิ้นปี 2555 บริษัท มีสาขารวมทั้งสิ้น 57 สาขา และร้านจำหน่ายอาหารแช่แข็งขนาดเล็ก "สยามโฟรเซ่น" อีก 5 แห่งโดยในปัจจุบันมีธุรกิจหลักคือ การดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองภายใต้ชื่อ "แม็คโคร" ซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ สินค้าอุปโภคบริโภคและบริการของศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร ประกอบด้วย 1)เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ซ่อมบำรุง (Electrical Appliances and D.I.Y.) 2)เครื่องเขียน เครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องใช้ในสำนักงานอัตโนมัติ 3)อุปกรณ์เครื่องครัว อุปกรณ์ที่ใช้ในธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจให้บริการด้านอาหาร 4)เครื่องกีฬา เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน 5)สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย 6)ผัก ผลไม้สด เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารนม 7)ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งและแช่เย็น 8)เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว 9)ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ชำระล้าง และเครื่องสำอางค 10)สินค้าชำทั่วไป (General Grocery) 11)ยา และอาหารเสริม 12)เบเกอรี่ 13)ภัตตาคาร
นอกจากนั้น บริษัทยังเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าโดยการจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง (D.O.B : Distributor Own Brand) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจจัดจำหน่ายทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในรูปแบบ Cash & Carry อย่างแม็คโคร หรือห้างสรรพสินค้าต่างก็ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ในปัจจุบัน บริษัทดำเนินการจำหน่ายสินค้า D.O.B. ทั้งประเภทอุปโภคและบริโภค
ส่วนการประกอบธุรกิจของบริษัทย่อย บริษัท สยามฟูดเซอร์วิส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายอาหารจากต่างประเทศและในประเทศด้วยอาหารที่มีคุณภาพดีเยี่ยมด้านผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อาหารทะเลมันฝรั่งผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งอาหารโดยที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆจะมีการจัดเก็บและจัดส่งไปยังทุกจังหวัดของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การควบคุมอุณหภูมิให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด บริษัทวีนาสยาม ฟู้ดจำกัด ประกอบธุรกิจทางการค้าและจัดจำหน่ายอาหาร รวมทั้งธุรกิจนำเข้าและส่งออกอาหารที่มีคุณภาพสูง ด้านผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ อาหารทะเลมันฝรั่งผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งอาหารเป็นต้น
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดกับ CPALL บริษัทเชื่อว่าจะได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีและมั่นคง จากการดำเนินธุรกิจของ MAKRO โดยเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและการตลาดที่โดดเด่นอย่างชัดเจน มีทีมงานบริหารที่มีประสบการณ์และความสามารถสูง อันเห็นได้จากผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เติบโตอย่างมั่นคง มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่มีการเติบโตสูง และสร้างผลกำไรได้ดี
อีกทั้ง ช่วยสร้างผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นผ่านการสร้างประโยชน์ร่วมกันของทั้งสององค์กรและการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความสามารถในการเจรจาราคากับคู่ค้า จากยอดขายรวมที่สูงถึง 300,000 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพโดยการร่วมมือกันในการวางแผนการกระจายสินค้า เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการ การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนต่อผู้ถือหุ้น
และ เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและมูลค่าเพิ่มจากอสังหาริมทรัพย์และตราสินค้าของ MAKRO โอกาสในการสร้างผลตอบแทนและมูลค่าเพิ่มจากการใช้แบรนด์ MAKRO และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อขยายธุรกิจใน AEC และทั่วภูมิภาคเอเชีย สร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยของอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ของ MAKRO ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ซื้อกิจการ MAKRO จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท และวงเงินตามสัญญาในการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันการเงิน
อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
23 เม.ย. 2556 13:32:37
หัวข้อข่าว แจ้งการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
หลักทรัพย์ MAKRO
แหล่งข่าว MAKRO
รายละเอียดแบบเต็ม
การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
เรื่อง : การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
ชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ถูกทำคำเสนอซื้อ : บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (MAKRO)
ผู้ทำคำเสนอซื้อ :
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุ : วันที่ 23 เมษายน
2556
เรื่อง แจ้งการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
เรียน กรรมการ และผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ขอเรียนให้ทราบว่าในวันนี้บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท
เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี ("SHV") ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ว่า SHV ได้ตกลงทำสัญญากับบริษัท
ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทผู้ซื้อ") เพื่อขายหุ้นทั้งหมดของ SHV และบริษัทในเครือของ
SHVที่ถือหุ้นในบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 154,429,500.00 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 64.35
ของจำนวนหุ้นที่ออก และจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 787 บาทต่อหุ้น
ซึ่งเป็นราคาคำเสนอซื้อของบริษัทผู้ซื้อ โดยถือตามอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาท
และดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะมีการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จประมาณวันที่ 30
มิถุนายน 2556 ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับมติเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ซื้อและ
บริษัทผู้ซื้อจะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของบริษัทในราคา 787 บาท ต่อหุ้น
ภายใต้กฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
(นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์)
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร -สายงานบริหารการเงิน
ราคาเสนอซื้อ
หุ้นสามัญ (บาท/หุ้น) : 787.00
ปิดปูม SHV ก่อนถอนสมอ Makro จากไทย
Submitted by Somsak Damrongs... on Mon, 04/29/2013 - 16:38
ย้อนกลับในปี 2531 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแมคโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแมคโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม
“25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวน ให้ SHV Holding เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด 7-11 ซึ่งถือได้ว่า เราได้เป็นพี่น้องตระกูลเดียวกัน มาปีนี้เราได้มาผนวกกำลังกัน เพื่อพร้อมรับ AEC”
นั่นเป็นคำกล่าวของก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ปรากฏอยู่ในช่วงหนึ่งของการแถลงข่าวการซื้อสยามแม็คโคร จากกลุ่ม SHV เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 ซึ่งสะท้อนวิธีคิดและรากฐานความสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่มธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดี
และบ่งบอกนัยความหมายในเชิงยุทธศาสตร์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการขยายธุรกิจค้าปลีกไทยไปสู่ตลาดสากลในอนาคตได้อย่างชัดเจน
ประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเกี่ยวกับดีลครั้งใหญ่ นี้อยู่ที่ อะไรเป็นเหตุให้ SHV Holding หนึ่งในบริษัทเก่าแก่เนเธอร์แลนด์ และมีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมทั้งกิจการขนส่ง อุตสาหกรรมน้ำมัน รวมถึงธุรกิจบริการด้านการเงิน และถือเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเทรดดิ้งและค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถอนตัวออกจากประเทศไทย
SHV Holdings ถือกำเนิดขึ้นในปี 1896 ในฐานะ Steenkolen Handels-Vereeniging จากการควบรวมกันของผู้ค้าส่งถ่านหิน 8 รายในเนเธอร์แลนด์ เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจาก Rheinisch-Westfälischem Kohlen-Syndikat วิสาหกิจด้านถ่านหินของเยอรมนี
นอกจาก SHV จะผูกขาดการค้าและการขนส่งถ่านหินในเนเธอร์แลนด์ที่ทำให้ SHV เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนที่ยุโรปจะเข้าสู่ภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 และ2 แล้ว SHV ยังขยายบริบททางธุรกิจด้านพลังงานไปสู่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งหนุนส่งให้ SHV มีสรรพกำลังทางการเงินในการรุกเข้าสู่ธุรกิจอื่นๆ ในเวลาต่อมา
ความชำนาญการอย่างหนึ่งที่สะท้อนออกมาในรูปแบบการดำเนินธุรกิจหลากหลายของ SHV Holdings อยู่ที่ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจที่พร้อมจะสร้างหลักประกันในการผูกขาดและลดความเสี่ยงด้วยการหลีกเลี่ยงการแข่งขันซึ่งถือเป็นมรดก ตั้งแต่ยุคของ Frits Fentener van Vlissingen ซึ่งนำพา SHV ให้ก้าวขึ้นมาเป็นบรรษัทข้ามชาติได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงของสงครามอีกด้วย
SHV เริ่มเข้าสู่ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ด้วยการจัดตั้งและเปิดMakro ในฐานะร้านจำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเองแห่งแรก ที่เมืองอัมสเตอร์ดัมในปี 1968 ก่อนที่จะขยายสาขาไปเกือบทั่วโลก ทั้ง ยุโรป, อเมริกา และเอเชีย
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในด้านหนึ่งอยู่ที่ยุโรป กำลังเกิดปัญหาวิกฤตขนานใหญ่ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่ากระบวนการถอนสมอออกจากไทยเป็นส่วนหนึ่งใน “จังหวะถอย” เพื่อดึงทรัพยากรไปทุ่มเทและใช้พยุงธุรกิจอื่นๆ ที่ยังสามารถเป็นหลักให้กับ SHV ได้ โดยเฉพาะในธุรกิจพลังงานซึ่งดูเหมือนจะเป็นคำตอบสำหรับอนาคตของ SHV
และนี่อาจเป็นการยุติให้ Makro ของ SHV กลายเป็นชื่อในตำนานของธุรกิจค้าปลีก เพราะก่อนหน้านี้ SHV ได้ถอยออกจากการค้าปลีกทีละน้อยด้วยการขายกิจการ Makro ในยุโรปให้กับ Metro ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าส่งค้าปลีกจากเยอรมนี ในปี 1998
ขณะที่ในเอเชีย SHV ขายกิจการของ Makro มาเลเซียให้กับ Tesco จากอังกฤษในปี 2007 และทำให้สาขาของ Makro ถูกแทนที่ด้วยชื่อ Tesco Extra ในปีถัดมา SHV ก็ขาย Makro ในอินโดนีเซียให้กับกลุ่ม Lotte จากเกาหลี พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น Lotte Mart Wholesale
แม้ว่า SHV จะมีท่วงทำนองไปทางทยอยถอย Makro ออกจากเอเชีย แต่โครงข่ายของ Makro ในภูมิภาค อื่นๆ โดยเฉพาะในละตินอเมริกา ยังมีความแข็งแรงและครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ โคลัมเบีย เปรู เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา และบราซิล ซึ่งเฉพาะในบราซิล มีสาขาของMakro อยู่มากถึงกว่า 76 แห่งทีเดียว
การเข้าซื้อกิจการ Makro ในประเทศไทยของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในสายตาของผู้ประกอบการหรือนักลงทุนจำนวนไม่น้อยอาจประเมินว่าเป็นดีลที่ over price แต่สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์แล้ว พวกเขาเชื่อว่า การได้สยามแม็คโครเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายธุรกิจ จะสามารถเสริมจุดแข็งและสร้างความมหัศจรรย์ของการลงทุนให้เกิดขึ้นได้
แต่การลงทุนที่ถือว่าเป็นดีลที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของสังคมธุรกิจไทย ด้วยมูลค่ารวมเป็น “เลขมงคล” 188,880 ล้านบาท ในครั้งนี้จะหนุนนำให้ CP All ก้าวไปสู่จุดที่มุ่งหวังหรือไม่ ยังต้องพิสูจน์
[url]http://www.gotomanager.com/content/เปิดปูม-shv-ก่อนถอนสมอ-makro-จากไทย[/url]
เซ็นทรัลปั้นค้าส่ง'ซูเปอร์คุ้ม'ต่อยอด'ท็อปส์'เจาะรายย่อย
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Wednesday, May 01, 2013 06:54
ธุรกิจค้าส่งระอุเซ็นทรัลรีเทลเปิดทาง"ท็อปส์" ซุ่มทดสอบโมเดลใหม่ "ค้าส่ง" ขนาดย่อมปั้นแบรนด์ "ซูเปอร์คุ้ม" ย่านเทพารักษ์-สุขาภิบาล 3 ชู กลุ่มสินค้าอาหาร-อุปโภคบริโภค เจาะผู้ค้ารายย่อยเอสเอ็มอี แนวโน้มขยายตัวสูง เสริมแกร่งพอร์ตอาหารเพิ่มวอลุ่มซื้อ ต้นทุนต่ำ ด้าน "บิ๊กซี" รอจังหวะลุย "จัมโบ้-จัมโบ้ สเตชั่น"
"ร้านค้าส่งสมัยใหม่" ในประเทศไทย ยังมี "ช่องว่าง" ทางธุรกิจ จากการเติบโตของชุมชนการค้า ก่อเกิดผู้ค้ารายย่อย กิจการร้านอาหาร ภัตตาคาร รวมไปถึงธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ท่องเที่ยว ล้วนสร้างโอกาสทางการตลาด ยิ่งปัจจุบันมีเพียง "แม็คโคร" ทำตลาดอยู่เพียงรายเดียวชนิดไร้คู่แข่งโดยตรง
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการค้าปลีก กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กลุ่มค้าปลีกยักษ์ใหญ่ "เซ็นทรัลรีเทล" อยู่ระหว่างศึกษาและทดสอบตลาดในโมเดลธุรกิจใหม่ "ค้าส่ง" ภายใต้ชื่อ "ซูเปอร์คุ้ม" Superkhum โดยให้บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารเครือข่ายร้านซูเปอร์มาร์เก็ตในชื่อท็อปส์ ซูเปอร์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ เดลี่ และ เซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการนี้
เบื้องต้นได้ใช้สาขาของท็อปส์ ที่เปิดบริการแบบสแตนอะโลน ย่านเทพารักษ์ สุขาภิบาล 3 เป็นต้น ทดลองให้บริการในรูปแบบค้าส่ง ซึ่งได้มีการปรับรูปแบบการจัดวาง รูปแบบสินค้าเน้นเป็น "แพ็ค" สินค้าหลักเป็นกลุ่มโกรเซอรี่ หรือสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สินค้ากลุ่มอาหาร "ท็อปส์ ได้ทยอยเปิดหน้าบิลใหม่กับซัพพลายเออร์รายใหญ่สั่งซื้อสินค้าแบบแพ็คสำหรับขายส่ง หากพิจารณาจุดขายของซูเปอร์คุ้มจะเป็นร้านค้าส่งขนาดย่อมเจาะชุมชนได้ง่ายและรวดเร็ว"
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าส่ง "ซูเปอร์คุ้ม" ยังเป็นเพียงการทดลองตลาดและศึกษาพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึก ยังต้องใช้เวลาในการประเมินผลการตอบรับจากลูกค้า โดยเฉพาะยอดขาย และโอกาสทางธุรกิจ เออีซีหนุนเอสเอ็มอีโต-โอกาสธุรกิจ
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ทั้งแม็คโครและเซ็นทรัล ต่างมองเห็นโอกาสทางการตลาดจากการขยายตัวของผู้ค้ารายย่อย ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ไปตามการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารเพื่อบริการในธุรกิจ ยิ่งเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ตลาดจะยิ่งขยายตัว จะเห็นว่า แม็คโคร ได้พัฒนาธุรกิจ "ฟู้ดเซอร์วิส" เน้นจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง วัตถุดิบ เครื่องปรุง ทั้งไทยและต่างประเทศ เป็นต้น เจาะกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารและบริการ อาทิ โรงแรม ภัตตาคาร รีสอร์ท โดยตรง หรือ กลุ่มโฮเรก้า (HoReCa : Hotel Restaurant and Catering)
ธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสของแม็คโคร พัฒนาและเริ่มเปิดตลาดในปีที่ผ่านมา เลือก "หัวหิน" เป็นสาขาแรก ขนาดพื้นที่กว่า 5,000 ตร.ม. และ สาขา 2 ป่าตอง ภูเก็ต พื้นที่ 1,000 ตร.ม. ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ยังได้เข้าไปขยายตลาดในประเทศเวียดนาม รองรับอัตราการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้สินค้าอาหารและบริการเหล่านี้เป็นที่ต้องการมากขึ้น เซ็นทรัลน่าจะมองเห็นโอกาสไม่แตกต่างกัน ขณะที่มีฐานธุรกิจอาหารและบริการอย่างท็อปส์ และ แฟมิลี่มาร์ทอยู่แล้ว
เสริมแกร่งพอร์ตธุรกิจอาหารเซ็นทรัล
การพัฒนาโมเดลธุรกิจค้าส่งซูเปอร์คุ้มในครั้งนี้สอดรับนโยบายขยายเครือข่ายในทุกแขนงธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งของ "เซ็นทรัลรีเทล" ภายใต้การกุมบังเหียนของนายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของเครือข่ายร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าทั้งในและต่างประเทศซูเปอร์มาร์เก็ต คอนวีเนียนสโตร์ ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องกีฬา วัสดุ-ซ่อมแซมบ้าน หนังสือ สำนักงาน ค้าออนไลน์ เป็นต้น
มีข่าวว่า "เซ็นทรัลรีเทล" เป็นหนึ่งในกลุ่มทุนที่สนใจเข้าซื้อกิจการศูนย์ค้าส่งแม็คโครอีกด้วย ในเชิงยุทธศาสตร์การเปิดตัวร้านซูเปอร์คุ้ม เป็นการต่อยอดธุรกิจ "กลุ่มอาหาร" ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น จากปริมาณคำสั่งซื้อรวมขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและไม่ใช่อาหาร เพื่อป้อนให้กับท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท และซูเปอร์คุ้มที่มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ก่อนหน้านี้ นายทศ เคยกล่าวด้วยว่า แม้ธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันจะมีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทั้งการทำตลาด และการขยายสาขา แต่อนาคตค้าปลีกยังมีแนวโน้มการเติบโตสูงมีโอกาสในการแตกแขนง พัฒนารูปแบบ (โมเดลธุรกิจ) ร้านค้าปลีก ค้าส่ง ได้อย่างหลากหลายรูปแบบตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละยุค จะเห็นว่ากลุ่มทุนต่างๆ ยังสนใจเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกอยู่ตลอดเวลา บิ๊กซีรอจังหวะขยายค้าส่ง "จัมโบ้"
ค้าปลีกรายใหญ่ "บิ๊กซี" เป็นผู้ประกอบการอีกรายที่สนใจเข้าสู่ธุรกิจค้าส่ง โดยสร้างแบรนด์ "บิ๊กซี จัมโบ้" และ บิ๊กซี จัมโบ้ สเตชั่น"ให้บริการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2554 หลังการซื้อกิจการคาร์ฟูร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ได้ปรับเปลี่ยนสาขาใหญ่ "สำโรง" เป็นบิ๊กซี จัมโบ้ และ เปิดบริการ บิ๊กซี จัมโบ้ สเตชั่น สาขาพัทยาใต้ ชลบุรี เป็นร้านค้าส่งขนาดย่อมลงมาเน้นให้บริการกลุ่มฟู้ดเซอร์วิสเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีสาขาเพียงรูปแบบละ 1 แห่ง
โดยปีนี้ มีแผนขยายบิ๊กซี จัมโบ้สเตชั่น อีก 3 แห่ง ขณะที่ค้าส่งขนาดใหญ่ "จัมโบ้" ยังไม่มีการขยายสาขาเพิ่มในปีนี้ ผู้บริหารบิ๊กซี ยอมรับว่าการทำธุรกิจค้าส่งค่อนข้างยาก เนื่องจากการบริหารจัดการสินค้าแตกต่างจาก "ค้าปลีก" ชัดเจน การลงทุนต้องรอบคอบ แต่เชื่อว่ายังมีโอกาสทางการตลาดสูงในอนาคตสำคัญต้องพัฒนาคอนเซปต์ให้แข็งแรงที่สุด เพื่อการขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
หัวข้อข่าว แจ้งการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
หลักทรัพย์ MAKRO
แหล่งข่าว MAKRO
รายละเอียดแบบเต็ม
การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
เรื่อง : การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
ชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ถูกทำคำเสนอซื้อ : บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (MAKRO)
ผู้ทำคำเสนอซื้อ :
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุ : วันที่ 23 เมษายน
2556
เรื่อง แจ้งการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
เรียน กรรมการ และผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ขอเรียนให้ทราบว่าในวันนี้บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท
เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี ("SHV") ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ว่า SHV ได้ตกลงทำสัญญากับบริษัท
ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทผู้ซื้อ") เพื่อขายหุ้นทั้งหมดของ SHV และบริษัทในเครือของ
SHVที่ถือหุ้นในบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 154,429,500.00 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 64.35
ของจำนวนหุ้นที่ออก และจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 787 บาทต่อหุ้น
ซึ่งเป็นราคาคำเสนอซื้อของบริษัทผู้ซื้อ โดยถือตามอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาท
และดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะมีการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จประมาณวันที่ 30
มิถุนายน 2556 ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับมติเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ซื้อและ
บริษัทผู้ซื้อจะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของบริษัทในราคา 787 บาท ต่อหุ้น
ภายใต้กฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
(นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์)
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร -สายงานบริหารการเงิน
ราคาเสนอซื้อ
หุ้นสามัญ (บาท/หุ้น) : 787.00
ปิดปูม SHV ก่อนถอนสมอ Makro จากไทย
Submitted by Somsak Damrongs... on Mon, 04/29/2013 - 16:38
ย้อนกลับในปี 2531 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแมคโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแมคโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม
“25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวน ให้ SHV Holding เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด 7-11 ซึ่งถือได้ว่า เราได้เป็นพี่น้องตระกูลเดียวกัน มาปีนี้เราได้มาผนวกกำลังกัน เพื่อพร้อมรับ AEC”
นั่นเป็นคำกล่าวของก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ปรากฏอยู่ในช่วงหนึ่งของการแถลงข่าวการซื้อสยามแม็คโคร จากกลุ่ม SHV เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 ซึ่งสะท้อนวิธีคิดและรากฐานความสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่มธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดี
และบ่งบอกนัยความหมายในเชิงยุทธศาสตร์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการขยายธุรกิจค้าปลีกไทยไปสู่ตลาดสากลในอนาคตได้อย่างชัดเจน
ประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเกี่ยวกับดีลครั้งใหญ่ นี้อยู่ที่ อะไรเป็นเหตุให้ SHV Holding หนึ่งในบริษัทเก่าแก่เนเธอร์แลนด์ และมีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมทั้งกิจการขนส่ง อุตสาหกรรมน้ำมัน รวมถึงธุรกิจบริการด้านการเงิน และถือเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเทรดดิ้งและค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถอนตัวออกจากประเทศไทย
SHV Holdings ถือกำเนิดขึ้นในปี 1896 ในฐานะ Steenkolen Handels-Vereeniging จากการควบรวมกันของผู้ค้าส่งถ่านหิน 8 รายในเนเธอร์แลนด์ เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจาก Rheinisch-Westfälischem Kohlen-Syndikat วิสาหกิจด้านถ่านหินของเยอรมนี
นอกจาก SHV จะผูกขาดการค้าและการขนส่งถ่านหินในเนเธอร์แลนด์ที่ทำให้ SHV เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนที่ยุโรปจะเข้าสู่ภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 และ2 แล้ว SHV ยังขยายบริบททางธุรกิจด้านพลังงานไปสู่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งหนุนส่งให้ SHV มีสรรพกำลังทางการเงินในการรุกเข้าสู่ธุรกิจอื่นๆ ในเวลาต่อมา
ความชำนาญการอย่างหนึ่งที่สะท้อนออกมาในรูปแบบการดำเนินธุรกิจหลากหลายของ SHV Holdings อยู่ที่ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจที่พร้อมจะสร้างหลักประกันในการผูกขาดและลดความเสี่ยงด้วยการหลีกเลี่ยงการแข่งขันซึ่งถือเป็นมรดก ตั้งแต่ยุคของ Frits Fentener van Vlissingen ซึ่งนำพา SHV ให้ก้าวขึ้นมาเป็นบรรษัทข้ามชาติได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงของสงครามอีกด้วย
SHV เริ่มเข้าสู่ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ด้วยการจัดตั้งและเปิดMakro ในฐานะร้านจำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเองแห่งแรก ที่เมืองอัมสเตอร์ดัมในปี 1968 ก่อนที่จะขยายสาขาไปเกือบทั่วโลก ทั้ง ยุโรป, อเมริกา และเอเชีย
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในด้านหนึ่งอยู่ที่ยุโรป กำลังเกิดปัญหาวิกฤตขนานใหญ่ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่ากระบวนการถอนสมอออกจากไทยเป็นส่วนหนึ่งใน “จังหวะถอย” เพื่อดึงทรัพยากรไปทุ่มเทและใช้พยุงธุรกิจอื่นๆ ที่ยังสามารถเป็นหลักให้กับ SHV ได้ โดยเฉพาะในธุรกิจพลังงานซึ่งดูเหมือนจะเป็นคำตอบสำหรับอนาคตของ SHV
และนี่อาจเป็นการยุติให้ Makro ของ SHV กลายเป็นชื่อในตำนานของธุรกิจค้าปลีก เพราะก่อนหน้านี้ SHV ได้ถอยออกจากการค้าปลีกทีละน้อยด้วยการขายกิจการ Makro ในยุโรปให้กับ Metro ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าส่งค้าปลีกจากเยอรมนี ในปี 1998
ขณะที่ในเอเชีย SHV ขายกิจการของ Makro มาเลเซียให้กับ Tesco จากอังกฤษในปี 2007 และทำให้สาขาของ Makro ถูกแทนที่ด้วยชื่อ Tesco Extra ในปีถัดมา SHV ก็ขาย Makro ในอินโดนีเซียให้กับกลุ่ม Lotte จากเกาหลี พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น Lotte Mart Wholesale
แม้ว่า SHV จะมีท่วงทำนองไปทางทยอยถอย Makro ออกจากเอเชีย แต่โครงข่ายของ Makro ในภูมิภาค อื่นๆ โดยเฉพาะในละตินอเมริกา ยังมีความแข็งแรงและครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ โคลัมเบีย เปรู เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา และบราซิล ซึ่งเฉพาะในบราซิล มีสาขาของMakro อยู่มากถึงกว่า 76 แห่งทีเดียว
การเข้าซื้อกิจการ Makro ในประเทศไทยของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในสายตาของผู้ประกอบการหรือนักลงทุนจำนวนไม่น้อยอาจประเมินว่าเป็นดีลที่ over price แต่สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์แล้ว พวกเขาเชื่อว่า การได้สยามแม็คโครเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายธุรกิจ จะสามารถเสริมจุดแข็งและสร้างความมหัศจรรย์ของการลงทุนให้เกิดขึ้นได้
แต่การลงทุนที่ถือว่าเป็นดีลที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของสังคมธุรกิจไทย ด้วยมูลค่ารวมเป็น “เลขมงคล” 188,880 ล้านบาท ในครั้งนี้จะหนุนนำให้ CP All ก้าวไปสู่จุดที่มุ่งหวังหรือไม่ ยังต้องพิสูจน์
[url]http://www.gotomanager.com/content/เปิดปูม-shv-ก่อนถอนสมอ-makro-จากไทย[/url]
เซ็นทรัลปั้นค้าส่ง'ซูเปอร์คุ้ม'ต่อยอด'ท็อปส์'เจาะรายย่อย
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Wednesday, May 01, 2013 06:54
ธุรกิจค้าส่งระอุเซ็นทรัลรีเทลเปิดทาง"ท็อปส์" ซุ่มทดสอบโมเดลใหม่ "ค้าส่ง" ขนาดย่อมปั้นแบรนด์ "ซูเปอร์คุ้ม" ย่านเทพารักษ์-สุขาภิบาล 3 ชู กลุ่มสินค้าอาหาร-อุปโภคบริโภค เจาะผู้ค้ารายย่อยเอสเอ็มอี แนวโน้มขยายตัวสูง เสริมแกร่งพอร์ตอาหารเพิ่มวอลุ่มซื้อ ต้นทุนต่ำ ด้าน "บิ๊กซี" รอจังหวะลุย "จัมโบ้-จัมโบ้ สเตชั่น"
"ร้านค้าส่งสมัยใหม่" ในประเทศไทย ยังมี "ช่องว่าง" ทางธุรกิจ จากการเติบโตของชุมชนการค้า ก่อเกิดผู้ค้ารายย่อย กิจการร้านอาหาร ภัตตาคาร รวมไปถึงธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ท่องเที่ยว ล้วนสร้างโอกาสทางการตลาด ยิ่งปัจจุบันมีเพียง "แม็คโคร" ทำตลาดอยู่เพียงรายเดียวชนิดไร้คู่แข่งโดยตรง
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการค้าปลีก กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กลุ่มค้าปลีกยักษ์ใหญ่ "เซ็นทรัลรีเทล" อยู่ระหว่างศึกษาและทดสอบตลาดในโมเดลธุรกิจใหม่ "ค้าส่ง" ภายใต้ชื่อ "ซูเปอร์คุ้ม" Superkhum โดยให้บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารเครือข่ายร้านซูเปอร์มาร์เก็ตในชื่อท็อปส์ ซูเปอร์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ เดลี่ และ เซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการนี้
เบื้องต้นได้ใช้สาขาของท็อปส์ ที่เปิดบริการแบบสแตนอะโลน ย่านเทพารักษ์ สุขาภิบาล 3 เป็นต้น ทดลองให้บริการในรูปแบบค้าส่ง ซึ่งได้มีการปรับรูปแบบการจัดวาง รูปแบบสินค้าเน้นเป็น "แพ็ค" สินค้าหลักเป็นกลุ่มโกรเซอรี่ หรือสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สินค้ากลุ่มอาหาร "ท็อปส์ ได้ทยอยเปิดหน้าบิลใหม่กับซัพพลายเออร์รายใหญ่สั่งซื้อสินค้าแบบแพ็คสำหรับขายส่ง หากพิจารณาจุดขายของซูเปอร์คุ้มจะเป็นร้านค้าส่งขนาดย่อมเจาะชุมชนได้ง่ายและรวดเร็ว"
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าส่ง "ซูเปอร์คุ้ม" ยังเป็นเพียงการทดลองตลาดและศึกษาพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึก ยังต้องใช้เวลาในการประเมินผลการตอบรับจากลูกค้า โดยเฉพาะยอดขาย และโอกาสทางธุรกิจ เออีซีหนุนเอสเอ็มอีโต-โอกาสธุรกิจ
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ทั้งแม็คโครและเซ็นทรัล ต่างมองเห็นโอกาสทางการตลาดจากการขยายตัวของผู้ค้ารายย่อย ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ไปตามการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารเพื่อบริการในธุรกิจ ยิ่งเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ตลาดจะยิ่งขยายตัว จะเห็นว่า แม็คโคร ได้พัฒนาธุรกิจ "ฟู้ดเซอร์วิส" เน้นจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง วัตถุดิบ เครื่องปรุง ทั้งไทยและต่างประเทศ เป็นต้น เจาะกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารและบริการ อาทิ โรงแรม ภัตตาคาร รีสอร์ท โดยตรง หรือ กลุ่มโฮเรก้า (HoReCa : Hotel Restaurant and Catering)
ธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสของแม็คโคร พัฒนาและเริ่มเปิดตลาดในปีที่ผ่านมา เลือก "หัวหิน" เป็นสาขาแรก ขนาดพื้นที่กว่า 5,000 ตร.ม. และ สาขา 2 ป่าตอง ภูเก็ต พื้นที่ 1,000 ตร.ม. ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ยังได้เข้าไปขยายตลาดในประเทศเวียดนาม รองรับอัตราการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้สินค้าอาหารและบริการเหล่านี้เป็นที่ต้องการมากขึ้น เซ็นทรัลน่าจะมองเห็นโอกาสไม่แตกต่างกัน ขณะที่มีฐานธุรกิจอาหารและบริการอย่างท็อปส์ และ แฟมิลี่มาร์ทอยู่แล้ว
เสริมแกร่งพอร์ตธุรกิจอาหารเซ็นทรัล
การพัฒนาโมเดลธุรกิจค้าส่งซูเปอร์คุ้มในครั้งนี้สอดรับนโยบายขยายเครือข่ายในทุกแขนงธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งของ "เซ็นทรัลรีเทล" ภายใต้การกุมบังเหียนของนายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของเครือข่ายร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าทั้งในและต่างประเทศซูเปอร์มาร์เก็ต คอนวีเนียนสโตร์ ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องกีฬา วัสดุ-ซ่อมแซมบ้าน หนังสือ สำนักงาน ค้าออนไลน์ เป็นต้น
มีข่าวว่า "เซ็นทรัลรีเทล" เป็นหนึ่งในกลุ่มทุนที่สนใจเข้าซื้อกิจการศูนย์ค้าส่งแม็คโครอีกด้วย ในเชิงยุทธศาสตร์การเปิดตัวร้านซูเปอร์คุ้ม เป็นการต่อยอดธุรกิจ "กลุ่มอาหาร" ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น จากปริมาณคำสั่งซื้อรวมขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและไม่ใช่อาหาร เพื่อป้อนให้กับท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท และซูเปอร์คุ้มที่มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ก่อนหน้านี้ นายทศ เคยกล่าวด้วยว่า แม้ธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันจะมีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทั้งการทำตลาด และการขยายสาขา แต่อนาคตค้าปลีกยังมีแนวโน้มการเติบโตสูงมีโอกาสในการแตกแขนง พัฒนารูปแบบ (โมเดลธุรกิจ) ร้านค้าปลีก ค้าส่ง ได้อย่างหลากหลายรูปแบบตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละยุค จะเห็นว่ากลุ่มทุนต่างๆ ยังสนใจเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกอยู่ตลอดเวลา บิ๊กซีรอจังหวะขยายค้าส่ง "จัมโบ้"
ค้าปลีกรายใหญ่ "บิ๊กซี" เป็นผู้ประกอบการอีกรายที่สนใจเข้าสู่ธุรกิจค้าส่ง โดยสร้างแบรนด์ "บิ๊กซี จัมโบ้" และ บิ๊กซี จัมโบ้ สเตชั่น"ให้บริการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2554 หลังการซื้อกิจการคาร์ฟูร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ได้ปรับเปลี่ยนสาขาใหญ่ "สำโรง" เป็นบิ๊กซี จัมโบ้ และ เปิดบริการ บิ๊กซี จัมโบ้ สเตชั่น สาขาพัทยาใต้ ชลบุรี เป็นร้านค้าส่งขนาดย่อมลงมาเน้นให้บริการกลุ่มฟู้ดเซอร์วิสเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีสาขาเพียงรูปแบบละ 1 แห่ง
โดยปีนี้ มีแผนขยายบิ๊กซี จัมโบ้สเตชั่น อีก 3 แห่ง ขณะที่ค้าส่งขนาดใหญ่ "จัมโบ้" ยังไม่มีการขยายสาขาเพิ่มในปีนี้ ผู้บริหารบิ๊กซี ยอมรับว่าการทำธุรกิจค้าส่งค่อนข้างยาก เนื่องจากการบริหารจัดการสินค้าแตกต่างจาก "ค้าปลีก" ชัดเจน การลงทุนต้องรอบคอบ แต่เชื่อว่ายังมีโอกาสทางการตลาดสูงในอนาคตสำคัญต้องพัฒนาคอนเซปต์ให้แข็งแรงที่สุด เพื่อการขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)