วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดคำนิยามด้านเศรษฐกิจ


เกร็ดคำนิยามด้านเศรษฐกิจสารบัญ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
              ผลิตภัณฑ์ในประเทศ
 (Gross Domestic Product : GDP) 
              ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross National Product : GNP)
              รายได้ประชาชาติ (National Incomne : NI)               
ความยากจนและการกระจายรายได
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
              เงินเฟ้อ
              เงินฝืด
              ผู้มีงานทำ
              ผู้ว่างงาน
              กำลังแรงงาน
              ดุลบัญชีเดินสะพัด
 (Current Account -CA)
              ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital and Finance Account  - KA & FA )
              เงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves/Reserves Assets)
              หนี้ต่างประเทศ (External Debt)
              อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
ระบบการเงิน (Financial   System)
              อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate)
              อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Lending Rate)
              สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ตามนิยามใหม่              Government Bond Yield Curve
ด้านการคลัง
              เงินคงคลัง
 (Treasury Balance)
              ดุลงบประมาณ (Budgetary Balance)
              ดุลเงินสดรัฐบาล (Cash Balance)
หนี้สาธารณะ
              คำย่อของหนี้สาธารณะและชื่อย่อแหล่งเงินกู้
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย          

              SET (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
              SET INDEX (ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
              SET50 INDEX (ดัชนีเซท 50)
              MAI (ตลาดหลักทรัพย์ใหม่)
              MAIN BOARD (กระดานหลัก)
              MARKET CAPITALIZATION (มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด)
              WARRANT (ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)
         หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำการผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ
         ผลิตภัณฑ์ในประเทศมีการจัดทำทั้งตามราคาปัจจุบันและราคาคงที่โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาตลาดของสินค้าและบริการเหล่านั้น ขณะที่ GDP ณ ราคาคงที่คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาปีที่กำหนดเป็นปีฐาน
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross National Product : GNP)
คือมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง  โดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็นเจ้าของ
รายได้ประชาชาติ (National Incomne : NI)
คือผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนแรงงาน ผลตอบแทนจากที่ดิน ทุน และการประกอบการโดยมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ดังนี้
         NI = GNP - ค่าเสื่อมราคา - (ภาษีทางอ้อม เงินอุดหนุน)
รายได้ต่อหัว (Per capita GNP)   คำนวณจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติหารด้วยจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ความยากจนและการกระจายรายได้

 ความยากจนและการกระจายรายได้   มีข้อมูล 3 เรื่อง คือ
1. เส้นความยากจน   คือ  เครื่องมือในการกำหนดเกณฑ์ความต้องการพื้นฐานขั้นต่ำของบุคคล  ถ้าบุคคลใด  มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน  ก็พิจารณาได้ว่าบุคคลนั้นเป็นคนจน
2. จำนวนคนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจน    คือ จำนวนคนจน หรือบุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน
3. GINI Coefficient    คือ สัมประสิทธิ์จินี หรือสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้  เป็นตัวชี้วัดความไม่เท่าเทียมที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด  เป็นตัวที่ใช้อธิบายในกลุ่ม Lorenz Curve  ค่าจินีถูกกำหนดจากพื้นที่ระหว่างเส้น Lorenz Curve กับเส้นการกระจายรายได้สมบูรณ์  หารด้วยพื้นที่ใต้เส้นทะแยงมุมทั้งหมด    สัมประสิทธิ์จินี จะมีค่าตั้งแต่  0 ถึง 1 โดยหากมีค่าเข้าใกล้ศูนย์จะยิ่งดี   คือทุกคนมีรายได้เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อค่า = 0
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เสถียรภาพภายใน
เงินเฟ้อ
               คือ  ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
              ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ
               ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
ปัจจัยที่สอง  เกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
เงินฝืด
              คือ  ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
ผู้มีงานทำ
          ผู้มีงานทำ ได้แก่ บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้
          1. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่น สำหรับผลงานที่ทำเป็นเงินสด หรือสิ่งของ หรือ
          2. ไม่ได้ทำงานเลย แต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุรกิจ ไร่นาเกษตรของตนเอง ได้หยุดงานชั่วคราว เนื่องจากเจ็บป่วยหรือ บาดเจ็บ หยุดพักผ่อน สถานที่ทำงานปิด ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย นอกฤดูกาลหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่นการปิดที่ทำงานชั่วคราวโดยไม่คำนึง ว่าจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างที่ไม่ได้มาทำงานหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีกำหนดว่าภายใน 30วัน นับจากวันที่สถานที่ทำงานปิดจะได้กลับมาทำงาน ณ สถานที่ทำงานนั้นอีก หรือ
          3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจ หรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน หรือของสมาชิกในครัวเรือน
ผู้ว่างงาน
          ผู้ว่างงาน ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ทำงานใด ๆ เลยแม้แต่ 1 ชั่วโมง ไม่มีงานทำ ไม่มีธุรกิจ หรือไร่นาเกษตรของตนเองแต่พร้อมที่จะทำงาน ซึ่งหมายถึงบุคคลต่อไปนี้
          1. ผู้ซึ่งหางานทำภายใน 30 วัน นับถึงวันแจงนับ
          2.ผู้ซึ่งไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย หรือไม่ได้หางานทำ เพราะคิดว่าหางานที่เหมาะสมกับตนทำไม่ได้ รอที่จะเริ่มงานใหม่ รอฤดูกาล หรือเหตุผลอื่น ๆ
กำลังแรงงาน
          กำลังแรงงาน ได้แก่ บุคคลทุกคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีงานทำ หรือว่างงาน หรือรอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่ จะทำงานและตามปกติจะทำงานโดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในไร่นาเกษตรหรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาลโดยมีหัวหน้าครัวเรือนหรือ สมาชิกคนอื่น ๆ ในครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ
เสถียรภาพภายนอก
ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account -CA)      
 คือ ผลรวมสุทธิของดุลการค้า และดุลบริการ รายได้ และเงินโอน
ดุลการค้า (Trade Balance) เป็นผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่าสินค้าออก เอฟ.โอ.บี. (ราคาที่ไม่รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้ากับมูลค่าสินค้าเข้า ซี.ไอ.เอฟ. (ราคาที่รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้าที่ได้ปรับตามคำนิยามของดุลการชำระเงินแล้ว
ดุลบริการ (Net Services)เป็นผลต่างสุทธิที่แสดงถึงการค้าระหว่างประเทศในด้านบริการ ประกอบด้วย ค่าขนส่ง ค่าท่องเที่ยว ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของภาคทางการ ค่าสื่อสารโทรคมนาคม ค่ารับเหมาก่อสร้าง ค่ารอยัลตี้ และค่าเครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร ค่าประกันภัย เป็นต้น
รายได้ (Income) ประกอบด้วย(1) ผลตอบแทนการจ้างงาน(Compensation of Employees) หมายถึง รายได้ในรูปของค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน และ(2) รายได้จากการลงทุน (Investment Income)หมายถึง ผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางการเงินในต่างประเทศ ได้แก่ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนโดยตรง การลงทุนในหลักทรัพย์ และการลงทุนอื่นๆ
เงินโอนและบริจาค (Current transfers) หมายถึง เงินบริจาค หรือเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศ(residents) ได้รับหรือโอนให้ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (nonresidents) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิทธิความเป็นเจ้าของในทรัพยากรที่แท้จริงหรือทางการเงิน
ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital and Finance Account  - KA & FA )
       เป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศ กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ โดยสินทรัพย์จะแสดงถึงสิทธิในการเรียกร้อง ขณะที่หนี้สินจะแสดงถึงภาระที่จะถูกเรียกร้อง ประกอบด้วยบัญชีทุน (Capital Account) และบัญชีการเงิน (Financial Account)
บัญชีทุน (Capital Account) หมายถึง รายรับและรายจ่ายที่เกิดจาก
          1) ธุรกรรมเคลื่อนย้ายเงินทุน (Capital Transfer) ทั้งในรูปตัวเงินและในรูปมิใช่ตัวเงิน ได้แก่ การโอนย้ายเงินทุนที่เกิดจากการซื้อขายสินทรัพย์ถาวร การโอนสิทธิในทรัพย์สินถาวร และการยกเลิกหนี้สินโดยเจ้าหนี้ และ
            2) การซื้อขายทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิต และมิใช่ทรัพย์สินทางการเงิน (Acquisition / Disposal of non-produced, non-produced, non-financial assets) หมายถึงการซื้อขายทรัพย์สินที่จับต้องได้ เช่น ที่ดิน และทรัพย์สินที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและสัญญาเช่าซื้อเฉพาะกรณีการซื้อขายที่ดิน โดยสถานทูตถือเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากเป็นการโอนความเป็นเจ้าของระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศด้วยกัน โดยให้ถือว่าผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศที่ซื้อที่ดินนั้น มีเพียงการเรียกร้องทางการเงิน (Financial Claim) ต่อผู้มีถิ่นฐานในประเทศเท่านั้น ในปัจจุบันยังไม่สามารถแยกรายการนี้ได้ โดยยังรวมอยู่ในรายการเงินโอนและบริจาคและบัญชีการเงิน
-  บัญชีการเงิน (Financial Account) หมายถึงธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) การลงทุนในหลักทรัพย์(Portfolio Investment) และการลงทุนอื่น ๆ (Other Investment)
เงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves/Reserves Assets)
           คือ สินทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองหรือควบคุมโดยธนาคารกลางและสามารถนำ มาใช้ประโยชน์ทันทีที่จำเป็น เช่น การชดเชยการขาดดุลการชำระเงินหรือใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เงินสำรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ทองคำ สิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights : SDR) สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสินทรัพย์ในรูปเงินตราต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศ (External Debt)
          หมายถึง ยอดคงค้างหนี้สินส่วนที่ไม่ใช่ทุนเรือนหุ้นของผู้มีถิ่นฐานในประเทศก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นในต่างประเทศ ทั้งหนี้สินที่มีดอกเบี้ย หรือไม่มีดอกเบี้ย โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนเงินต้น โดยรวมหนี้สินทุกสกุลเงินและทุกประเภทของการกู้ยืม
          หนี้ภาคทางการ หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่ภาคทางการเป็นผู้ก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศประกอบด้วยหนี้ของรัฐบาลกลาง (กู้ในนามรัฐบาลไทยหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหนี้ของเอกชนที่รัฐบาลค้ำประกันรวมทั้งหนี้ของ ธปท.
          หนี้ภาคเอกชน หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่ภาคเอกชนเป็นผู้ก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นฐานในตางประเทศ ประกอบด้วยหนี้ของภาคธุรกิจธนาคาร (ธนาคารพาณิชยและกิจการวิเทศธนกิจและภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารอาทิ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ นิติบุคคลที่ประกอบการค้า การผลิต และบุคคลธรรมดา
          หนี้ระยะยาว หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่มีระยะเวลาครบกำหนดมากกว่า 1 ปี
          หนี้ระยะสั้น หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่มีระยะเวลาครบกำหนดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
        เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น)กับ หนึ่งหน่วยของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ หน่วยดอลลาร์ สหรัฐเท่ากับ 40บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆแล้วมี ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่จริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบ ใหญ่ๆ คือ
1. ระบบที่ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียว เช่น ฮ่องกงดอลลาร์กับดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา หรืออาจผูกค่ากับกลุ่มสกุลที่เรียกว่าระบบตะกร้า เช่น ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในอดีต
2. ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้คล้ายกับระบบ peg แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจเคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า ตัวอย่างของระบบนี้ได้แก่ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism (ERM) เป็นต้น
3. ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าของเงินจะมีความผันผวนมากกว่า 2 ระบบแรก
ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นสูงนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ
(1) ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed หรือ Dirty Float) ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศส่วนมาก รวมทั้งประเทศไทยในปัจจุบัน ใช้อยู่
(2) ระบบลอยตัวเสรี (Independent หรือ Free Float) เป็นระบบที่ค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารกลางอาจเข้าแทรกแซงในตลาดบ้าง เพื่อชี้นำทิศทาง แต่มิใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด
ระบบการเงิน (Financial   System)
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate)
          เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้น เพื่อใช้ในการปรับสภาพคล่อง ของธนาคารพาณิชย์โดยธุรกรรมอาจจะอยู่ในรูป การกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call) หรือเป็นการกู้ยืมแบบมีกำหนดระยะเวลา (term) ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 6 เดือน ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 50-70 เป็นการกู้ยืมระยะ 1 วัน (Overnight) รองลงมาเป็นการกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call)
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Lending Rate)
          อัตราดอกเบี้ย MLR (Medium Lending Rate) หรือ (Minimum Loan Rate) หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
          อัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึงอัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย ์เรียกเก็บจาก ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
          อัตราอัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate)หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ทั้งนี้ใช้โยงเข้ากับอัตราดอกเบี้ย MLR เพื่อให้สามารถ สะท้อนระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่ กับลูกค้ารายย่อยได้ โดยบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศ ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได (NPL) ตามนิยามใหม่
       หมายถึง เงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
  Government Bond Yield Curve    หมายถึง เส้นแสดงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล
TTM  ย่อมาจาก   Time to Maturity
TTM(Yrs.) หมายถึง อายุคงเหลือของพันธบัตร
Yield (%) หมายถึง อัตราผลตอบแทน
ด้านการคลัง
เงินคงคลัง (Treasury Balance)
             คือเงินสดที่อยู่ในมือและเงินฝากของกระทรวงการคลังในที่ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย บัญชีเงินฝากของกระทรวงการคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เงินสดที่คลังจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ เงินสดที่กรมธนารักษ์ เงินฝากของคลังจังหวัดที่ธนาคารกรุงไทยในแต่ละจังหวัดและเงินสดระหว่างทางที่รวมถึงธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของกระทรวงการคลัง ที่อยู่ในระหว่างการขนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ดุลงบประมาณ (Budgetary Balance)
            หมายถึง ส่วนต่างระหว่างประมาณการรายได้และประมาณการรายจ่ายตามที่กำหนดไว้ในเอกสารงบประมาณ ประจำปี เช่น ปีงบประมาณ 2542 ประมาณการรายได้ 800 พันล้านบาท ประมาณการรายจ่าย 825 พันล้านบาทดังนั้นดุลงบประมาณ ขาดดุล 25 พันล้านบาท
ดุลเงินสดรัฐบาล (Cash Balance)
              หมายถึง ส่วนต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายจริงของรัฐบาล ทั้งจากเงินในและเงินนอกงบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่ง ดุลเงินสดจะเท่ากับดุลเงินในงบประมาณบวกดุลเงินนอกงบประมาณ โดย เงินในงบประมาณ หมายถึง รายได้แผ่นดินและรายจ่ายตามงบประมาณ ซึ่งรายได้ประกอบด้วย รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสินค้าและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์และรายได้อื่น ๆ ส่วนรายจ่ายประกอบด้วย รายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง หมวดค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และรายจ่ายอื่น ส่วน เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินที่ส่วนราชการมีอยู่ซึ่งไม่อยู่ในข่ายที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หรือมิใช่รายจ่ายตามงบประมาณ ซึ่งส่วนราชการจะนำเงินดังกล่าวมาฝากไว้กับกระทรวงการคลัง เช่น เงินทุนหมุนเวียน เงินฝาก เงินทดรองราชการ เงินยืม เป็นต้น
ดุลเงินสดก่อนกู้  =    ดุลเงินสด    =     ดุลเงินสดตามระบบกระแสเงินสด
                    รายงานดุลการคลังรัฐบาล จะมีการจัดทำ  2 รูปแบบ  คือ
                    1.  ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด หรือตามระบบกระทรวงการคลัง  ซึ่งจัดทำโดย
-         กรมบัญชีกลาง
-         สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง    ดูรายงานได้จากhttp://dw.mof.go.th/foc/Document/finance_state/fpo/FiscalBalance_cash.htm
                    2. ดุลการคลังตามระบบระบบ สศค. (GFS)    จัดทำโดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  (ซึ่งสามารถเรียกดูได้จาก http://203.150.52.175/foc/program/concept/gfs_manual.htm#นิยาม)
หนี้สาธารณะ
คำย่อของหนี้สาธารณะ
Domestic Public Bond Profile

PN
ตั๋วสัญญาใช้เงิน (เพื่อชดเชยการขาดดุล) (Promissory Notes)
T-Bill
ตั๋วเงินคงคลัง  (เพื่อชดเชยการขาดดุล) (Treasury Bill)
Savings Bonds(Deficit)
พันธบัตรออมทรัพย์  (เพื่อชดเชยการขาดดุล)
Investment Bond
พันธบัตรลงทุน  (เพื่อชดเชยการขาดดุล)
FIDF 1
พันธบัตร (F1) (เพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู)
FIDF 2
พันธบัตร (F2) (เพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู)
FIDF 3
พันธบัตร (F3) (เพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู)
SOE Non-Guarantee
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
SOE Guarantee
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน

ชื่อย่อแหล่งเงินกู้

IBRD
ธนาคารโลก
ADB
ธนาคารพัฒนาเอเซีย
AID
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา
JBIC
ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
KfW
สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและพัฒนาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
SET (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
             SET หรือ The Stock Exchange of Thailand หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.. 2517 เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนควบคุมดูแลให้การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระเบียบ คล่องตัวและยุติธรรม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.. 2518 ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.. 2535
SET INDEX (ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
              เป็นดัชนีราคาหุ้นที่คำนวณโดยการถัวเฉลี่ยราคาหุ้นสามัญแบบถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหุ้นจดทะเบียน โดยใช้หุ้นสามัญจดทะเบียนทุกหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีสูตรการคำนวณ ดังนี้
    SET Index = ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ของราคาหุ้นสามัญทุกตัวในตลาดหลักทรัพย์ ณ วันปัจจุบัน x 100
                                   ค่าเฉลี่ย (ถ่วงน้ำหนัก ของราคาหุ้นสามัญทุกตัวข้างต้น ณ 30 เม.. 2518
                     = มูลค่าตลาดโดยรวมของหุ้นสามัญจดทะเบียนทุกตัว ณ วันปัจจุบัน x 100
                                   มูลค่าตลาดโดยรวมของหุ้นสามัญข้างต้น ณ 30 เม.. 2518
    SET Index แสดงมูลค่าเฉลี่ยของหุ้นสามัญทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วัน                      ปัจจุบัน เทียบกับกับมูลค่าเฉลี่ยของหุ้นดังกล่าว ณ วันฐาน (30 เมษายน 2518) ค่าเปลี่ยนแปลงของดัชนีนี้จึงแสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหุ้นสามัญทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
SET50 INDEX (ดัชนีเซท 50)
           เป็นดัชนีราคาหุ้นอีกตัวหนึ่งที่ตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้น เพื่อใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50หลักทรัพย์ ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง และการซื้อขายมีสภาพคล่องอย่างสม่ำเสมอ โดยมีสูตรและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับการคำนวณ SET Index แต่ใช้วันที่ 16 สิงหาคม 2538 เป็นวันฐาน ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะมีการพิจารณาเลือกหุ้นสามัญ 50หลักทรัพย์ เพื่อใช้ในการคำนวณ SET50 Index ทุกๆ 6 เดือน
MAI (ตลาดหลักทรัพย์ใหม่)
              MAI ย่อมาจาก Market for Alternative Investment เป็นชื่อของ "ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ซึ่งเป็นตลาดรองอีกแห่งหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ถือเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนการร่วมลงทุนของธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) และเอื้ออำนวยการแปลงสภาพจากหนี้เป็นทุนระหว่างสถาบันการเงิน หรือผู้ร่วมทุนรายใหม่ และลูกหนี้ ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มสินค้าใหม่ให้เป็นทางเลือกในการลงทุนและกระจายความเสี่ยงให้แก่ผู้ลงทุนอีกด้วย ตลาดหลักทรัพย์ใหม่เริ่มเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544
MAIN BOARD (กระดานหลัก)
               เป็นกระดานสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีปริมาณหรือจำนวนหุ้นที่ตรงตามหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยคำสั่งซื้อ/ขายหลักทรัพย์บนกระดานหลักจะต้องระบุปริมาณหุ้นที่สั่งซื้อหรือสั่งขาย เป็นจำนวนตั้งแต่ 1 หน่วยการซื้อขาย(Board Lot) หรือมากกว่า ซึ่งจะต้องเป็นจำนวนทวีคูณของ Board Lot เช่น 2, 3, 4?Board Lots เป็นต้น
MARKET CAPITALIZATION (มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด)
              MARKET CAPITALIZATION หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า MARKET CAP หมายถึง มูลค่าตามราคาตลาดโดยรวมของหลักทรัพย์จดทะเบียน ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากการนำราคาปิดของหลักทรัพย์จดทะเบียน คูณกับจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียน ปัจจุบัน การคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดรวมของหลักทรัพย์จดทะเบียน ครอบคลุมหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนท์โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้
        มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ราคาปิดของหุ้น ปริมาณหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
                                               (ไม่รวมหลักทรัพย์ Foreign เนื่องจากจะมีค่าเท่ากับหุ้นสามัญ)
Volume                                    คือ  ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์
Value                                        คือ   มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์
Sector                                                คือ  กลุ่มอุตสาหกรรม
WARRANT (ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์)
                หลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือ ในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Securities) ในจำนวน ราคา และตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนไม่เห็นประโยชน์ของการใช้สิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ตามที่ระบุ ก็สามารถเลือกไม่ใช้สิทธิได้ โดยทั่วไป บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มักจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ควบมากับหลักทรัพย์อื่น เพื่อเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการจองซื้อหุ้นสามัญออกใหม่ของบริษัทตามเงื่อนไขที่ระบุ เรียกว่า "ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญนอกจากนี้ ยังมีใบสำคัญแสดงสิทธิอีกประเภท ซึ่งผู้ออกไม่ได้เป็นบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ นั้นอ้างอิงอยู่ เรียกว่า "ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant)" โดยผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ประเภทนี้จะต้องสำรองหุ้นไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิ ซึ่งอาจมีการสำรองหุ้นไว้เต็มตามจำนวนการใช้สิทธิ หรือสำรองไว้บางส่วน ขึ้นอยู่กับประเภทและเงื่อนไขที่ระบุ
___________________

ที่มาของบทความ : กระทรวงการคลัง