วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รวมข่าวไอที


เจมาร์ทมั่นใจรายได้-กำไรปีนี้โต40%

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART กล่าวว่า บริษัทมั่นใจว่ารายได้ทั้งปีจะเติบโตราว 40 % จากปีก่อนได้เช่นเดียวกับกำไรสุทธิ เนื่องจากธุรกิจหลักจากการขายสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเปิดสาขาเพิ่มอีกประมาณ 60 สาขา จากปีก่อนที่มี 220 สาขา และมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 280 สาขาในปีนี้
ส่วนการดำเนินธุรกิจในประเทศพม่าโดยคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้ภายในกลางปีนี้ โดยเบื้องต้นมีเป้าหมายาจะเปิดให้ได้ 20 สาขาในปีแรก ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจจำหน่ายมือถือและอุปกรณ์สื่อสารที่ประเทศพม่าในระยะเวลาอีก 5 ปี และในอนาคตมีแผนลงทุนในประเทศอื่นๆเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนต่อไป





กสท เคาะวิธีประมูลทีวีดิจิทัลช่องธุรกิจ 24 ช่อง พร้อมกำหนดชำระงวดค่าไลเซ่นงวดแรก 50% ภายใน 6 ปี ยันกรอบประมูลเดิม ส.ค.-ก.ย.นี้ แจกคูปองปี57


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจโทรทัศน์ (กสท) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด กสทในวันนี้ (14 พ.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติร่าง ประกาศกสทช.ทั้ง 2 ร่างประกาศ ได้แก่ 1.ร่างประกาศฯ กสทช. เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ 2556 (อุปกรณ์แปลงสัญญาณ หรือ เซ็ท ท็อป บ๊อกซ์) 2.ร่างฯ หลักเกณฑ์วิธีและเงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิทัลประเภทบริการธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศฯ ทั้ง 2 ร่างฯ ดังกล่าว จะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกสทช.ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ และจะเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยกำหนดให้มีระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) ราว 30 วัน เพื่อประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ทั้งนี้ เบื้องต้น ร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล เป็นร่างฯ หลักเกณฑ์ วิธีและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ (ประเภทธุรกิจ 24 ช่องรายการ) โดย บอร์ด กสท.มีการปรับปรุงเพิ่มเติมตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย 1.ผู้รับใบอนุญาต (ไลเซ่น) ต้องจัดให้มีการตรวจสอบผังเนื้อหารายการ 2จะต้องจัดให้มีการรองรับเรื่องร้องเรียน 3. จัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อคนพิการ
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการการชำระงวดค่าไลเซ่น ทีวีดีจิทัลประเภทช่องธุรกิจ จะแบ่งออกเป็นการชำระเงิน เป็น 2 ส่วน โดยจำนวนเงินส่วนที่ 1 เป็นการชำระราคาขั้นต่ำ กำหนดชำระ 4 งวด ปีที่ 1 ชำระจำนวน 50% ของราคาประมูลปีที่ 2 จำนวน 30% และปีที่ 3 - 4 ปีละ 10% ส่วนที่ 2 เป็นการชำระเงินประมูลที่เพิ่มจากการแข่งขันการประมูล โดยแบ่งเป็นการชำระทั้งหมด 6 งวด ปีที่ 1-2 จำนวน 10% และปีที่ 3 - 6 จำนวน 20% โดยการชำระเงินทั้งหมดจะต้องชำระเป็นเวลา 6 ปี
ทั้งนี้ จำนวนเงินงวดที่จะต้องนำส่งเพื่อเป็นคูปองเงินสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิทัลจะสิ้นสุดในปีที่ 4 ของการชำระเงินงวด โดยผู้ชนะการประมูลไลเซ่น จะได้รับสิทธิ 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.เป็นเจ้าของช่องรายการ 2. เลือกหมายเลขช่องรายการ 3. เลือกผู้ให้บริการโครงข่าย ขณะเดียวกันการขยายโครงข่ายให้สอดคล้องกับข้อกำหนดการให้บริการโครงข่ายที่ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติอย่างน้อย ปีที่ 1 จะต้องขยายโครงข่ายไม่ต่ำกว่า 50% ของพื้นที่ และปีที่ 2 ไม่ต่ำกว่า 80%, ปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 90% และปีที่ 4 ไม่ต่ำกว่า 100%
"ผู้ประกอบการที่จะเข้ามายื่นของซองการประมูลจะต้องชำระค่าซองประมูลซอง 1 ล้านบาท ต่อช่องรายการ โดยการจ่ายเงินค่ามัดจำจำนวน 10% ของเงินประมูล หากผู้เข้าร่วมประมูลไม่ชนะการประมูล กสทช.จะคืนเงินดังกล่าวให้ และหากชนะจะนำไปหักในเงินวางมัดจำ ส่วนการแจกคูปองจะเป็นการเริ่มต้นแจกคูปองส่วนลดในปี 2557"




ค้าปลีกไอทีกระหน่ำโปรโมชัน

  นายกฤชวัฒน์ วรวานิช รองประธานบริหาร บริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ค้าปลีกสินค้าไอที ภายใต้ชื่อร้าน "บานาน่า ไอที" เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าช่วงเทศกาลเปิดเทอมเดือนพฤษภาคม นี้เป็นช่วงที่นักเรียน นักศึกษา  และผู้ปกครอง มีการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้ออุปกรณ์ไอที ไปใช้ทางการศึกษา   บริษัทจึงได้โปรโมชันต้อนรับเปิดเทอม "Back to school IT Party 2013"  เพื่อกระตุ้นตลาดในช่วงไตรมาส 2   โดยนำสินค้าส่วนหนึ่งมาจำหน่ายราคาพิเศษ อาทิ โน้ตบุ๊ก โตชิบา แซทเทิลไลท์ L840 -1052XW หน้าจอ 14 นิ้ว ใช้หน่วยประมวลผลคอร์ไอ  5  หน่วยความจำ 4 กิกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ 640 กิกะไบต์ วางจำหน่ายราคา 1.99 หมื่นบาท  จากปกติราคา 2.199 หมื่น  หรือ    แท็บเลต ซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ต 10.1 ที่วางจำหน่ายราคา 1.89หมื่นบาท  จากปกติ 2.09 หมื่นบาท   พร้อมกันนั้นยังได้จัดแคมเปญผ่อน 0% ทั้งร้าน เพื่อแบ่งเบาภาระให้ผู้ปกครอง
    "สินค้าที่คาดว่าจะมียอดการซื้อขายสูงคือ  แท็บเลต  ทั้งไอแพดมินิ  ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูง   และ แอนดรอยด์แท็บเลต ค่าย "ซัมซุง"  ที่มีการปรับลดราคากาแล็คซี่ แท็บ  และโน้ต  ลงมาเฉลี่ย 2-3พันบาท       รองลงมาคือ สมาร์ทโฟน ที่มียอดการเติบโตขึ้นเนื่องจากกระแสการเปิดให้บริการ  3 จี      ซึ่งจากการเติบโตของแท็บเลตและสมาร์ทโฟน  ก็ทำให้ยอดขายอุปกรณ์เสริมเติบโตขึ้นด้วย      ส่วนโน้ตบุ๊กนั้นยอดขายไม่ได้ลดลง  โดยยังมีความต้องการจากตลาดเข้ามาต่อเนื่อง"
    นายกฤชวัฒน์   กล่าวต่ออีกว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไม่มีผลต่อราคาสินค้าไอทีแบบมีนัยสำคัญ   เนื่องจากสินค้าไอทีมีราคาค่อนข้างต่ำ   อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผู้ผลิต มีการลดราคาสินค้าลงมา  เพื่อระบายสินค้ารุ่นเก่าออกไป ภายหลังมีสินค้าใหม่เข้ามาในตลาด
    ด้านนายณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยร่วมค้า เดอะซิสเต็มส์ จำกัด ผู้ค้าปลีกและค้าส่งสินค้าภายใต้ชื่อ " แอดไวซ์ "  กล่าวว่าขณะนี้ได้จัดโปรโมชัน เวลคัม แบ็ค ทู สคูล 0%   ขึ้นมาต้อนรับเทศกาลเปิดเทอม    พร้อมนำสินค้าไอที ทั้งโน้ตบุ๊ก แท็บเลต   สมาร์ทโฟน  กว่า 1 พันรายการมาจัดโปรโมชันจำหน่ายราคาพิเศษ  และโปรโมชันผ่อนชำระดอกเบี้ย 0%   รวมถึงนักเรียน นักศึกษา ที่แสดงบัตร จะได้รับการรับประกันความพึงพอใจ สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ภายใน 7 วัน   ซึ่งเชื่อว่าโปรโมชันดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นยอดซื้อขายสินค้าไอทีในไตรมาส 2 ได้เป็นอย่างดี
    ด้านนายสมยศ เชาวลิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจ.ไอ.บี.คอมพิวเตอร์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารร้านค้าปลีกสินค้าไอทีภายใต้ชื่อ เจ.ไอ.บี. กล่าวว่า บริษัทได้จัดงานเมกะเซลล์ 2013 ขึ้นมาที่พันธุ์ทิพย์ประตูน้ำ  โดยนำ สมาร์ทโฟน แท็บเลต โน้ตบุ๊ก และอุปกรณ์เสริมไอที  มาจัดโปรโมชันลดสูงสุด 50% ต้อนรับเปิดเทอม BACK TO SCHOOL   นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย อาทิ  ซื้อ 1 แถม 1  เมื่อซื้อโน้ตบุ๊กเอชพี รุ่น G4 14-B007 AU มูลค่า 1.09 หมื่นบาท รับฟรีแท็บเลตไอโกะ M60    หรือ ช่วงสินค้านาทีทอง   ที่นำสมาร์ทโฟน ซัมซุง กาแล็คซี่ แกรนด์  และโน้ตบุ๊ก เลอโนโว รุ่น  รุ่น G485 มาลดราคาทันที 2พันบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,843 วันที่  12-15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



เอสเอ็มอีไทยใช้คลาวด์ฯมากขึ้น


จากการศึกษาของไมโครซอฟท์พบว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 2560 บริษัทธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMB) ทั่วโลกจะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านไอทีไม่ไหว ด้วยเหตุนี้ SMB รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหม่ๆ (สตาร์ตอัพ) จึงได้หันมาใช้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง มากขึ้น ซึ่งภายในปีนี้คาดว่าจะมี SMB กว่า 6 ล้านรายทั่วโลกที่จะหันมาใช้ บริการคลาวด์แทน โดยจากการสำรวจ SMB 4 ใน 10 ราย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าตลาดคลาวด์ คอมพิวติ้ง จะมีมูลค่ารวมถึง 2.3 พันล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีมูลค่ารวม 1.9 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 22% จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับสตาร์ตอัพไทยที่มีความคิดสร้าง สรรค์และความกล้าที่จะเริ่มต้นลองสิ่งใหม่ๆ ในการสร้างโอกาสในการทำตลาดผ่านการใช้บริการด้านไอทีผ่านระบบคลาวด์ เพื่อให้บริษัทเติบโตได้อย่างมั่นคง

นายภฤศดา โกมุทบุตร Platform Strategy Manager บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าปัจจุบัน สตาร์ตอัพในเมืองไทยได้ให้ความสนใจและหันมาใช้บริการคลาวด์มากขึ้น เห็นได้จากสถิติ ของสตาร์ตอัพที่ทดลองใช้บริการคลาวด์ วินโดวส์ อาชัวร์ (Windows(r) Azure) ของไมโครซอฟท์ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีจำนวนกว่า 600 ราย ซึ่งเมื่อเทียบในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแล้ว สตาร์ตอัพเมืองไทยให้ความ สนใจมากติดเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศ ออสเตรเลีย

นอกจากนี้ ยังมีโครงการใหม่ๆ เกี่ยวกับวินโดวส์ อาชัวร์ เกิดขึ้น กว่า 100 โครง การ นับตั้งแต่มีการเปิดตัวในประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2554 ตัวอย่างเช่นบริษัท ไอทีเวิร์คส์ จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอลบนโปรแกรมที่ชื่อ อุ๊คบี (Ookbee) บนระบบคลาวด์ วินโดวส์ อาชัวร์ (Windows Azure) จนเติบโตเป็นร้าน E-bookstore ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อไม่นาน มานี้ IT Works ได้ขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศทั้งในประเทศเวียดนามและญี่ปุ่น

บริษัท Se-mantic Touch ผู้ให้บริการด้านเครื่อง มือการทำตลาดด้าน อี-คอมเมิร์ซ บนโซเชียล เน็ตเวิร์ก อย่าง เฟซบุ๊ก ที่ชื่อ Ben to Web ที่กำลังเตรียมลุยตลาดต่างประเทศ เป็นครั้งแรกก็ได้เลือกใช้โซลูชั่นที่อยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์ บนวินโดวส์ อาชัวร์ (Win dows Azure) ของไมโครซอฟท์ ต่อยอดระบบโอเพ่นซอร์ส ที่พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งช่วย ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากเดิมถ้าลงทุนในระบบเสิร์ฟเวอร์ของตนเองจะต้องใช้งบประมาณหลายล้านบาทก็เหลือเพียงเดือนละหลักพันบาท นอกจากนี้ลูกค้าต่างประเทศก็ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นโซลูชั่นระดับโลก จากไมโครซอฟท์

ล่าสุด ตัวอย่างความสำเร็จของบริษัท Computerlogy สตาร์ตอัพที่ดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการ Social Media Management Tool ซึ่งเป็นบริษัทรายแรกและรายเดียวในเมืองไทยที่เป็น Facebook Preferred Marketing Developer และยังได้นำทีมนักพัฒนาไทยไปชนะรางวัลชนะเลิศ ในงาน Face book World Hack 2012 Jakarta ที่ประเทศอินโดนีเซีย

ไมโครซอฟท์เปิดโอกาสให้เหล่านักสตาร์ตอัพไทย ร่วมเรียนรู้ถึงความโดดเด่นและประสิทธิภาพของ Windows Azure ผ่าน Azure Camp ที่จัดขึ้นเป็นประจำตลอดปี และร่วมทดลองใช้ Windows Azure ได้ฟรีนาน 90 วัน ที่ http://windowsazure.com ศึกษาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน Win dows Azure ได้ที่ www.thaicreate. com และติดตามการจัดงาน Start It Up, Power It Up ครั้งต่อไปได้ที่ http://thumb sup.in.th



วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 
ดูตลาดมือถือโลก ก่อนย้อนดูไทย ไทยกำลังเป็นประเทศที่มีโอกาสติดอันดับประเทศที่มีบริการโทรศัพท์มือถือในหลายแง่มุมได้ ในอนาคตหลังจากโอเปอเรเตอร์ไทย ได้แก่ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิสโทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ ทรูมูฟ เปิดให้บริการมือถือ ในระบบ 3จี ได้เต็มรูปแบบเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การขยายตลาดและเพิ่มคุณภาพในการให้บริการจะช่วยทำให้ตลาดโทรคมนาคมไทยมีพัฒนาการและสร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกหลายประการในอนาคต

แต่ก่อนจะถึงวันนั้นลองมาสำรวจดูข้อมูลพื้นฐานที่เป็นหนึ่งในปัจจัยของอุตสาหกรรมนี้ก่อน

โอกาสที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยจะพัฒนาให้มีตลาดขยายตัวและร้อนแรงเหมือนอีกหลายประเทศจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ?

แม้จะไม่มีสำนักวิเคราะห์จัดทำดัชนีชี้ชัดว่า "การพัฒนาอุตสาหกรรมนี้มีปัจจัยหลักเริ่มต้นที่ ขนาดและจำนวน ประชากร" เว็บไซต์ "mobi Thinking" จัดอันดับประเทศที่มีคนใช้บริการโทรศัพท์ มือถือมากที่สุดในปี 2550 จำนวน 10 อันดับดังนี้

อันดับที่ 1 เป็นประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีน มีผู้ใช้งานจำนวน 5,981 ล้านราย มีจำนวนประชา- กรจำนวน 6,973.7 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 1,593.9 ล้านราย อันดับที่ 2 เป็นประเทศอินเดีย มีผู้ใช้งานจำนวน 906.6 ล้านราย มีจำนวนประชากรจำนวน 1241 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จีและ 4จี รวมกันจำนวน 70.6 ล้านราย อันดับที่ 3 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ใช้งานจำนวน 321.7 ล้านราย มีจำนวนประชากร จำนวน 311.6 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 256 ล้านราย

อันดับ 4 ประเทศ อินโดนีเซีย มีผู้ใช้งานจำนวน 260 ล้านราย มีจำนวนประชากรจำนวน 242.3 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 47.6 ล้านราย อันดับ 5 ประเทศบราซิล มีผู้ใช้งานจำนวน 259.3 ล้านราย มีจำนวนประชากรจำนวน 196.7 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 65.5 ล้านราย อันดับ 6 ประเทศรัสเซีย มีผู้ใช้งานจำนวน 227.1 ล้านราย มีจำนวนประชากรจำนวน 141.9 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้ บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 27 ล้านราย

อันดับ 7 ประเทศญี่ปุ่น มีผู้ใช้งานจำ-นวน 128.4 ล้านราย มีจำนวนประชากรจำ-นวน 127.8 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 104.4 ล้านราย อันดับ 8 ประเทศ ปากีสถาน มีผู้ใช้งานจำนวน 120.5 ล้านราย มีจำนวนประชากรจำนวน 176.7 ล้านคน ไม่มีตัวเลขผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี อันดับ 9 ประเทศเยอรมนี มีผู้ใช้งานจำนวน 114.2 ล้านราย มีจำนวนประชากรจำนวน 81.7 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 53.2 ล้านราย อันดับสุดท้าย ประเทศไนจีเรีย มีผู้ใช้งานจำนวน 143 ล้านราย มีจำนวนประชากร จำนวน 162.5 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นผู้ใช้บริการ 3จี และ 4จี รวมกันจำนวน 10.5 ล้านราย

ตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่าจำนวน ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเกือบ 1 ใน 5 อยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เพราะมีจำนวนคนใช้บริการทั่วโลกจำนวน 5,981 ล้านคน และหากวิเคราะห์ตัวเลขลึกลงไปจะพบว่าใน 10 ประเทศข้างต้นมี 5 ประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนประชากรของประเทศ ได้แก่ รัสเซีย มีคนใช้โทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบกับประชากรมากถึง 160% กล่าวคือมีคนใช้โทรศัพท์มือถือมาก กว่าจำนวนประชากรเกือบครึ่งประเทศ รองลงมาเป็นประเทศเยอรมนี มีคนใช้โทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบกับประชากรมากถึง 139.7% ถัดมาเป็นประเทศบราซิล มีคนใช้โทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบกับประชากรมากถึง 131.8% ต่อมาเป็นประเทศอินโดนีเซีย มีคนใช้โทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบกับประชากรมากถึง 107.3% สุดท้ายเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา มีคนใช้โทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบกับประชากรมากถึง 103.3% ส่วนประเทศที่เหลืออีก 5 ประเทศมีสัดส่วนคนใช้โทรศัพท์มือถือน้อยกว่าจำนวนประชากร

หากย้อนกลับมาดูที่ไทยพบว่า มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากกว่าจำนวนประชากร ดังนั้นการเปิดให้บริการ 3จี ของไทยจะพัฒนาไปในทิศทางที่เน้นการปรับเปลี่ยนการใช้งานจากระบบ 2จีเป็น 3จี แทนมากกว่าการขยายจำนวนผู้ใช้บริการ การพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอาจมีโอกาสที่จะพัฒนาไปในทิศทางที่คล้ายคลึงกับประเทศชั้นนำในโลกได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าโอเปอเรเตอร์ไทย ทั้งสามค่ายจะวางยุทธศาสตร์การพัฒนาไปในทิศทางใด ต้องให้เวลาอีกสัก 2-3 เดือนถึงมองเห็นทิศทางที่ชัดเจน


ไอร์แลนด์เปิดให้บริการ 4จี รองรับโมบายอินเตอร์เน็ต
อีริคสันเดินหน้าสร้างเครือข่าย LTE ในประเทศไอร์แลนด์ โดยเดินหน้าสร้างโครงข่ายให้กับผู้ให้บริการ Siminn ในประเทศไอร์แลนด์ ผู้ใช้บริการเครือข่ายเทคโนโลยี LTE ให้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบ 4G จะครอบคลุมและทั่วถึง ทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองและในพื้นที่ที่ห่างไกล ความร่วมมือนี้เป็นการให้บริการในการเข้าถึงตัวโมบายบรอดแบนด์เพื่อการเชื่อมต่อในทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งการเปิดประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคในไอร์แลนด์

โดย Siminn เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในประเทศไอร์แลนด์ ได้ร่วมมือกับอีริคสันเพื่อปรับปรุงอัพเกรดเครือข่าย 3G และ 4G เพื่อให้ผู้ใช้บริการ ได้รับประสบการณ์ของอินเตอร์เน็ตความ เร็วสูง รวมถึงผลประโยชน์จากคุณภาพ ของเครือข่ายที่ได้รับการปรับปรุงที่ดีขึ้นภายใต้ข้อตกลงในระยะเวลา 5 ปี อีริค-สันจะเป็นผู้ติดตั้งและดูแลเครือข่าย 4G/3G/2G

นายซาร์เวียร์ ไทเรนชันต์ ประธานกรรมการบริหารของ Siminn กล่าวถึงสาเหตุที่เราต้องพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย 3G ควบคู่ไปกับ 4G นั่นเป็นเพราะบริษัทมองว่าผู้บริโภคในภาพรวมไม่ได้มีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถรองรับ 4G ใช้งานได้ครบทุกคน การที่จะลงทุนพัฒนาโครงข่ายให้บริการจึงต้องใช้การผสมผสานโดยดูจากอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคนำมาใช้งานเป็นหลัก

ดังนั้น การพัฒนาด้านการบริการของบริษัทนั้นจะไม่เป็นการบังคับให้ผู้บริโภคซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพงเสมอไปเป้าหมายของบริษัทอยู่ที่ต้องการนำเสนอ บริการเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตความ เร็วสูง

ทั้งนี้ Siminn ยังคงให้ความมุ่งมั่นในการสร้างและขยายเครือข่าย 4G ต่อไปเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ครอบคลุมไปทั่วประเทศ โดยข้อตกลงนี้ได้ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ยาวนานระหว่าง อีริคสันและ Siminn นื้ทำให้บริษัทมีความมั่นใจว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ผู้ใช้บริการจะได้รับประสบการณ์ที่ดีของโมบายบรอดแบรนด์ที่สามารถเชื่อมต่อในทุกที่ ทุกเวลา

อีริคสันนั้นเป็นผู้นำตลาดในด้านการวางระบบบนเครือข่ายโมบายบรอดแบนด์ในระดับโลก โดยมีผู้ให้บริการเทเลคอมทั่วโลกให้การยอมรับ ดังนั้นเราจึงมั่นใจว่า TSiminn จะเป็นผู้ให้บริการที่ดีที่สุดอีกรายหนึ่งที่สามารถมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคในไอร์แลนด์เช่นกัน

บริษัท Siminn เป็นบริษัทผู้ให้บริการเทเลคอมที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในไอร์แลนด์ โดยประชากรโดยเฉลี่ยในประเทศนี้นั้นมีอยู่ประมาณ 350,000 คน ทั้งนี้บริษัท Siminn เป็นผู้นำธุรกิจในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมแบบไร้สาย การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายคุณภาพ 3G/2G ที่ครอบคลุมกว่าร้อยละ 98 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรในไอร์แลนด์ รวมทั้งครอบคลุมทั้งในพื้นที่ที่ห่างไกล

การลงทุนพัฒนาโครงข่ายให้บริการ มือถือระบบ 4จี เป็นบริการที่จะทำให้การเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือบนโลกออนไลน์ทำได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
คนดูวิดีโอทุกที่ทุกเวลามากขึ้น อะโดบี ซิสเต็มส์ ได้เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการศึกษาเรื่องการดูวิดีโอบนโมบายล์และโฆษณาออนไลน์ โดยข้อมูลสำคัญในรายงานดัชนีดิจิตอล (Digital Index) แสดงให้เห็นว่า "การดูทีวีทุกที่ทุกเวลา" (TV Everywhere) เพิ่มขึ้น 12 เท่า โดยยอด ดูวิดีโอบนอุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้นถึง 300% ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กดูวิดีโอมากกว่าเนื้อหาที่ไม่ใช่วิดีโอมากถึงสองเท่า และโฆษณาก่อนดูวิดีโอ (Pre-Roll Ads) คิดเป็นสัดส่วน 82 เปอร์เซ็นต์ของโฆษณาวิดีโอทั้งหมดสำหรับคอนเทนต์แบบยาว (long-format content)

นายเจเรมี่ เฮลแฟนด์ รองประธาน ฝ่ายวิดีโอของอะโดบี กล่าวว่า วิดีโอคอนเทนต์และโฆษณาออนไลน์กำลังอยู่ในช่วงของจุดเปลี่ยนที่สำคัญ การรับชมวิดีโอออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการโทรทัศน์ กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยผู้บริโภคคาดหวังว่าจะสามารถรับชมเนื้อ หาที่โปรดปรานบนทุกหน้าจอที่มีการเชื่อม ต่ออินเตอร์เน็ต

ข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูเนื้อหาวิดีโอดังกล่าวอ้างอิงจากการ รับชมวิดีโอเกือบ 20,000 ล้านครั้ง รวมถึงโฆษณาราว 10,000 ล้านชิ้นที่นำเสนอโดยลูกค้าของอะโดบี และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการโพสต์บนเฟซบุ๊กกว่า 450 ล้านรายการในปี 2555

ผลการศึกษามีประเด็นสำคัญดังนี้ : การรับชม "ทีวีทุกที่ทุกเวลา" (TV Everywhere) ปี 2555 เป็นช่วงเวลาของ การรับชมทีวีทุกที่ทุกเวลา (TV Every where) ในสหรัฐฯ โดยจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้น 12 เท่าในปี 2555 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากมีการถ่ายทอดรายการสำคัญๆ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน, การแข่งขันบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย, การแข่งขันฟุตบอล UEFA Euro 2012 และการแข่งขันรอบเพลย์ออฟ NBA

การรับชมวิดีโอโดยแยกตามอุปกรณ์การดูวิดีโอบนโมบายล์เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเพิ่ม ขึ้นจาก 3 เปอร์เซ็นต์เป็น 10.4 เปอร์เซ็นต์ โดย 89.6 เปอร์เซ็นต์ ของการดูวิดีโอยังคงอยู่บนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป เมื่อพิจารณาโดยแยกตามอุปกรณ์พกพา พบว่าแท็บเล็ตมีอัตราการเติบโตรวดเร็วกว่าในแง่ของการดูวิดีโอบนโมบายล์

วันเสาร์-อาทิตย์เป็นช่วงเวลายอดนิยมที่มีการรับชมวิดีโอบนโมบายล์บนแท็บเล็ต โดยในวันอาทิตย์มีการดูวิดีโอบนแท็บเล็ตคิดเป็นสัดส่วน 17 เปอร์เซ็นต์ การดูวิดีโอบนโมบายล์จะกระจายไปทั่วทุกวันตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมียอดดูในวันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ที่ 16 เปอร์เซ็นต์

โซเชียลมีเดียและวิดีโอผู้ใช้เฟซบุ๊ก มีแนวโน้มที่จะแสดงความเห็น แชร์ หรือถูกใจ เนื้อหาวิดีโอมากกว่าเนื้อหาอื่นๆ ที่ไม่ใช่วิดีโอมากกว่าสองเท่า และสำหรับแบรนด์ต่างๆ การใช้เนื้อหาวิดีโอบนเฟซบุ๊กจะช่วย กระตุ้นการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ทวิตเตอร์มีแนวโน้มที่จะอ้างถึงเนื้อหาวิดีโอบนเว็บไซต์ (media site) มากกว่าเนื้อหา คอนเทนต์ประเภทอื่นๆ ถึงสามเท่า

การดูวิดีโอแยกตามประเภทเนื้อหาโดยเฉลี่ยแล้วสำหรับเว็บไซต์มีรายการทีวีหรือจะมีอัตราการรับชมจนจบมากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่มีรายการทีวี โดยแท็บเล็ตมีการเติบโตรวดเร็วที่สุด การรับชมวิดีโอบนอุปกรณ์พกพามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงวันที่มีการแข่งขันกีฬารายการพิเศษ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และการแข่งขันบาสเกตบอล 2012 NCAA Tournament

อัตราการรับชมโฆษณาจนจบและอัตราการคลิกผ่านโฆษณาที่คั่นกลางวิดีโอ (Mid-Roll Ads) มีอัตราการรับชมจนจบสูงสุดเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ในปี 2555 ขณะที่โฆษณาหลังจบวิดีโอ (Post-Roll Ads) มีอัตราการคลิกผ่าน (Click-Through) มากกว่าสามเท่า เมื่อเทียบกับโฆษณาก่อนชมวิดีโอและโฆษณาคั่นกลางวิดีโอ ทั้งนี้เพราะผู้ชมเต็มใจที่จะตอบสนองต่อข้อ ความกระตุ้นในโฆษณามากขึ้นหลังจากที่รับชมวิดีโอเสร็จแล้ว

แม้ว่าโฆษณาที่คั่นกลางวิดีโอและโฆษณาหลังจบวิดีโอมีอัตราการรับชมจนจบสูง แต่โฆษณาก่อนชมวิดีโอยังคงครอง สัดส่วนสูงสุดที่ 82% สำหรับเนื้อหาคอนเทนต์ที่ยาวกว่าสองนาที ทั้งนี้เนื้อหาที่ยาว กว่าสองนาทีจะมีอัตราการชมโฆษณาจนจบและอัตราการคลิกผ่านสูงกว่าเมื่อเทียบ กับเนื้อหาที่มีความยาวไม่ถึงสองนาที




เอชพี บุกธุรกิจสตอเรจชูจุดเด่นลดค่าใช้จ่าย


บิ๊กดาต้า ต้นเหตุธุรกิจสตอเรจปรับตัว เอชพี ประกาศสตอเรจยุคใหม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายและค่าสาธารณูปโภค ลดขีดจำกัดในด้านการใช้งานบริหารการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเส้นพื้นที่ใช้งานมาพร้อมการเชื่อมต่อและใช้งานได้ทันเหตุการณ์

นายวิทยา ว่องวชิราพาณิชย์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจ เอ็นเทอร์ไพรส์ กรุ๊ป บริษัท ฮิวเลตต์ - แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงปริมาณข้อมูลในปัจจุบันว่าการใช้งานดาต้ามีใช้งานหลายรูปแบบหากแยกแยะตามสิ่งที่ใช้งานประกอบด้วย ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง มีการใช้งานทวิตเตอร์จำนวน 98,000 ข้อความ มีการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจำนวน 23,148 ครั้ง มีคนเล่นเกมแองกรี้ เบิร์ดจำนวน 208,333 นาที

ด้วยปริมาณข้อมูลมากมายเช่นนี้ทำให้เป็นการยากที่จะคาดการณ์เพื่อเตรียมทรัพยากรที่จะนำมาใช้งานเช่น ปริมาณการเชื่อมต่อข้อมูล และการเตรียม พื้นที่จัดเก็บข้อมูลและความเร็วอินเตอร์เน็ตในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างทาง ลักษณะการใช้งานจึงมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ธุรกิจสตอเรจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

นายวิทยากล่าวว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจสตอเรจใหม่ต้องตอบสนองความต้องการใช้งานการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ 4 ด้าน ด้านแรกจะต้องสามารถขยาย และใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว เช่น มีการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ ชนิดต่างๆ หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่หลากหลายได้ ข้อสอง ต้องมีระบบบริหารจัดการทั้งพื้นที่และการเชื่อมต่อ เช่น เชื่อมต่อได้แบบอัตโนมัติ ข้อสาม ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง สุดท้าย มีประสิทธิภาพ เช่นช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือใช้งานระบบได้แบบประสานกันไร้รอยต่อ

เอชพีมีประสบการณ์และมีการใช้งานสตอเรจของเอชพี ในทั่วโลก ยกตัวอย่างองค์กรที่ใช้ระบบสตอเรจของเอชพีจนได้ผลลัพธ์ออกมาเช่น บริษัท Terramark ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์และระบบโครงข่ายข้อมูลในสหรัฐอเมริกา ทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยลดค่าใช้จ่ายในการเช่าพื่นที่จัดเก็บข้อมูลได้มากเกือบ 5 เท่า จากเดิมใช้พื้นที่เก็บข้อมูลขนาด 532 เทราไบต์ลงเหลือ 105 เทราไบต์ และลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าลงมูลค่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐในระยเวลา 4 ปี

สิ่งที่เอชพีนำเสนอประกอบด้วยหลักการ 4 ข้อได้แก่ ข้อแรก การจัดเก็บข้อมูล มีการตอบสนองการทำงานที่เร่งด่วนและใช้งานกันอย่างหลากหลายรูปแบบรวมถึงมีการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยระบบจัดเก็บข้อมูลจะต้องทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ข้อสอง ทำให้เหมาะสม บริหารพื้นที่และการจัดเก็บได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ข้อสาม การบริหารจัดการทำได้แบบรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และลดต้นทุนในการบริหารจัดการได้ ข้อสุดท้าย มีระบบป้องกันข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ เช่น ระบบแบ็กอัพข้อมูลและการเรียกคืนข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็วถึงแม้จะมีปริมาณข้อมูลที่มากมายก็ตาม

โลกออนไลน์เป็นโลกที่เปิดกว้าง มีการใช้งานเกิดขึ้นจำนวนมากทั้งในด้านรูปแบบและปริมาณการใช้งาน ข้อสำคัญการใช้งานเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะมีการลดความยุ่งยากในการใช้อุปกรณ์ไอที การสั่งการ การติดตั้งรวมถึงการนำเอามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันไม่ยุ่งยากอีก ทำให้อุปกรณ์ไอทีได้รับความนิยมมีปริมาณการใช้งานเพิ่มมากขึ้น

ธุรกิจสตอเรจจึงต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะทุกวันนี้อุปกรณ์ไอทีมีรูปแบบที่หลากหลาย การใช้งานจึงต้องปรับเปลี่ยนไปตามอุปกรณ์ เอชพีจึงชูกลยุทธ์ "Convergence Infrastructure" เป็นการรองรับอุปกรณ์ใช้งานและรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันได้พร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ตาม ปริมาณข้อมูลที่มาก มายเช่นทุกวันนี้ทำให้ธุรกิจไอทีจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกันแบบยกเครื่อง และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้รองรับการใช้งานซึ่งแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง