วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข่าว THCOM และ INTUCH เรื่องสัดส่วนการถือหุ้น



"หมอเลี้ยบ"แจงทุกปม ปัดเอื้อ�"ชินคอร์ป"

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13:00:34 น.  หมายเหตุ - เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้สัมภาษณ์กรณีถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติ 6 ต่อ 2 ชี้มูลความผิด สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไอซีทีกับพวก กรณีอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยมิชอบ มีมูลความผิดทางอาญา มาตรา 157 โดยนายไกรสร พรสุธี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงไอซีที เป็นผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ เป็นผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 อีกด้วยนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลีข้อเท็จจริงของคดีดังกล่าวที่เกี่ยวข้องมีหลายประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก กิจการดาวเทียมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังประสบภัยพิบัติ หากนอกเหนือไปจากกิจการโทรคมนาคมหรือการแพร่ภาพกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ต่างๆ แล้ว ดาวเทียมที่ชื่อว่า ไอพีสตาร์ ยังเป็นดาวเทียมที่สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ด้วย จะเห็นว่าในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดสึนามิ โครงข่ายโทรคมนาคมภาคพื้นดินถูกทำลาย ไม่สามารถใช้การได้ การติดต่อสื่อสารทำไม่ได้เลย รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ขอความช่วยเหลือสนับสนุนกิจการการสื่อสารจากดาวเทียมไอพีสตาร์ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถทำการสื่อสารในระหว่างการเกิดภัยพิบัติได้ นี่คือประโยชน์ และแสดงให้เห็นว่ากิจการดาวเทียมมีความสำคัญมากประเด็นถัดมา กิจการดาวเทียมไม่ใช่ธุรกิจที่แข่งขันกันเฉพาะภายในประเทศ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ บางคนอาจจะบอกว่าดาวเทียมเป็นธุรกิจผูกขาด ความจริงไม่ใช่ เพราะการให้บริการดาวเทียมไม่เหมือนกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่พอพ้นอาณาเขตของประเทศไทยไปแล้วจะต้องใช้โครงข่ายของประเทศอื่น เนื่องจากสถานีพื้นดินจะตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ดาวเทียมไม่ใช่ลักษณะนั้น เพราะดาวเทียมลอยอยู่บนอวกาศสามารถให้บริการนอกพรมแดนได้หมดสมมุติว่า การให้สัมปทานกับ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จะทำให้บริษัทดังกล่าวผูกขาดอยู่เพียงรายเดียว ความจริงมันไม่ใช่แบบนั้น เพราะจะต้องแข่งขันในเรื่องวงโคจรของดาวเทียม และแข่งขันในเรื่องของการให้บริการด้วย ดังนั้น การให้บริการดาวเทียมจึงเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศด้วยตอนประเทศไทยเริ่มต้นที่จะมีเรื่องโครงการในการให้บริการเรื่องดาวเทียมนั้น สัญญาในการให้บริการเป็นสัญญาประเภท Build Transfer Operation (BTO) กล่าวคือ เมื่อมีการยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน จะต้องโอนดาวเทียมให้กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ทันที ฉะนั้น มีบางคนออกมาพูดว่าดาวเทียมเป็นของต่างชาติก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ เพราะในขณะนี้ดาวเทียมทุกดาวเป็นของกระทรวงไอซีทีโดยอัตโนมัติตามสัญญาอยู่แล้ว โดยที่กระทรวงไอซีทีไม่ต้องลงทุนแต่ให้สัมปทานบริษัทเอกชนเป็นผู้ลงทุนแทน กระทรวงไอซีทีเป็นผู้รับส่วนแบ่งรายได้ 20.5 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ไม่ได้หักค่าใช้จ่ายด้วยเรื่องที่เป็นคดีอยู่ในขณะนี้ บริษัทแม่ถือหุ้นคือ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต้องถือหุ้นบริษัทลูก คือ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 51 เปอร์เซ็นต์ แต่บริษัทแม่มาขอลดสัดส่วนการถือหุ้นลง เป็นสัญญาที่แตกต่างกับสัญญาอื่น ในตอนนั้นได้ถามผู้ที่เกี่ยวข้องว่าทำไมถึงมีข้อกำหนดลักษณะนี้ ได้รับการบรรยายสรุปว่า เหตุที่ต้องมีข้อกำหนดในลักษณะดังกล่าวเพราะว่าในขณะที่มีการให้สัมปทานนั้น เรื่องกิจการดาวเทียมอาจจะเป็นกิจการที่ยังไม่มีความมั่นใจว่าจะคืนทุนได้เร็วแค่ไหน ฉะนั้น เอกชนอาจจะบิดพลิ้วไม่ยอมลงทุนทำตามสัญญาก็ได้ จึงออกข้อกำหนดบังคับให้บริษัทแม่จะต้องถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะเป็นพันธสัญญาว่า ภายหลังจากการรับสัมปทานไปแล้วจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยเคร่งครัดแต่ในระหว่างการจะดำเนินการยิงดาวเทียมชื่อว่า ไอพีสตาร์ เป็นโครงการที่ใหญ่มาก เขาจึงอยากจะระดมทุนโดยการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จึงมาเสนอปรับข้อกำหนดดังกล่าวให้บริษัทแม่ถือหุ้นในบริษัทลูกเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ โดยยังมีพันธสัญญาว่าแม้จะลดหุ้นดังกล่าวแล้ว พันธสัญญาเดิมที่เคยตกลงไว้ก็จะยืนยันทำตามข้อกำหนดเดิมทุกประการ เรื่องดังกล่าวเสนอมาที่กระทรวงไอซีที ในสมัยที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีอยู่ ทางกระทรวงได้พิจารณาแล้ว และได้ส่งเรื่องไปที่สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็น ก็ได้ให้ความเห็นว่า ให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทางกระทรวงก็ได้ส่งเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก่อนจะส่งเรื่องกลับมาว่า เรื่องนี้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเข้า ครม. จึงต้องส่งเรื่องไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้ง และมีความเห็นตอบกลับมาว่า หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะเข้าสู่ ครม. ก็ให้เป็นอำนาจของกระทรวงไอซีทีว่าจะดำเนินการแก้ไขสัญญาดังกล่าวได้ กระทรวงไอซีทีจึงได้ดำเนินการ ซึ่งกระบวนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวนั้นใช้เวลาถึง 10 เดือน เพราะเราต้องทำอย่างรอบคอบอย่างไรก็ตาม ภายหลังจากรัฐประหารในปี 2549 มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมา ว่าการแก้สัมปทานดังกล่าวเป็นการเอื้อให้เอกชน แต่ผมคิดว่าข้อกล่าวหาตรงนี้เวลาได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า โครงการดังกล่าวเอกชนได้ประโยชน์และรัฐก็ได้ประโยชน์ด้วยหรือได้มากกว่าเอกชนด้วยซ้ำ เพราะทำให้เอกชนระดมทุนยิงดาวเทียมดวงใหม่และทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ มติของ ป.ป.ช.ดังกล่าวจะนำไปสู่การพิจารณาคดีในอนาคต หากการพิจารณาในการปรับลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นทำไม่ได้และมีความผิดและเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะต่อไปการตัดสินใจปรับเปลี่ยนสิ่งใดเพื่อทำให้เอกชนมีความเข้มแข็งระหว่างนั้นทำไม่ได้ และความเสียหายก็จะกลับมาสู่รัฐเอง เพราะเอกชนไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างนั้นไปทันทีทั้งนี้ ในเรื่องกระบวนการดำเนินการฟ้องนั้น ทาง ป.ป.ช.ก็จะส่งเรื่องไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาว่าจะยื่นฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ แต่อย่างที่ผมเรียนไปแล้วว่า ขั้นตอนในระหว่างการพิจารณาปรับลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นได้มีการปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด 2-3 ครั้ง จึงทราบเรื่องดังกล่าวดีอยู่แล้ว ดังนั้น จึงอยู่ที่ดุลพินิจของทางอัยการสูง สุดว่าจะฟ้องหรือไม่ แต่หากไม่ฟ้อง ป.ป.ช.ก็มีอำนาจฟ้องเองได้อยู่ดี ผมก็จะเตรียมการต่อสู้กระบวนการต่อไป โดยจะนำข้อมูลข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้งหมดไปชี้แจงเช่นกัน ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ตลอดชีวิตการทำงานราชการ ผมทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตมาตลอดภายใต้ความถูกต้อง ฉะนั้นเมื่อ ป.ป.ช.มีผลตัดสินเช่นนี้ ส่งผลให้ต้องออกจากราชการ จึงรู้สึกรับไม่ได้จากผลตัดสินดังกล่าว ในประเด็นที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดมานั้น ขอยืนยันว่าได้กระทำถูกต้องตามกระบวนการทุกอย่างด้วยความรอบคอบ โดยข้อเท็จจริงในเวลานั้น บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือมาสอบถามเรื่องข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้ในการแก้ไขสัดส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งกระทรวงไอซีทีเวลานั้น ได้พิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้านโดยเฉพาะในประเด็นที่บริษัทไทยคม ที่มี บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ยังเป็นบริษัทของคนไทยอยู่หรือไม่ อีกทั้งในเวลานั้นกระทรวงไอซีทียังได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ ครม.พิจารณา แต่ทางเลขาธิการ ครม. มีหนังสือตอบกลับมาว่าเรื่องดังกล่าวไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสนอเข้า ครม.และอัยการสูงสุดพิจารณา โดยได้ตอบกลับมายังกระทรวงไอซีทีว่าการพิจารณาดังกล่าวไม่ได้ทำให้ประเทศชาติเสียหายแต่อย่างใด และให้เป็นดุลพินิจของกระทรวงไอซีที ทางกระทรวงไอซีทีจึงได้ลงนามอนุมัติแก้ไขสัญญาให้แก่บริษัทไทยคมกระบวนการทั้งหมด ที่ ป.ป.ช.ตัดสินว่า ผมทุจริตในมาตรา 157 คือการจงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งคำว่าจงใจ หมายถึง รู้ทั้งรู้ว่าผิดยังดำเนินการอยู่ แต่กระบวนการดังกล่าวผ่านมานานแล้วกว่า 10 ปี และไม่มีอะไรเสียหาย จากกระบวนการแก้สัญญานี้ผมเป็นเพียงกระบวนการทางผ่าน แต่กลับโดนมาตรา 157 จึงมองว่าไม่ยุติธรรม ดังนั้น อยากขอบารมีศาล ช่วยเมตตาคุ้มครอง เพราะที่สุดแล้วผมเชื่อว่าประเทศนี้ยังคงมีความยุติธรรมอยู่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพสำหรับประเด็นที่ ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงไอซีที เป็น 1 ในผู้ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในครั้งนี้ ขอไม่แสดงความเห็นแต่อย่างใด เพราะเบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงาน หรือเอกสารที่เป็นข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวจากทาง ป.ป.ช. หากทาง ป.ป.ช.มีมติและส่งรายละเอียดมายังกระทรวงไอซีทีแล้ว กระทรวงไอซีทีก็จะนำมาพิจารณาในขั้นตอนของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.251 อไป โดยจะยึดความถูกต้องเป็นหลัก




19/7/2013

INTUCH-THCOMเย้ยมติป.ป.ช.เก็งหุ้นเล็กผลงานเด่นแทน
INTUCH-THCOM เมินมติ ป.ป.ช. ชี้การแก้ไขสัดส่วนถือหุ้น THCOM จาก 51% เหลือ 41% ผิด กูรูมองงานนี้ยาวกว่าจะตัดสิน แต่ประเมินแนวทางแก้ไขไว้ 2 ทางคือ ซื้อหุ้นในตลาดคืน และให้ THCOM ออกหุ้นเพิ่มทุน PP แววกระทบเงินปันผล INTUCH ได้ แต่ THCOM พื้นฐานยังแกร่ง แนะ "ถือ" ทั้งคู่


ข่าวเก่า

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556 09:34:45 น. 
บล.เกียรตินาคิน ระบุในบทวิเคราะห์ฯว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติ 6 ต่อ 2 ชี้มูลความผิด น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว ICT สมัยรัฐบาลนายกทักษิณ ที่อนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน THCOM เรื่องให้ INTUCH ลดสัดส่วนถือหุ้นจาก 51% เป็น 41% รวมทั้งกล่าวโทษผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ และปลัดฯ ICT สมัยนั้นที่ได้เสนอความเห็นให้มีการอนุมัติแก้ไขสัญญาดังกล่าว โดยขั้นตอนต่อไปจะส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง โดยมองว่าประเด็นนี้ไม่กระทบปัจจัยพื้นฐานบมจ.ไทยคม(THCOM) ส่วนบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น(INTUCH) อาจกระทบการจ่ายเงินปันผล 

ส่วนบล.บัวหลวง ระบุ THCOM เจอ sentiment ลบจากข่าว ป.ป.ช.ชี้มูล อดีต รมว. ICT แก้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมฯโดยมิชอบ 

08-07-10
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานเจ้าหน้าที่คณะผู้บริหาร บมจ.ไทยคม(THCOM) กล่าวว่า บริษัทมั่นใจว่าการยิงดาวเทียมไอพีสตาร์และการดำเนินการทุกขั้นตอนของบริษัท เป็นไปอย่างถูกต้องตามสัญญาสัมปทาน และได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัดทุกครั้ง เชื่อว่าปัญหาที่ถูกตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหลังจากศาลฎีกาฯมีคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ยังน่าจะเจรจากันได้ และไม่น่าจะต้องไปถึงขั้นอนุญาโตตุลาการ
         
          ทั้งนี้ จากรายงานข่าวที่ระบุว่าการตรวจสอบของคณะกรรมการตามมาตรา 22 พบว่า THCOM ทำไม่ถูกต้อง 3 ประเด็น ได้แก่ การนำเงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศ เพราะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวให้กับกระทรวงไอซีที ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทาน
         
          และไอพีสตาร์ไม่ถือว่าเป็นดาวเทียมสำรองของไทยคม 3 เพราะไทยคม 3 มีวัตถุประสงค์เน้นการให้บริการในประเทศ ส่งผลให้ไทยคมจะต้องยิงดาวเทียมสำรองดาวเทียมไทยคม 3 ใหม่ รวมทั้ง การลดสัดส่วนถือหุ้นไทยคมของ SHIN เหลือ 41% จาก 51% ต้องทำให้ถูกตามขั้นตอน โดยให้เสนอต่อ ครม. พิจารณาว่าเห็นชอบหรือไม่ ถ้าไม่เห็นชอบ SHIN ต้องกลับมาถือหุ้นตามสัดส่วนเดิม
         
          นายอารักษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทยังไม่ได้รับหนังสือชี้แจงความผิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งหากได้รับหนังสือและบริษัทโต้แย้งเมื่อความเห็นไม่ตรงกันตามขั้นตอน เพราะบริษัทยืนยันว่าการที่ยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ทดแทนไทยคม 3 น่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐมากกว่า เพราะประสิทธิภาพดีกว่า และช่องสัญญาณมากว่า ซึ่งดาวเทียมนี้ถือเป็นทรัพย์สินของรัฐบาล
         
          ส่วนเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของ SHIN นั้นหากเห็นว่าควรถือหุ้นที่ 51% บริษัทก็พร้อมดำเนินการ เพราะทาง SHIN มีความสามารถในการซื้อหุ้นกลับเข้ามาอีก 10% แน่นอน และในทางกลับกัน จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เคยได้รับการติดต่อจากเทมาเส็กหรือทาง SHIN ว่าต้องการขายหุ้น THCOM ออกไปแต่อย่างใด
         
          "ชินคอร์ป  ยืนยันว่าจะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 40% ส่วนการที่รัฐต้องการซื้อคืน เราไม่เคยคุยกับเทมาเส็คเรื่องขายหุ้นไม่เคยคุยหรือได้รับคำสั่งจากเทมาเส็ก ซึ่งบริษัทไทยคมยังบริหารโดยคนไทย และยืนยันการคงสัดส่วนการถือหุ้น และหากต้องการให้เพิ่มหุ้นเป็นกว่า 51% บริษัทก็มีความสามารถทางการเงินเพียงพอ"นายอารักษ์ กล่าว

16/02/10 12:42:27 »

กระฉ่อนขายTHCOM! สิงคโปร์ผวายึดทรัพย์ 

SHINลั่นไม่คิดขายลูกกิน "เทมาเสก"ไม่เปลี่ยนนโยบาย

กระฉ่อนตลาด"เทมาเสก"เตรียมขายหุ้น THCOM ผวาศาลสั่งยึดทรัพย์ทักษิณ มีผลกระทบต่อกิจการดาวเทียมไทย โดยเฉพาะสิทธิภาษีที่เคยได้สมัยรัฐบาลทักษิณ ทำให้"สิงคโปร์"ตัดใจขายทิ้งดีกว่า แถมมีข่าว"สามารถ"เข้าคิวรอซื้ออยู่แล้ว ขณะที่ SHIN ยันเสียงแข็งไม่คิดขายลูกกิน ระบุ"เทมาเสก"คงนโยบายทิศทางดำเนินงานเหมือนเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้หุ้นบริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน)หรือ THCOM กำลังได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากข้อกล่าวหาคดียึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงการกล่าวหารัฐบาลทักษิณ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ THCOM เป็นเวลา 8 ปีสำหรับการดำเนินงานบริษัทในต่างประเทศ และเป็นนโยบายที่อัยการได้อ้างว่า ทำให้รัฐสูญเสียรายได้กว่า 16,000 ล้านบาท

โดยการตัดสินคดียึดทรัพย์ จะมีขึ้นวันที่ 26 ก.พ.นี้ และจากความเห็นนักวิเคราะห์หลายๆคน ยังไม่มีความชัดเจนว่า หากมีคำตัดสินว่ามีความผิด จะมีผลกระทบทางกฏหมายต่อข้อตกลงสัมปทานและฐานะการเงิน THCOM อย่างไร

ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว มีรายงานจากสื่อต่างๆว่า เทมาเซคอาจพยายามที่จะขายหุ้นที่ถือใน THCOM ประมาณ 41% ผ่านบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือSHIN

พร้อมกับข่าวลือในตลาดหุ้นว่า บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือSAMART อาจสนใจซื้อหุ้นแต่ไม่ได้บอกว่าจะเป็นไปได้หรือไม่หรือจะมีธุรกรรมนี้โดยทันที

จากการประเมินของบริษัท ยูโรคอนซัลต์ฯ ในปารีส ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคม รายได้คงที่จากบริการดาวเทียมของไทยคม คาดว่าจะชงักงันหรือลดลงเล็กน้อยในปี 2552 เพราะว่าทั้งดาวเทียมไทยคม 1 และ 2 กำลังจะหมดอายุลงและเร็วๆนี้ บริษัทจะไม่สามารถที่จะให้บริการลูกค้าที่มีอยู่ได้

นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ  SHIN  และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM เปิดเผยถึงกรณีมีกระแสข่าวลือว่ากลุ่มเทมาเสค มีคำสั่งให้ SHIN ขายธุรกิจทั้งหมดในเครือ THCOM เนื่องจากเป็นบริษัทที่ไม่มีกำไร และสร้างรายได้ให้ต่ำกว่าบริษัทอื่นๆ  อย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)หรือ ADVANC นั้นว่า เรื่องดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ตนยังไม่ได้รับคำสั่ง หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารจากผู้ถือหุ้นใหญ่ ขณะนี้ธุรกิจในเครือทั้งหมดของ SHIN จึงดำเนินงานตามปกติ

"ไม่รู้เหมือนกันว่ากระแสข่าวเรื่องดังกล่าว ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็เห็นมีการพูดกันมานานแล้ว ตั้งแต่ปีก่อนในความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าข่าวนี้ไม่มีความจริงจริงปนอยู่เลย เพราะผมเองต้องเป็นคนรู้ข้อมูลดีที่สุด แต่ถึงขณะนี้ยืนยันได้  100% ว่าทิศทางการบริหาร และไดเรกชั่นต่างๆของ SHIN และบริษัทลูกไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน"

สำหรับทางการดำเนินงาน  SHIN นั้น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บล.กิมเอ็ง กล่าวว่า ประมาณการกำไรปกติ SHIN ที่ 1,470 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2552 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า โดยคาดว่าธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ADVANC จะทำกำไรได้ดี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคท่องเที่ยว  การเติบโตต่อเนื่องของบริการเสริม และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี

ในทางกลับกันคาดว่าผลประกอบการของธุรกิจดาวเทียมภายใต้ THCOM (ถือหุ้น 41% โดย SHIN)จะมีผลขาดทุนปกติเพิ่มจาก 56 ล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้าเป็น 146 ล้านบาทจากค่าใช้จ่ายที่สูงตามฤดูกาล หลังรวมประมาณการกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าปรับจากการชำระหนี้คืนก่อนกำหนดของ THCOM แล้วทำให้เราคาดการณ์กำไรสุทธิของ SHIN อยู่ที่ 1,450 ล้านบาท

แม้ราคาหุ้นปัจจุบันจะต่ำกว่าราคาเหมาะสมตามวิธี sum-of-the-parts ที่ 25 บาทของเรา แต่การจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ในอัตราที่จูงใจและโอกาสจ่ายเงินปันผลพิเศษ ยังทำให้เราคงคำแนะนำ  "ถือ"  ทั้งนี้ เราคาดกว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผล 1.25 บาท/หุ้นสำหรับการดำเนินงานครึ่งหลังของปี 2552 ทำให้เงินปันผลรายปีคงเดิมที่ 2.40 บาท/หุ้น (อัตราตอบแทน 9.2%)

นักวิเคราะห์บล.กิมเอ็ง กล่าวอีกว่า ในปี 2553 นี้ คาดว่ากำไรของ SHIN จะโต 10%  เป็น  6,900  ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 2.16 บาท/หุ้น จากการฟื้นตัวของ ADVANC และการขยายธุรกิจดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์)ในอินเดียของ THCOM

ขณะที่นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร THCOM กล่าวเสริมว่า ตนนั่งอยู่ในบอร์ดบริหาร  SHIN ยืนยันได้ว่า ทางผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SHIN หรือแม้แต่ทางเทมาเสคไม่มีการหารือ หรือปรึกษาเกี่ยวกับการขายธุรกิจ THCOM แต่อย่างใด ดังนั้น ตนอยากให้คนที่ไม่ประสงค์ดี   พยายามกุข่าวเรื่องดังกล่าวอยู่ตลอดเวลานั้น  หยุดการดำเนินการได้แล้ว เพราะไม่ได้ส่งผลลบกับ THCOM แต่อย่างไร

"เรื่องนี้ผมเบื่อมากข่าวว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ SHIN จะขาย THCOM มีมาตั้งแต่กลางปี 2552 จนมาเป็นข่าวว่าบริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART จะเข้ามาซื้อกิจการบริษัท   แต่มาถึงวันนี้ผู้บริหารของสามารถฯ  เองก็ยืนยันว่าบริษัทเขาไม่ได้ต้องการซื้อ THCOM และข่าวก็ไม่มีความจริง ดังนั้น ต้องหาตัวคนพูดเรื่องนี้ออกมาให้ได้"

ในส่วนของผลการดำเนินงานของ THCOM ปีนี้นายอารักษ์ ระบุว่า แง่ผลการดำเนินงาน รายได้และกำไร น่าจะทำได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน เพราะถือว่าปี 2552 เป็นการวางโครงสร้าง วางแผนงานธุรกิจหลักๆ อย่างดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์ ) โดยปีนี้น่าจะเริ่มทำตลาดได้อย่างเต็มที่จากประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย โดยวานนี้

(15 ก.พ.) จะเป็นวันแรกในการเริ่มบันทึกรายได้จากอินเดียงวดแรกแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้เปิดตลาดอย่างเป็นทางการ