วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รวมข่าว อินทัช

เทมาเส็กเทไม่หยุดหุ้นชินคอร์ป-ปันผลเกินคุ้ม

25 ก.ค. 2556 เวลา 10:30:37 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์กลุ่มเทมาเส็กทยอยขายหุ้น "ชินคอร์ป" หลังซื้อหุ้นจากตระกูลชินวัตรปี 2549 เผยลดสัดส่วนจาก 96% ล่าสุดเหลือ 44% วงในชี้เทมาเส็กวางแผนลดสัดส่วนอยู่ที่ 25% หลังรับผลตอบแทนเกินคุ้ม เผย 7 ปีที่ผ่านมาบริษัทจ่ายปันผลกว่า 8.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นเพิ่มเท่าตัว โบรกฯชี้ไม่มีรายงานของกลุ่มผู้ซื้ออาจเป็นการใช้ "นอมินี"ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า หลังจากที่กลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ได้เข้ามาซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (INTUCH) จากตระกูลชินวัตร และทำเทรนเดอร์ออฟเฟอร์จากผู้ถือหุ้นรายย่อย เมื่อช่วงต้นปี 2549 โดยถือหุ้นผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด รวมเป็นสัดส่วนทั้งสิ้น 96.12% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่ากลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ เริ่มทยอยขายหุ้นอินทัชตั้งแต่ปี 2554 มาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ รายงานการขายหุ้นอินทัชต่อ ก.ล.ต.ครั้งแรกเมื่อ 17 ส.ค. 54 โดยขายไป 7.9%, 18 ม.ค. 55 ขายไป 6.24%, 12 ก.ค. 55 ขาย 0.12%, 9 ม.ค. 56 ขายไป 10.29%, 23 พ.ค. 56 ขาย 0.24% และ 4 ก.ค. 56 ขายอีก 0.14% จนทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของเทมาเส็กในหุ้นอินทัชล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 44.97% (แอสเพน โฮลดิ้งส์ ถือหุ้น 41.62% และซีดาร์ โฮลดิ้งส์ 3.35%)อย่างไรก็ตาม แม้ว่าช่วงปีที่ผ่านมากลุ่มเทมาเส็กจะมีการขายหุ้นอินทัชโดยรวมออกไปแล้วถึง 52% แต่จากข้อมูลที่รายงานสำนักงาน ก.ล.ต.กลับไม่มีรายงานของผู้ซื้อ แม้ว่าในบางครั้งจะมีการทำรายการซื้อขายเกิน 5%คาดลดสัดส่วนถือหุ้นเหลือ 25%แหล่งข่าวระดับสูงในแวดวงโทรคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีกระแสข่าวว่าทางกลุ่มเทมาเส็กมีเป้าหมายจะลดสัดส่วนถือหุ้นในอินทัชลดลงมาที่ 25-30% หลังจากเข้ามาถือหุ้นนาน 7 ปี ซึ่งได้รับผลตอบแทนกลับไปเป็นที่น่าพอใจ เพราะในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อินทัชได้มีการจ่ายเงินปันผลรวมประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ราคาหุ้นของอินทัชก็มีการปรับขึ้นมาจากที่เทมาเส็กเข้าซื้อเกือบเท่าตัวจากที่ซื้อมาในราคา 49.25 บาท โดยช่วงวันที่ 20 พ.ค.ราคาหุ้นได้พุ่งสูงสุดที่ 99.75 บาท ประกอบกับที่ทิศทางธุรกิจของอินทัชซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จะต้องมีการลงทุนกว่า 7 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายการให้บริการ 3 จี ดังนั้นจึงมองว่าจากนี้ไปจะเป็นช่วงการลงทุนทำให้ผลตอบแทนหรือเงินปันผลที่จะได้รับคงจะไม่สูงเหมือนเช่นที่ผ่านมา จึงเป็นจังหวะที่ดีของการปรับพอร์ตขณะที่แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ต่างชาติรายหนึ่งกล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มเทมาเส็กได้แสดงเจตจำนงชัดเจนว่าต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นในอินทัช โดยมีนโยบายลดสัดส่วนลงอย่างน้อยให้ต่ำกว่า 50% เพื่อให้ลดประเด็นความเสี่ยงกรณีการตีความทางกฎหมายว่าเข้าข่ายเป็นบริษัทต่างชาติ ถือว่าเป็นการป้องกันความไม่แน่นอน หากอนาคตรัฐบาลมีการเปลี่ยนขั้ว ซึ่งอาจมีการนำเรื่องการตีความว่าอินทัชเป็นบริษัทต่างชาติหรือไม่ กลับมาอีกครั้ง"ส่วนที่จะลดสัดส่วนลงเหลือเท่าไหร่ อยู่ที่นโยบายของกลุ่มเทมาเส็ก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากลุ่มเทมาเส็กจะยังลงทุนในหุ้นอินทัชต่อไป เนื่องจากถือเป็นสินทรัพย์ลงทุนที่ยังให้ผลตอบแทนที่ดี" แหล่งข่าวกล่าว โดยคาดว่ากลุ่มเทมาเส็กจะมีการขายหุ้นอินทัชออกมาเพิ่ม เพื่อลดสัดส่วนลงตามเป้าหมายที่วางไว้ให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาและราคาที่เหมาะสม ซึ่งมีโอกาสที่จะขายหุ้นในส่วนที่ถือผ่านซีดาร์ โฮลดิ้งส์ อยู่ทั้งหมด เพื่อเหลือเฉพาะการถือหุ้นอินทัช ผ่านบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ เท่านั้นผลตอบแทน 5% ดี...แต่ผันผวน ด้านแหล่งข่าวจากโบรกเกอร์อีกรายกล่าวว่า กรณีกลุ่มเทมาเส็กทยอยขายและลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นอินทัชอย่างต่อเนื่องนั้น ส่วนหนึ่งเพราะต้องการเพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ซึ่งข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯรายงานสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยในอินทัชอยู่ที่ 44.98% รวมทั้งคาดว่าสัญญาณดังกล่าวเป็นการปรับพอร์ตของเทมาเส็ก หลังจากที่มีกำไรจากการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย ที่บรรดากองทุนต่างชาติมีการขายหุ้นในกลุ่มเทเลคอมออกมา หลังจากที่ราคาปรับตัวสูง "ขณะนี้อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ของหุ้นอินทัชอยู่ที่ประมาณ 5% แม้ผลตอบแทนจะอยู่ในระดับที่ดี แต่ภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนขณะนี้ จึงมีโอกาสที่เทมาเส็กจะปรับพอร์ตหันไปให้น้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีอัตราผลตอบแทนที่ 3-4% แต่มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า หากเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้น ทั้งยังมีโอกาสที่จะได้อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับขึ้น หลังแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณฟื้นตัว" แหล่งข่าวกล่าวส่วนประเด็นที่ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ทยอยขายหุ้นอินทัชออกมาจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา แต่ไม่พบว่ามีการรายงานกลุ่มผู้ซื้อแต่อย่างไร แหล่งข่าวระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนอมินีของต่างชาติที่เข้ามาซื้อ โดยการกระจายไปหลาย ๆ กลุ่ม ทำให้ไม่ถึงเกณฑ์ 5% ที่ต้องรายงาน ก.ล.ต.ด้านนายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มเทมาเส็กทยอยขายหุ้นอินทัช ที่ถือผ่านซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ออกมานั้น ที่ผ่านมาได้มีการรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ในฐานะฝั่งผู้ขายตามเกณฑ์ปกติ หากการซื้อขายมีผลให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงแตะหรือข้ามสัดส่วนทุก ๆ 5% ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงฝั่งผู้ซื้อด้วย ดังนั้น หากผู้เข้าซื้อหุ้นทุก ๆ ครั้งหลังทำรายการเข้าเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ซื้อต้องทำรายงานเช่นนั้น ทั้งนี้ เมื่อรายการดังกล่าวทำผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ และไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ซื้อจึงไม่ต้องรายงาน

การเงิน - การลงทุน

วันที่ 12 กรกฎาคม 2556 08:17

ซีดาร์ขายอินทัชใกล้เกลี้ยง!โกย5.2หมื่นล.

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สำรวจครึ่งปีแรก"ซีดาร์ โฮลดิ้งส์"ทยอยลดสัดส่วนถือครองอินทัช รวม 650 ล้านหุ้น คิดเป็น 20.29% ล่าสุดเหลือการถือครอง 3.35% โกยเงิน 5.2 หมื่นล."">ข้อมูลจากสำนักงานก.ล.ต. ระบุว่าในรอบครึ่งปีแรกของปีนี้ พบว่า บริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทอินทัช(INTUCH) ได้รายงานการขายหุ้น 650 ล้านหุ้น คิดเป็น 20.29% โดยต้นปีนี้ บริษัทดังกล่าวถือครองหุ้น 758.04 ล้านหุ้น คิดเป็น 23.64% ล่าสุดถือครองหุ้นเพียง 107.47 ล้านหุ้นคิดเป็น 3.35% ซึ่งมีการทำรายการขายหุ้นออกมา เมื่อถึงระดับที่ต้องรายงานสำนักงานก.ล.ต. 3 ครั้ง ประกอบด้วย เดือนม.ค. ขายออก 330 ล้านหุ้น คิดเป็น 10.29% ทำให้สัดส่วนการถือครองเหลือ 428.04 ล้านหุ้น คิดเป็น 13.35% เดือนพ.ค. ทำรายการขาย 7.76 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.24% ทำให้สัดส่วนการถือครองเหลือ 264.44 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.25% เดือนก.ค. รายงานขาย 4.57 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.14% ทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นเหลือ 107.47 ล้านหุ้น คิดเป็น 3.35%นอกจากนี้ระหว่างทางบริษัทซีดาร์ฯได้มีการขายหุ้นออกมาต่อเนื่อง แต่ไม่ถึงระดับที่ต้องรายงาน รวมทั้งปัจจุบันการถือครองหุ้นของบริษัทซีดาร์ฯ มีสัดส่วนต่ำกว่าระดับ 5% บริษัทสามารถขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดได้ โดยไม่ต้องรายงานกับสำนักงานก.ล.ต. ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้นจึงสมมติฐานได้ว่า บริษัทซีดาร์ ได้ทยอยลดสัดส่วนการถือครองหุ้นจนครบตามเป้าหมายที่วางไว้แล้วบล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า การที่ภาวะตลาดผันผวน ทำให้บริษัทซีดาร์ฯ เลือกที่จะทยอยขายหุ้นอินทัชมากกว่า จะเลือกโยนบิ๊กล็อตอย่างที่เคยทำมา และครั้งนี้น่าจะเป็นการขายครั้งสุดท้ายที่จะต้องรายงานก.ล.ต. เพราะสัดส่วนการถือครองไม่ถึง 5% ซึ่งแสดงว่าบริษัทซีดาร์ฯได้ขายหุ้นอินทัชได้ทั้งหมดตามเป้าที่วางไว้"เทมาเส็กได้รับเงินปันผลจากหุ้นอินทัช รวม 7-8 หมื่นล้านบาท และมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น ล่าสุดมีมาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท หากพิจารณาจากเงินลงทุนในปี 2549 มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท จะเห็นว่าเทมาเส็กน่าจะได้รับกำไรจากการลงทุนครั้งนี้ มากกว่า 1.3 แสนล้านบาท การทยอยขายหุ้นของบริษัทซีดาร์ฯ เพื่อต้องการจะแก้ไขปัญหา การมีฐานะต่างชาติที่ถือครองหุ้นเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด"นักวิเคราะห์กล่าวฝ่ายวิจัยได้แนะนำให้ถือหุ้นอินทัช เพราะราคาหุ้นของบริษัทลูกเริ่มขยับขึ้นมาเกินกว่ามูลค่าพื้นฐานแล้ว ยกเว้น หุ้นไทยคมฯยังมีสวนต่างอยู่บ้าง แต่เพราะหุ้นอินทัชเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3% ก็ยังน่าสนใจที่จะลงทุนระยะยาว ต้องติดตามว่าการประมูลทีวีดิจิทัล ซึ่งบริษัทวางงบลงทุนไว้ 2 พันล้านบาทนั้น หากเกิดขึ้นจริงจะมีผลกระทบต่อความสามารถในจ่ายเงินปันผลหรือไม่บล.โนมูระพัฒนสิน แนะนำให้ลงทุนหุ้นอินทัช เพราะปัจจุบันต่ำกว่าราคาเฉลี่ยที่โบรกเกอร์แนะนำ รวมทั้งมีปัจจัยหนุนในเรื่องผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 3.11% คาดปีนี้ยังเติบโตต่อเนื่องจากบริษัทลูก ทั้งหุ้นแอดวานซ์ และบริษัทไทยคม รวมถึงไตรมาส3 ปีนี้ เข้าร่วมประมูลดิจิทัลทีวี

ลดหุ้นชินจ่อประมูล'ดิจิทัล''เทมาเส็ก'ลดสัดส่วนต่างด้าว-ชิง'คลื่น1800-ทีวีดิจิทัล'ปีนี้
11 January 2013 10:57 

"สมประสงค์" ยันไม่กระทบโครงสร้างผู้ถือหุ้นยังปักหลักลงทุนอุตสาหกรรมมือถือไทย เทมาเส็ก ตัดขายหุ้นชินคอร์ปกว่า 10% มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้าน ไทยพาณิชย์รับซีดาร์ต้องการลดความเสี่ยงการตีความการถือหุ้นต่างชาติ ขณะวงการชี้เตรียมประมูลคลื่น 1800 และทีวีดิจิทัลในปีนี้เทมาเส็ก กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ลดสัดส่วนหุ้นในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือINTUCH โดยขายหุ้น10.3% ผ่านบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด เพื่อลดความเสี่ยงในการตีความเรื่องการถือหุ้นของต่างชาติในการดำเนินธุรกิจ เพื่อประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์และทีวีดิจิทัลนอกจากนี้ การขายหุ้นในช่วงตลาดขาขึ้น ทำให้ได้ราคากว่าการขายหุ้นในครั้งก่อนเช่นเดียวกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ DTAC ได้ดำเนินการ ลดสัดส่วนไปก่อนหน้านี้แล้วก่อนหน้านี้ อินทัชและดีแทค ได้ถูกร้องว่าขัดกับพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.กำกับกิจการโทรคมนาคม ซึ่งไม่อนุญาตให้ต่างด้าวถือหุ้นเกิน 49%แหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคมกล่าวว่าการลดสัดส่วนหุ้นของกลุ่มเทมาเส็กโดยผ่านการขายหุ้นที่บริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือในบริษัทชินฯ นอกจากจะเลี่ยงเรื่องการถือหุ้นของต่างด้าวแล้ว ยังเตรียมตัวประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของทรูมูฟและบริษัทดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ที่จะหมดอายุสัมปทานในเดือนก.ย. 2556 จากบมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อนำคลื่นให้บริการ 4Gนอกจากนี้ เตรียมตัวสำหรับการประมูลทีวีติจิทัล ประเภทช่องเชิงพาณิชย์ ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) จะเปิดประมูลในเดือนส.ค.นี้ จำนวน 24 ช่อง ซึ่งจะทำให้กลุ่มอินทัช สามารถให้บริการด้านโทรคมนาคมและบรอดแคสต์ อย่างครบวงจรก่อนหน้านี้ อินทัช ประกาศแผนจะเข้าร่วมประมูลทีวีติจิทัล ประมาณ 3 ช่อง ซึ่งจะเสริมธุรกิจให้กลุ่มไทยคม โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาทแหล่งข่าวกล่าวว่ากรณีการขายหุ้นของกลุ่มเทมาเส็กอย่างต่อเนื่องในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากเป็นความพยายามทำให้ชินคอร์ปมีคุณสมบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่ระบุว่าคุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบกิจการโทรคมนาคมในไทยต้องไม่ผิดกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่ระบุว่าต่างชาติต้องถือหุ้นไม่เกิน 49% และการตั้งบริษัทลูกจะได้ถูกต้องตามคุณสมบัติการประมูลโครงการทีวีดิจิทัล ที่กำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องมีต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 25% ไทยพาณิชย์รับเลี่ยงก.ม.ต่างด้าวด้านนายโสภณ อัศวานุชิต ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าธนาคารเป็นผู้ดำเนินการในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินให้กับการขายหุ้นครั้งนี้ ร่วมกับเครดิตสวิส และมอร์แกน สแตนเลย์ ซึ่งการขายหุ้นออกไปครั้งนี้ เนื่องจากทางซีดาร์ต้องการขายออกไปตามนโยบายของเทมาเส็กที่ต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นในกลุ่มชิน คอร์ปลง เพื่อลดความเสี่ยงในการตีความเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติที่ผ่านมา ซีดาร์ได้ถือหุ้นในบริษัทชินคอร์ปมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามธนาคารยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทซีดาร์ในสัดส่วน 5% อยู่เช่นเดิมซีดาร์ขายหุ้น10.3%ในอินทัชนายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่าบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ได้ขายหุ้นบางส่วนที่ถืออยู่ในบริษัท เป็นจำนวน 330 ล้านหุ้น คิดเป็น10.3%ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยขายให้แก่นักลงทุนไทยโดยประมาณในสัดส่วน 20% และบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัดสำหรับสัดส่วนที่เหลือของจำนวนหุ้นที่ขาย ภายหลังจากการขายหุ้นในครั้งนี้เป็นผลให้ซีดาร์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จำนวน 428,049,239 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 13.3%ของหุ้นทั้งหมดของบริษัทนายสมประสงค์ระบุอีกว่าเพื่อให้สามารถตอบข้อซักถามหรือข้อสงสัยที่อาจมีขึ้นได้จากผู้ถือหุ้นรายย่อย ประชาชน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ บริษัทจึงได้สอบถามไปยังบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกรายหนึ่งของบริษัทว่ามีความประสงค์ที่จะขายหุ้นของบริษัทที่แอสเพนถืออยู่ด้วยหรือไม่ ซึ่งทางแอสเพนได้แจ้งกลับมายังบริษัทว่าแอสเพนยังไม่มีแผนที่จะขายหุ้นของบริษัทในระยะเวลานี้และแอสเพนยังมีความมั่นใจในธุรกิจและผู้บริหารของบริษัททั้งนี้บริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์และบริษัทแอสแพน เป็นบริษัทในเครือเทมาเส็ก บรรษัทเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ระบุ ณ วันที่ 30 ส.ค. 2555 บริษัทแอสแพนถือหุ้นชินคอร์ป 41.62% ส่วนบริษัทซีดาร์ ถือหุ้น 29.66%ยันไม่ถอยลงทุนจากไทยนายสมประสงค์ กล่าวอีกว่าอินทัชไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผู้ถือหุ้นแต่อย่างไร และซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ยังไม่ได้จะถอนการลงทุนจากอุตสาหกรรมไทยทั้งนี้ จากการสรุปผลประโยชน์ของกลุ่มซีดาร์ โฮลดิ้งส์ หรือเทมาเส็ก นับตั้งแต่เข้ามาลงทุนในกลุ่มชินคอร์ป ตั้งแต่ช่วงปี 2549 ทั้งในแง่จากกำไรและปันผลจากการขายหุ้นด้วยต่างๆ ถ้าดูในเชิงของตัวปันผล จะได้รับสิทธิ์ได้รับเงินปันผลช่วงครึ่งหลังของปี 2548 อยู่จำนวนหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าคิด ณ ตอนนั้นถึงครึ่งปีแรกของปี 2555 จะได้เงินปันผลโดยรวมทั้งหมดไปแล้วประมาณ 0.25 บาทต่อหุ้นเพราะฉะนั้นคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเงินปันผลประมาณ 72,000 ล้านบาท เฉพาะตัวเงินปันผล ถ้าดูในเชิงตัวของมาร์เก็ตแคป หมายถึงจำนวนหุ้นที่ล่าสุดที่รวมกับระดับราคาหุ้น ตอนนี้มูลค่าในตัวของเชิงมูลค่าหุ้นที่ได้ไปจะอยู่ที่ประมาณ 153,000 ล้าน รวมสุทธิแล้วทางกลุ่มนี้จะได้เงินไปประมาณ 225,000 ล้านบาทนักวิเคราะห์คาดทยอยขายเพิ่มนักวิเคราะห์จากดอยช์แบงก์เอจีในไทย ประเมินว่าแผนการลงทุนของเทมาเส็กที่ปรับลดการลงทุนในกลุ่มบริษัทสื่อสารทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ตลอด และคาดว่าทั้งเทมาเส็กและซีดาร์โฮลดิ้งส์ จะขายหุ้นในชิน คอร์ปอเรชั่น อีก“แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามเทมาเส็กและซีดาร์ โฮลดิ้งส์อาจต้องการถือหุ้นส่วนน้อยที่มีอยู่ในชินคอร์ปไว้”เทมาเส็กปฏิเสธให้ความเห็นรายงานข่าวระบุว่าเทมาเส็กได้เผยแพร่ถ้อยแถลงผ่านอีเมล์ว่า ซีดาร์เป็นพันธมิตรและผู้ถือหุ้นส่วนน้อย จึงไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเสนอขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น ครั้งนี้ได้ ในอดีตเมื่อเดือนม.ค. 2549 เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ซื้อหุ้น 49% ในชินคอร์ปอเรชั่น จากครอบครัวชินวัตร คิดเป็นเงินมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาท โดยเทมาเส็กซื้อหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น ผ่านตัวแทนทั้ง ซีดาร์ กับบริษัทกุหลาบแก้ว และแอสเพน โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นของเทมาเส็กทั้งนี้ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ทำคำเสนอซื้อหรือเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ จนในที่สุดสามารถถือหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่นไว้ทั้งหมด 96% โดยใช้เม็ดเงินมูลค่ารวมทั้งหมด 1.2 แสนล้านบาท แต่ซีดาร์กลับเป็นบริษัทมีปัญหา เพราะผู้ถือหุ้นประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัทกุหลาบแก้ว และไซเพรส คอมปานีขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการสอบสวน ในข้อกล่าวหาเทมาเส็ก โฮลดิ้งละเมิดกฎหมายธุรกิจต่างด้าว ด้วยการตั้งบริษัทตัวแทนถือหุ้นในบริษัทไทยเกิน 49% ซึ่งเดิมกฎหมายไทยไม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นในบริษัทไทยเกิน 49% และที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ได้ดำเนินการกับกรณีบริษัทกุหลาบแก้วทั้งนี้ในเดือนส.ค.2554 ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ได้ทยอยขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น 10.3% เหลือหุ้นอยู่ 13.3% ส่วนแอสเพน โฮลดิ้งไม่มีแผนจะลดสัดส่วนที่ถืออยู่ในชิน คอร์ปอเรชั่น 42%สำหรับข่าวการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่นของกลุ่มเทมาเส็ก ปรากฎบนเว็บไซต์ไฟแนนซ์เอเชีย ซึ่งการขายหุ้นดังกล่าวดำเนินการโดยเครดิต สวิส กรุ๊ป เอจีและมอร์แกน สแตนเลย์ รวมทั้งบล.บัวหลวงและธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th) Friday, January 11, 2013



'เทมาเสก-เทเลนอร์'แต่งตัวหนีบ่วงต่างด้าว

วันพุธที่ 16 มกราคม 2013 เวลา 10:20 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

เป็นข่าวใหญ่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งมีกองทุนเทมาเสก โฮลดิ้งส์ จากประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำ"บิ๊กล็อต"ตัดขายหุ้นใน "อินทัช" หรือ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (บมจ.) จำนวน 330 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน  10.3% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท   คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท                   การขายหุ้นในครั้งนี้ อินทัช  แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขายให้กับนักลงทุนไทยประมาณ 20% และ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด  โดยล่าสุด  ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ยังมีหุ้นใน "อินทัช" อีกจำนวน 428,049,932 หุ้น หรือประมาณ 13.3% คำถามที่ตามมาจากการขายหุ้นล็อตครั้งนี้คือ "ทำไม?"       - "ถอนตัว vs หนีบ่วงต่างด้าว"                เนื่องจาก"อินทัช" เพิ่งได้รับใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี บนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เป็นระยะเวลา 15 ปี จาก กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลังจากที่ลุ้นกันเหงื่อหยด เพราะคู่แข่งขันล้วนเห็นโอกาสอีกมหาศาลที่จะสร้างผลตอบแทนจากธุรกิจโทรคมนาคมไทย    บางเสียงชี้ว่า เป็นการถอยตามที่  เทมาเสก โฮลดิ้งส์ เคยประกาศจะลดสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจด้านโทรคมนาคมทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  รวมทั้งบางส่วนเห็นว่า ธุรกิจโทรคมนาคมไทยโตเต็มที่แล้วใกล้อิ่มตัว มาร์จินหรืออัตราผลตอบแทนบางลงเรื่อย ๆ      แต่ถ้ามองในเชิงวิเคราะห์ การขายหุ้นครั้งนี้เป็นการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นลดสัดส่วนการถือครองหุ้นต่างด้าวเพื่อรองรับกับแผนธุรกิจที่ต้องดาหน้ารบในสมรภูมิใหม่ที่ทยอยเปิดตัว ทั้งการเปิดประมูลทีวีดิจิตอล และการประมูลคลื่น 4 จี ของ กสทช. ภายในปีนี้  ซึ่ง "อินทัช" ประกาศตัวว่าสนใจและเตรียมประกาศขยับสู่ธุรกิจทีวีดิจิตอล ซึ่งถือเป็นการขยายขาของธุรกิจโทรคมนาคม สู่อีกขาคือกิจการบรอดแคสต์             โดยก่อนหน้านี้กลุ่มทุนข้ามชาติอย่าง เทเลนอร์ เอเชีย พีทีเอ แอลทีดี  ซึ่งถือหุ้นใน ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  ก็ได้ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ หลังจากถูกตั้งคำถามจากคู่แข่ง คือ กลุ่มทรู กรณีเรื่องการถือครองหุ้นต่างด้าวเช่นเดียวกัน-ย้อนรอยบ่วงต่างด้าวหุ้น "แทค"                     ตุลาคม  2548 นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ ยูคอม  ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน แทค ได้ขายหุ้น ยูคอม ทั้งหมด 173.33 ล้านหุ้น 39.88% มูลค่ากว่า 9.2 พันล้านบาท ทำให้บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์  ในเครือ เทเลนอร์  จากประเทศนอร์เวย์  ถือหุ้นแทคเบ็ดเสร็จ 88.88%      กระแสการขายหุ้นของกลุ่มยูคอม ในครั้งนั้น ไม่ถูกตรวจสอบเข้มเท่ากับกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้ก่อตั้งกลุ่มชินคอร์ป  ที่ตัดสินใจขายหุ้นของครอบครัว จำนวน  49%  ให้กับกองทุนเทมาเสก โฮลดิ้งส์ เป็นรายถัดมา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 เป็นจำนวนเงินสูงถึง 7.3 หมื่นล้านบาท ที่จุดกระแสบานปลายเป็นวิกฤติการเมืองยืดเยื้อจนทุกวันนี้                 แรงกระเพื่อมการตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่างด้าวนั้น กระทบชิ่งถึงดีแทค ที่ถูกตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกันจากกระทรวงพาณิชย์ จากข้อกล่าวหาว่าหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตั้งแต่นั้น-ผ่าโครงสร้างใหม่ "ดีแทค"                     ปม"ธุรกิจต่างด้าว"กระทบต่อการประกอบการของดีแทค ไม่แรงนัก แต่ทวีความหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับ   เมื่อกลุ่มทรู เข้าแจ้งความ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามฯ เพื่อให้ดำเนินคดีกับ ดีแทค และบุคคลของกลุ่มบริษัท ที่มีพฤติกรรมสนับสนุนคนต่างด้าว คือ ดีแทค ที่เป็นนิติบุคคล ให้สามารถดำเนินธุรกิจโทรคมนาคม ที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของคนต่างด้าว  โดยหลีกเลี่ยงมาตรา 4 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542    โดยห้วงเวลานั้น  ดีแทค ได้ยื่นคำร้อง บมจ.กสท โทรคมนาคม และ คณะกรรมการ (บอร์ด) กสท ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้พิจารณาถึงความถูกต้องตามกฎหมาย ของสัญญาระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับกลุ่ม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในการร่วมลงทุนเพื่อให้บริการมือถือระบบซีดีเอ็มเอ และเอชเอสพีเอ ที่ได้เซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินด้วย            ผลจากการเคลื่อนไหวครั้งนั้นนำไปสู่กระบวนการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นอีกระลอก โดยมี บริษัท บีซีทีเอ็น โฮลดิ้งฯ ของตระกูลเบญจรงคกุล ที่มีนายบุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ก่อตั้งดีแทคเป็นผู้บริหารอยู่ เข้ามาถือหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 10% มาเป็น 51%  และ กลุ่มเทเลนอร์ถือหุ้นที่เหลืออีก 49%  ทั้งนี้ ไทยเทลโก้ ถือหุ้นดีแทคอยู่ประมาณ 22%     โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ทำให้ เทเลนอร์ ถือหุ้น ดีแทคตรง 42%  และถือหุ้นทางอ้อมผ่านไทยเทลโก้ อีกจำนวนหนึ่งมีสัดส่วนการถือครองหุ้นลดลง และทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นคนไทย 51% ปลดล็อกข้อกล่าวหาเป็นบริษัทต่างชาติที่จะเข้าร่วมประมูล 3G ได้ ขณะที่โครงสร้างผู้ถือหุ้นเดิมของ ดีแทค ก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย เทเลนอร์ เอเชีย พีทีเอ จำนวน 42.61%, บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้ง จำกัด  ถือหุ้น 22.84 %, บริษัท ไทยเอ็นดีวีอาร์ จำกัด ถือหุ้น 10.80%-กสทช.ออกประกาศครอบงำกิจการ                    กรอบคิดเรื่อง "ธุรกิจคนต่างด้าว" กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยนั้นขับเคี่ยวกันหนักหน่วง กระแสสังคมและผู้ประกอบการสัญชาติไทย ชี้ว่า ธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล และกลุ่มทุนสื่อสารระดับโลกล้วนเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ หรือมีรัฐบาลหนุนหลัง จึงควรมีข้อจำกัด "ห้าม" ธุรกิจต่างด้าวเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้โดยตรง    ขณะที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) เสนองานวิจัยหลายชิ้น ชี้ว่า บริการโทรคมนาคมเป็นโครงสร้างพื้นฐานและเป็นบริการของสังคมยุคใหม่ที่ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงได้มากที่สุด จึงควรเปิดลงทุนเสรีโดยไม่มีข้อจำกัดความเป็น"ธุรกิจต่างด้าว"  เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและราคาถูกสุดสำหรับผู้บริโภค    ท้ายสุดกสทช. เลือกกรอบคิดแรก จึงออกประกาศ กสทช.เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555  โดยบัญชีข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการ ประกอบด้วย การครอบงำกิจการผ่านการให้คนต่างด้าว ตัวแทน หรือตัวแทนเชิดเข้ามาถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อหลีกเลี่ยงประกาศฉบับนี้ และการครอบงำกิจการผ่านการถือหุ้นโดยคนต่างด้าวเอง หรือถือผ่านผู้แทนหรือตัวแทนของคนต่างด้าว โดยหุ้นดังกล่าวมีสิทธิพิเศษในการออกเสียงลงมติในการประชุมผู้ถือหุ้นเกินกว่าสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถือไว้จริง หรือเป็นหุ้นที่มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าหุ้นที่ถือโดยผู้มีสัญชาติไทย    จึงเป็นที่มาของธุรกิจ "สวมเสื้อไทย" ที่ผ่านมายังแต่งตัวไม่เรียบร้อย ต้องแต่งตัวใหม่อีกครั้งเพื่อให้เข้าเกณฑ์ที่กำหนด-ก้าวต่อไป "ชินคอร์ป"    ดังทราบกันดีว่า กองทุนเทมาเสกจากสิงคโปร์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ "อินทัช" หรือบมจ.ชินคอร์ป โดยถือทางตรงผ่าน บมจ.แอสเพน โฮลดิ้งส์ ที่ถือหุ้นชินคอร์ป 41.62% และทางอ้อมทางซีดาร์ โฮลดิ้งส์ 37.99% ผ่านไซเพรส โฮลดิ้งส์ และกุหลาบแก้ว     โดยในรายกุหลาบแก้วมีนายสุรินทร์ อุปพัทธกุล นักธุรกิจไทยในมาเลเซีย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สอบแล้วชี้ว่า เป็นการถือแทนแฟร์มองท์ อินเวสท์เมนท์ กรุ๊ป ซึ่งเป็น"ต่างด้าว"  จึงทำให้ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ มีสถานะเป็น "ต่างด้าว" และต่อเนื่องถึงบมจ.ชินดังกล่าว    การตัดหุ้นขาย"บิ๊กล็อต" 330 ล้านหุ้น 2 หมื่นล้านบาท เมื่อ 9 มกราคมนี้ เป็นการลดสัดส่วนของซีดาร์ในบมจ.ชินเป็นระลอกที่ 3 แล้ว โดยครั้งแรกขาย 253.5 ล้านหุ้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2554 ถัดมา 200 ล้านหุ้น  เมื่อ 19 มกราคม 2555  รวม 3 ครั้ง ซีดาร์ลดการถือหุ้นบมจ.ชินจาก 1,218 ล้านหุ้นเศษ  เมื่อคราวเข้ามาซื้อหุ้นจากครอบครัวชินวัตร ล่าสุดเหลือ 428 ล้านหุ้น คิดเป็น 13.3%    แต่ในรอบ 8 ปีที่เทมาเสกถือหุ้นชิน ได้รับเงินปันผลไปแล้ว 7.2 หมื่นล้านบาท  ขณะที่ยังมีหุ้นชินคอร์ปที่เหลือในมือที่ถือโดย แอสเพน โฮลดิ้งส์ และที่เหลือใน ซีดาร์ รวมอีก 54.92% คิดเป็นมูลค่าหุ้นเวลานี้ อีก 1.53 แสนล้านบาท     ถ้านี่เป็นการปลดบ่วงข้อหา "ธุรกิจต่างด้าว" เทมาเสกต้องลดสัดส่วนหุ้นในชินคอร์ปลงสู่เป้าหมาย คือ ไม่เกิน 49%  คือต้องปล่อยหุ้นลดสัดส่วนลงในระยะต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 6%  ตามหลังกลุ่มเทเลนอร์ ที่ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นลงก่อนหน้านี้ โดยดึง"พี่ใหญ่"บุญชัย เบญจรงคกุล กลับสังเวียน    สำหรับ บมจ.ชิน คอร์ป การขายหุ้นล็อตล่าสุดนำไปสู่ข้อสงสัยที่ว่าใครคือผู้ซื้อที่ไม่ประสงค์ออกนามในครั้งนี้... จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,810  วันที่   17 - 19  มกราคม พ.ศ. 2556