วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ROIC


ROIC = Net Operating Profits After Tax (NOPAT) / Invested Capital

ดูเผินๆแล้ว เหมือนจะเป็นสูตรง่ายๆ ไม่ซับซ้อนอะไร แต่ความยุ่งยากนั้น มิได้อยู่ที่ตัวสูตรคำนวณ หากแต่อยู่ที่ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ เริ่มตั้งแต่ตัวตั้งในสูตรซึ่งจะต้องเป็นผลกำไรเฉพาะที่ได้มาจากการดำเนินงานของบริษัทเท่านั้น ไม่รวมรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากนั้นจึงค่อยนำมาหักด้วยอัตราภาษีที่แท้จริงของบริษัท (Effective tax rate) ส่วนตัวหารนั้น ก็จะต้องเป็นสินทรัพย์เฉพาะที่ใช้ในการดำเนินงานอีกเช่นกัน มิใช่สินทรัพย์รวมทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งตัวตั้งและตัวหารนั้น จะไม่ถูกแสดงอยู่ในงบการเงินของบริษัทโดยตรง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ต้องใช้ในการคำนวณก็คือข้อมูลที่อยู่ในงบการเงินของบริษัทนั่นเอง เพียงแต่ผู้ลงทุนต้องออกแรงในการคัดแยกรายการที่มิใช่รายการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทออกไปถึงแม้ว่า จะต้องใช้ความพยายามมากหน่อยในการที่จะใช้อัตราส่วนตัวนี้ แต่เมื่อเริ่มคุ้นเคย (ROIC) ก็จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรของแต่ละบริษัทได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถนำ (ROIC) ไปเปรียบเทียบกับต้นทุนของเงินลงทุน (Cost of capital) ของบริษัท เพื่อดูว่าอัตราผลตอบแทนที่บริษัทได้นั้นสูงหรือต่ำกว่าต้นทุนในการได้มาซึ่งเงินลงทุน ซึ่งจะทำให้สามารถแยกแยะได้ว่า จริงๆแล้วบริษัทใดที่มีการดำเนินงานที่สร้างมูลค่า และบริษัทใดที่มีการดำเนินงานที่ทำลายมูลค่าของบริษัท อันจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถเฟ้นหาบริษัทที่มีคุณภาพคู่ควรแก่การลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ