วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

AGM QH 1st 2019

AGM QH 1st 2019
ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยปีที่ผ่านมา มูลค่ายอดขายที่อยู่อาศัยปี 2561 เติมโต 23 เปอร์เซ็นต์จากทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยแนวราบ ราคาการขายเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์ และแนวสูง มูลค่าเพิ่มขึ้น 29 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อน

มูลค่าที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในปี 2561 เปิดโครงการโดยรวม  จำนวน 124,408 หน่วย มูลค่ารวม  562,185 ลบ  ภาพรวมจากทุกผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 29 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการเพิ่มของแนวราบ 21 เปอร์เซ็นต์และแนวสูง 35 เปอร์เซ็นต์

แนวโน้มในปี 2562  ประมาณการยอดขายที่เราเก็บตัวเลขมาจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 10 บริษัท  (LH PSH SPALI QH AP ANAN ORI SIRI SC และ LPN) โดยรวมตัวเลข มีการเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ในปี 61  และเพิ่มขึ้น 8% ในปี 62  จะเปิดในแนวราบมากกว่าแนวสูง โดยเปิดโครงการใหม่ในแนวราบ +26% และคอนโดมิเนียมแค่ +10% โดยมีการตั้งเป้า Pre Sale  แนวราบเติบโต 7%  ในขณะที่คอนโดติดลบ 1%
โดยรวมทั้งตลาด ตั้งเป้าพรีเซล + 3%  และตั้งเป้าเปิดโครงการใหม่ + 17%

สำหรับภาพรวมของบริษัทในปี 2561  ถ้ามีโครงการเปิดใหม่ทั้งหมด 11 โครงการ ยอดเงินมูลค่าทั้งหมด 10,775 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว 8 โครงการและทาวน์เฮ้าส์ 3 โครงการ ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะเห็นว่า ระเบิดบ้านเดี่ยว 76% เป็นทาวน์เฮ้าส์ 24%  และแยกตามระดับราคา จะเป็นราคาสูง 22% ระดับกลาง 70% และระดับล่างประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อแยกตามทำเลจะพบว่าเป็นกรุงเทพฯ 88 เปอร์เซ็นต์และต่างจังหวัด 12%  ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 60 แล้วบริษัทเปิดโครงการบ้านเดี่ยวมากขึ้น และก็เข้าในตลาดที่สูงขึ้น จำนวนโครงการที่ปิดปีที่ผ่านมาเราปิด 10 โครงการเป็นกรุงเทพฯ 8 โครงการต่างจังหวัด 2 โครงการ โดย ปิดบ้านเดี่ยว 4 โครงการทาวน์เฮ้าส์ 6 โครงการ สำหรับการรับรู้รายได้ ปีที่ผ่านมาเรารับรู้รายได้ ยอดโอน บ้านเดี่ยว 57% ทาวน์เฮ้าส์ 29%  คอนโดมิเนียม 14%  ให้แยกตามระดับราคาก็เป็นระดับบน 28% ระดับการ 47% และระดับล่าง 25%  เมื่อแยกตามทำเลจะพบว่าเป็นกรุงเทพฯ 92% และต่างจังหวัด 8%  ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 60 และสัดส่วนใกล้เคียงกัน

ในส่วนของรายได้ ปี 61 รายได้รวม  16342 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากบ้านและคอนโด 14792 ล้านบาท รายได้ค่าเช่าและบริการอาคารสำนักงาน 383 ล้านบาท รายได้ค่าเช่าบริการโรงแรม 905 ล้านบาท เป็นรายได้อื่น  261 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี  60 แล้ว รายได้รวมลดลง 93%

ในปี 2561 บริษัทมีกำไรขั้นต้น 35.7 เปอร์เซ็นต์ ปี 2560 มีกำไรขั้นต้น 29.8 เปอร์เซ็นต์

ในส่วนของค่าใช้จ่าย Normal operation  ปี 2561  อยู่ที่ 2,593 ลบ ลดลง 8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 60 ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อรายได้รวมปี 2561 ก็จะอยู่ที่ 16.2 เปอร์เซ็นต์

มีเงินลงทุน อยู่ใน 4 บริษัท 1 โฮมโปร  2 LH financial Group  3.กองทุนรวม QHPF 4.QHHR
โดยปี 61 บริษัทได้รับเงินปันผล จากโฮมโปร 1115 ลบ เงินปันผลจาก LH financial Group 427 ล้านบาท เงินปันผลจากกองทุนรวม QHPF 174 ลบ เงินปันผลจากกองทุนรวม QHHR 60 ลบ รวมได้รับเงินปันผล 1776 ล้านบาท เทียบกับปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 8.12 เปอร์เซ็นต์

ส่วนของ Bottom Line  กำไรสุทธิปี 61  3,801 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 60 10%  ในแง่ของ margin  เปอร์เซ็นต์ต่อรายได้รวม ปี 61  ทำได้ 23 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปี 60 อยู่ที่ 19 เปอร์เซ็นต์

หุ้นกู้ที่ออกในปี 2561  รวมทั้งหมด 6,500 ล้านบาท

หุ้นกู้ที่ออกครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม จำนวนเงิน 300 ล้านบาทอายุ 3 ปีอัตราดอกเบี้ย 2.16 เปอร์เซ็นต์ Credit Rating  A-
หุ้นกู้จะออกครั้งที่ 2 ออกในเดือนมิถุนายน จำนวนเงิน 1 ล้านบาทอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.45 เปอร์เซ็นต์ เครดิตเกรด A-
และคุณครูที่ออกครั้งที่ 3  ออกในเดือนพฤศจิกายนจำนวนเงิน 2,500 ล้านบาทอายุ 2 ปีอัตราดอกเบี้ย 2.9 7%  Credit Rating A-

ณสิ้นปี 2561 บริษัทมีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยคงเหลือ 23,000 ลบ อัตราดบเฉลี่ย 2.60%

อัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้นของปี 2561 financial d/e อยู่ที่ 0.87 เท่า และ Net  financial d/e ( เอาหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหักออกด้วยเงินสด ) จะอยู่ที่ 0.73 เท่า ลดลงจากปี 2560

งบแสดงฐานะการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2561 มีทรัพย์สินรวม 54,148 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1%
โดยแบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน  29,845 ล้านบาท
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน  24,303 ล้านบาท

ในส่วนของหนี้สินมีหนี้สินรวม 27,878 ลบ ลดลง 1.3%
โดยแบ่งเป็นหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย  22,987 ล้านบาท
หนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย 4891 ล้าน

ส่วนของผู้ถือหุ้น มีอยู่ที่ 26,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 6%  โดยแบ่งเป็นทุนที่ออกและชําระแล้ว 10,714 ล้านบาท กำไรสะสม 15,236 ล้านบาท อื่นๆ 320 ล้านบาท

ในงบกำไรขาดทุนรายได้รวมปี 2561 อยู่ที่ 16,341 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 9.7%
มีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม 1,776 ล้านบาท มีกำไรประจำปีจากงบการเงินรวม 3,801 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ถาม อยากทราบถึงผลประโยชน์ของพนักงานตามกฎหมายใหม่ ก็ได้คำนวณและมีผลกระทบต่อบริษัทหรือไม่

ตอบ สำหรับผลประโยชน์ของพนักงานตามกฎหมายใหม่ 400 วัน ได้มีการคำนวณแล้ว จะมีอยู่ในงบการเงินจะมีผลกระทบประมาณ 46 ล้านซึ่งจะตั้งรายจ่ายในงบไตรมาส 2 ปี 2562

ถาม อยากทราบถึงคดีฟ้องร้องที่บริษัทมีว่าเป็นคดีลักษณะไหนและการตั้งสำรอง

ตอบ คดีส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเป็นคดีสาธารณูปโภค และมันใหญ่ๆอันนึงก็คือคดีจากสมัยน้ำท่วมในปี 54  ที่เกิดดินทรุด ทำให้เกิด คดีต่อเนื่อง ในส่วนของการตั้งสำรองคดี เราจะตั้งสำรองใน sg&a และมีบางส่วนถ้ามีการโอนกลับเราจะบันทึกในงบกระแสเงินสด
เวลาที่ตั้งสำรองคดีเราจะตั้งสำรองต่อเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินเราถึงจะเริ่มตั้งเพราะเราจะต้องมี Base ในการตั้งว่าจะตั้งที่เท่าไหร่ สมมุติว่าลูกค้ายื่นฟ้องเราต้องรอศาลตัดสินก่อนว่ามีค่าความเสียหายเกิดขึ้นเท่าไหร่เราถึงจะประมาณค่าตรงนั้นได้

ถาม ปี 57 ถึงปี 60  เห็นมีคดีหนึ่งที่ 163 ล้านบาทแต่ตั้งสำรอง 1 ล้านบาท อยากทราบหลักการตั้งสำรอง
ตอบ คดีนี้เป็นคดีที่ผู้รับเหมาฟ้องร้องเรา และเราก็ฟ้องร้องผู้รับเหมาด้วยเช่นกัน เป็นคดีที่มีรายการระหว่างกัน เป็นเรื่องของงานก่อสร้างที่ผู้รับเหมาทำไม่เรียบร้อย

ในส่วนเงินปันผลของบริษัท จากนโยบายจ่ายเงินปันผลบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมหรือกำไรสำหรับปี สำหรับการจ่ายเงินปันผลผลประกอบการของปี 2561  บริษัทมีมติที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตรา 0.22 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 2357 ล้านบาท คิดเป็นอัตราจ่ายเงินปันผลเทียบกับกำไรสุทธิประมาณ 62% สำหรับการจ่ายเงินปันผลทั้งนี้บริษัทจ่ายจากกำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานซึ่งเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 20 ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาสามารถขอเครดิตภาษีจากการจ่ายเงินปันผลได้

เงินปันผลจ่ายต่อหุ้นในปี 2559 จ่ายอยู่ที่ 0.15 บาท ปี 2560 จะอยู่ที่ 0.20 บาท และปี 2561  จ่ายอยู่ที่ 0.22 บาท

ถาม ในกลุ่มบริษัทของเรา อย่าง LH จ่ายปันผลประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์จากกำไรสุทธิ ยังคงโปรจะจ่ายอยู่ที่ 81 เปอร์เซ็นต์ แต่ของเราจ่ายอยู่ที่ 62 เปอร์เซ็นต์ เป็นไปได้ไหมครับว่าในอนาคตเราจะจ่ายอยู่ที่ประมาณ 80% ของกำไร

ตอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของบริษัท  แต่ทางทีมผู้บริหารจะไปพิจารณาดูนะครับ

อัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยลดลงทุกๆปี และปี 61 ที่ผ่านมาเหลือ 0.87  ดัชนีตัวนี้จะบอกให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจได้ว่าเป็นความแข็งแรงของบริษัทในการประกอบธุรกิจ ขณะเดียวกันกลุ่มอสังหามีการแข่งขันที่สูง คณะกรรมการได้ควบคุมดูแล ค่าใช้จ่ายในส่วน ขายและบริหารให้ลดลงอย่างมีนัยยะ เป็นความเข้มแข็งของบริษัท

QHPF เป็นกองออฟฟิศจะเหลือเวลาอยู่ ประมาณ 17 ปี QHHR จะเป็นกองทุนที่เป็น freehold 2 ตึกและ Leasehold 1 ตึก เราคงจะอยู่กับเราใน Long term อยู่แล้ว

อยากสอบถามถึงโครงการคอนโด หลังๆ QH ไม่มีคอนโดเลยเห็นมีแต่แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เลยไม่ทราบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือเปล่า

ปี 2560 จะเห็นว่าแนวราบขึ้นไปถึง 70 เปอร์เซ็นต์ คอนโด 30%  และถ้ามองไปจนถึงปี 62 ก็จะต้องบอกว่า สัดส่วนคอนโดจะลดลงอีก และถ้าจะถามว่าจะเข้าตลาดคอนโดอีกหรือไม่ ต้องบอกตามตรงว่าไม่ คอนโดมันโอเวอร์ซัพพลายเยอะมาก ถ้าโดดเข้าไปในช่วงสถานการณ์นี้ ต้องคิดมากๆ แนวโน้มคอนโดของเราคงจะลดลง จริงๆแล้วคณะกรรมการมีการพิจารณาค่อนข้างมาก แต่รายละเอียดคงจะปลีกย่อยค่อนข้างเยอะถ้าจะคุยในที่ประชุมนี่

ถาม มาตรการ ltv ส่งผลต่อการดำเนินงานของคิวเฮ้าส์อย่างไร

ตอบ  ltv  จะเป็นเรื่องของบ้านหลังที่ 2  ที่เป็นหลักใหญ่ ซึ่งถ้าจะคบจะไปกระทบ คอนโดกลุ่มที่ซื้อมาแล้วขายต่อ เช่นซื้อมา 2 หลัง 3 หลังแล้วขายต่อ ส่วนของเรามีกลุ่มนี้ไหม มีแต่ไม่เยอะ ซึ่งกลุ่มที่ซื้อแล้วขายต่อจะเป็นกลุ่มคอนโดระดับ 1-2 ล้านซะมาก ส่วนกลุ่มระดับราคาบนๆ ส่วนใหญ่ซื้อเงินสด และถ้าจะกู้ก็กู้ไม่มาก ดังนั้นจึงไม่ใช่กลุ่มที่โดนกระทบ กระทบไม่มาก

เป็นนโยบายของบริษัทที่จะมีการเปลี่ยนผู้สอบบัญชีทุก 5 ปีภายใต้ บริษัทผู้สอบบัญชีเดิม

เรามีแผนจะไปต่างจังหวัดหรือพวก EEC  ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าบ้างไหม
ถ้าหมายถึงระยองชลบุรีเรามีโปรเจคของเราอยู่แล้ว
by Joe789