วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หลักคิด 14

แต่ละคนมี mindset ที่ต่างกัน แม้จะถือหุ้นตัวเดียวกัน บนวิธีการคัดเลือกเดียวกัน ไม่ใช่จะทนต่อแรงกดดันได้เท่ากัน หลายๆครั้งเพราะเหตุผลในใจต่างกัน

***********

ดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ต้องคำนึงถึง 2 จุดหลักใหญ่ ขึ้นให้มากพอที่จะหยุดยั้งเงินไหลออก แต่ต้องไม่มากเกิน ที่จะทำให้เศรษฐกิจ การค้า ธุรกิจในประเทศพัง 

**********

อย่าหลอกตัวเองว่ากำลังลงทุน ทั้งๆที่กำลังเก็งกำไรอยู่
************

ที่สำคัญคือเงินเฟ้อของไทยมาจากพลังงานแพงเป็นหลัก การขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้ทำให้น้ำมันราคาถูกลงด้วยสิ การแก้เงินเฟ้อเลยยาก 

ในแง่ของค่าเงินที่อ่อน หากพยุงให้อ่อนช้าเกินไป เกิดการเก็งกำไรค่าเงิน และเกิดการ short sell ค่าเงิน ซึ่งจะทำให้เงินไหลออก ค่าเงินอ่อนหนักมากขึ้นไปอีก แต่หากค่าเงินอ่อนเร็วเกินไป หลายธุรกิจที่เกี่ยวกับนำเข้าส่งออกจะปรับตัวไม่ทัน ต้องหาจุดสมดุลตรงนี้ให้ได้

**********

ความผันผวนของราคา มีความสำคัญต่อนักลงทุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือมันจะให้โอกาสนักลงทุนในการซื้อหุ้น ในตอนที่ราคาลดลงอย่างหนัก และให้โอกาสนักลงทุนขายออกเมื่อตลาดได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปอย่างมากจนราคาสูงกว่ามูลค่าไปมากๆ

ในช่วงเวลาอื่นๆนั้น การละเลยตลาดหุ้น แล้วหันไปใส่ใจต่อเงินปันผลและการดำเนินงานของบริษัทเป็นเรื่องที่ดีกว่า

***********
สิ่งที่คุณไม่ได้ทำ มีความสำคัญต่อความสำเร็จของคุณพอๆกับสิ่งที่คุณทำ

***********

ระหว่างที่กำลังแตกตื่นกับราคาหุ้นกัน คนลืมไปหมดแล้ว ว่าเราซื้อหุ้นเพราะจะได้ "สัดส่วนความเป็นเจ้าของ" ระหว่างที่ราคาหุ้นลดลงอย่างรุนแรงนั้น สัดส่วนความเป็นเจ้าของไม่ได้ลดลงตามราคาหุ้น
************

เป็นธรรมดาที่ทุกๆตลาดกระทิงจะต้องจบลงอย่างเจ็บปวด 😊

***********
อย่าจ่ายแพงเกินไปไม่ว่าการลงทุนนั้นจะดูน่าตื่นเต้นขนาดไหนก็ตาม
**********

ในชีวิตจริง ใครๆก็บอกว่าให้ห่างจากคนคิดลบ ให้มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ 

แต่มันใช้ไม่ได้กับการลงทุน การมองโลกในแง่ดีอาจทำให้ประเมินการทำกำไรของ บ.สูงเกินไป 

และเนื่องจากคนส่วนมากชอบมองบวกเกินไปในหุ้นที่ตนเองมี/ชอบ แม้จะระวังตัวแล้วก็ตาม ดังนั้นจึงมีคำว่า "ส่วนเผื่อความปลอดภัย" มาช่วยอีกชั้นนึง

*************
เงินสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ 

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเปรียบเสมือนเป็นบัฟเฟอร์ สำหรับปกป้องประเทศจากเหตุการณ์กระแสเงินทุนไหลออก
😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊

ค่าเงินบาทที่อ่อน + แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยทั่วโลก ทำให้ควรต้องจับตาหนี้ต่างประเทศให้ดีๆ  

ค่าเงินบาทที่อ่อนทำให้หนี้ ตปท เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และดอกเบี้ยทั่วโลกที่เริ่มขยับขึ้น ย่อมทำให้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายมากขึ้น

การมีหนี้ ตปท ลดลง (และในระดับต่ำ) ย่อมเป็นที่ Prefer กว่า

😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆

ดุลบัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า+ดุลบริการ

ดุลบริการ (Services) เป็นผลสุทธิระหว่างรายรับและรายจ่ายของบริการระหว่างประเทศ ประกอบด้วยค่า ขนส่ง ค่าท่องเที่ยว ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของภาคทางการ ค่าสื่อสารโทรคมนาคม ค่ารับเหมา ก่อสร้าง ค่าลิขสิทธิ์/เครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร ค่าประกันภัย เป็นต้น

การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะส่งผลให้ต้องทำการกู้ยืมเพื่อชดเชยการขาดดุล


*************
หุ้นที่มี PE ต่ำ และมีกำไรต่ำกว่าคาดการณ์ มักจะถูกตลาดลงโทษ โดยราคาลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็น
***********

เงินเฟ้อที่สูง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่อยากเก็บออมเป็นเงิน เพราะค่าเงินลดลงเรื่อยๆ ทางนึงที่เป็นไปได้ คือการเปลี่ยนเงินเป็นทรัพย์สินที่มีความคงทนถาวรและสามารถสร้างรายได้ และมีมูลค่าเพิ่มในอนาคต

ทรัพย์สินนึงที่คนคุ้นเคย มีความภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของ และมีความต้องการกันทุกคน คือ อสังหาริมทรัพย์ (บ้าน คอนโด) ไม่ว่าจะซื้อเก็บเพื่อเพิ่มมูลค่า หรือซื้อเพื่อการลงทุน

จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิด demand ในอสังหาเพื่อหนีเงินเฟ้อ (ในกลุ่มคนที่พอมีกำลังซื้อ)

รวมถึงราคาสินทรัพย์ที่มีความคงทนถาวรอาจจะมีราคาถูกลงในสายตาของต่างชาติ ให้ทำให้ต่างชาติอยากจะเข้ามาซื้อสินทรัพย์ที่มีความถาวรเพิ่มขึ้นได้ เช่น คนจีน มาซื้อบ้าน คอนโด (เนื่องจากเงินเฟ้อส่งผลให้ค่าเงินอ่อน และทำให้ราคาสินทรัพย์ในประเทศมีราคาถูกลงในสายตาต่างชาติ)

สมมติ เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 5%
กู้เงินเสียดอกเบี้ย 3% (ส่วนมากมีโปร 3 ปีแรกถ้าซื้ออสังหา หลังจากนั้นรีไฟแนนซ์ได้) 

คนกู้ได้ประโยชน์ (หากกู้เพื่อลงทุน) เพราะ กู้วันนี้ สมมตินำไปซื้อทรัพย์สินที่รักษามูลค่าได้ หรือเพิ่มมูลค่าได้ เช่น ซื้อบ้าน 

พอปีหน้า ราคาบ้านขึ้นตามเงินเฟ้อ 5% แต่จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 3% เท่ากับยังกำไร 2% ในขณะที่ สมมติ มีเงินสดเก็บไว้เฉยๆ พอผ่านไป 1 ปีมูลค่าจะลดลง 5%

***********

จำง่ายๆว่า Stagflation มีผลกระทบหลักๆ คือ 
1. หาเงินยากขึ้น
2. เงินด้อยค่าลงทุกวัน

ถ้าจำหลักนี้ได้ จะไม่งงเวลาฟังข่าว หรือฟัง นวค

*********
สิ่งสำคัญยิ่งกว่าฝีมือ คือความอดทน

**********

ซื้อ บ.ที่มีอนาคต มีการเติบโต เมื่อราคาสมเหตุสมผล ส่วนเศรษฐกิจภาพใหญ่ บางครั้งก็ช่วยหนุนบริษัท บางครั้งก็เป็นแรงต้านบริษัท 

แต่ในระยะยาวแล้ว บริษัทที่มีอนาคตก็จะฝ่าฟัน ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจที่ทั้งเกื้อหนุนและคอยถ่วง ไปได้อยู่ดี

กังวลหรือกะเก็งสภาพตลาดให้น้อยลง ศึกษาตัว บ.และธุรกิจให้มากขึ้นแทน
**********

ยังจำความรู้สึก ของตลาดหุ้นเมื่อวันก่อนที่ลบ 19 จุดได้ไหมครับ หลายคนรู้สึกว่ามันหมีสุดๆ และมันจะต้องหมีตัวใหญ่ต่ออีกอย่างแน่นอน 

เมื่อเทียบกับความรู้สึกของวันนี้ดูเหมือนจะเปลี่ยนมุมมองเป็นกระทิงกันแล้ว 

ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรที่ทำให้เมื่อ 2 วันก่อนเป็นหมีและวันนี้เป็นกระทิง จริงๆแล้วแค่ 2 วัน เหตุผลมันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย มันอยู่ที่ตลาดจะให้น้ำหนักกับข่าวที่เป็นหมีหรือเป็นกระทิงมากกว่า

สิ่งที่อยากจะสื่อก็คือ ข่าวมีมาตลอดเวลา เดี๋ยวหมีบ้าง เดี๋ยวกระทิงบ้าง ตลาดจะให้น้ำหนักไปในทางไหนขึ้นอยู่กับอารมณ์เป็นหลัก

หากคุณเป็นนักลงทุน สามารถที่จะมองข้ามความผันผวนเหล่านี้ออกไปได้เลย โฟกัสไปที่ราคาที่จ่ายกับคุณค่าที่ได้รับ หากมันคุ้มค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาวแล้วล่ะก็ ไม่ต้องไปใส่ใจกับความผันผวนระยะสั้นเลย 

ตลาดมันอยากจะแกว่งก็ให้มันแกว่งไป ถ้าคุณซื้อแบงค์ร้อยด้วยเงิน 70 บาท แล้วมีคนมาขอซื้อแบงค์ร้อยของคุณด้วยราคา 50 บาท คุณต้องบ้าจี้ขายให้เขาไหม ? 

เมื่อจ่ายไปในราคาที่คุ้มกับคุณค่าที่จะได้รับแล้วล่ะก็ ทำใจร่มๆ นิ่งๆ แค่รอสิ่งดีๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

*********

ถ้าตลาดให้ราคาผิดพลาดเป็นเวลาที่นานพอ ก็จะทำให้คนส่วนใหญ่คล้อยตามได้

**********

ความรู้ทักษะที่หลากหลาย สามารถช่วยส่งเสริมทักษะที่มีอยู่เดิมได้ ช่วยให้เก่งขึ้น ลึกซึ้งขึ้นได้

******
ใครๆก็อยากประสบความสำเร็จ แต่อย่าลืมถามตัวเองว่า เลือกทาง + ทุ่มเทอย่างหนักมากเพียงพอที่จะคู่ควรกับความสำเร็จนั้นไหม

ความสำเร็จแบบฟลุ๊คที่มาจากความโชคดีนั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่ความสำเร็จจากความมุ่งมั่นบากบั่นนี่สิยืนยาวกว่า

**********
ถ้าใช้หลักการซื้อหุ้นด้วยการเก็งกำไร หุ้นทุกตัวที่คุณซื้อก็คือการเก็งกำไร 

ถ้าใช้หลักการลงทุนเลือกซื้อหุ้น หุ้นทุกตัวที่คุณซื้อก็คือการลงทุน 

มันไม่มีหรอก ที่ใช้หลักการเก็งกำไรในการซื้อ พอติดดอยแล้วบอกว่าเป็นหุ้นลงทุน เป็นวีไอ

ใช้หลักการไหนก็ไม่ผิด แต่จะผิดถ้าหลอกตัวเอง และในตลาดหุ้น คนผิดคือคนจ่ายเสมอ

**********

เวลาซื้อหุ้นเพื่อลงทุน เมื่อตั้งใจจะ "ลงทุน" แล้ว แปลว่า ควรต้องยอมรับความผันผวนระยะสั้นของตลาดได้แล้ว (ปกติ ถ้าซื้อหุ้นได้ในราคาถูกหรือราคาสมเหตุสมผล ความผันผวนสูงสุด Max DD จากที่สังเกตนักลงทุนเก่งๆระดับโลก จะอยู่ที่ประมาณ 40% บวกลบ นั่นคือสิ่งที่ควรรู้และเตรียมใจไว้)

ลองมาดูความผันผวนของ BRK-A ที่เป็นพอร์ตหุ้นหลักของทั้งปู่ชาลีร์ และปู่ บัฟเฟตต์ จะเห็นว่าพอร์ตหลักของทั้ง 2 ปู่มีความผันผวนสูงสุดถึงประมาณ 50% เลยทีเดียว แต่มันก็เป็นแค่ความผันผวนบนช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น สุดท้ายแล้วพอร์ตก็ยังคงเติบโต เติบโต และเติบโต (รูปสุดท้าย)

เวลาดูหุ้นที่เป็น super stock ใครๆก็คิดว่าถ้ามีโอกาสได้ซื้อตอนราคาถูกแล้วถือยาวเหมือนอาจารย์นิเวศน์ก็คงจะรวยเหมือนๆกัน 

อย่าง CPALL ราคาปี 2008 อยู่แถว 3.75 (ราคาปัจจุบัน หลังแตกพาร์) ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 62 บาท ใครๆก็คิดว่าการถือ CPALL เป็นเรื่องง่ายถ้าซื้อได้ตอนถูกแล้วถือยาวก็คงจะรวยได้ 

แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นเช่นนั้นเลย เพราะว่าระหว่างทาง มีความผันผวน ระดับติดลบ 20% ถึงติดลบประมาณ 40% อยู่หลายครั้งทีเดียว

ถ้าคนที่ไม่ยึดมั่นในหลักการลงทุน ไม่ศึกษาบริษัทให้มากพอ ไม่มีทางถือหุ้นผ่านความผันผวนระดับนั้นมาได้ 

โดยมากเจอความผันผวนระดับ 7-10% ก็รีบเทขายหนีตายกันแล้ว 

"การขาดทุนก้อนใหญ่ (แบบชั่วคราว) เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนระยะยาว ถ้ายอมรับมันไม่ได้ คุณก็ไม่อาจเก็บเกี่ยวผลตอบแทนระยะยาวที่ตลาดจะมอบให้กับคุณ" - ชาลี มังเกอร์

**********

ถ้าคุณซื้อหุ้นของบริษัทที่ดี แข็งแรง มั่นคงในราคาถูกหรือราคาสมเหตุสมผลแล้วล่ะก็ คุณไม่ต้องกลัวว่าบริษัทจะล้มหายตายจาก จนราคาหุ้นกลายเป็นศูนย์ ถึงแม้ว่ามันจะมีความผันผวนที่มากก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วราคาหุ้นก็จะกลับมาได้ ตามพื้นฐานมูลค่าของบริษัทอยู่ดี

ประเด็นคือ คุณมั่นใจขนาดไหนว่ารู้จริง ว่า 
- ซื้อหุ้นได้ในราคาไม่แพงหรือสมเหตุสมผล
- บริษัทมีความแข็งแรงมั่นคง ผู้บริหารมีความตั้งมั่น ตั้งใจจริงในการทำธุรกิจอย่างซื่อสัตย์

**********

การซื้อหุ้นเพื่อลงทุน เป็นเรื่องระหว่างราคาและคุณค่าที่ได้รับกลับมา

**********

การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยการตอบสนองอัตโนมัติแบบที่ถูกต้อง ซึ่งการจะมีการตอบสนองแบบนั้นได้ ต้องผ่านการฝึกฝนมา

เช่น ทุกคนรู้ว่าหากราคาหุ้นลดลงมาต่ำมากๆ ควรจะลงทุนเพิ่ม จะซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนเพิ่ม 

แต่พอตลาดเทกระจาดลงมาอย่างรุนแรงจริงๆ action ที่เป็นอัตโนมัติกับกลายเป็นรีบคัดลอสหุ้นที่มีอยู่ในพอร์ต แทนที่จะลงทุนเพิ่มตามความรู้ที่มี สาเหตุเป็นเพราะ การตอบสนองแบบอัตโนมัติไม่ได้ถูกฝึกมาให้สอดคล้องกับการลงทุน ทำให้ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจแทนหลักการที่มีเหตุผล หรืออาจจะใช้หลักการของเทรดเดอร์แทนหลักการลงทุน (ใช้หลักการไม่สอดคล้องกับวิธีการ)

*****

ความเข้าใจในงบการเงินจะทำให้ มีความอดทนมากขึ้นในการถือหุ้น

*****

มันไม่มีอยู่จริงหรอกการลงทุนแบบไฮบริด มันมีแค่นักลงทุนหรือเทรดเดอร์ เท่านั้นแหละ

การใช้ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อประกอบการซื้อๆขายๆ โดยใช้กฎของการเทรด มันก็คือการเทรดนั่นแหละ แค่ใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นสตอรี่ เพื่อหวังจะให้มันเป็น catalyte เป็นตัวเร่งราคาเท่านั้นเอง 

เป็นเทรดเดอร์ก็แค่ยอมรับว่าเป็นเทรดเดอร์มันไม่ได้ผิดอะไร หากไม่ยอมรับก็จะนำหลักการที่ไม่ตรงกับวิธีการมาใช้ เป็นการหลงผิดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแน่นอนว่าในตลาดหุ้น คนที่ผิดคือคนที่จ่ายเสมอ

**********

เวลาอ่านในเรื่องความเสี่ยงของบริษัท บางบริษัทอาจจะมีความเสี่ยงในด้านที่มีลูกค้ารายใหญ่ จำนวนไม่กี่ราย ที่มีผลต่อรายได้ของบริษัทเป็นจำนวนมาก วิธีป้องกันความเสี่ยงที่บริษัทมักจะเขียนไว้คือเรามีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ามานานนับ 10 ปี จึงไม่น่าที่จะ มีใครมาแย่งลูกค้าไปได้

หรือมองอีกมุมนึง เราควรจะพูดว่า มีลูกค้ามาเป็น 10 ปีแล้ว ไม่มีรายใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาบ้างเลยหรือ ทำไมมีอยู่เพียงไม่กี่รายเท่าเดิม มันน่ากลัวนะ

******

เพิ่มพูนความรู้ + พยายามมีสติ เพื่อตัดสินใจให้ดีในทุกสถานการณ์ "อย่างสม่ำเสมอ"

******

ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยา เมื่อเราขายหุ้น ที่ราคาขึ้นมาแล้ว เราก็มักจะไม่กลับไปซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่แพงกว่าตอนที่ขายออกไป 

และเมื่อราคาหุ้นไม่ลงมา เท่ากับเราจะหมดหุ้นดีไปอีกหนึ่งตัว แล้วการจะไปหาหุ้นดีตัวใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่าจะดีกว่าเดิมหรือเปล่า นั่นทำให้ต้องพยายามถือหุ้นให้ยาวที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หลักคิด 13

TFEX คืออะไร

ตอบ คือ 
ตลาดซื้อขาย "สัญญาล่วงหน้า"  
ตลาด tfex มี ฟิวเจอร์ กับ ออปชั่น

(ฟิวเจอร์) สัญญาล่วงหน้า เปรียบเสมือน ใบจอง

ให้นึกถึงใบจองรถ
สมมติ รถราคา 1 ล้าน
เราจองไว้ 5,000 บาท
นัดรับรถ อีกสามเดือนข้างหน้า

พอเวลาผ่านไป 1 เดือน ราคารถ กลายเป็น 1.2 ล้าน เท่ากับกำไร 2 แสน จากเงินจอง 5,000 บ.

ถ้าราคา ผ่านไป 2 เดือน ราคารถเป็น 2 ล้าน เท่ากับกำไร 1 ล้าน จากเงินลงทุน 5,000

แต่ ถ้าราคารถ ลดเหลือ 995,000 เงินจองจะหายไป ใบจองจะไม่มีค่า (ใครจะซื้อใบจอง 5,000 เพื่อที่จะซื้อรถราคา 1 ล้าน)
ดังนั้น ใบจองจะกลายเป็น 0

คนส่วนมากไม่ซื้อใบจอง 5,000 บ.

คนส่วนมากคิดว่า ถ้ามีเงิน 1 ล้านเพื่อซื้อรถ เอาไปซื้อใบจอง 1 ล้านแทนดีกว่า เท่ากับจองรถได้ 200 คัน

หากราคารถขึ้นแค่ 10,000 บาท ราคารถเป็น 1,010,000 บาท 

เท่ากับ กำไร 2 ล้าน จากเงิน ลงทุน หนึ่งล้าน (10,000×200)

ึและการที่ราคารถ จะขึ้น 10,000 จาก ราคารถ 1 ล้าน เท่ากับขึ้นแค่ 1% ก็ได้แล้วนะ

ประเด็นคือ ถ้าราคารถ ลดลงแค่ 0.5% ( ราคารถจาก 1ลบ ลดไป 5,000 บาท เหลือ 995,000)

เงิน 1 ล้าน ที่ซื้อใบจอง 200 ใบ จะหายไปหมด !!!

แต่ ก่อนใบจองไม่มีราคานั้น เช่น รถราคาลดลงมา 4,000 จะเสมือน ใบจองเหลือมูลค่า 1,000 โบรค จะเรียกเติม เงินจอง หรือเรียกว่า เติมมาร์จิ้น

เพราะจะมี สัญญาการวางหลักประกัน ว่าขั้นต่ำ ต้องวางเท่าไร (5,000 ที่ซื้อใบจอง คือหลักประกัน)

ต่อมาพอราคา รถ ลดเหลือ 996,000 เท่ากับใบจองเหลือมูลค่า 1000 โบรกจะเรียกให้เติมมาร์จิ้น (วางเงินจองเพิ่ม) ไม่งั้นจะปิดสัญญาจอง เพราะหากราคารถ ลงต่ำกว่า 995,000 เดวลูกค้าจะไม่มีเงินมาจ่าย

คือ สัญญาฟิวเจอร์ส นี้ ไม่ได้ทำกับโบรค แต่ทำกับ นลท คนอื่นในตลาด คือใครอยากทำสัญญาก็ ส่ง ออเดอร์ เข้า pool

โบรค มีหน้าที่ดุแลให้ลูกค้าของตัวเองซื้อขาย และทำตามสัญญา 

ดังนั้น เมื่อมาร์จิ้นลดลงต่ำถึงจุด ที่ลูกค้าใกล้ติดลบ ลูกค้าจะโดน margin call (เรียกให้เติมหลักประกัน)

ไม่งั้นจะโดน force sell (บังคับการปิดสัญญา) 

การบังคับปิดสัญญา ทำตรงกันข้ามกับตอนเปิดสัญญา เช่น ซื้อใบจองซื้อ เอาไว้ ( Long) เวลาโบรกบังคับปิดสัญญา ก็จะทำการ ขายใบจองซื้อ( Short) ในราคาตลาดทุกราคา ณ วันที่เรียกให้เติมหลักประกันแต่ไม่เติม  

การโดนบังคับขายทุกราคานั้น มักจะทำให้ ราคาไหลลง ต่อเนื่อง

มันยังมี option ในตลาด tfex

ใบจอง (futures) = สัญญาล่วงหน้าว่าจะซื้อรถ (ใบจอง)

Option = สัญาล่วงหน้า ว่าจะซื้อขาย สัญญาล่วงหน้าอีกที (สัญญาล่วงหน้าว่าจะซื้อจะขาย ใบจอง)

Option คือ
- สัญญาล่วงหน้าว่าจะ ซื้อ ใบจอง ซื้อ LC
- สัญญาล่วงหน้าว่าจะ ขาย ใบจอง ซื้อ SC
- สัญญาล่วงหน้าว่าจะ ซื้อ ใบจอง ขาย LP
- สัญญาล่วงหน้าว่าจะ ขาย ใบจอง ขาย SP

L = Long 
S = Short
C = Call 
P = Put

พอก่อนนน เริ่มยาววว 🤣

**********

ให้คิดเสมอ ว่า เราลงทุนแข่งกับตัวเอง ไม่ได้แข่งกับคนอื่น ดังนั้นลงทุนให้ถูกจริตตนเอง 

การลงทุนด้วยหลักการของตนเอง จะต้องพลาดโอกาสที่จะเก็บเกี่ยวกำไรด้วยวิธีของคนอื่น เป็นเรื่องปกติมากๆ 

อย่าอยากได้กำไรจากทุกวิธีการ แค่เก่งและรู้ลึกในหลักการของตนเองให้มากก็พอแล้ว 

เรียนรู้สกิลของคนอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงทักษะและหลักการของตนเอง ให้เข้ากับจริตของตนเอง ไม่ใช่เลียนแบบโดยที่ไม่เข้ากับ mindset ของตนเอง 

ดังนั้น assets บางอย่างที่ไม่เข้ากับหลักการลงทุนของเรา เราจึงไม่จำเป็นต้องไปลงทุน อย่าไปลงทุนเพียงเพราะตามกระแส

*********

พอดีมีคนถามถึงเรื่องอสังหาแต่ละตัว จับลูกค้ากลุ่มไหนบ้าง

ตอบ

ภาพใหญ่แบบคร่าวๆนะครับ (ขี้เกียจไปเปิดค้นข้อมูล🤣)

AP รายได้ประมาณ 92% มาจากแนวราบ บ้านแนวราบเน้นราคา 5 ลบ ขึ้นไป บ้านแบรนด์ดัง ที่เป็นเจ้าตลาดคือบ้านกลางเมือง และที่เป็นที่รู้จักดีคือบ้านกลางกรุง คอนโดมี Aspire จับกลุ่ม 2-3 ลบ เน้น รายาย่อมเยาว์ บนทำเลที่ดี เช่น Aspire พระราม 4 ตรงข้ามคลองเตย มีการออกไปสร้างบ้านที่ต่างจังหวัดใช้แบรนด์ อภิทาวน์ คุ้นๆว่า เพิ่งเห็นกำลังเร่งรับสมัครพนักงาน สำหรับประจำต่างจังหวัด 
เป็นเจ้าใหญ่ที่กินมาร์เก็ตแชร์ในช่วงโควิดได้ดีที่สุด เติบโตได้แม้กระทั่งในปีที่มีโควิด ส่วนตัวมองว่าเป็นบริษัทที่มีหนี้สินค่อนข้างต่ำ ใช้การกู้ได้อย่างสมดุล

PSH แต่เดิมเน้นอสังหาราคาต่ำ 3-4 ลบ แต่ตอนหลังปรับกลยุทธ์ เป็นเน้นบ้านราคา 4-5 ลบขึ้นไป โดยเน้น ซินเนอร์ยี่ ระหว่าง รพ กับออกแบบบ้าน ให้สอดคล้องกับทั้งกลุ่มคนวัยทำงานและคนสูงวัย มีศูนย์สุขภาพจากโรงพยาบาลวิมุตตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน 
ส่วนคอนโด ที่ราคาย่อมเยาว์ มีแบรนด์ พลัมคอนโด

อีกธุรกิจที่เป็นความหวังคือโรงพยาบาลวิมุต มีความตั้งใจจะทำเป็นโรงพยาบาลเครือข่าย และอนาคตจะมีการออกไปต่างประเทศด้วย รวมถึงจะมีการทำศูนย์สุขภาพ wellness และคลินิกขนาดใหญ่

เป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงินสูง การสร้างโรงพยาบาลวิมุต มูลค่าประมาณ 6,000 ลบ ถ้าบริษัทจะไม่กู้เงินเลยก็สามารถทำได้ ด้วยกระแสเงินสดที่บริษัทมี 

SC เป็นเจ้าตลาดบ้านราคา 10 ลบขึ้นไป เน้นบ้านหรู ตกแต่งดี แต่ราคาก็ขยับสูงตาม ครับ คอนโดล่าสุด แถวทองหล่อ ห้องละร้อยกว่าล้าน จุดที่กวนใจผมก็คือออก ESOP หลายรุ่นเหลือเกิน จะปริมาณไม่มากก็ตาม 

SPALI เน้นทำอสังหาในแง่ของความคุ้มค่า ชอบสร้างในทำเลที่ไม่ใช่เกรด a ซะทีเดียว หมายถึงอาจจะไม่ได้ติดกับรถไฟฟ้าซะทีเดียว แต่ได้ห้องที่กว้างขึ้นใหญ่ขึ้น มีความคุ้มค่าในการอยู่อาศัยและประโยชน์ใช้สอย มีการกระจายลงทุนไปต่างประเทศและมีกำไรส่งกลับมาอย่างชัดเจนแล้ว มีออกไปต่างจังหวัดด้วย จุดอ่อนในช่วงนี้ก็คือการที่บริษัททำการขายหุ้นซื้อคืน คาดว่าจะกดดันราคาหุ้นจนถึงประมาณกลางปีหน้า 

ORI เจ้าตลาดคอนโด มีไอเดียใหม่ๆเยอะ เช่นคอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ คอนโด 2 ชั้น คอนโดโซโหสำหรับ sme บ้านเดี่ยวทำผ่าน BRI ทำสไตล์อังกฤษ น้องใหม่โตไว มาแรง 

ขยันทำ JV มีทั้ง ทวงหนี้ โลจิสติคส์ รับคริปโต โรงแรม อสังหาให้เช่า อสังหาเพื่อการลงทุน (แฮมส์ตัน) health care ออริ-กัญชง (ไม่แน่ใจว่าครบหรือยัง มีลืมอะไรไหม 😆) 

SENA เน้นระดับราคา ประมาณ 0.9 - 1.2 ลบ ส่วนราคาขยับตามขึ้นไปก็มีอยู่บ้าง ไปจนถึงแบรนด์บน อย่าง ปิติ (ผมไม่ชอบชื่อเลย 😂) เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่เพิ่งออก W และก็มี stock option หลายรุ่น จับปริมาณไม่มากแต่ก็น่ารำคาญใจไม่น้อย 

จุดไหนผิดพลาดทักท้วงได้นะครับ

**********
ปีเตอร์ ลินซ์ เป็นผู้บริหารกองทุนแมคเจลเลน สามารถทำผลตอบแทนทบต้นอยู่ที่ 29.2% ต่อปี ติดต่อกัน 13 ปี 

วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นผู้บริหาร Berkshire สามารถทำผลตอบแทนทบต้นอยู่ที่ 18.8% ต่อปี ติดต่อกันประมาณ 43 ปี คำนวนจาก ราคา BRK.A (ยังไม่ได้รวมกำไรจาก BRK.B) , 3/7/1979 - 23/6/2022

***********
บันทึกเป็นกรณีศึกษา ของหุ้น IPO 

หุ้น ipo ตัวล่าสุดที่เราจำได้ ว่าผู้ถือหุ้นเดิมนำหุ้นสามัญเดิมออกมาขายพร้อมกับการขาย ipo คือ TIDLOR โดยเริ่มต้นซื้อขายวันแรก 10 พฤษภาคม 2564 โดยมีราคา ipo ที่ 36.50 บาท

การที่ผู้ถือหุ้นเดิมขายหุ้นสามัญเดิมออกมาด้วย มันเป็นสัญญาณอะไรบางอย่าง 

เช่น บ.ดี มีผลประกอบการดี แต่ราคา IPO อาจจะสูงมาก จนทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมอยากจะขายออกมาเพื่อทำกำไรบ้าง  

หรือ ผู้ถือหุ้นเดิมอาจอยากจะใช้เงิน เลยขายหุ้นสามัญเดิมออกมาพร้อมกับการ ipo 

หรือ บ.อาจมีสัญญาณชะลอตัวอะไรบางอย่างในอนาคตที่ผู้บริหารมองเห็น แต่คนทั่วไปมองไม่เห็น 

แต่ทั้งนี้ทั้งหมดก็ได้แต่เดาเท่านั้น 

ในรูปเป็นกราฟ 30 นาที ของช่วงประมาณ 3 วันแรกหลังจาก ipo ของ TIDLOR 

ปล. 

TLI ไทยประกันชีวิต จะขายหุ้น ipo ทั้งหมดไม่เกิน 19.3% ของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญ "เพิ่มทุนไม่เกิน" 7.4% ที่เหลือจะเป็นหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม

รวมถึงอาจพิจารณามีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน เพิ่มเติมอีกไม่เกิน 14.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายในครั้งนี้
กรุงเทพประกันชีวิต
BLA เบี้ยประกันภัยปีแรก (ลบ)
2559 : 11,149 
2560 : 11,947
2561 : 8,101
2562 : 6,198
2563 : 6,550
2564 : 6,262

ไทยประกันชีวิต 
TLI เบี้ยประกันภัยรวม ปีแรก (ลบ)
2562 : 19,455.3
2563 : 17,396.0
2564 : 11,367.3

TLI เบี้ยประกันชีวิตแบบสามัญ ปีแรก
2562 : 16,544.9
2563 : 14,030.6
2564 : 7,895.9

**********************

เขื่อนที่ปล่อยน้ำตลอดเวลาเป็นประจำเป็นสิบปี แม่น้ำที่รับน้ำจากเขื่อน ย่อมมีระดับสูงกว่าตอนที่เขื่อนไม่ได้ปล่อยน้ำ 

เรือที่ลอยในแม่น้ำ ย่อมลอยสูงตามระดับน้ำในแม่น้ำ ผู้คนย่อมเคยชินกับระดับน้ำที่สูงมาเป็นสิบปี วันไหนน้ำลด คนก็จะบอกว่าเดวน้ำก็ขึ้นมาใหม่ เพราะดูจากสถิติค่าเฉลี่ยย้อนหลังเป็นสิบ ก็บอกแนวโน้มไว้แบบนั้น

แต่ถ้าวันใดที่น้ำลด เพราะเขื่อนหยุดปล่อยน้ำอย่างถาวร 

จะมีคนที่เคยชินกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังที่เคยดู แล้วบอกว่า เดวน้ำก็จะกลับมาอยู่ในระดับสูงเหมือนเดิม โดยลืมคิดไปว่า สถิติค่าเฉลี่ยย้อนหลัง แม้จะเป็นสิบปีก็ตาม มันใช้ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว เนื่องจากมีตัวแปรสำคัญเปลี่ยนไป คือ เขื่อนหยุดปล่อยน้ำแบบถาวรแล้ว

ถ้าเขื่อนคือ เฟด , น้ำที่เขื่อนปล่อยคือ QE (เงินง่าย) , เรือ คือ ราคาหุ้น และค่าสถิติย้อนหลัง คือ P/S , P/E 
???????
*********** 

มันสำคัญมากที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา

ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งเรียนรู้มากขึ้น ยิ่งมีประโยชน์ต่อการลงทุนมากขึ้น
**********

ล้มเหลวจนได้ดี - โธมัส เอดิสัน

ความล้มเหลวเป็นบทเรียนสู่ความสำเร็จ

***********

DXY 
US dollar index ดัชนีวัดความแข็งของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินต่าง ๆ 

โดยปกติสกุลเงินแข็งค่าขึ้น มีค่ามากขึ้น ก็ต่อเมื่อเป็นที่ต้องการมากขึ้น 

หาก US Dollar Index เพิ่มขึ้นสูงกว่า 100 จุด หมายความว่า ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน

หาก US Dollar Inde xลดลงต่ำกว่า 100 จุด หมายความว่า ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน 

ปกติแล้วทรัพย์สินใดๆก็ตามหากเป็นที่ต้องการสูง ก็ย่อมจะมีราคามีค่ามากขึ้น เงินดอลลาร์ก็เช่นกัน ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าเงินดอลลาร์จะกลายเป็นแบงค์กงเต๊ก เพราะมีแต่คนอยากได้และเป็นที่ต้องการ 

ปล. ในรูปทำแพทเทิร์น w shape แถมเบรคแล้วด้วย หากว่ากันตามแพทเทิร์นมีโอกาสไปถึง 116 โดยประมาณ

***********

ช่วงประมาณปี 2008 เกิดวิกฤตซับไพร์ม SET ไหลลงอย่างรวดเร็วตามวิกฤตที่เกิดขึ้น ธปท ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อพยุงเศรษฐกิจ 

จากปี 2009 เป็นต้นมาเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว (นอนว่าดัชนีชี้นำล่วงหน้ากว่าคิดจริง) 

พอช่วงกลางปี 2010 ฟื้นตัวได้ดีแข็งแรงแล้ว ธปท ก็เริ่มมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (เส้นสีฟ้า) จะสังเกตได้ว่าจากกลางปี 2010 SET (เส้นสีส้ม) วิ่งขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงประมาณกลางปี 2013 จุดนี้พอจะบอกได้ว่าเศรษฐกิจเป็นตัวผลักดันดัชนีขึ้นไป การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ไม่ให้ร้อนแรงเกินไป 

โดยรวมคือ 
แม้ดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่เป็นเจ้ามือหลักในการผลักดันดัชนี SET คือ "เศรษฐกิจจริงที่ฟื้นตัวเติบโต" และการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ดัชนีลดลง 

สรุป ให้ติดตามภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจริงจะดีกว่าคอยกังวลกับเรื่องดอกเบี้ยนโยบายที่จะปรับขึ้นหรือไม่


******

นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะคาดการณ์ตลาด

นักลงทุนมักคิดว่า ตนเองจะสามารถคาดการณ์ ตลาดได้แม่นยำ 

การที่นักลงทุนทั่วไปจะคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของตลาด ได้เก่งกว่าคนส่วนใหญ่ ทั้งๆที่ตัวเขาเองก็เป็นหนึ่งในส่วนใหญ่นั้น ฟังดูย้อนแย้งดีไหม
******

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หลักคิด 12

สำหรับผม ผมมองว่าหุ้นไทยที่น่าลงทุน คือ หุ้นที่เป็นหุ้น มั่นคง แนว value+ปันผล  แต่ต้องเป็นการทยอยซื้อตามจุดต่างๆ หลายๆไม้ 

- สิบกว่าปีที่ผ่านมา เงินง่ายไม่ได้ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย มีแต่ไหลออก เพิ่งมีปลายปี 2021 ที่เริ่มมีกลับมาซื้อตลาดไทย

- หุ้นมั่นคงแนว value บ.จะไม่ล้มหายตายจากอีกอย่างน้อยสิบปี นานพอที่กระทิงตัวใหม่จะมา

- เงินปันผล สำคัญมาก ถ้าให้รอเป็นสิบปี แล้วไม่มีเงินปันผลมาช่วยเป็นกำลังใจ จิตใจคงห่อเหี่ยวน่าดู แต่ถ้ามีปันผล ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธนาคาร ก็ยังสบายใจ ว่าลงทุนแล้วยังได้ปันผลดีกว่าฝากธนาคาร

ไอเดียอาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่เราเน้นจำกัด ความเสี่ยงเป็นหลัก ส่วนกำไรจะตามมาเองถ้าคุมการขาดทุนไว้ได้

********
หลายครั้งที่เราเฝ้ารอโอกาสการลงทุนที่ดีให้มาถึง บางครั้งใช้เวลาในการรอค่อนข้างนาน และเมื่อโอกาสมาถึงแล้ว ถ้าเราปล่อยให้โอกาสการลงทุนที่ดีหลุดมือไป หรือลงทุนน้อยเกินไปในจังหวะนั้น นับได้ว่าเป็นความผิดพลาดอย่างหนึ่ง
*********
เวลาดูหุ้นที่เป็น super stock ใครๆก็คิดว่าถ้ามีโอกาสได้ซื้อตอนราคาถูกแล้วถือยาวเหมือนอาจารย์นิเวศน์ก็คงจะรวยเหมือนๆกัน 

อย่าง CPALL ราคาปี 2008 อยู่แถว 3.75 (ราคาปัจจุบัน หลังแตกพาร์) ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 62 บาท ใครๆก็คิดว่าการถือ CPALL เป็นเรื่องง่ายถ้าซื้อได้ตอนถูกแล้วถือยาวก็คงจะรวยได้ 

แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นเช่นนั้นเลย เพราะว่าระหว่างทาง มีความผันผวน ระดับติดลบ 20% ถึงติดลบประมาณ 40% อยู่หลายครั้งทีเดียว

ถ้าคนที่ไม่ยึดมั่นในหลักการลงทุน ไม่ศึกษาบริษัทให้มากพอ ไม่มีทางถือหุ้นผ่านความผันผวนระดับนั้นมาได้ 

โดยมากเจอความผันผวนระดับ 7-10% ก็รีบเทขายหนีตายกันแล้ว 

"การขาดทุนก้อนใหญ่ (แบบชั่วคราว) เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนระยะยาว ถ้ายอมรับมันไม่ได้ คุณก็ไม่อาจเก็บเกี่ยวผลตอบแทนระยะยาวที่ตลาดจะมอบให้กับคุณ" - ชาลี มังเกอร์

***********
การที่จะกล้าซื้อสวนกระแสได้นั้น จะต้องมีข้อมูลที่มากเพียงพอ รู้ลึก รู้จริง และแม่นยำ
**********
จากที่ได้ฟังมา นักลงทุนเก่งๆหลายคนที่ไปลงทุนในหุ้นเติบโตที่ยังไม่มีกำไร หลังจากที่เจอตลาดหมีจากการขึ้นดอกเบี้ย และการทำ qt ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเมินมูลค่าหุ้นเติบโตเหล่านั้นสูงเกินไป ประเมินมูลค่าหุ้นเหล่านั้นผิดพลาด 

เบื้องหลังการประเมินมูลค่าที่ผิดพลาดทั้งๆที่แต่ละคนก็เป็นนักลงทุนเก่งๆ ผมคิดว่าเกิดจาก โดนสมองตัวเองหลอก เมื่อคนเราเกิดความโลภแต่ไม่ยอมรับว่าโลภ สมองก็จะคิดหาวิธีต่างๆนานา ทั้งหลอกว่าเราเก่งพอที่จะเอาตัวรอด ในตลาดที่เราเสียเปรียบ ทั้งหลอกว่าตัวเองประเมินมูลค่าหุ้น conservative เพียงพอ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว หลักการที่ใช้ แตกต่างกับหลักการที่ตนเองถนัดเมื่อลงทุนหุ้นไทย 

เมื่อความโลภบังตา มันไม่ได้ทำให้เรารู้ว่าเราโลภ แต่มันเปลี่ยนวิธีคิดของสมองเรา ให้สมองเราหลอกตัวเราเอง 

กว่าจะรู้ตัว หรือที่เรียกว่าตาสว่าง คิดได้ว่าเราทำอะไรลงไป ก็ตอนที่ขาดทุน

ความตกใจ ความกลัว ความเสียใจ มันไล่ความโลภออกไป ทำให้ความคิดที่เคยหลอกตัวเองนั้นมลายหายไป ถึงได้ตาสว่างขึ้นมา หลายคนยอมรับภายหลัง ว่าเพราะตอนนั้นโลภ  กลัวตกรถ 

การแพ้อารมณ์ตนเอง เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ เก่งมากเผลอใจไป ก็โดนอีโก้กินกันได้ทุกคน ต้องหมั่นรู้ใจตนเองบ่อยๆ  :)

ถ้าลงทุนได้กำไรปีละ 20% ต่อเนื่องกันสามปี เงิน 10 ล้านจะกลายเป็นประมาณ 17 ลบ และหากปีที่สี่ ขาดทุน 45% จากเงิน 17 ลบ จะเหลือไม่ถึง 10 ล้านบาท

**********

- วิกฤติต้มยำกุ้ง
- วิกฤติซับไพร์ม
- วิกฤติโควิด 

ต่อจากโควิด ตอนนี้กำลังโดนซ้ำด้วยวิกฤติเงินเฟ้อ สินะ 

โควิดส่งผลให้สหรัฐ ทำ Unlimited QE เป็นสาเหตุหลักให้ ศก ฟื้นเร็ว เงินเฟ้อสูง จนต้องขึ้นขึ้นดอกเบี้ยและลด QE + สงครามยูเครน รัสเซีย เป็นตัวกระตุ้นให้เงินเฟ้อเร็วขึ้นไปอีกทั้งโลก
****

หนี้สินที่สูงสามารถส่งผลกระทบต่อบริษัทได้ 2 ทาง 
- ในแง่ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มี margin ลดลงหรืออาจจะต้องเพิ่มราคาขาย
- เมื่อต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลให้ ความสามารถในการแข่งขันลดลง หรือยอดขายลดลง

*****
วิกฤติซ้ำซ้อน (วิกฤติเงินเฟ้อต่อจากวิกฤติโควิด) นักลงทุนต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ขึ้นอยู่กับ หลักการลงทุน การเตรียมพร้อมในช่วงก่อนหน้า และ ความอดทน ระยะเวลาคาดหวัง ของการลงทุน ที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันครับ

- ลงทุนด้วยหลักการไหน หุ้นเติบโต หรือหุ้น value

- มีเงินสำรอง หรือรายได้เพิ่มเติมระหว่างที่รอผลลัพธ์จากการลงทุนได้นานแค่ไหน

- มีความอดทนรอผลลัพธ์ในการลงทุนได้นานแค่ไหน ยึดมั่นในหลักการของตนเองได้นานแค่ไหน โดยที่ไม่ทรมานใจ และระหว่างรอมีปันผลมากพอไหม

- ก่อนหน้าตลาดหมี ตั้งหลักการลงทุนบนระยะยาว หรือระยะกลาง หรือระยะสั้น

ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้ และทุกคำตอบสอดคล้องกับการลงทุนระยะยาว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรที่จะถือ position ต่อ และหากมีรายได้เข้ามาต่อเนื่องอาจเป็นจังหวะในการลงทุนเพิ่ม 

แต่ถ้าแต่ละคำตอบขัดแย้งในตัวมันเอง ก็อาจจะเหนื่อยหน่อยที่จะถือ position ผ่านตลาดหมีครับ

ปล.
ไม่ว่าราคาหุ้นจะเป็นเท่าไหร่ สัดส่วนในความเป็นเจ้าของ ก็ยังเหมือนเดิม 

ถ้าผลประกอบการของ บ.ไม่ได้ลดลง (หรืออาจเพิ่มน้อยกว่าคาด) แล้วละก็ ไม่ว่าราคาหุ้นจะเป็นเท่าไร เงินปันผล จากหุ้นเดิมในมือ ก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยยะ

**********

การลงทุนลงทุนได้ทันทีเมื่อพบเจอธุรกิจที่ดีมีงบการเงินที่แข็งแรงมั่นคง มีสินค้าและบริการที่มียอดขายแข็งแรงเพียงพอ บ.ที่มีความทนทานต่อทุกภาวะเศรษฐกิจ บนราคาที่สมเหตุสมผล 

ไม่ต้องมัวรอภาวะตลาด ว่าจะรอเศรษฐกิจดี ปัญหาไม่มี เพราะปัญหาไม่เคยหายไปจากระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะไหนก็ตาม

สารพัดปัญหาที่มี 
เศรษฐกิจซบเซา การค้าไม่ดี ผลประกอบการตกต่ำ คนตกงาน โดนกดค่าแรง สินค้าราคาตกต่ำ ดอกเบี้ยเงินฝากลดลง พอมีนักท่องเที่ยวคนจีนเยอะ ก็ว่าเสียงดังน่ารำคาญไม่มีมารยาท 

หรือจะปัญหาแบบ ดอกเบี้ยขึ้น เงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง ค่าแรงขั้นต่ำขึ้น ต้นทุนผลิตสินค้าสูง นักท่องเที่ยวจีนไม่มีก็บอกว่าทำให้เศรษฐกิจไม่ดี  

จะเห็นว่า ไม่ว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะไหนมันก็มีปัญหาตลอด ปัญหาไม่เคยหายไป แค่เปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ 

ถ้าจะรอหให้ปัญหาหายไปแล้วค่อยลงทุน คงไม่มีวันได้ลงทุน 

เพียงหา บริษัทที่มั่นคง หนี้สินต่ำ สามารถเอาตัวรอดและฝ่าฟันเศรษฐกิจในสภาพต่างๆได้ ในราคาสมเหตุสม แล้วลงทุนไปเรื่อยๆ ทำทุกปัจจัยและทุกเงื่อนไขให้เวลาอยู่ข้างเรา แล้วผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดขึ้นเอง
**********

ตัวเลข EPS และ dividend นำมาจากบริษัทจริง เพื่อเป็นตัวอย่าง คำพูดของปู่บัฟเฟตต์ 

"การซื้อหุ้นของบางบริษัท ที่มีผลประกอบการค่อนข้างสม่ำเสมอ มีการเติบโตของกำไร เปรียบเสมือนกับการซื้อพันธบัตร ที่จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกปี"

ตัวอย่าง คือสมมุติซื้อ หุ้นที่ราคาต่างๆ (6.50 , 7.40 และ 8.50 ) ของบริษัทเดียวกัน 
ดูที่ช่อง % DIV  จะเห็นว่าอัตราเงินปันผลต่อราคาหุ้น เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเปรียบเสมือนพันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกปี 

หากสามารถซื้อหุ้นได้ในลักษณะนี้แล้ว และผลประกอบการของบริษัทก็ยังดีอยู่ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องที่ดีอยู่ ก็คงไม่อยากจะขายมันออกไป โดยเฉพาะหากซื้อได้ในราคาที่ถูกด้วยแล้วล่ะก็

ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมถึงการเติบโตของราคาหุ้น ที่เป็นกำไรเพิ่มเติมอีกต่างหาก 

หากทยอยสะสมหุ้นลักษณะนี้เข้าพอร์ต หลายๆบริษัท มันจะสร้างเป็นพอร์ตที่มีกระแสเงินสดที่มั่นคง จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น ทุกปีและมากขึ้นทุกๆปี มันจะดีแค่ไหน ทั้งๆที่บริษัทที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ราคาหุ้นมีความผันผวนตลอด แต่ราคาตลาดไม่ได้เกี่ยวกับกระแสเงินสด (เงินปันผล) ที่นักลงทุนจะได้รับจากบริษัทเลย

**********

การลงทุนระยะยาวนั้น ไม่ได้ยากที่หลักการ แต่

-ยากที่ความเข้าใจในหลักการอย่างลึกซึ้ง 
- ยากที่การปรับ mindset ให้เข้ากับหลักการ หรือหาหลักการที่เข้ากับ mindset 
- ยากที่ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง 
- ยากที่ต้องหัดอยู่นิ่งๆให้เป็น

**********

การทำอะไรโง่ๆ หมายถึง การจ่ายแพงกว่ามูลค่าของธุรกิจ - ชาลี มังเกอร์
***********

หากต้องการสร้างพอร์ตเพื่ออิสรภาพทางการเงิน พอร์ตหุ้นควรเต็มไปด้วยหุ้นที่เติบโตต่อเนื่องและมีมูลค่าเพิ่มในระยะยาว จำนวนหลายตัว ที่จะหาเพิ่มเข้าพอร์ตได้

แต่การสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้น แสดงว่า หุ้นเหล่านั้นต้องเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ทำให้ไม่ต้องคอยขายหุ้นออกมาบ่อยๆ

หากต้องขายหุ้นออกจากพอร์ตบ่อยๆ การสะสมหุ้นที่ดีที่ยั่งยืนก็จะทำได้ช้าลง เพราะมีทั้งซื้อเข้าและขายออกจากพอร์ต 

แต่หากสามารถหาบริษัทที่ซื้อเข้าและไม่ต้องขายออกในระยะยาว การสะสมหุ้นในพอร์ตก็จะมีแต่การสะสมหุ้นที่ดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นการสร้างพอร์ตเติบโตขึ้นเรื่อยๆในระยะยาว

แต่ไม่ใช่ว่าหุ้นราคาถูกคุณภาพปานกลางจะลงทุนไม่ได้เลย ในบางช่วงเวลาที่ไม่สามารถหาหุ้นคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสมได้ หุ้นคุณภาพปานกลางราคาถูกมากก็เป็นในทางเลือก สามารถสร้างผลตอบแทนได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนเมื่อราคามันเต็มมูลค่า ซึ่งก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าไม่มีอะไรให้ลงทุนเลย 

ถ้าเราเลือกบริษัทที่ถูกแล้ว การถือหุ้นไปเรื่อยๆนั้น ผลตอบแทนจะคุ้มค่าอย่างมาก

***********

สำหรับสายเทรดเท่านั้น !!! 
(เป็นหลักการของสายเทรดไม่ใช่นักลงทุน)

ในตลาดหมี indicator ทุกอินดี้ หรือสัญญาณการเทรดทุกสัญญาณ สามารถเป็นสัญญาณที่ผิดพลาดได้มากกว่าที่คิด

ในตลาดหมี การเปิดสถานะซื้อใหม่ ควรใช้การ stop loss ที่กระชับขึ้น เช่น 2 ถึง 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ 7-8 เปอร์เซ็นต์ ในตลาดปกติ
- อย่าซื้อเพียงเพราะทำตามคำแนะนำของบทวิเคราะห์
- ถ้า day trade ให้ขายทำกำไรอย่างรวดเร็ว
- อย่าซื้อเพียงเพราะ "รู้สึกว่า ตลาดหมีน่าจะจบลงแล้ว"  
- อย่าเล่นเกมที่พยายามจะซื้อที่จุดต่ำสุดของตลาด
- อย่าใช้ margin
- เงินสดคือพระเจ้าในตลาดหมี
- หุ้น 3 ใน 4 จะวิ่งตามแนวโน้มของตลาดรวม
- นักลงทุนมือใหม่ มันไม่ใช่เวลาที่จะลองแหย่ดู รอก่อนจะฉลาดกว่า
- อย่าพยายามมี position ที่แย่ๆ
- ก่อนตลาดหมีจะมา ยิ่งคุณมีอีโก้มากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเสียหายหนักมากเท่านั้นในเวลาที่ตลาดหมีมาเยือน
***********

มีความกลัวว่าในอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทยจะชะลอตัวลง จากปัญหาต่างๆ เงินเฟ้อ มันแพง สินค้าแพง ต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอนาคต

มองในฐานะนักลงทุน การลงทุนของเราก็อย่าวางแผนการลงทุน บนเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเติบโตเร็วนักสิ แผนการลงทุน เลือกลงทุนบนการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไม่ได้เติบโตเร็วนัก โดยให้เวลาอยู่ข้างเรา 

แน่นอนที่พูดถึงนั้น ในฐานะของนักลงทุน ในส่วนของผู้กำหนดนโยบายนั้นก็ต้องทำให้ดีที่สุด เติบโตได้มากเพื่อที่จะได้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ 

แต่ในฐานะนักลงทุน เราทำอะไรไม่ได้ มากไปกว่าการวางแผนการลงทุนของตนเองให้สอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างอนุรักษ์นิยม โดยให้เวลาอยู่ข้างเรา อย่าทำตัวเป็นศัตรูกับเวลา อย่าทำอะไรเร่งรีบตลอดเวลา จะทำให้ขาดสติ

*************
เมื่อมีบ้าน มีคอนโด มีอสังหาริมทรัพย์ เป็นของตนเองแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป ทุกคนย่อมอยากให้ราคาบ้านขยับสูงขึ้นตามกาลเวลา คงไม่มีใครอยากให้บ้านราคาลดลง 

และการที่บ้านราคาสูงขึ้น มันก็เหมือนทรัพย์สินอื่นๆที่ราคาสูงขึ้น คือ นอกจากตัวมันมีคุณค่าเป็นที่ต้องการมากขึ้นแล้ว อีกสิ่งที่ช่วยให้ราคาบ้านสูงขึ้น คือ เงินเฟ้อ 

จริงๆแล้วเงินเฟ้ออ่อนๆ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ 

เงินเฟ้อไม่ใช่ผู้ร้ายไปซะทุกทาง เงินเฟ้อมากเกินไปก็ไม่ดี น้อยเกินไปก็ไม่ดี มันมีระดับที่เหมาะสม
*************

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หลักคิด 11

ในโลกของตลาดหุ้น ไม่มีวิธีการลงทุนแบบใดดีที่สุด มีแต่แบบไหนที่เหมาะกับเรามากที่สุด 

ดังนั้นหาให้พบว่าวิธีไหนเป็นวิธีที่เหมาะกับตนเองมากที่สุด ยิ่งค้นพบเร็วยิ่งเริ่มเดินทางได้เร็ว
**********
บันทึกเป็นกรณีศึกษา ของหุ้น IPO 

หุ้น ipo ตัวล่าสุดที่เราจำได้ ว่าผู้ถือหุ้นเดิมนำหุ้นสามัญเดิมออกมาขายพร้อมกับการขาย ipo คือ TIDLOR โดยเริ่มต้นซื้อขายวันแรก 10 พฤษภาคม 2564 โดยมีราคา ipo ที่ 36.50 บาท

การที่ผู้ถือหุ้นเดิมขายหุ้นสามัญเดิมออกมาด้วย มันเป็นสัญญาณอะไรบางอย่าง 

เช่น บ.ดี มีผลประกอบการดี แต่ราคา IPO อาจจะสูงมาก จนทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมอยากจะขายออกมาเพื่อทำกำไรบ้าง  

หรือ ผู้ถือหุ้นเดิมอาจอยากจะใช้เงิน เลยขายหุ้นสามัญเดิมออกมาพร้อมกับการ ipo 

หรือ บ.อาจมีสัญญาณชะลอตัวอะไรบางอย่างในอนาคตที่ผู้บริหารมองเห็น แต่คนทั่วไปมองไม่เห็น 

แต่ทั้งนี้ทั้งหมดก็ได้แต่เดาเท่านั้น 

ในรูปเป็นกราฟ 30 นาที ของช่วงประมาณ 3 วันแรกหลังจาก ipo ของ TIDLOR 

ปล. 

TLI ไทยประกันชีวิต จะขายหุ้น ipo ทั้งหมดไม่เกิน 19.3% ของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ 

โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญ "เพิ่มทุนไม่เกิน" 7.4% ที่เหลือจะเป็นหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม

รวมถึงอาจพิจารณามีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน เพิ่มเติมอีกไม่เกิน 14.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายในครั้งนี้



กรุงเทพประกันชีวิต
BLA เบี้ยประกันภัยปีแรก (ลบ)
2559 : 11,149 
2560 : 11,947
2561 : 8,101
2562 : 6,198
2563 : 6,550
2564 : 6,262

ไทยประกันชีวิต 
TLI เบี้ยประกันภัยรวม ปีแรก (ลบ)
2562 : 19,455.3
2563 : 17,396.0
2564 : 11,367.3

TLI เบี้ยประกันชีวิตแบบสามัญ ปีแรก
2562 : 16,544.9
2563 : 14,030.6
2564 : 7,895.9

**********

การลงทุนเพื่อเปลี่ยนฐานะนั้น ต้องลงทุนให้มีปริมาณที่มีนัยยะต่อความมั่งคั่งของเรา ไม่ใช่ลงทุนเพียงหวังหาค่ากับข้าวไปวันๆ
*******

ถ้าเข้าไปในห้องๆนึง แล้วทำเรื่องโง่ๆตลอดเวลา รู้ได้เลย ว่าห้องนั้นเรียกว่า ตลาดหุ้น

ใช่แล้ว ตลาดหุ้นมักจะหลอกให้คนที่หลงเข้าไปทำเรื่องโง่ๆ ทำเรื่องผิดพลาดได้แทบตลอดเวลา 

เข้าตลาดหุ้นเพราะหวังกำไร แต่คนส่วนมากต้องขาดทุน เข้าไปเพื่อหวังซื้อของถูกจะได้ขายแพง แต่พอซื้อจริงซื้อของแพงทุกที เข้าไปซื้อเพราะหวังขายแพงให้คนอื่น คิดว่าคนอื่นโง่กว่า แต่เอาเข้าจริงๆ ตัวเอง คือคนโง่ที่ไม่รู้ตัว ไปซื้อแพงแล้วต้องมาขายถูกๆ แถมไม่ยอมรับง่ายๆด้วยนะว่าตัวเองหลงผิด 

ตลาดหุ้นมันหลอกเราได้ทุกทาง จนกว่าเราจะยอมรับว่าตัวเราโง่นั่นแหละ เราถึงจะยอมเรียนรู้ความผิดพลาด และทำให้เรารู้ทันมัน

******
ลงทุนบนพื้นฐานบริษัท ลงทุนบนยอดขาย รายได้และกำไร ที่บริษัทสามารถสร้างได้ 

พิจารณาให้ละเอียด ถึงปัจจัยมหภาค ที่ส่งผลต่อบริษัท

หากเป็นการส่งผลเพียงชั่วคราว และไม่ได้มีนัยยะต่อรายได้และผลกำไรของบริษัทในระยะยาวแล้วล่ะก็ ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องกังวล หรือรีบขายหุ้นออกเพื่อหนีปัจจัยมหภาพเหล่านั้นด้วยความกลัว 

ความกลัวและความแตกตื่น มักจะมาในรูปแบบที่เราคิดไม่ถึงเสมอ
******

หากแผนการลงทุน คือการลงทุนระยะยาว ข่าวดีระยะสั้นของหุ้นแต่ละตัว ที่ทำให้ตลาดตื่นเต้น แทบจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจคัดเลือกหุ้นเพื่อลงทุนในระยะยาวเลย 

หุ้นที่แย่แค่ไหนก็สามารถสร้างสตอรี่ข่าวดีระยะสั้นได้ทั้งสิ้น แต่มันไม่ได้แปลว่าจะเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของ บ.กันได้ง่ายๆ

มีบ้างที่พื้นฐานเปลี่ยนไปจริงๆ แต่เป็นส่วนน้อยมากๆ

บ.ที่ดี ที่เหมาะจะลงทุนระยะยาว พื้นฐานของ บ.มักจะดีมาก่อนหน้าอย่างยาวนานอยู่แล้ว
******

เราเชื่อว่าช่วงที่ผ่านมา มีคนล้างพอร์ตเพราะ
- เห็นตัวเลขเงินเฟ้อ แล้วกลัว
- คิดไปล่วงหน้าว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก กนง
- กลัว QE TEMPERING ที่กำลังจะมาถึง
- กลัวอนาคตจะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
- ทุกเหตุผลรวมกันจนตลาดมีสภาพ side way ไม่เหมาะแก่การรันเทรนด์

ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ปัจจัยเหล่านี้อาจไม่ได้ส่งผลต่อบางบริษัทมากมายเลย อาจจะมีผลกระทบบ้างแค่ชั่วคราวเล็กๆน้อยๆ ในบางบริษัทที่มีความแข็งแกร่งสูง

แต่ก็นั่นแหละ เมื่อความกลัวครอบงำจิตใจแล้ว เหตุผลต่างๆก็จะหายไปหมด

ถ้านักลงทุนยังให้ความสำคัญกับราคาตลาด มากกว่าพื้นฐาน มูลค่า และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทแล้วล่ะก็ จะไม่มีวันเอาชนะความกลัวนี้ได้

*****

ต่อให้มีข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นครบถ้วน ข้อมูลทั้งหมดนั้นก็ไร้ค่า ถ้าไร้ซึ่งความสามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมการลงทุนของตนเอง และมัวแต่หมกหมุ่นกับคาดการณ์ตลาด

******

องค์ประกอบของผลตอบแทนรวม 

ผลตอบแทนรวม = เงินสด + กำไรส่วนต่างราคาหุ้น + เงินปันผล

1.เงินสด สำหรับรอโอกาส ไม่มีผลตอบแทน ไม่มีความเสี่ยง (อาจเป็น บางส่วนหรือทั้งหมดของเงินปันผล และ/หรือ กำไรจากส่วนต่างราคา)

2.กำไรส่วนต่างราคาหุ้นจากการลงทุนนั้นจะอิงกับ 
- ผลประกอบการของบริษัทเราสามารถกำหนดได้ เรามีสิทธิ์เลือก ว่าจะซื้อ บ.ที่มีผลประกอบการลักษณะไหน อยู่ที่เราศึกษาบริษัทมากพอ เข้าใจบริษัทมากพอที่จะคัดเลือกเพื่อลงทุนให้ตรงกับความต้องการหรือไม่ 
- ราคาที่ซื้อ จุดนี้เราก็มีสิทธิ์เลือกเช่นกัน เราเป็นคนกำหนดว่าจะซื้อที่ระดับราคาขนาดไหน จะซื้อราคาถูกหรือแพงกว่ามูลค่า 
- สภาพตลาด เป็นตัวเดียวที่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกหรือกำหนด และเป็นเสมือน ตัวหนุน หรือ ตัวฉุดกำไร/ขาดทุน ของเราให้มาก/น้อยขึ้นไปอีก

3.เงินปันผล ไม่อิงกับสภาพตลาด (ขึ้นกับผลประกอบการของ บ. เรียกว่าขึ้นอยู่กับการเติบโตภายในจาก บ.โดยตรง) จุดนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาสภาพตลาด

*****
คนไม่น้อยมักจะขาดความมั่นใจ ในการถือ หรือเข้าซื้อหุ้นที่ราคาต่ำๆ
******
แนวคิดเรื่องเทขายทั้ง portfolio ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นสิ่งที่ปฏิบัติจริงได้ยาก และแน่นอนว่าไม่พึงปรารถนา  คนส่วนใหญ่ที่พยายามทำเช่นนั้น มักจะขายช้าเกินไป และซื้อช้าเกินไป อีกทั้งยังทำ 2 อย่างนี้บ่อยเกินไป  - จอห์น เมย์นาร์ด  เคนส์

*****

ถ้าเงินเฟ้อเพราะสินค้าและบริการราคาสูงขึ้น นั่นหมายถึงเงินมีค่าลดลง ทางแก้คือ แทนที่จะถือเงินก็ไปถือ สินค้าและบริการแทนสิครับ 

การถือสินค้าและบริการ หมายถึง การถือ สินค้าโดยตรง เช่นถือ ที่ดิน บ้าน สต๊อกสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดและสามารถปรับราคาขึ้น (จริงๆสินค้ามันก็ปรับราคาได้อยู่แล้วเพราะสินค้าราคาขึ้นซึ่งเป็นที่มาของเงินเฟ้อ) 

คราวนี้ การถือสินค้าและบริการ เรื่องที่จะให้มาตุนสินค้า มันไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าไม่ใช่คนที่ทำอยู่ในอาชีพเดิมนั่นอยู่แล้ว ไหนจะที่เก็บสต๊อก ไหนจะโกดัง 

ทางแก้ก็คือ ถือหุ้นของ บ.ที่ถือสิทธิ์สต๊อกสินค้าและบริการ ที่สามารถปรับราคาขึ้นได้ 

เมื่อมาถึงจุดนี้ เราก็รู้แล้วว่าทรัพย์สินไหนที่จะถือครองได้ง่ายเพื่อหนีภาวะเงินเฟ้อ แต่ไม่ใช่จะเข้าไปถือได้ในทุกราคา มันก็ต้องมีปัจจัยในการคัดเลือกหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง 

หากตั้งใจจะถือหุ้นเพื่อหลีกหนีเงินเฟ้อ แสดงว่า 
- ต้องถือหุ้นเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน ระยะกลางถึงระยะยาวขึ้นไป 
- ถือหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าได้แม้จะปรับราคาขึ้น และยอดขายก็ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย 
- จังหวะในการซื้อหุ้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้เลือกซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า ยิ่งราคาถูกลงมายิ่งเป็นโอกาสที่ดี สำหรับการซื้อหุ้น 
- การถือหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงเงินเฟ้อ ปริมาณที่ถือมีความสำคัญ ถ้าทรัพย์สินส่วนใหญ่ยังเป็นเงิน ถือหุ้นในจำนวนน้อย ก็ย่อมหลีกเลี่ยงเงินเฟ้อได้ในปริมาณที่น้อย
- และเมื่อต้องถือหุ้นระยะกลางถึงยาวขึ้นไป สิ่งหนึ่งที่ช่วย ชูใจ ช่วยทำให้ใจฟู มีกำลังใจถือหุ้นในระยะยาวได้ก็คือ เงินปันผล 
- ราคาหุ้นที่ลงมาเป็นโอกาสในการซื้อ ซื้อแล้วมองไปที่มูลค่า ถ้าประเมินมูลค่าไม่ผิด ถ้าไม่ประเมินมูลค่าสูงเกินไป เมื่อจ่ายเงินซื้อหุ้นแล้ว ให้ยึดที่มูลค่าเป็นหลักไม่ใช่ยึดที่ราคา 
- มีสติ รู้ไว้เสมอว่าช้าหรือเร็วก็ตาม สุดท้ายแล้ว ราคาจะกลับมาวนเวียนอยู่ใกล้กับมูลค่าเสมอ
*****

การลงทุนระยะยาวโดยหลักการแนว value investor นั้น จากที่สังเกต จะมี MAX DD ประมาณ 30-50% ดังนั้นการเตรียมพร้อมทางด้าน Mindset จะเป็นเรื่องสำคัญมาก และ นลท จำนวนมากไม่พร้อมรับมือกับ dd ขนาดนี้

********

คนที่ยังไม่เคยโดนความผันผวนขนาดหนักเล่นงานมาก่อน มักจะชอบความผันผวน ยิ่งมากยิ่งดี เพราะมองว่าเป็นโอกาส 

แท้ที่จริงแล้ว ทุกคนมีจิตใจที่สามารถรองรับกับความผันผวนของทรัพย์สินได้แตกต่างกัน 

ความผันผวนระดับที่เหมาะสมกับจิตใจเท่านั้น ที่จะสร้างโอกาสได้

และจิตใจจะสามารถรองรับความผันผวนได้ดียิ่งขึ้น มากยิ่งขึ้น ถ้าหากรู้ด้วยความมั่นใจถึงมูลค่า และความสามารถในการทำกำไรของกิจการ

*****
นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นเติบโต ส่วนมากเวลาประเมินมูลค่ามักจะใช้ ค่าสุดท้ายในการประเมินมูลค่า จาก สถิติย้อนหลัง ของ P/E P/S EV/S 

ซึ่งถ้าเมื่อไหร่ค่าสถิติย้อนหลังเหล่านี้ผิดในระดับมหภาค จะทำให้ นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นเติบโต ขาดทุนหนักกันทั้งโลก

เงินง่าย (เงินจากการทำ QE ของสหรัฐ) ทำให้อัตราส่วนต่างๆเหล่านั้นผิดเพี้ยนบนระยะเวลาที่ยาวนานเป็น 10 กว่าปี จนนักลงทุนส่วนมากหลงเชื่อว่ามันจะเป็นค่าเฉลี่ยที่แท้จริงตลอดไป 

ไม่เคยเฉลียวใจว่าถ้าวันใดเงินง่ายหายออกไปจากระบบ อัตราส่วนเหล่านั้น ตัวเลขเหล่านั้น จะเปลี่ยนไปอย่างถาวร
******

บทเรียนที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่นักลงทุนจะได้เรียนรู้จากเหล่ามืออาชีพในตลาดหุ้น คือ ไม่มีทางที่เราจะพบแต่วันคืนดีๆ โดยปราศจากวันคืนอันเลวร้าย การขาดทุนก้อนใหญ่ (แบบชั่วคราว) เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนระยะยาว ถ้ายอมรับมันไม่ได้ คุณก็ไม่อาจเก็บเกี่ยวผลตอบแทนในระยะยาวซึ่งตลาดจะมอบให้กับคุณ - ชาลี มังเกอร์

*******
การหาบริษัทที่ได้ประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อสูง 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม 2565 ของประเทศไทยอยู่ที่ 7.1% yoy
บริษัทที่ได้ประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อ จะต้องมีลักษณะต่อไปนี้
- มีหนี้สินค่อนข้างต่ำ ส่งผลให้ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่สูง การออกหุ้นกู้หรือการกู้ยืมจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำ
- ยอดขายที่เติบโต สินค้าหมุนเวียนดี

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า Real Yield คืออะไร 
Real yield = ผลตอบแทน (จากพันธบัตร/หุ้นกู้) - อัตราเงินเฟ้อ

เช่น ฝากเงินธนาคาร สมมติได้ดอกเบี้ย 1% แต่เงินเฟ้อ 7.1% 
ผลตอบแทนจริงที่ได้จากการฝากเงิน คือ 1% - 7.1% = (-6.1%)
นั่นคือ ผู้ที่ "ได้รับดอกเบี้ย" จะได้ผลตอบแทนติดลบ 

ทำไมบริษัทที่มีอัตราดอกเบี้ยจากการกู้ยืมต่ำถึงได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อในปัจจุบัน ?
เพราะ Real Yield จากการออกหุ้นกู้ของบริษัท นั้นติดลบ 

ยกตัวอย่าง

AP ออกหุ้นกู้จำนวน 2 พันล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ 1.81% ปัจจุบันเงินเฟ้ออยู่ที่ 7.1% 
นั่นหมายถึงบริษัทจะได้ประโยชน์จากการที่ Real Yield ติดลบอยู่ (-5.29%)

และแน่นอนบริษัทที่ "ได้ประโยชน์" จากอัตราเงินเฟ้อ จะต้องเป็นบริษัทที่จ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้หรือดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ต่ำกว่าเงินเฟ้อจึงจะเป็นผู้ได้ประโยชน์ 

นั่นหมายความว่าบริษัทที่มีหนี้สินที่สูง มีอันดับเครดิตที่ต่ำ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง จะเป็นบริษัทที่ "ไม่ได้ประโยชน์" จากอัตราเงินเฟ้อ

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น 
ตัวอย่างให้ดูอีกหนึ่งตัวอย่าง
สมมุติคุณกู้เงิน โดยจ่ายดอกเบี้ย 3% ซื้อบ้าน แล้ว บ้านที่คุณซื้อมาแล้ว มีราคาเพิ่มขึ้นปีละ 5% คุณจะได้กำไรปีละ 2%

นั่นคือคุณจ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ

******

ไม่ว่าราคาหุ้นจะเป็นเท่าไหร่ สัดส่วนในความเป็นเจ้าของ ก็ยังเหมือนเดิม 

ถ้าผลประกอบการของ บ.ไม่ได้ลดลง (หรืออาจเพิ่มน้อยกว่าคาด) แล้วละก็ ไม่ว่าราคาหุ้นจะเป็นเท่าไร เงินปันผล จากหุ้นเดิมในมือ ก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยยะ

รับมือกับตลาดอย่างมีสติ และใจร่มๆ 😊
******

ถ้าจัดพอร์ตให้มี asset ต่างๆกัน (หุ้นเทคเมกา คริปโต และอื่นๆ) เพื่อกระจายความเสี่ยง แต่ทุก asset ถูกหนุนด้วย "เงินง่าย"  

มันก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับช่วงเวลานี้ และต่อจากนี้ เพราะเงินง่ายจะค่อยๆลดลง (นี่ขนาดยังไม่ได้เริ่มลด "เงินง่าย" เลยนะ)

ทุกสินทรัพย์ที่ถูกหนุนด้วยเงินง่าย ย่อมปรับระดับลดลงเมื่อเงินง่ายหายไป เสมือนเรือที่ลอยอยู่ในน้ำ เมื่อน้ำลด เรือย่อมลดระดับลงตาม

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หลักคิด 10

เมื่อไรที่ฐานะของคุณ บ่งบอกว่า พร้อมที่จะเป็น fulltime investor ได้ (แต่จริงๆแล้ว การทำงานประจำคู่กันไปย่อมดีกว่าเพราะมั่นคงกว่า แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคล)

 ด้านจิตใจ 
- ลงทุนมานานพอสมควร ถ้าให้ดีอย่างน้อยควรผ่านตลาดหุ้นมาหนึ่งรอบวัฎจักรเศรษฐกิจ จะได้ผ่านทั้งตลาดหุ้นขาขึ้นและขาลงมาแล้ว เพื่อว่าจิตใจมั่นคงพอ ไม่หวั่นไหวยามเจอกับตลาดหมีตัวโต 

- มีแนวทางการลงทุนของตัวเองที่ชัดเจน ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว 

- ต้องมั่นใจว่าเป็นคนมีวินัยในตัวเองสูง เพราะการเป็น full time investor จะมีอิสระสูงมาก ทำให้หย่อนยาน ในการพัฒนาตนเองและการรับรู้ข่าวสารได้มาก 

- ต้องมั่นใจว่าติดตามข่าวทุกเช้าได้ (ไม่ใช่แค่มั่นใจแต่ต้องทำอยู่เป็นกิจวัตรประจำวันอยู่แล้ว) 

- ติดตามข่าวเศรษฐกิจประจำวัน 
- ติดตามข่าวในเวบตลาดหลักทรัพย์ 
- ติดตามบทวิเคราะห์ที่ออกมาใหม่ 
- รวมถึงติดตามข่าวสารของบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่ 
- มีเวลาให้กับการหาหุ้นตัวใหม่ 

ด้านการเงิน
- ถ้าเป็นนักลงทุนแสดงว่าต้องมีการรับปันผล ซึ่งเงินปันผลนั้นควรจะเท่ากับหรือมากกว่า 1.3 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำปี โดยส่วนที่เหลือสามารถนำไปรวมเป็นเงินฉุกเฉิน 

(โดยค่าใช้จ่ายประจำปีนั้นต้องคิดล่วงหน้า ถึง แต่งงาน มีลูก ค่าการศึกษาลูก ค่าผ่อนรถผ่อนบ้าน รวมไว้แล้วทั้งหมด)

- มีเงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อยที่สุดเท่ากับ คชจ หนึ่งปี (แต่จะดีมากถ้ามีสำรองมากกว่านั้น) ในส่วนนี้ หากมีเกินกว่า 2 ปี อาจแยกลงทุนเป็น พอร์ตหุ้นย่อยเพิ่มเติม หากมีเหตุจำเป็นที่ใช้เงินมากกว่าเงินฉุกเฉิน จะได้ไม่กระทบกับพอร์ตหลัก

ถ้ามีทุกอย่างมากกว่าที่กล่าวมาทั้งหมด นั่นคือคุณมีความพร้อมสูง เมื่อเป็น full time investor แล้ว โอกาสที่จะต้องกลับไปทำงานประจำก็จะมีน้อยมาก

อยากจะขยายความและการหาหุ้นตรงจุดนี้

ค่าเฉลี่ยเงินปันผลของ SET ทั้งตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 2%-3% 

ดังนั้นหุ้นที่อยู่ในเกณฑ์ปันผลดี ก็ควรจะมีเงินปันผลที่สูงกว่าตลาด ดังนั้นจึงโฟกัสไปที่หุ้นที่มีปันผลสูงกว่า 3% ขึ้นไป (Prefer 4% up)

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้ดูที่เงินปันผลเป็นหลักในการคัดเลือกหุ้น เพียงแต่มันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ 

การคัดเลือกหุ้นที่จะเอามาประกอบเป็นพอร์ต เพื่อที่จะให้มีอิสระทางการเงิน เพื่อที่จะใช้รับเงินปันผลในระยะยาวนั้น ควรจะต้องเป็นบริษัทที่มี ความสม่ำเสมอของรายได้ ที่คาดการณ์ได้ 

มีการเติบโตมากกว่าเงินเฟ้อจริงๆคือเติบโตสูงได้ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่มักจะหายากที่จะเติบโตสูงและได้ปันผลสูงคู่กัน และราคาไม่แพง

การเติบโตปีละมากกว่า 20% เป็นอะไรที่ไม่ยั่งยืนในระยะยาว ราคาหุ้นในช่วงที่มีการเติบโตสูงมากกว่าปีละ 20% นั้นมักจะมีราคาสูงมาก ถ้าซื้อหุ้นลักษณะนี้แล้วถือใน "ระยะยาว" พอวันที่การเติบโตลดลง และตลาดปรับค่า P/E ลง ราคาหุ้นจะกระโดดลงแบบ 2 เด้ง (กำไรลด×พีอีลด) 

การลงทุนอิสรภาพทางการเงินหรือเพื่อเป็น full time investor เราให้ความสำคัญกับความเสี่ยงของพอร์ตหุ้นระยะยาวเป็นสำคัญด้วย เพราะถ้าหากระหว่างทางเกิดมีหุ้นในพอร์ตเจอ Accident สักตัว อาจทำให้พอร์ตพังได้ และต้องมาเริ่มสร้างพอร์ตใหม่ ซึ่งจะทำให้เวลาที่ผ่านมาสูญเปล่า (เวลาในการลงทุนของคนเราตลอดช่วงชีวิต มีอย่างจำกัด เพิ่มขึ้นไม่ได้)

และการที่จะถือหุ้นของบริษัทในระยะยาว ความมั่นคงของบริษัทจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ที่ควรดูคู่กันไปคือ หนี้สินของบริษัท ไม่ควรจะสูงเกินไป 

ระหว่างบริษัทที่ใช้หนี้สินสูงในการเร่งการเติบโต กับบริษัทที่มีหนี้สินไม่สูงและมีการเติบโตปานกลาง อย่างหลังจะลดความเสี่ยงระยะยาวของพอร์ตได้ดีกว่า 

อีกปัจจัยหนึ่ง ที่สำคัญต่อการหาหุ้นลงทุนระยะยาว คือ ผบห (หรือ ผถญ) สำคัญมาก หลายครั้งที่นักลงทุนรายย่อยมักจะมองข้ามข้อนี้ 

นักลงทุนไม่ใช่ trader การมีผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ชอบสร้างราคาให้เกินมูลค่าไปมากๆบนระยะเวลาสั้นๆ นั้นไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะราคาที่เกินมูลค่าในระยะเวลาสั้นๆสุดท้ายแล้วราคาก็จะต้องลดลงมาอยู่ดี และอย่างไรเสีย เราก็ไม่ได้ขายหุ้นออกบนช่วงระยะเวลาที่สั้นๆอยู่แล้ว แต่ต้องการ ผู้บริหารที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคงต่างหาก 

แนวคิดของผู้บริหาร จะส่งผลต่อคุณลักษณะของคนที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ถ้าผู้บริหารที่ชอบเล่นกับราคาตลาด ขยันลากขยันทุบราคาและให้ข่าวบ่อยเกินไป ก็จะได้ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เป็นเทรดเดอร์หรือนักเก็งกำไร หรือผู้ที่สนใจจะถือหุ้นแค่ชั่วคราวเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาหุ้นมีความผันผวนสูง

รวมถึงผู้บริหารที่ชอบใช้วิศวกรรมทางการเงินแปลกๆ อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะในระยะยาว ไม่รู้ว่าจะเจอวิธีการอะไรแปลกๆ มาไดลูทมูลค่าหุ้นหรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้น อาจเป็นอันตรายต่อการถือหุ้นในระยะยาว เป็นอันตรายต่อพอร์ตการลงทุนระยะยาว

ทั้งหมดนี้ก็เป็นปัจจัยหลักๆที่สำคัญในการสร้างพอร์ตเพื่อรับเงินปันผลในระยะยาว ส่วนในรายละเอียดปลีกย่อยก็อาจจะมีเพิ่มเติมกัน แล้วแต่ละบุคคลกันไป

°°°°°°°°°°°°°°°°

มีคำกล่าวว่า "ไม่จำเป็นจะต้องทำสิ่งที่มหัศจรรย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มหัศจรรย์" 

นักลงทุนไม่จำเป็นที่จะต้องรวยในช่วงเวลาข้ามคืนเพื่อให้บั้นปลายชีวิตมีความมั่นคง 

ถ้าคุณลงทุนเป็นเงิน 1 ล้านบาท และได้ผลตอบแทนปีละ 12% ต่อปี เป็นเวลา 30 ปี มันจะกลายเป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท 

หรือถ้าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ปีละ 15% ต่อปีบนเวลา 30 ปีมันจะกลายเป็นเงิน 66 ล้านบาทจากเงินต้นเพียง 1 ล้านบาท

ไม่จำเป็น ต้องอยากรวยเร็ว กำไรปีละเป็น 100% ขนาดยอมลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงๆ แล้วโอกาสที่จะสำเร็จมีน้อยนิด และพอไม่สำเร็จคุณก็แทบไม่เหลืออะไรเลย เสียทั้งเงินและเสียทั้งเวลา ส่งผลให้แก่ตัวอย่างไม่มีอะไรดีขึ้นมาเลย 

บางครั้งก็ต้องชั่งน้ำหนักอยากมีหลักพันล้านโอกาสสำเร็จ 1%
หรืออยากมีหลักร้อยล้านแต่โอกาสประสบความสำเร็จ 70-80%

*********
เล่ห์กลทางบัญชี , วิศวกรรมการเงิน ,วิศวกรรมทางบัญชี สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงนิสัยของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี 

ผู้บริหารที่ซื่อตรงจะมีความพยายามที่ให้บัญชีของบริษัทแสดงออก สื่อถึงมูลค่าที่แท้จริง ความสามารถในการทำกำไร และหนี้สินของบริษัทอย่างใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ผู้บริหารที่ทำผิดไปจากนี้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาว่าจะส่อถึงความไม่ซื่อตรง 

การที่ผู้บริหารพยายามจะใช้เล่ห์กลทางบัญชี วิศวกรรมทางการเงิน วิศวกรรมทางบัญชี ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อหลอกตานักลงทุน เพื่อที่จะตบตานักลงทุนทั้งสิ้น

ถ้าในมุมมองของธุรกิจให้ลองสมมุติว่า เพื่อนคุณจัดตั้งบริษัท แล้วให้คุณเป็นหุ้นส่วน โดยเพื่อนคุณเป็นผู้บริหาร ถ้าหากเพื่อนคุณใช้เล่ห์กลทางบัญชี  คุณอยากที่จะร่วมเป็นหุ้นส่วนกับเพื่อนคุณหรือไม่ ?

**********

อย่าสับสนระหว่างความฉลาดกับตลาดกระทิง - ฮัมฟรีย์ บี. นีลล์

**********

คนที่ซื้อลอตเตอรี่หลายคนเคยบอกไว้ว่า ชีวิตนี้เกิดมาครั้งเดียว อยากลองถูกรางวัลที่ 1 บ้าง ถึงได้ซื้อลอตเตอรี่ 

ฟังแล้วก็ได้แต่ เอิ่มมมม
คนซื้อหวยคือ นักพนัน
เจ้ามือหวย คือ คนทำธุรกิจ

ถ้าเจ้ามือหวยสอนให้คุณเล่นหวย
นั่นคือเขาต้องการทำกำไรจากคุณ

หากลงทุนโดยคิดว่าชีวิตนี้เกิดมาครั้งเดียว แล้วซื้อหุ้นโดยใช้วิธีคิดแบบซื้อลอตเตอรี่ที่หวังจะถูกรางวัลที่ 1 นั่นไม่เรียกว่าเป็นการลงทุน แต่เรียกว่าเป็นการซื้อหวย

ถ้ามีคนบอกว่าชีวิตนี้เกิดมาครั้งเดียวมาซื้อหวยกันเถอะ (มาเก็งกำไรกันเถอะ) คุณควรต้องคิดให้หนัก

**********

กรณีศึกษา ในการเปรียบเทียบ หุ้นที่กำลังเติบโต ไปสู่จุดที่เป็นหุ้นมั่นคง

บ. A 
- มีหนี้สินที่ต่ำเมื่อเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้น
- รายได้มีความสม่ำเสมอพอสมควรอยู่ที่ประมาณ 13,000 ล้านถึง 15,000 ล้าน
- กำไรสุทธิก็มีความเสมอคืออยู่ที่ประมาณ 1,500 ล้านถึง 1,900 ล้านจะมีปี 64 ที่ดรอปลงมาจากเหตุการณ์โควิด
- market cap อยู่ที่ 13,600 ล้าน 
- PE อยู่ที่ 8.97 เท่าและ PB อยู่ที่ 0.68 เท่า
ดูแบบนี้แล้วน่าจะเป็นบริษัทที่ค่อนข้างอิ่มตัว มีความมั่นคงดี 

บ. B 
- มีหนี้สินที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้น 
- รายได้ที่ประมาณ 3,000-3,600 ล้าน 
- กำไรสุทธิ 400-580 ล้าน
- market cap อยู่ที่ 15,200 ล้าน
- PE ประมาณ 40 เท่า PBประมาณ 12 เท่า
รู้ได้เลยว่าหุ้นบริษัท B เป็นหุ้นขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงสูง และนักลงทุนมีความคาดหวังที่สูงมากบริษัทนี้

บริษัท b มีขนาด market cap มากกว่าบริษัท a แสดงว่านักลงทุนอาจจะคาดหวังให้บริษัทบีเติบโตจนมีกำไรมากกว่าบริษัท a ก็อาจจะคาดหวังกำไร จากบริษัท b 2,xxx ลบ อย่างน้อย หรือเปล่า ???

ลองสมมุติเล่นๆ ถ้าบริษัท b จะทำกำไรได้สัก 2 พันล้านต้องมีรายได้สักเท่าไหร่ บริษัท b มีอัตรากำไรสุทธิประมาณ 12-16% สมมุติค่าเฉลี่ยที่ 14 เปอร์เซ็นต์ นั่นแปลว่าบริษัทดีต้องมีรายได้อย่างน้อย 14,000 ล้าน โดยที่ราคาหุ้นปัจจุบันนี้ดูจาก market cap ได้ตอบรับกำไรที่ 2 พันกว่าล้านหรือได้ตอบรับรายได้ที่ 14,000 กว่าล้านไปแล้วหรือเปล่า ???

ถ้าใช่ ถ้าสมมติว่า ราคาหุ้นได้ตอบรับกำไรที่ 14,000 ล้านไปแล้ว คนที่ซื้อหุ้นนะราคาปัจจุบันจะต้องรออีกกี่ปีกว่ารายได้จะไปถึง 14,000 ล้าน และระหว่างที่รอหากมีเหตุให้รายได้ไปไม่ถึง 14,000 ล้านราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร 

จริงๆแล้วในรายละเอียดของแต่ละบริษัทยังมีเรื่องปลีกย่อยที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย 
เช่น สมมติว่า มีการเติบโตบางอย่าง ที่เรามองไม่ออก ที่สามารถทำให้บริษัท b มีรายได้ไปถึง 30,000 ล้าน ราคาหุ้นปัจจุบันก็จะกลายเป็นราคาถูกมากไปในทันที

ทั้งหมดเป็นเพียง "การสมมุติ" เพื่อเป็นเคสศึกษา เพื่อการเปรียบเทียบหุ้นเท่านั้น

ปล. โดยส่วนตัวชอบอะไรที่จับต้องได้ในปัจจุบันมากกว่า ที่จะไปรอน้ำบ่อหน้าและต้องแบกรับความเสี่ยงสูงๆ
Stanly & FSMART