วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เงินฝาก vs หุ้น

   มุมมองที่ นลท มีต่อบอนด์ เทียบกับมุมมองที่ นลท มีต่อ asset ประเภทอื่นๆเช่น หุ้น ทอง
ช่วงหุ้นลง นลท ที่หูตาไวออกจากหุ้นก่อน หลายคนเหตุผลที่ออกเพราะ ต้องการรักษากำไรและเงินต้น อีกหลายคนที่ออกเพราะหุ้นที่มีในมือมันแพงมากกว่า หรือใกล้เคียงมูลค่าแล้ว
เมื่อออกจากหุ้นแล้วมองว่าตลาดจะมีอาการซึมยาว หลายคนต้องหาผลตอบแทนจากทางอื่นชั่วคราว บางคนซื้อซื้อหุ้นกู้ บางคนที่ต้องการความพร้อมของเงินตลอดเวลาเลือกฝากประจำสั้นๆ บางคนเลือกซื้อหุ้นที่มีส่วนต่างราคาทำเทนเดอร์
มามองถึงคนที่ซื้อหุ้นกู้หรือฝากเงินกัน มักจะคิดว่าเงินต้นอยู่ครบจริงๆแล้วมันอยู่ครบ ถ้าอัตราดอกเบี้ย TTM ที่เราถือมันไม่เปลี่ยน แต่หาก mark to market ทุกวันเหมือนหุ้น จะเห็นได้ว่า NAV ของเงินฝากหรือของเงินที่เราซื้อหุ้นกู้นั้น เปลี่ยนทุกวันไม่ต่างจากหุ้น เพียงแต่เราไม่ได้เอามาคำนวนหรือดูมันบ่อยเท่าหุ้น และมันมีการันตีตอนครบกำหนดว่าเงินต้นอยู่ครบ แต่การันตีนั้นแลกด้วยผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยย้อนหลัง
ลองคำนวนเล่นๆว่า NAV หายไปได้เท่าไร
   สมมติ bond 10ปี เราซื้อไว้ที่ ดบ 3.5% มูลค่าที่ซื้อ (NAV) 1,000,000  ต่อมา ดบ เพิ่มเป็น 4.5% หากเราคำนวน NAV จะได้ว่า NAV เหลือ 777,777 บ.  ขาดทุนไปถึง 22.22%
เงินฝาก ธนาคาร หรือหุ้นกู้ก็เช่นเดียวกัน
เชื่อว่าหลายคนคงคิดไม่ถึง ว่าการฝากเงินหรือซื้อบอนด์ เมื่อ mark to market แล้ว จะขาดทุนยาม ดบ ขึ้นได้มากขนาดนั้น แค่เรารู้สึกสบายใจที่ไม่ยอมรับความจริงที่เป็น เราปิดตาตัวเอง ไม่มองมันจนกว่าจะครบกำหนด เราอาจเคยสงสัยว่าคำนวนยังไง แต่เราเลือกที่จะไม่หาวิธีในการคำนวน ไม่อยากรับรู้ความจริงเท่านั้นเอง
   มามองความเหมือนความต่างกับหุ้น อย่างแรกเลยการขายหุ้นที่ over value "เมื่อยามหมดตลาดกระทิง" เป็นสิ่งควรทำ  ต่อมาหากเราสามารถซื้อหุ้นที่มีผลตอบแทนจากการดำเนินงานที่เหมาะสม ( irr "จากการดำเนินงาน" ในจุดที่เราเริ่มพอใจ) และเราได้คำนวนเผื่อไปในอนาคตอย่าง conservative เพียงพอ เมื่อเราเริ่มซื้อหุ้นแล้ว และราคายังลงต่อไป เราอาจปิดหูปิดตาเหมือนที่เราฝากเงินกับธนาคารหรือซื้อหุ้นกู้ บนเงื่อนไขสองข้อ
1. การมอง บ.ที่ลงทุนไม่ผิดพลาด และมีการคำนวนที่เผื่อไว้พอสวมควร
2. เห็นภาพ บ.ในอนาคตชัดเจนว่ามูลค่ายามตลาดปกติควรอยู่ที่เท่าไร (ไม่ใช่บนตลาดกระทิง)
ซื้อแล้วราคายังลงต่อ ก็เหมือนซื้อบอนด์แล้วระหว่างทาง NAV ลดลง
"เราก็เพียงรอเวลาที่ครบกำหนด ไม่ต่างจากรอบอนด์ครบกำหนด" ซึ่งแน่นอนการลงทุนในหุ้นผลตอบแทนที่เราวางไว้ย่อมมากกว่า
นอกเรื่องสักหน่อย
ประเด็นของ นลท ส่วนใหญ่ที่ขาดทุนคือ
1.มองกิจการไม่ขาด หรือเกิดการลังเลเมื่อเห็นราคาลงมากแล้วขายขาดทุน กลับมาถือเงินสดหรือบอนด์ อันนั้นคือการขาดทุนถาวร เพราะบอนด์เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วแทบจะชดเชยการขาดทุนจากหุ้นไม่ได้เลย
2.คำนวนไม่ออกว่าราคาไหนคือ ราคาที่ถูกหรือแพงในการซื้อ รวมถึงคำนวนมูลค่ากิจการแท้จริงไม่ได้
3.ใช้วิธีการลงทุนผิดกับสภาพตลาด เช่น เล่นเก็งกำไรบนตลาดหมี
บาง บ.กิจการดีมาก แต่ราคา เสมือนซื้อ เบนซ์ในราคา โรส์ รอยล์
แล้วบอกว่าลงทุนเพราะ พื้นฐานกิจการ
หากคุณซื้อเพราะต้องการ "กำไรจากการดำเนินงานของ บ." ก็ควรนำผลตอบแทนนั้นมาเทียบกับ ดบ เช่น
หากต้องการถือหุ้นสัก 5ปี และอัตรา ดบ 5ปี อยู่ที่ 3.5%ต่อปี
Net income/Mkt cap ควรจะเป็น (3.5%+ค่าความเสี่ยงในการลงทุน)
แต่อย่างไรก็ตามค่านี้ไม่ควรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ
สำหรับบาง บ.ที่รายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ กระแสเงินสดดี ปันผล 100%  โอกาสเจ๊งในอีก 5ปีแทบเป็นศูนย์ หนี้ต่ำ ไม่มีโอกาสเพิ่มทุนอย่างแน่นอน
ดังนั้นหากเจอ บ.แบบนี้อาจตีค่าความเสี่ยงใกล้เคียงเป็นศูนย์ ดังนั้นผลตอบแทนต่ำสุด อาจใช้ ผลตอบแทนขั้นต่ำสุดที่เราพอใจ แต่มากกว่าเงินเฟ้อเป็นเกณฑ์ก็ได้ เช่น
Net income/Mkt cap > 6%
นั่นคือจุดที่เราเริ่มทยอยซื้อเมื่อราคาลดลงเรื่อยๆ ยิลด์ก็จะมากขึ้นตาม
อันนี้เป็นตัวอย่าง บนเงื่อนไขของหุ้นที่ มีค่าความเสี่ยงการลงทุนเป็นศูนย์นะครับ ไม่ใช่ใช้ได้กับทุกตัว
แน่นอน นลท ทุกคนต้องการผลตอบแทนสูงสุด แต่จะมีกี่คนที่คิดถึงผลตอบแทนต่ำสุดที่ตัวเองยอมรับได้
ผมเชื่อเสมอ ไม่มีใครสามารถ Maximize profit ได้ ยกเว้นฟลุ๊กหรือใช้วิธีการหลอกคนหมู่มากให้แห่ตาม
หากคิดถึงเรื่องผลตอบแทนขั้นต่ำที่เรายอมรับได้จาก inner ของ บ.ก่อนซื้อหุ้น เชื่อว่าโอกาสซื้อหุ้นแพงเกินไปจะไม่เกิดขึ้น
(ยกเว้นไม่ได้ต้องการกำไรจาก inner ของ บ. แต่ไปต้องการกำไรจากส่วนต่างความคาดหวังของตลาด ซึ่งจะไม่ได้ใช้วิธีคิดแบบนี้ และไม่ได้เล่นบนตลาดแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วิธีคิดแบบต้องการเอากำไรจากส่วนต่างความคาดหวังของตลาดต้องเล่นบนตลากกระทิงเท่านั้น สภาพตลาดไม่เหมาะสมก็ออกจากตลาด)




Thai Gov Bond 3M , 10yrs 
เงินไหลเข้าระยะสั้นเยอะ ดบ ลดลง
TTM 10 Yrs  ดบ ขึ้นพอสมควร