แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี
สิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2555
บริษัท
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
1.
ข้อมูลทั่วไป
1. ข้อมูลบริษัท
ชื่อ
:
|
บริษัท
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
|
ประเภทธุรกิจ:
|
โรงพยาบาลเอกชน
|
สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
:
|
33 ซอย สุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
10110
|
เลขทะเบียนบริษัท
:
|
0107536000994
|
Home
page :
|
|
E-mail
address :
|
|
โทรศัพท์
:
|
0
2667 1000
|
โทรสาร
:
|
0
2677 2525
|
ทุนจดทะเบียน
|
922,702,685 บาท
แบ่งเป็น หุ้นสามัญ จำนวน 921,043,709 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท
หุ้นบุริมสิทธิ จำนวน 1,658,976 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1
บาท
|
ทุนชำระแล้ว
|
730,052,222 บาท
แบ่งเป็น หุ้นสามัญ จำนวน 728,393,246 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1
บาท
หุ้นบุริมสิทธิ จำนวน 1,658,976 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท
|
2.
นิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ
10 ขึ้นไป
บริษัท
|
ประเภทธุรกิจ
|
จำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้ว
|
สัดส่วนการถือหุ้น
|
1. บริษัท
ไวทัลไลฟ์ จำกัด
210 ซ.สุขุมวิท 1 ถ.สุขุมวิท
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2667 2340 โทรสาร 0 2667 2341 |
ศูนย์สุขภาพ
|
315,000 หุ้น
|
100.0%
|
2. บริษัท เอเชีย โกลเบิล
รีเสิร์ช จำกัด
2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
10110
โทรศัพท์ 0 2667 1700
โทรสาร 0 2667 1800
|
ให้บริการวิจัยทางการแพทย์
|
5,000,000
หุ้น
|
100.0%
|
3. บริษัท เอเชีย
โกลเบิล เฮลธ์ จำกัด
ห้อง 337, 3rd Fl. South China
C.S. Building, 13-17 Wah Sing Street, Kwai Chung, New Territories เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
โทรศัพท์ (852) 881 8226 โทรสาร (852) 881 0377
|
ศึกษาการลงทุนในธุรกิจการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในเอเชีย
|
1,220,000 หุ้น
|
100.0%
|
4. บริษัท
รื่นมงคล จำกัด
11/26 ซอยสุขุมวิท 1 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองเตยเหนือ
เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 0 2667 1000 โทรสาร 0 2667 2525
|
ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณสุขุมวิท
ซอย 1
|
34,000,000 หุ้น
|
100.0%
|
5. บริษัท
บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
33 ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
10110
โทรศัพท์ 0 2667 1000 โทรสาร 0 2667 2525
|
การลงทุนในต่างประเทศ
|
45,938 หุ้น
|
31.5%
|
6. บริษัท
ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด
33 ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
10110
โทรศัพท์ 0 2667 1000 โทรสาร 0 2667 2525
|
หยุดดำเนินการชั่วคราว
|
100,000 หุ้น
|
30.0%
|
4.
สถาบันการเงินที่ติดต่อเป็นประจำ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารซิตี้แบงก์
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง
คอร์ปอเรชั่น
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
2. ปัจจัยความเสี่ยง
2.1 ผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง,
ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคและภัยธรรมชาติ
ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมโรงพยาบาลของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลากหลาย
ที่ส่งผลต่อการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น
ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ โรคระบาด และภัยธรรมชาติ สำหรับในปี 2555 ที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ดีจากการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาอุทกภัยในปลายปี
2554 ประกอบกับใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
และการบริโภคภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ดี ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังไม่สดใสนัก ปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรปยังไม่น่าจะจบในเร็ววัน
และอาจทำให้เกิดความผันผวนของเศรษฐกิจไทยได้
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
และเพื่อไม่ให้บริษัทต้องพึ่งพิงรายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติในสัดส่วนที่มากเกินไป
บริษัทได้รักษาสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยไทยและต่างชาติให้มีความสมดุลกัน
โดยในปีที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่เน้นตลาดในประเทศมากยิ่งขึ้น
ควบคู่ไปกับการทำการตลาดสำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ
2.2 ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ
โรงพยาบาลเอกชนทั้งในและต่างประเทศมีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้การแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนมีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความเสี่ยงที่บริษัทจะสูญเสียลูกค้าไปให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆ จึงมีสูงขึ้นตามไปด้วย
เพื่อคงความเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศและของภูมิภาคเอเชียและลดความเสี่ยงดังกล่าว
บริษัทได้มุ่งเน้นสรรหาบุคลากรทางการแพทย์
ลงทุนในอุปกรณ์การแพทย์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
มีการยกระดับสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกและพัฒนาคุณภาพและขยายการให้บริการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ดังเห็นได้จากการที่บริษัทเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากลจากสถาบัน
Joint Commission International
Accreditation (JCIA) ตามมาตรฐานการรับรองของสหรัฐอเมริกา
และยังได้รับการรับรอง JCI’s Clinical Care Program Certification (CCPC) ใน Primary Stroke Program, Acute Myocardial Infarction, Diabetes
Mellitus Type I and II และ Chronic Kidney Disease Stage I
to IV อีกทั้ง
บริษัทเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลไทย (Thai
Hospital Accreditation – HA) อีกรางวัล คือ Thailand
Quality Class ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
นอกจากนี้บริษัทมีฐานผู้ป่วยรับย้าย (Referral Patients) จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จึงเป็นการตอกย้ำถึงชื่อเสียงของการเป็นผู้นำทั้งในประเทศและต่างประเทศของบริษัท
2.3 การขาดแคลนบุคลากร
ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการประกอบธุรกิจโรงพยาบาล
คือ การมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งรวมถึงพยาบาลวิชาชีพ
เภสัชกรและเจ้าหน้าที่เทคนิคสาขาต่างๆ
บริษัทจึงมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนบุคลากรวิชาชีพเหล่านี้จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของโรงพยาบาลเอกชนและรัฐบาล
และเนื่องจากบริษัทให้ความสำคัญกับฐานลูกค้าที่เป็นผู้ป่วยต่างชาติ
จึงมีความต้องการบุคลากรวิชาชีพที่พูดได้หลายภาษาอีกด้วย
เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
บริษัทจึงได้กำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์ในระดับที่จูงใจสำหรับบุคลากรของบริษัท
อีกทั้งยังจัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
โครงการเสริมสร้างความผูกพันของพนักงาน และจัดสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ
ให้ทัดเทียมกับผู้ประกอบการรายอื่น เพื่อเป็นการรักษาบุคลากรของบริษัทเอาไว้
ตลอดจนมีแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
โดยผ่านโครงสร้างการจัดการแบบการกระจายอำนาจ และในปี 2555 บริษัทได้รับรางวัล “สถานประกอบการดีเด่น
ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานประจำปี 2555” ซึ่งจัดโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน
2.4 ข้อพิพาททางกฎหมาย
การประกอบธุรกิจโรงพยาบาลอาจมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ของพนักงานหรือแพทย์ของโรงพยาบาล
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
บริษัทจึงได้จัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงในการรักษาพยาบาล (Healthcare Risk Management System) เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยบุคลากรของบริษัท
จะได้รับการป้องกันและแก้ไขในระดับหนึ่ง นอกจากนี้
บริษัทยังได้ทำประกันภัยความเสี่ยงต่างๆ
ที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้องดังกล่าวอีกด้วย
3.
ลักษณะการประกอบธุรกิจ
3.1 ความเป็นมาของบริษัท
ปี 2523 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิดดำเนินการเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในย่าน
ใจกลางกรุงเทพมหานครด้วยขนาด 220 เตียง
ปี 2532 บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้เข้าเป็นบริษัท
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปี 2540 โรงพยาบาลเปิดอาคารโรงพยาบาลปัจจุบัน ขนาด 554 เตียง
ปี 2542 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9002
และเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลไทย (Thai
Hospital Accreditation หรือ HA)
ปี 2543 บริษัทได้ขอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท
เนื่องจากบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน
บริษัทประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้
ปี 2544 บริษัทได้รับประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO14001 ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
และเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2000 นอกจากนี้ยังได้รับการต่ออายุการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลไทย (HA) ทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานพร้อมกัน
3 มาตรฐาน ส่วนในเรื่องการขยายธุรกิจ บริษัทเล็งเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจเข้าสู่ “การแพทย์เชิงป้องกัน” (Preventive Medicine) จึงเปิดศูนย์สุขภาพไวทัลไลฟ์ ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 28 สิงหาคม
2544
ปี 2545 จากการที่บริษัทมีผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2545 โรงพยาบาลจึงได้เปิดศูนย์บริการผู้ป่วยต่างชาติอย่างเป็นทางการ
อีกทั้งบริษัทได้ก่อตั้งหน่วยงานบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ BHI โดยในขณะนั้น BHI
มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการปรึกษาและบริหารจัดการโรงพยาบาลในภูมิภาค ปัจจุบัน BHI
อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
นอกจากนั้น บริษัทยังมีการพัฒนาทางด้านคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพที่เป็นมาตรฐานระดับสากล โดย
Joint Commission International Accreditation (JCIA)
จากสหรัฐอเมริกา
ปี 2546
เป็นปีที่บริษัทประสบความสำเร็จในการย้ายหลักทรัพย์ของบริษัทกลับไปยังหมวดการแพทย์ และเริ่มการซื้อขายในวันที่ 29 ตุลาคม 2546
เป็นต้นมา นอกจากนั้น บริษัทได้เริ่มการขยายธุรกิจโดยสร้างอาคารผู้ป่วยนอกใหม่
เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น
ปี 2547 บริษัทลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 10 บาทเป็นหุ้นละ 5 บาท
เพื่อนำส่วนที่ลดลงของทุนชำระแล้วไปลดขาดทุนสะสมของบริษัท
และได้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จาก 5 บาทเป็น 1 บาท (Share Split) ส่วนการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ
บริษัทย้ายการดำเนินงานของ BHI
ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น 100% ณ ขณะนั้น
และได้ปรับเปลี่ยนนโยบายของ บริษัท บำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากการให้บริการปรึกษาและบริหารจัดการ
เป็นการลงทุนในโรงพยาบาลต่างๆ ในภูมิภาค
ปี 2548 บริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดได้ลงทุนในสัดส่วน 43.25% ในบริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ (AHI) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงพยาบาลเอกชนขนาด 253 เตียงในขณะนั้น ในกรุงมะนิลา
ประเทศฟิลิปปินส์
ปี 2549 บริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดลงทุนในสัดส่วน 49% ในบริษัท
บำรุงราษฎร์ ฮอสพิทอล ดูไบ ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินกิจการโรงพยาบาลเอกชนขนาด
250 เตียงในรัฐดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โดยคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 388 ล้านบาท
และบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้จ่ายเงินลงทุนส่วนแรกเป็นจำนวน
25.8 ล้านบาทแล้ว นอกจากนี้ ในปี 2549 บริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัดได้เพิ่มทุนโดยออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 5,764,701
หุ้นให้กับนักลงทุนเชิงกลยุทธ์ คือ Temasek, Istithmar และ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทในบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ลดลง จาก 100% เหลือ 51%
ปี 2550 สำหรับการขยายธุรกิจในกรุงเทพมหานคร
บริษัทได้สร้างอาคารบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลคลินิก ซึ่งแล้วเสร็จและเปิดศูนย์ตรวจสุขภาพ
ชั้น 11 และที่จอดรถเมื่อต้นปี 2550
ในปี 2550 บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัดได้เพิ่มทุนจดทะเบียน จาก 1,176,470,100 บาท เป็น 2,749,336,700 บาท
โดยมีการเพิ่มทุนสองครั้ง ครั้งแรก เพื่อให้กลุ่มบริษัท Asia Financial Holdings Limited เข้าเป็นผู้ถือหุ้น
19.5% เป็นผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใน บริษัท บำรุงราษฎร์
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดลดลงจาก 51.0% เป็น 31.5% ดั้งนั้นสถานะของบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัดได้เปลี่ยนจากบริษัทย่อย เป็นบริษัทร่วมของบริษัท และการเพิ่มทุนครั้งที่สอง
เพื่อการลงทุนของ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัดได้ลงทุน 100% เป็นเงิน 75 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในบริษัท เอเชีย รีนัล แคร์ จำกัด (ARC) ผู้ให้บริการฟอกไตเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
นอกจากนี้ บริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ลงนามในสัญญา 4 ปี
บริหารโรงพยาบาล มาฟรัก กับสำนักงานสาธารณสุขรัฐอาบูดาบี และได้แปลงรายได้จากกิจการบริหารโรงพยาบาลซึ่งได้รับจากเอเชียน
ฮอสพิทอล อิงค์ (AHI) ในประเทศฟิลิปปินส์
เป็นหุ้น เป็นผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัดใน AHI เพิ่มขึ้นจาก 43.25% เป็น
45.5% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
บริษัท โกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย)
จำกัด (GCS Thailand) บริษัทร่วมซึ่งบริษัทถือหุ้นในสัดส่วน
30% ได้ขายผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ และสินทรัพย์อื่นๆ
ให้กลุ่มไมโครซอฟท์คอร์ปอเรชั่น เป็นผลให้บริษัทมีส่วนแบ่งกำไรจาก GCS
Thailand จำนวน 829 ล้านบาทในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 และ GCS
Thailand ได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท โกลเบิลแคร์
โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เป็น บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง
จำกัด
ปี 2551 สำหรับการขยายธุรกิจในกรุงเทพมหานคร บริษัทได้เปิดอาคารบำรุงราษฎร์
อินเตอร์เนชั่นแนลคลินิก อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2551
โดยเปิดพื้นที่ให้บริการเพิ่มอีก 7 ชั้น ซึ่ง 4 ชั้นเป็นคลินิกผู้ป่วยนอก
เป็นผลให้ความสามารถในการให้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น จาก 3,500 คนต่อวัน เป็น 4,500
คนต่อวัน นอกจากนี้ ในปี 2551 โรงพยาบาลได้ลงทุนในเทคโนโลยี
เพื่อพัฒนาคุณภาพในการให้บริการ โดยเน้นถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ซึ่งรวมถึงระบบการจัดการยาแบบอัตโนมัติ หรือ “หุ่นยนต์จัดยา” (Pharmacy Robot)
ซึ่งเป็นหุ่นยนต์จัดยาเครื่องแรกในเอเชีย และ “ระบบห้องปฎิบัติการทางการแพทย์อัตโนมัติ
(Lab Automation) ของเบคแมน คูลเตอร์ (Beckman
Coulter)” แห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้
บริษัทได้ซื้อคืนอาคารบีเอชทาวเวอร์ ในจำนวนเงิน 470 ล้านบาทจากธนาคารกรุงเทพ
จำกัด (มหาชน) โดยที่ในปัจจุบัน อาคารบีเอช
ทาวเวอร์ ให้บริการห้องพักให้เช่าแก่ผู้ป่วยต่างชาติและครอบครัว
และบริษัทมีแผนที่จะแปลงเป็นห้องผู้ป่วยในเมื่อมีความต้องการ
สำหรับธุรกิจต่างประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี
2551 บริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก
2,749,336,700 บาท เป็น 3,199,336,700 บาท เพื่อลงทุนในการขยายกิจการของ AHI ในประเทศฟิลิปปินส์
ในการสร้างอาคารโรงพยาบาลใหม่ เนื่องจากบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นผู้เดียวที่เพิ่มทุนใน AHI ประกอบกับการแปลงรายได้จากกิจการบริหารโรงพยาบาลเป็นหุ้น
เป็นผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดใน AHI
เพิ่มขึ้นจาก 45.5% เป็น 54.4% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
ในเดือนธันวาคม ปี 2551 บริษัท
และบริษัทเอเชีย รีนัล แคร์ (เอสอีเอ) จำกัด (ARC
(SEA)) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยซึ่งบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด ถือหุ้น 100% ผ่านบริษัทเอเชีย รีนัล แคร์ จำกัด
ได้ร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทเอเชีย รีนัล แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด (ARC
Thailand) ซึ่งมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 12 ล้านบาท
บริษัทถือหุ้นใน ARC Thailand ในสัดส่วน 51% และ ARC (SEA) ถือหุ้นที่เหลืออีก 49%
ปี 2552 โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
อยู่ระหว่างการปรับปรุงและยกระดับห้องผู้ป่วยในทั้งหมด โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2552 มีห้องที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว 341 ห้อง และคาดว่าการปรับปรุงห้องดังกล่าว
จะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม 2553
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ARC Thailand ได้ลงทุนในสัดส่วน 20% ในบริษัท เนพโฟรเมด จำกัด (เนพโฟรเมด) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีคลินิกฟอกไต 14
แห่งในประเทศไทยในขณะนั้น และเมื่อรวมกับสัดส่วนที่ ARC (SEA) ถือหุ้นในเนพโฟรเมดโดยตรงอีก 40% แล้ว
กลุ่มบริษัทถือหุ้นในเนพโฟรเมดทั้งสิ้น 60%
ในเดือนพฤศจิกายน 2552 บริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัดได้ขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท บำรุงราษฎร์ ฮอสพิทอล ดูไบ คืนให้กับกลุ่ม Istithmar World โดยบริษัท บำรุงราษฎร์
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนในโครงการดังกล่าวแล้วในงบการเงินประจำปี
2551 เมื่อโครงการได้หยุดดำเนินการชั่วคราว นอกจากนี้
สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดใน AHI เพิ่มขึ้นจาก 54.4% เป็น 56.4% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
เนื่องจากการแปลงรายได้จากกิจการบริหารโรงพยาบาลเป็นหุ้น
นอกจากนี้ ในปี 2552 บริษัทได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อยใหม่
ซึ่งบริษัทถือหุ้น 100% จำนวนสองบริษัท คือ (1)
บริษัท เอเชีย โกลเบิล เฮลธ์ จำกัด (AGH) ซึ่งได้จดทะเบียนในฮ่องกง
ในเดือนมีนาคม 2552 โดยมีทุนเรียกชำระแล้ว 4.8 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 22.08
ล้านบาท) ทั้งนี้ AGH มีวัตถุประสงค์เพื่อหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค
และ (2) บริษัท เอเชีย โกลเบิล รีเสิร์ช จำกัด (AGR) ซึ่งได้จดทะเบียนในเดือนมิถุนายน
2552 โดยมีทุนจดทะเบียน 20,000,000 บาท ทั้งนี้ AGR มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการด้านวิจัยทางคลินิก
(Clinical Research) และบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2552
บริษัทได้รับการยอมรับจากหลายองค์กรสำหรับความสำเร็จในหลายๆด้าน
โดยได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
1. รางวัลความเป็นเลิศด้านการเจริญเติบโตทางธุรกิจ
จาก ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน
2. รางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่น
ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2552”
ประเภทสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่ไม่มีสหภาพแรงงานซึ่งจัดโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน
3. รางวัล “หนึ่งในสิบองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2552”
จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2553 การปรับปรุงและยกระดับห้องพักผู้ป่วยในของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
ได้เสร็จสิ้นตามแผนที่วางในเดือนพฤษภาคม 2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553
โรงพยาบาลมีเตียงพร้อมให้บริการจำนวน 484 เตียง โดยปี 2553 เป็นปีที่บริษัทครบรอบ
30 ปีในการให้บริการโรงพยาบาลและการแพทย์ บริษัทได้มีการฉลองครอบรอบ 30
ปีในเดือนกรกฎาคม 2553 พร้อมการจัดกิจกรรมและแพคเกจพิเศษเพื่อลูกค้า
ในเดือนมีนาคม 2553 บริษัทได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานเพิ่มเติมใน
2 โรคเฉพาะทางจาก JCIA คือ Diabetes
Mellitus และ Chronic Kidney Disease บริษัทได้เปิดศูนย์สูติ-นรีเวชแห่งใหม่บริเวณชั้น
2 อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
ในเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ได้ทำการลงนามในสัญญาขายหุ้นทั้งหมดของ ARC ให้แก่บริษัท Fresenius Medical Care Beteiligungsgesellschaft mbH
(“Fresenius Medical Care”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งในประเทศเยอรมนี
โดยปัจจุบัน BIL ถือหุ้นของ ARC ผ่านบริษัทย่อยในสัดส่วนร้อยละ
100
เพื่อให้สอดคล้องกับการขายดังกล่าวข้างต้น
บริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในสัญญาเพื่อขายหุ้น ARC Thailand ซึ่งบริษัทถืออยู่ทั้งหมดในสัดส่วนร้อยละ
51 ให้กับ บริษัท เนพโฟรแคร์ (ประเทศไทย) จำกัดซึ่งเป็นบริษัทร่วมของ Frensenius
Medical Care
ในเดือนมิถุนายน 2553 บริษัทได้เปิดศูนย์ทางเดินอาหารและตับแห่งใหม่
ในปี 2553
บริษัทได้รับการยอมรับจากหลายองค์กรสำหรับความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
1.
รางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น
ประเภทผู้ให้บริการดีเด่น
2.
รางวัล “หนึ่งในสิบองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยมประจำปี 2553”
จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.
รางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่น
ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2553”
ซึ่งจัดโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
4.
รางวัล Award of Outstanding Performance in Medically-Oriented
Establishment จากการประกาศรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ปี 2554
ในเดือนมีนาคม 2554 บริษัทโดยอนุมัติของคณะกรรมการของบริษัท
ได้เข้าทำการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท บางกอกเชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) จำนวน
415,624,000 หุ้น จากบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ในราคาหุ้นละ 8.50 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
24.99 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว (มูลค่าการลงทุนรวมค่าใช้จ่ายในการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด
3,562.9 ล้านบาท) โดยบริษัท บางกอกเชน
ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ (“เกษมราษฎร์”) การเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้จะทำให้บริษัท
บางกอกเชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทร่วมฯ ตั้งแต่ 18 มีนาคม 2554 และบริษัทสามารถรับรู้รายได้เงินปันผล
และรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนจากผลการดำเนินงานในอนาคตของเกษมราษฎร์ตั้งแต่ไตรมาส
2 ปี 2554 เป็นต้นไป
ในเดือนเมษายน
2554 บริษัทร่วม (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด)
ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อลดทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจากเดิม 3,199.3
ล้านบาท (31,993,367 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.00 บาท) เป็น 1,176.0 ล้านบาท
(หุ้นสามัญ 11,760,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.00 บาท)
การลดทุนดังกล่าวเป็นไปตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทร่วมเมื่อวันที่
14 มีนาคม 2554 บริษัทได้รับเงินคืนทุนจากบริษัทร่วมดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 19
เมษายน 2554 ตามสัดส่วนที่บริษัทถือหุ้น ที่ร้อยละ 31.5 ในบริษัทร่วมดังกล่าว
เป็นจำนวนเงิน 612.6 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 6,373,506 หุ้น ในมูลค่าหุ้นละ 96.12 บาท)
ทั้งนี้ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ยังคงเป็นบริษัทร่วมของบริษัท
ในเดือนกันยายน 2554 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย
(บริษัท เอเชีย โกลเบิล รีเสิร์ช จำกัด)
มีมติอนุมัติให้บริษัทย่อยเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 20.0 ล้านบาท
(หุ้นสามัญ 2.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.00
บาท) เป็น 50.0 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 5.0
ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.00 บาท)
โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 30.0 ล้านหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.00 บาท
ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทย่อยในราคาหุ้นละ 10.00 บาท
โดยบริษัทซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวทั้งจำนวนและจ่ายชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนเมื่อวันที่
13 กันยายน 2554 บริษัทย่อยได้จดทะเบียนการเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่
14 กันยายน 2554
ในเดือนพฤศจิกายน 2554 บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด ได้ทำสัญญาขายผลประโยชน์ทั้งหมด ในส่วนของ Asian Hospital ในประเทศฟิลิปปินส์ ให้กับกลุ่มบริษัท Metro Pacific ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภายในวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา
ก็ได้มีการโอนซื้อขายกันสมบูรณ์ รวมถึงการที่ทาง บริษัท บำรุงราษฎร์
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้แจ้งกับทาง SEHA ของสหรัฐ อาหรับ
เอมิเรต ที่จะตัดสินใจไม่ขอขยายสัญญาการบริหารโรงพยาบาล Mafraq ใน สหรัฐ อาหรับ เอมิเรต
และเพื่อรองรับปริมาณความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ทางบริษัทมีความต้องการที่ดินเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับการขยายกิจการ
จึงได้มีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมบริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่ รวมที่ดินทั้งสิ้น 4
ไร่ 49 ตารางวา
ในเดือนธันวาคม 2554 ทางบริษัทได้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่
1/2554 เพื่อออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ อายุ 5 ปี
7 ปี และ 10 ปี มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้มีการขยายระยะเวลาการใช้สิทธิหุ้นกู้แปลงสภาพออกไปอีก
5 ปี เป็นครบกำหนดวันที่ 23 สิงหาคม 2560 แต่ให้หลักประกันจะสิ้นสุดระยะเวลาเท่าเดิมคือวันที่
23 สิงหาคม 2555 และในเดือนเดียวกันนั้นทางบริษัทได้ขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด ให้กับบุคคลภานนอก จำนวน 229,680 หุ้น
ราคาหุ้นละ 9.80 บาท รวมจำนวน 2.3 พันล้านบาท
ซึ่งจะเป็นผลให้บริษัทรับรู้ผลขาดทุนจากรายการนี้จำนวน 1 ล้านบาท
ในงบการเงิน งวดสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2554 ซึ่ง บริษัท บำรุงราษฎร์
เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด ยังคงเป็นบริษัทย่อยของบริษัทต่อไปจากการถือหุ้น
51 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ ในปี 2554
บริษัทยังได้รับรางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่น
ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2554”
ซึ่งจัดโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน
ปี 2555 ในเดือนพฤษภาคม
2555 ทางบริษัทได้มีการซื้อที่ดินเพิ่มเติม บริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่ที่มีพื้นที่ติดกันกับที่ดินที่ได้ซื้อไว้แล้วจำนวน
342 ตารางวา (รวมมีพื้นที่ 4 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา) เพื่อให้การใช้สอยที่ดินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับการรองรับการขยายกิจการของโรงพยาบาล
ในเดือนกรกฎาคม
2555 บริษัทได้ขายเงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นสามัญของ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล
จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ (“เกษมราษฎร์”)
จำนวน 498,748,800 หุ้น
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.99 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด คิดเป็นเงินทั้งสิ้น
4,563.55 ล้านบาท
ในเดือนกันยายน
2555 บริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท รื่นมงคล จำกัด จำนวน 34,000,000 หุ้น
คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วของ บริษัท รื่นมงคล จำกัด
ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารายการรวมทั้งสิ้น 1,053.11 ล้านบาท ที่เป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินขนาด
3 ไร่ 3 งาน 44.4 ตารางวา บริเวณสุขุมวิท ซอย 1
เพื่อรองรับการขยายกิจการของโรงพยาบาลในอนาคต
และในเดือนเดียวกัน
บริษัทได้ดำเนินการขายเงินลงทุนทั้งหมดใน บริษัท เอบีเอสพีซี กรุ๊ป จำกัด
(เดิมชื่อ บริษัท บำรุงราษฎร์ เมิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด) ที่บริษัทได้ถืออยู่จำนวน
63,747 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 51 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วของ บริษัท เอบีเอสพีซี
กรุ๊ป จำกัด ที่ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 24 บาท คิดเป็นมูลค่ารายการรวมทั้งสิ้น 1,529,928
บาท ซึ่งภายหลังการจำหน่ายเงินลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว บริษัทไม่มีภาระผูกพันใดๆ กับบริษัทย่อยดังกล่าวอีกต่อไป
นอกจากนี้ในปี
2555 บริษัทร่วม (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด)
ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อลดทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว จำนวน 4 ครั้ง ณ
วันที่ 15 มีนาคม 2555, 18 พฤษภาคม 2555, 23 กรกฎาคม 2555 และวันที่ 25 กันยายน
2555 จากเดิม 1,176.0 ล้านบาท เหลือทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 4.6 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 45,938
หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.00 บาท)
การลดทุนดังกล่าวเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทร่วมที่เกี่ยวข้อง
บริษัทได้รับเงินคืนทุนจากบริษัทร่วมดังกล่าวแล้ว ตามสัดส่วนที่บริษัทถือหุ้นที่ร้อยละ
31.5 ในบริษัทร่วมดังกล่าว เป็นจำนวนเงินรวม 361.8 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัท
บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ยังคงเป็นบริษัทร่วมของบริษัท
ในปี
2555 บริษัทได้รับการยอมรับจากหลายองค์กรสำหรับความสำเร็จในหลายๆด้าน
โดยได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
1. รางวัลประกาศเกียรติคุณ ในฐานะองค์กรต้นแบบ 1
ใน 85 องค์กรที่ทำกิจกรรมทำดีเพื่อพ่อในโครงการ “Happy Workplace ทำดีเพื่อพ่อ”
ซึ่งริเริ่มโดยกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมร่วมกับ ภาคีเครือข่ายภาคเอกชนและภาครัฐ
2. รางวัล “องค์กรแห่งความสุข” ปีที่ 5 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.)
3. รางวัล Reader’s Digest Trusted Brand GOLD Awards
2012 ประเภทสถานพยาบาล
4. ได้รับรางวัลใบรับรองจาก Press Ganey
Associates, Inc. ในด้าน International Quality Indicator
Project Member, quality measures in Acute Inpatient care.
5. ได้รับการเผยแพร่ในรายงาน 50
องค์กรต้นแบบในการดำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำปี พ.ศ. 2555
6. รางวัลสถานประกอบการดีเด่น เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
ประเภทสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่ไม่มีสหภาพแรงงาน จัดโดยกระทรวงแรงงาน
3.2 ภาพรวมการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท
ผังโครงสร้างองค์กร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555
บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร
มีความสามารถในการรองรับผู้ป่วยในด้วยจำนวนเตียงพร้อมให้บริการ 487
เตียงและผู้ป่วยนอกมากกว่า 4,500
คนต่อวัน และเป็นหนึ่งในผู้นำในการให้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีการให้บริการอย่างครบวงจรทั้งการบริการผู้ป่วยนอก และการบริการผู้ป่วยใน
ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ คณะแพทย์และพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ
และเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชีย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล (JCI
Accreditation) ตามมาตรฐานการรับรองของสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้โรงพยาบาลยังได้รับการรับรอง JCI’s Clinical Care Program
Certification (CCPC) ใน Primary Stroke Program, Acute
Myocardial Infarction, Diabetes Mellitus Type I and II และ Chronic
Kidney Disease Stage I to IV อีกทั้งเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลไทย
(Thai Hospital Accreditation – HA)
บริษัทมีบริษัทย่อยซึ่งบริษัทถือหุ้น 100%
อยู่สี่บริษัท คือ (1) บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด (2) บริษัท เอเชีย โกลเบิล รีเสิร์ช จำกัด (3) บริษัท
เอเชีย โกลเบิล เฮลธ์ จำกัด และ (4) บริษัท รื่นมงคล จำกัด และมีบริษัทร่วมสองบริษัท
คือ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 31.5%
และบริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 30%
โครงสร้างบริษัทมีดังต่อไปนี้
บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด (“Vitallife”) เป็นผู้ริเริ่มศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและเวชศาสตร์วัยยุวัฒน์ (anti-aging) แบบครบวงจร
เชี่ยวชาญทางด้านการให้บริการป้องกันและรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกาย
โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่สนใจการดูแลรักษาสุขภาพเป็นพิเศษ
โปรแกรมไวทัลไลฟ์มีการผสมผสานระหว่างคณะแพทย์มืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ และวิทยาการมาตรฐานระดับสากล
เพื่อออกแบบโปรแกรมสุขภาพสำหรับลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ ซึ่งมีทั้งโปรแกรมการออกกำลังกาย
โปรแกรมโภชนาการ และโปรแกรมอาหารเสริม เพื่อสุขภาพที่ดี
และเป็นศูนย์กลางในการให้บริการเวชศาสตร์วัยยุวัฒน์แก่คลินิกพันธมิตรอื่นๆ
บริษัท เอเชีย โกลเบิล เฮลธ์ จำกัด (“AGH”) เป็นบริษัทซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการลงทุนในธุรกิจการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค
บริษัท เอเชีย โกลเบิล รีเสิร์ช จำกัด (“AGR”) เป็นผู้ให้บริการด้านวิจัยทางคลินิกทั้งในประเทศ
และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็น (1) ศูนย์ประสานวิจัย (Contract Research Organization หรือ CRO) ซึ่งคือผู้ทดลองวิจัยทางคลินิกให้กับบริษัทยา บริษัท biotech และบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ และ (2) ศูนย์วิจัยทางคลินิก (Site
Management Organization หรือ SMO) ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการวิจัยต่างๆเพื่อให้ได้การวิจัยและข้อมูลที่มีคุณภาพ
บริษัท รื่นมงคล จำกัด เป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินขนาด 3 ไร่ 3 งาน 44.4 ตารางวา
บริเวณสุขุมวิท ซอย 1
เพื่อรองรับการขยายกิจการของโรงพยาบาลในอนาคต
บริษัท บำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“BIL”)
เป็นผู้ลงทุนในโครงการต่างๆในต่างประเทศของบริษัท
ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลและการบริหารโรงพยาบาล ในช่วงปี 2554
ที่ผ่านมานั้น BIL ได้ถอนการลงทุนในต่างประเทศ
อันประกอบด้วยการจำหน่ายโรงพยาบาล Asian Hospital ในประเทศฟิลิปปินส์
และการไม่ต่อสัญญาการบริหารโรงพยาบาล Mafraq ในกรุงอาบูดาบี
สหรัฐอาหรับเอมิเรต เพื่อหันมามุ่งเน้นการขยายตลาดภายในประเทศ และในปี 2555 นี้เอง
BIL ก็ได้หยุดดำเนินกิจการและทยอยลดทุนจดทะเบียน
เพื่อคืนเงินลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการลงทุน
บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (“CDE Trading”) (เดิมชื่อ บริษัท โกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด)
เดิมเป็นบริษัทพัฒนาระบบซอฟท์แวร์สำหรับโรงพยาบาล ในปี 2550 บริษัท
โกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้ขายสินทรัพย์หลัก
คือผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์บริหารโรงพยาบาลและสินทรัพย์อื่นๆ ให้กับกลุ่มไมโครซอฟท์
และได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด โดยที่ขณะนี้ CDE
Trading หยุดการดำเนินกิจการชั่วคราว
3.3 โครงสร้างรายได้
หน่วย: ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจ
|
ดำเนินการโดย
|
% การถือหุ้นของบริษัท
|
2555
|
2554
|
2553
|
||||
รายได้รวม
|
%
|
รายได้รวม
|
%
|
รายได้รวม
|
%
|
||||
ธุรกิจการแพทย์
|
บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
|
12,684
|
89.3
|
10,850
|
96.0
|
9,636
|
95.7
|
||
ธุรกิจการแพทย์
|
บจ. ไวทัลไลฟ์
|
100.0
|
201
|
1.4
|
165
|
1.5
|
170
|
1.7
|
|
รวมธุรกิจการแพทย์
|
12,885
|
90.7
|
11,015
|
97.5
|
9,806
|
97.4
|
|||
ธุรกิจให้เช่า
|
บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
|
130
|
0.9
|
121
|
1.0
|
130
|
1.3
|
||
รวมธุรกิจให้เช่า
|
130
|
0.9
|
121
|
1.0
|
130
|
1.3
|
|||
อื่นๆ
|
บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
|
1,178
|
8.3
|
161
|
1.4
|
127
|
1.3
|
||
อื่นๆ
|
บจ. ไวทัลไลฟ์
|
100.0
|
4
|
-
|
3
|
-
|
-
|
-
|
|
อื่นๆ
|
บจ. เอเชีย โกลเบิล รีเสิร์ช
|
100.0
|
7
|
0.1
|
6
|
0.1
|
6
|
0.1
|
|
รวมอื่นๆ
|
1,189
|
8.4
|
170
|
1.5
|
133
|
1.3
|
|||
รวม
|
14,204
|
100
|
11,306
|
100
|
10,069
|
100
|
4. การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์
4.1 ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ
บริษัท
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”)
บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัท โดยรายได้จากกิจการโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
คิดเป็น 90.7%
ของรายได้รวมทั้งหมด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555
บริการของโรงพยาบาล:
บริการของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
กรุงเทพมหานคร สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. บริการผู้ป่วยนอก
มีศูนย์บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 35 ศูนย์ และคลินิกตรวจผู้ป่วยกว่า 215
ห้อง สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 4,500 คนต่อวัน
รายละเอียดของศูนย์ มีดังต่อไปนี้
• ศูนย์ภูมิแพ้
|
• ศูนย์ฮอไรซัน
|
• ศูนย์เวชศาสตร์การบิน
|
• ศูนย์สุขภาพชาย
|
• ศูนย์สุขภาพจิต
|
• ศูนย์ประสาทวิทยา
|
• ศูนย์เต้านม
|
• ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์
|
• ศูนย์กุมารเวช
|
• ศูนย์พยาธิวิทยา
|
• ศูนย์ทันตกรรม
|
• ศูนย์กายภาพบำบัด
|
• ศูนย์เบาหวาน
|
• ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่ง
|
• ศูนย์ไตเทียม
|
• ศูนย์ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด
|
• ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ
|
• ศูนย์รังสีวิทยา
|
• ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ
|
• ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ
|
• ศูนย์ฉุกเฉิน
|
• ศูนย์ผิวหนัง
|
• ศูนย์วินิจฉัยโดยการส่องกล้อง
|
• ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง
|
• ศูนย์หู คอ จมูก
|
• ศูนย์คุณภาพการนอนหลับ
|
• ศูนย์เลเซอร์สายตา
|
• ศูนย์รักษาโรคกระดูกสันหลัง
|
• ศูนย์การเจริญพันธุ์
|
• ศูนย์หลอดเลือดสมอง
|
• ศูนย์ตรวจสุขภาพ
|
• ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ
|
• ศูนย์หัวใจ
|
• ศูนย์สูติ-นรีเวช
|
• ศูนย์ไวทัลไลฟ์
|
2. บริการผู้ป่วยใน มีจำนวนเตียงจดทะเบียน
538 เตียง ซึ่งรวมเตียงผู้ป่วยหนักทั่วไป 28 เตียง เตียงผู้ป่วยโรคหัวใจ
14 เตียง เตียงผู้ป่วยหนักเด็ก 9 เตียง และเตียงผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด 5 เตียง
โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 โรงพยาบาลมีเตียงพร้อมให้บริการ
จำนวน 487 เตียง
ในปี
2555 บริษัทได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยทั้งสิ้นกว่า 1.1 ล้านคน โดยที่มีส่วนแบ่งรายได้จากผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปี
2555 ดังต่อไปนี้
ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
(%
ของรายรับรวม)
การให้บริการผู้ป่วยต่างประเทศ:
บริษัทประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนมีฐานลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้มแข็ง บริษัทมีศูนย์บริการผู้ป่วยต่างชาติ
เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น บริการล่าม
บริการประสานงานกับประกันภัยระหว่างประเทศ บริการประสานงานทางด้านการแพทย์
บริการรับย้ายผู้ป่วย (referral
center) บริการติดต่อสื่อสารทางอีเมลล์ บริการต่อ วีซ่า
การติดต่อสถานทูต การต้อนรับที่สนามบินและการช่วยเหลือในการเดินทาง เป็นต้น
นอกจากนี้บริษัทยังมีบริการห้องพักสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวสองอาคาร คือ บีเอช
เรสสิเดนซ์ (อาคารบีเอชทาวเวอร์) ซึ่งประกอบด้วยห้องพัก 47
ห้องพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีทางเดินเชื่อมติดกับอาคารโรงพยาบาล
และอาคารบีเอช สวีท ซึ่งประกอบด้วยห้องพัก 51 ห้อง และบริษัทมีสำนักงานตัวแทนต่างประเทศ
15 แห่งใน 13 ประเทศ
ในปี
2555 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
กรุงเทพมหานครได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยชาวต่างชาติจากกว่า 200 ประเทศ รวมกว่า 500,000 คน
โดยที่ประเทศที่ทำรายได้สูงสุดให้กับบริษัทสามอันดับแรกยังคงเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และ สหรัฐอเมริกา รูปภาพต่อไปนี้
แสดงถึงรายรับของบริษัทแบ่งตามผู้ป่วยในประเทศและผู้ป่วยต่างประเทศห้าปีที่ผ่านมา
ผู้ป่วยในประเทศและผู้ป่วยต่างประเทศ (% ของรายรับรวม)
* หมายเหตุ
ข้อมูลของผู้ป่วยต่างประเทศเป็นข้อมูลตามสัญชาติ ซึ่งรวมทั้งชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชีย
(Expatriates)
และนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร:
ในปัจจุบัน
โรงพยาบาลมีการให้บริการใน 3 อาคาร:
1. อาคารบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลคลินิก
เป็นอาคารผู้ป่วยนอก 22 ชั้น โดย 10 ชั้นแรกเป็นชั้นจอดรถ และ 12
ชั้นบนเป็นคลินิกและบริการสนับสนุน ปัจจุบัน ได้เปิดให้บริการคลินิกผู้ป่วยนอกแล้ว
5 ชั้น ซึ่งรวมถึงศูนย์ตรวจสุขภาพ ศูนย์หัวใจ ศูนย์อายุรกรรมและศัลยกรรม
โรคติดเชื้อ โรคไต ประสาทวิทยา โรคปอด โรคข้อและรูมาติสซึ่ม ระบบทางเดินปัสสาวะ
และศูนย์สุขภาพชาย เป็นต้น และอีก 2 ชั้นเพื่อบริการสนับสนุน เช่น
แผนกต้อนรับและให้บริการผู้ป่วย และร้านอาหาร เป็นต้น
อาคารบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลคลินิกมีอีก 5 ชั้นบนที่ยังไม่ได้เปิดให้บริการ
โดยบริษัทมีแผนที่จะทยอยเปิดชั้นที่ยังไม่ได้เปิดในอาคารบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลคลินิก
โดยแบ่งเป็นการให้บริการผู้ป่วยนอก 4 ชั้น และอีก 1
ชั้นเป็นห้องประชุมและอบรมสัมมนา
2. อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
ให้บริการทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก โดยมีเตียงจดทะเบียนในให้บริการผู้ป่วยใน 538
เตียง และคลินิกผู้ป่วยนอกบางส่วน เช่น ศูนย์มะเร็ง ศูนย์ทันตกรรม
ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ ศูนย์กุมารเวช ศูนย์สูติ-นรีเวช นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีแผนดำเนินการปรับปรุงพื้นที่อาคารเพื่อรองรับเตียงผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นอีก
61 เตียง และเพิ่มเตียงผู้ป่วยวิกฤต (ICU) อีก 44
เตียง เพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น
3. อาคารบีเอชทาว์เวอร์
(ซึ่งบริษัทได้ซื้อคืนมาในปี 2551)
บริษัทได้ทำการย้ายแผนกสำนักงานบางส่วนออกจากอาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลไปยังอาคารบีเอชทาวเวอร์
ซึ่งทำให้อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลมีพื้นที่มากขึ้นในการรองรับผู้ป่วยในอนาคต
อีกทั้ง อาคารบีเอชทาว์เวอร์ ยังเป็นที่ตั้งของแผนกผิวหนังของโรงพยาบาล
คลินิกไวทัลไลฟ์ และพื้นที่สำนักงาน
อีกทั้งยังมีบริการห้องพักสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว ร้านค้าและร้านอาหาร
และที่จอดรถ 7 ชั้น
บริษัท
บำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัท บำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(“BIL”) เป็นผู้ลงทุนในโครงการต่างๆในต่างประเทศของบริษัท
ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลและการบริหารโรงพยาบาล ในช่วงปี 2554
ที่ผ่านมานั้น BIL ได้ถอนการลงทุนในต่างประเทศ
อันประกอบด้วยการจำหน่ายโรงพยาบาล Asian Hospital ในประเทศฟิลิปปินส์
และการไม่ต่อสัญญาการบริหารโรงพยาบาล Mafraq ในกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรต
เพื่อหันมามุ่งเน้นการขยายตลาดภายในประเทศ และในปี 2555 นี้เอง
BIL ก็ได้หยุดดำเนินกิจการและทยอยลดทุนจดทะเบียน
เพื่อคืนเงินลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการลงทุน
4.2
ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
โดยทั่วไป
ความต้องการด้านสุขภาพมีการขยายตัวตามผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ที่เพิ่มมากขึ้น
และกลุ่มประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี
ภาวะผันแปรทางการเมืองในประเทศที่ยืดเยื้อ วิกฤติเศรษฐกิจโลก
และเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว
ล้วนสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตของการใช้บริการทางการแพทย์เอกชน
อีกทั้งจำนวนโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยยังคงมีปริมาณมากกว่าความต้องการของผู้ป่วยในประเทศ
เป็นผลให้การแข่งขันระหว่างโรงพยาบาลเอกชนมีความรุนแรง อย่างไรก็ตาม
อุตสาหกรรมการแพทย์เอกชนในประเทศไทย เป็นการแข่งขันแบบไม่สมบูรณ์ (fragmented
market) และมีโรงพยาบาลเอกชนเพียงไม่กี่แห่งที่ดำเนินงานได้เต็มความสามารถในการให้บริการ
สำหรับตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(Medical
Tourism) นั้น มีการคาดการณ์ว่า
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลกจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทคาดว่าการเติบโตส่วนใหญ่จะมาจากผู้ป่วยจากประเทศที่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้สะดวก
คู่แข่งในภูมิภาคของประเทศไทยที่สำคัญคือ โรงพยาบาลในประเทศต่างๆ เช่นสิงคโปร์
มาเลเซีย และอินเดีย อย่างไรก็ตาม
โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศ
เนื่องจากประเทศไทยมีองค์ประกอบที่แตกต่าง คือคุณภาพการรักษาพยาบาลที่สูง
ความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายของผู้ป่วย และราคาที่สามารถจ่ายได้
รวมถึงการที่ประเทศไทยเป็นจุดหมายที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
และมีโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ดี และในประเทศไทยเอง
มีโรงพยาบาลเอกชนเพียงไม่กี่แห่ง ที่สามารถให้บริการครอบคลุมการรักษาพยาบาลในโรคที่มีลักษณะเฉพาะทางและซับซ้อน
มีเทคโนโลยี และคุณภาพการรักษาพยาบาลที่สูงรวมอยู่ในโรงพยาบาลแห่งเดียว
กลยุทธ์ในการแข่งขันของบริษัท
คือการรักษาและพัฒนาคุณภาพในการบริการที่เป็นเลิศ
เพื่อสร้างความแตกต่างและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ด้วยจุดแข็งของบริษัทคือการให้บริการครอบคลุมการรักษาพยาบาลในโรคที่มีลักษณะเฉพาะทางและซับซ้อน
นอกจากนี้
บริษัทมีนโยบายในการกำหนดราคาให้อยู่ในระดับเดียวกับโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในประเทศและขณะเดียวกันเป็นราคาที่แข่งขันได้ในภูมิภาคเอเชีย
ในปีที่ผ่านมา
บริษัทได้เน้นกิจกรรมทางการตลาดในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าในประเทศ
โดยมีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
เพื่อให้โรงพยาบาลเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น มีการสนับสนุนรายการโทรทัศน์
หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ
ในแต่ละไตรมาส เช่น กิจกรรม Health Fair งานสัมมนาให้ความรู้เรื่องสุขภาพ
กิจกรรมสำหรับชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย และกิจกรรมสุขภาพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น
แพคเกจตรวจร่างกาย เพื่อจูงใจลูกค้าใหม่ให้มาทดลองใช้บริการ
นอกจากนี้
บริษัทมีสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศ 15 แห่งในตลาดที่สำคัญ
และมีการจัดตั้งศูนย์บริการผู้ป่วยต่างชาติอย่างเป็นทางการ
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยชาวต่างชาติ อีกทั้งเป็นศูนย์รับย้ายผู้ป่วย (Tertiary
Referral Center) จากทั้งในและนอกประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายภายในประเทศ
คือผู้ป่วยชาวไทยระดับกลางจนถึงระดับบน และชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย (Expatriates)
สำหรับกลุ่มผู้ป่วยจากต่างประเทศนั้น
คือชาวต่างชาติที่เข้าข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมาจากประเทศที่คุณภาพในการรักษายังมีไม่มากเพียงพอ
เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยาก ต้องรอนานในการรับการรักษาพยาบาล และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง
นอกจากนี้โรงพยาบาลยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยจากบริษัทประกันและผู้ป่วยรับย้าย
(Referral Patient)
ทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ
การจำหน่ายและช่องทางการจำหน่าย
ด้วยชื่อเสียงของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
กรุงเทพมหานคร ที่สะสมมากว่า 30 ปี
ทั้งในด้านการบริการรักษาพยาบาลอย่างครบวงจรและการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน
เป็นผลให้โรงพยาบาลมีเครือข่ายในการรับย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้โรงพยาบาลยังมีสัญญากับบริษัทคู่สัญญา
ในการที่จะให้บริการแก่บุคลากรของบริษัทนั้นๆ และมีสัญญากับบริษัทประกันภัยต่างๆ
รวมกว่า 1,000 แห่ง
สำหรับตลาดต่างประเทศ
บริษัทได้แต่งตั้งสำนักงานตัวแทน 15 แห่ง ใน 13 ประเทศ
4.3 การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ปริมาณการให้บริการ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
ผู้ป่วยใน
|
2555
|
2554
|
2553
|
|
จำนวนเตียงที่มี
|
538
|
538
|
538
|
|
จำนวนเตียงที่พร้อมให้บริการ
|
487
|
484
|
484
|
|
อัตราความสามารถในการให้บริการ*
|
178,242
|
176,660
|
176,660
|
|
อัตราการครองเตียง
(เตียง)
|
138,580
|
127,817
|
122,331
|
|
อัตราการครองเตียง
(ร้อยละ)
|
77.75
|
72.35
|
69.25
|
* อัตราความสามารถในการให้บริการ
คำนวณจากจำนวนเตียงที่พร้อมให้บริการต่อวันคูณด้วยจำนวนวันที่ให้บริการ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
ผู้ป่วยนอก
|
2555
|
2554
|
2553
|
|
ความสามารถในการให้บริการต่อวัน
(คน)
|
4,500
|
4,500
|
4,500
|
|
จำนวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อวัน
(คน)
|
3,017
|
2,801
|
2,680
|
|
อัตราเฉลี่ยการใช้บริการ
(ร้อยละ)
|
67.04
|
62.24
|
59.56
|
วัตถุดิบและผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่สำคัญของธุรกิจโรงพยาบาล คือ ยา
เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ต่างๆ
บริษัทมีนโยบายการจัดหาวัตถุดิบจากบริษัทที่มีสำนักงานในประเทศ
โดยมีผู้จัดจำหน่ายมากกว่า 600 ราย บริษัทจึงไม่ประสบปัญหาทางด้านการขาดแคลนยา
อุปกรณ์หรือเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ บริษัทมีระบบการบริหารจัดการในการจัดซื้อ
และการสำรองสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งรวมถึงการประเมินความเหมาะสมในด้านราคา ประสิทธิภาพ และคุณภาพของสินค้า
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง
โดยบริษัทมีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ให้พนักงานทุกคนช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
อีกทั้งมุ่งเน้นสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ
เพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยขององค์กรและชุมชน
และมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการประหยัดพลังงาน
และการนำวัสดุต่างๆกลับมาใช้ นอกจากนี้
พนักงานที่สังกัดบริษัทคู่สัญญาของโรงพยาบาลทุกคนจะต้องยึดปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของภาครัฐ
และนโยบายสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน
5. ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ
5.1 ทรัพย์สินของบริษัทและบริษัทย่อย
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555
ประเภท/ลักษณะทรัพย์สิน
|
ลักษณะกรรมสิทธิ์
|
ภาระผูกพัน
|
มูลค่าตามบัญชี
(ล้านบาท)
|
ที่ดิน 11 แปลง
รวมเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน
ที่ตั้ง ถ.สุขุมวิท
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
290.86
|
ที่ดิน 3 แปลง รวมเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน
ที่ตั้ง ถ.สุขุมวิท
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
297.53
|
ที่ดิน รวมเนื้อที่ 4 ไร่ 3
งาน 91.2 ตร.วา
ที่ตั้ง ถ. เพชรบุรีตัดใหม่
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
833.18
|
ที่ดิน 7 แปลง รวมเนื้อที่
3 ไร่ 3 งาน 44.4 ตร.วา ที่ตั้ง ถ.สุขุมวิท ซอย 1
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
1,045.03
|
สิทธิการเช่าและส่วนปรับปรุงที่ดิน
|
สิทธิการเช่า 30 ปี
|
-
|
18.00
|
อาคารโรงพยาบาล 12 ชั้น
ที่ตั้ง ถ.สุขุมวิท
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
1,707.46
|
อาคารโรงพยาบาล 22 ชั้น*
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
887.63
|
อาคารบีเอช ทาวเวอร์ 1 และ
2
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
163.30
|
อาคารหอพักพยาบาล
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
21.90
|
เครื่องอุปกรณ์ระบบอำนวยความสะดวก
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
392.66
|
เครื่องมือแพทย์
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
1,105.27
|
อุปกรณ์โรงพยาบาล
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
270.24
|
เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
183.25
|
ยานพาหนะ
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
8.62
|
สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างและติดตั้ง
|
เป็นเจ้าของ
|
-
|
458.07
|
รวม
|
7,683.00
|
* อาคารโรงพยาบาล
22 ชั้น คืออาคารบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลคลินิกใหม่
แสดงมูลค่าเฉพาะส่วนที่เปิดใช้บริการแล้ว
5.2 ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนของบริษัทและบริษัทย่อย
ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนสุทธิจำนวน 235.97 ล้านบาท
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการดำเนินการธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องของบริษัทและบริษัทย่อย
5.3 เครื่องหมายการค้า
บริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัทมีเครื่องหมายการค้า
ซึ่งได้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
กระทรวงพาณิชย์ โดยในปัจจุบัน มีการใช้ในทางพาณิชย์ 2 เครื่องหมาย ดังต่อไปนี้
เครื่องหมายการค้า
|
วัตถุประสงค์ในการใช้เครื่องหมายการค้า
|
วันที่จดทะเบียน
|
วันที่หมดอายุ
|
|
สำหรับบริการ กายภาพบำบัด
การดูแลสุขภาพ การดูแลเด็ก การทำคลอด บริการทางจักษุ การบริการธนาคารเลือด
การรักษาพยาบาล ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับยา
คลินิกแพทย์ ทันตกรรม โรงพยาบาล ศัลยกรรมพลาสติก
สถานพักฟื้น สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานเสริมความงาม
|
23 พฤษภาคม 2548
|
22 พฤษภาคม 2564
|
|
สำหรับบริการ กายภาพบำบัด
การดูแลสุขภาพ การดูแลเด็ก การทำคลอด บริการทางจักษุ การบริการธนาคารเลือด
การรักษาพยาบาล ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับยา
คลินิกแพทย์ ทันตกรรม โรงพยาบาล
ศัลยกรรมพลาสติก สถานพักฟื้น สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานเสริมความงาม และสำหรับบริการ
จัดการทางธุรกิจ บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขา
|
27 ธันวาคม
2547
|
26 ธันวาคม
2557
|
นอกจากนี้
บริษัทย่อยของบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “Vitallife” ในประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงอินเดีย
มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
7. โครงสร้างเงินทุนของบริษัท
7.1 หลักทรัพย์ของบริษัท
7.1.1 ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
ตารางต่อไปนี้แสดงถึงทุนของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555
ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555
จำนวนหุ้น
|
มูลค่าหุ้น
(Par value)
|
ทุนจดทะเบียน
(บาท)
|
|
หุ้นสามัญ
|
921,043,709
|
1.00
|
921,043,709
|
หุ้นบุริมสิทธิ
|
1,658,976
|
1.00
|
1,658,976
|
รวม
|
922,702,685
|
922,702,685
|
ทุนชำระแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555
จำนวนหุ้น
|
มูลค่าหุ้น
(Par value)
|
ทุนจดทะเบียน
(บาท)
|
|
หุ้นสามัญ
|
728,393,246
|
1.00
|
728,393,246
|
หุ้นบุริมสิทธิ
|
1.00
|
1,658,976
|
|
รวม
|
730,052,222
|
730,052,222
|
7.1.2 หุ้นบุริมสิทธิ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2555 บริษัทมีหุ้นบุริมสิทธิซึ่งออกและชำระแล้ว 1,658,976 หุ้น
ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญ ยกเว้นสิทธิในเงินปันผล
ซึ่งมีรายละเอียดในหัวข้อ 7.3 นโยบายการจ่ายเงินปันผล นอกจากนี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิสามารถแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญ
ในอัตราหนึ่งหุ้นบุริมสิทธิต่อหนึ่งหุ้นสามัญ
7.1.3 หุ้นกู้แปลงสภาพที่ถือเป็นตราสารทุน
ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2555 บริษัทมีหุ้นกู้แปลงสภาพ 2 ชนิด
ซึ่งมียอดคงเหลือจำนวนทั้งสิ้น 550 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ชื่อ
|
หุ้นกู้แปลงสภาพ
มีประกันบางส่วน
บำรุงราษฎร์ชุดที่ 1
ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2560
|
หุ้นกู้แปลงสภาพ
มีประกันบางส่วน
บำรุงราษฎร์ชุดที่ 2
ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2560
|
วันที่ออก
|
24 สิงหาคม 2543
|
24 สิงหาคม 2543
|
จำนวนที่ออก
|
300 ล้านบาท
|
1,000 ล้านบาท
|
จำนวนคงเหลือ
|
300 ล้านบาท
|
250 ล้านบาท
|
ครบกำหนดชำระ
|
17 ปี
|
17 ปี
|
อัตราดอกเบี้ย
|
2.5% ในปีที่ 1-4, 5% ในปีที่ 5-8 และ
10% ในปีที่ 9-17
|
1%
|
การชำระดอกเบี้ย
|
ทุกครึ่งปี
|
ทุกครึ่งปี
|
ราคาแปลงสภาพปัจจุบัน
|
4.55 บาท
|
3.50 บาท
|
การแปลงสภาพ
|
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพได้ตั้งแต่วันออกหุ้นกู้แปลงสภาพจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน
|
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพได้ตั้งแต่วันออกหุ้นกู้แปลงสภาพจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน
|
การบังคับแปลงสภาพ
|
เมื่อครบกำหนด บริษัทสามารถเลือกที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้หรือแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญได้
|
เมื่อครบกำหนด บริษัทสามารถเลือกที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้หรือแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญได้
|
หลักประกัน *
|
จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของบริษัท
|
จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของบริษัท
|
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้
(Credit rating)
|
ไม่ต้องมี
เนื่องจากมีข้อจำกัดการโอน คือบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้
หากการโอนนั้นจะทำให้มีจำนวนผู้ถือหุ้นกู้ในรุ่นนี้ ณ
ขณะใดขณะหนึ่งเกินกว่าสิบราย
|
ไม่ต้องมี
เนื่องจากมีข้อจำกัดการโอน คือบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้
หากการโอนนั้นจะทำให้มีจำนวนผู้ถือหุ้นกู้ในรุ่นนี้ ณ
ขณะใดขณะหนึ่งเกินกว่าสิบราย
|
* หลักประกัน ทั้งหมดปลอดภาระหลังจากวันปลอดหลักประกัน
(23 สิงหาคม 2555)
7.2 โครงสร้างผู้ถือหุ้น
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายของบริษัท
ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2555 มีดังต่อไปนี้
กลุ่มผู้ถือหุ้น
|
จำนวนหุ้น*
|
(ร้อยละ)**
|
1. บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
|
174,350,200
|
23.88
|
2. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
|
106,760,417
|
14.62
|
3. บริษัท บริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด
|
63,258,514
|
8.66
|
4. UOB Kay Hian (Hong Kong) Limited - Client
Account
|
61,413,450
|
8.41
|
5. บริษัท วัฒนโสภณพนิช จำกัด
|
25,121,875
|
3.44
|
6. BNP Paribas Securities Services Luxembourg
|
18,042,500
|
2.47
|
7. Government of Singapore Investment
Corporation C
|
15,992,800
|
2.19
|
8. สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี)
|
15,098,500
|
2.07
|
9. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
|
13,097,223
|
1.79
|
10. บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
|
12,256,900
|
1.68
|
รวม
|
505,392,379
|
69.23
|
* จำนวนหุ้นรวมทั้งหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ
**
การคิดสัดส่วนการถือหุ้น รวมทั้งหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ
บริษัทมีผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ
หรือผู้รับฝากและดูแลหุ้น (Custodian) ทำหน้าที่เป็นผู้ถือหลักทรัพย์แทน
(Trust Company หรือ Nominee Account)
อยู่ในสิบอันดับแรกของรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท บริษัทไม่ทราบชื่อผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของผู้ถือหุ้นเหล่านั้น
เนื่องจากไม่ได้มีการส่งบุคคลเข้ามาเป็นกรรมการบริษัท
หรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท
7.3 นโยบายการจ่ายเงินปันผล
7.3.1 นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท มีดังนี้
7.3.1.1 เมื่อบริษัทมีกำไรสุทธิที่จะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นได้
บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิก่อน
ถ้าปีใดผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับแจกเงินปันผลถึงร้อยละ 15
ของทุนของบริษัทที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิแล้ว
กำไรส่วนที่เหลือจะแจกให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมติที่ประชุมใหญ่
ถ้าปีใดบริษัทสามารถแจกเงินปันผลได้เกินกว่าร้อยละ
15 ของทุนของบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นทั้งสองชนิดได้รับแจกเงินปันผลเท่ากัน
7.3.1.2 การจ่ายเงินปันผล
ให้กรรมการปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
7.3.1.3 ทุกคราวที่บริษัทจ่ายเงินปันผล
บริษัทจะจัดสรรเงินไว้เพื่อเป็นทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของจำนวนผลกำไร
จนกว่าทุนสำรองมีถึงร้อยละ 10 ของจำนวนทุนของบริษัท
7.3.1.4 เงินปันผลค้างจ่ายบริษัทจะไม่คิดดอกเบี้ยให้
7.3.2 นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย มีดังนี้
7.3.2.1 เมื่อบริษัทมีกำไรสุทธิที่จะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นได้
บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมติที่ประชุมใหญ่
7.3.2.2 เงินปันผลค้างจ่ายบริษัทจะไม่คิดดอกเบี้ย
ในวันที่ 20
กุมภาพันธ์ 2556
คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2555 ซึ่งจะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน
2556 โดยจะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและผู้ถือหุ้นสามัญในอัตราหุ้นละ
1.80 บาท รวมเป็นเงิน 1,314 ล้านบาท คิดเป็น 49.3% ของกำไรสุทธิของบริษัท
โดยที่บริษัทได้จ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท รวมเป็นเงิน 438 ล้านบาท เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2555 และได้จ่ายเงินปันผลส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ
1.20 บาท รวมเป็นเงิน 876 ล้านบาท ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556
ในปี 2555 บริษัทได้จ่ายปันผลในอัตราหุ้นละ 1.10 บาท รวมเป็นเงิน 803 ล้านบาท คิดเป็น 50.6% ของกำไรสุทธิของบริษัท