แบบนี้เราก็มองว่าเป็นความเสี่ยงอย่างนึงน่ะ
************
ตัวอย่าง การตั้งสำรองที่แตกต่างและส่งผลต่อกำไรของบริษัทเป็นอย่างมาก
BLA 2Q65 yoy
เบี้ยประกันภัยรับสุทธิ 7291 ลบ (-5-5%)
รวมรายได้ 11,034 ลบ (-1.2%)
ค่าใช้จ่าย
สำรองประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะยาวเพิ่มขึ้น 694 ลบ (-75%)
( 2Q64 : 2,787 ลบ)
รวม คชจ 9,626 ลบ (-6.5%)
กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัท 1,189 ลบ +58%
ปล. ข้อสังเกต เงินสำรองลดลงจาก 2,787 ลบ ใน 2Q64 เหลือสำรองเพียง 694 ลบ ใน 2Q65 เท่ากับค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองลดไปถึง 2,093 ลบ เทียบกับกำไรของงวดที่ 1,189 ลบ
***************
- ปกติ ภาษี คือรายจ่าย
การที่ บ.มีรายได้ทางภาษี อาจเกิดเพราะ จ่ายภาษีไว้เกิน , มีรายการขาดทุนที่รับรู้ ทำให้ภาษีจ่าย กลายเป็นต้องได้เครดิตภาษีคืน
รายได้ทางภาษี ไม่นับเป็นรายได้จากการดำเนินงาน ไม่เกี่ยวกับความสามารถในการสร้างกำไรของ บ. และเป็นรายได้ไม่ประจำ
- รายได้จาก minority เกิดจาก การรวมงบ โดยที่ บ.แม่มีกำไร แต่ บ.ลูกขาดทุน ปกติหากมีกำไรทั้ง บ.แม่ และ บ.ลูก กำไรจะโดนหักออกเป็นกำไร ของส่วนผู้ถือหุ้นของ บ.ใหญ่ และ กำไรของ minority แต่ในกรณีที่ บ.ลูกขาดทุน ผลขาดทุนจึงต้องนำมาบวกกลับให้ กำไรของส่วนผู้ถือหุ้นของ บ.ใหญ่
กรณี สมมติ ตัวอย่าง
บ. A มีรายได้จากการขาย ปีที่ 1 และ ปีที่ 2 ปีละ 2,000 ลบ มีกำไร ปีละ 200 ลบ (รายได้และกำไรปีที่ 1 เทียบกับปีที่ 2 yoy นั้นไม่เพิ่ม) และถือหุ้นใน บ. B 30% แต่ บ.A มีอำนาจควบคุม บ. B จึงรวมงบการเงินของ บ.B มาในงบรวม
โดยที่ บ.B มีรายได้ 1000 ลบ และผลกำไรขาดทุนอยู่ (-100 ลบ)
พอรวมงบการเงิน งบรวมของ บ.A รายได้จะกลายเป็น 2000+1000 = 3000 ลบ จะเห็นว่างบรวมรายได้เพิ่มจากการรวมงบถึง +50% yoy (ทั้งๆที่ก่อนรวมงบ รายได้ไม่เพิ่ม) ทั้งๆที่ บ. A ถือหุ้น บ.B แค่ 30% แต่เอารายได้ของ บ.B มารวมทั้ง 100% ดังนั้นในงบรวม นอกจากรายได้ที่เกินมา 70% จาก บ.B แล้ว ก็ยังมี กำไร/ขาดทุน ที่เกินมาอีก 70% ของ บ.B เกินจริงมาอยู่ในงบรวมของ บ.A อีกด้วย
ในส่วนของกำไรบรรทัดสุดท้าย จึงต้องมีการหัก กำไร/ขาดทุน ส่วนเกิน 70% ออกจาก "กำไรสำหรับงวด" จึงจะเป็นกำไรแท้จริง ที่เรามักเรียกย่อๆว่า กำไรสุทธิ (แต่จริงแล้วควรเรียกว่า "กำไรที่เป็นส่วนของ บ.ใหญ่" )
ตามตัวอย่าง กำไรของ บ.A ก่อนรวมงบคือ 200 ลบ ส่วน บ.B ขาดทุน -100 ลบ
พอรวมงบ "กำไรสำหรับงวด" จึงเหลือ 100 ลบ (ซึ่งมันรวมการขาดทุนของ บ.B ไว้ทั้ง 100% ทั้งๆที่ บ.A ถือหุ้น บ.B แค่ 30%)
ดังนั้นการหา "กำไรส่วนของ บ.ใหญ่" จึงต้องหัก ขาดทุน 70% ของ บ.B ที่ บ.A ไม่ได้ถือหุ้นออก จะได้ -100 ลบ × 70% = -70 ลบ
ผลที่บันทึกในบัญชีคือ
กำไรส่วนของ บ.ใหญ่ 170 มาจาก (100 - (-70))
กำไรของ minority -70
กำไรสำหรับงวด 100 ลบ
หรือ คิดอีกทางจากความจริงคือ
บ. A กำไร 200 ลบ + ถือหุ้นใน บ.B 30% บ.Bขาดทุน 100 ลบ , บ.A ต้องรับรู้ผลขาดทุนจาก บ.B -30 ลบ ดังนั้น บ.A จะมีกำไรจริงที่ 200-30 = 170 ลบ
*************
การรวมงบลักษณะนี้จะทำให้นักลงทุนที่ไม่อ่านงบให้ละเอียด เข้าใจผิดพลาดได้
เพราะนักลงทุนส่วนมากมักมองแค่ 2 บรรทัด คือบรรทัดรายได้และบรรทัดกำไร
ตามตัวอย่างจะเห็นว่ารายได้เพิ่ม จากการรวมงบทั้ง 100% ของบริษัทลูกเข้ามา หมายถึงรวมรายได้ในส่วนที่บริษัทใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของเข้ามาไว้ในงบด้วย ทำให้รายได้ดูเหมือนเพิ่มขึ้นเยอะมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ยังไม่ได้รวมงบ
ในส่วนของบรรทัดกำไรบรรทัดสุดท้าย คือรายได้แท้จริง ที่รวมกำไรตามสัดส่วนที่ถือหุ้นในบริษัทลูก
ในกรณีตามตัวอย่าง (ต้องคิดเสมอว่าบริษัทแม่ถือหุ้นในบริษัทลูกแค่ 30%) แต่ รายได้ในงบรวมนั้น รวมรายได้มาทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วน บรรทัดสุดท้ายคือกำไรสุทธิรวมขาดทุนมาแค่ 30% ตามสัดส่วน แต่หากมีรายได้จากภาษีก็ต้องตัดออกก่อนเนื่องจากไม่ใช่รายได้จากการดำเนินงาน
ปล. ผมไม่ใช่นัก บช อธิบายตามความเข้าใจส่วนตัวเท่านั้น หากมีผิดพลาด แจ้งให้ผมทราบด้วยครับ
**********
เห็นมีพาดข่าวว่ามีกำไรเพิ่มขึ้นเยอะ เลยลองดูงบการเงินสักหน่อย (ในใจคิดอยู่แล้วว่าไม่น่าใช่ผลดำเนินงานปกติ)
SIRI 2Q65 yoy
รายได้จากการริบเงินจองและเงินค่างวด 384 ลบ +3313% (ส่วนตัวมองว่ารายได้ตัวนี้ไม่ค่อยดีเลย แสดงถึงว่าลูกค้ามีปัญหา อาจส่งผลต่อรายได้ปกติในอนาคตได้)
รายได้จากการขายที่ดิน 62 ลบ +1809%
รวมรายได้ 7,837 ลบ -2.5%
รวมค่าใช้จ่าย -4.5%
กำไรจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,288 ลบ+8.7%
(ถ้าไม่มีรายได้จากการริบเงินจองและขายที่ดินกำไรจากกิจกรรมดำเนินงานก็จะลดไปเยอะพอสมควร)
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า 52 ลบ (เพิ่มเติมในรูป)
รายได้ทางการเงิน 56 ลบ ( คืออัลไลลลล ???)
กำไรสำหรับงวด 918 ลบ (เทียบกับรายได้จากการริบเงินจอง 384 ลบ + ขายที่ดิน 62 ลบ อืมมม)
****************
One-time gain ไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป ถ้า
- เป็นรายได้ที่เป็นกระแสเงินสดเข้า บ.จริง เพราะเงินสดนั้นสามารถนำไปลดหนี้หรือทำให้บริษัทเกิดสภาพคล่องมากขึ้นได้
- ถ้า Core business หรือกำไรจากการดำเนินงานปกติของบริษัทเติบโตขึ้นในทุกมิติ
แต่ One-time gain จะกลายเป็นตัวร้ายหากเข้าไปปกปิดผลการดำเนินงานที่ "แย่ลงของธุรกิจปกติ" ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิด คิดว่า บ.มีผลประกอบการที่ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนักวิเคราะห์ออกเปเปอร์โดยไม่พูดถึงกำไร One time Gain ที่ปกปิดผลการดำเนินงานปกติที่แย่ลง แถมยังเชียร์แค่บรรทัดสุดท้ายว่าเติบโต อันนี้ถือว่าเป็นอะไรที่ 🙄🙄🙄 (มองบน)
**********
ในการลงทุนนั้น อย่าได้ถามหาการรับประกันใดๆจากคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลักการ เรื่องของการเลือกหุ้น หรือแม้แต่เรื่องของมูลค่า เพราะเรื่องเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆอีกมากมาย แม้แต่ปู่บัฟเฟตต์ กับปู่ชาร์ลี ก็ยังคำนวณได้มูลค่าที่แตกต่างกัน
จำไว้อย่างว่า ในตลาดหุ้นทุกคนมีอิสระในการลงทุน ในการเลือกที่จะเชื่อ ที่จะใช้หลักการใดก็ได้ในการลงทุน แต่ไม่มีใครรับประกันอะไรให้คุณได้แม้แต่อย่างเดียว
ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำก็การช่วยเหลือตัวเอง อ่านให้มาก ศึกษาให้มาก จนสามารถมั่นใจได้ด้วยตัวเอง เมื่อมั่นใจด้วยตนเองแล้ว ก็จะเลิกถามหาความมั่นใจจากผู้อื่น
*********
ใส่ใจไปที่มูลค่าระยะยาวของบริษัทที่คำนวณได้ หากมีการคำนวณเผื่อไว้มากพอ, มี MOS มากพอ
แล้วละก็ เหตุการณ์ความเสียหาย ระหว่างทางเล็กๆน้อยๆของการดำเนินธุรกิจ จะไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกเลย
แม้ว่าตลาดอาจจะให้ความสนใจกับมัน (เหตุการณ์ความเสียหายเล็กน้อยระหว่างทาง) ก็ตาม แต่นั่นก็จะเป็นเพียงระยะสั้นและเป็นโอกาสในการซื้อเพิ่ม
บ้างก็มองเป็นวิกฤต บ้างก็มองเป็นโอกาส
"สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย"
**********
คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า
ให้หาหุ้นยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมยอดแย่
เพราะในอุตสาหกรรมที่มันแย่นั้นคู่แข่งจะน้อย
หุ้นร้อนแรงในอุตสาหกรรมที่ร้อนแรง แน่นอนย่อมจะดึงดูดนักลงทุน และคู่แข่ง เข้าไปเป็นจำนวนมาก
หากมองในภาพใหญ่ สมมุติให้ประเทศเป็นตัวแทนอุตสาหกรรม ประเทศไทยคงไม่ใช่อุตสาหกรรมที่ร้อนแรงเหมือนเวียดนาม ที่เหลือก็เพียงแต่หาหุ้นยอดเยี่ยมให้เจอเท่านั้นเอง
**********
Players ในตลาดหุ้นกลัวการขาดทุนระยะสั้นมากเสียจน ยอมที่จะขาดทุนถาวรมากกว่า
**********
การซื้อขายหุ้น ให้มองที่เหตุผลของเราเป็นหลักโดยต้องเป็นเหตุผลที่มาจากการศึกษาบริษัทอย่างละเอียดเพียงพอ ไม่ต้องไปคิดแทนคนอื่นว่าเขาขายหุ้นเพราะอะไร หรือคนอื่นซื้อหุ้นเพราะอะไร
รู้เพียงว่าเราไม่อยู่ในสภานะเสียเปรียบในการซื้อขายหุ้นก็พอ
**********
คำถามสำคัญของข้อ ที่ควรตอบให้ได้ก่อนจะซื้อหุ้นใดๆก็ตาม
ผลตอบแทนคาดหวังขั้นต่ำจากการซื้อหุ้นคือเท่าไร และ คำนวณมูลค่าของ บ.ได้เท่าไร
**************
บนการลงทุนระยะยาว ที่นักลงทุนต้องทำก็คือ
- มองหาบริษัทที่มีหนี้สินเหมาะสม ค่อนไปทางต่ำ ไม่สูง
- บริษัทที่มีความยั่งยืนไม่ปิดกิจการในอีก 10-15 ปีข้างหน้า
- บริษัทที่มีการเติบโต มีการขยายงานตามโมเดลที่ประสบความสำเร็จแล้ว โดยการ copy & paste
- ผู้บริหารไว้ใจได้ และมีผลประโยชน์ไปในทิศทางเดียวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย
จากนั้นก็เพียงแต่ซื้อเมื่อราคาเหมาะสมแล้วถือลงทุนระยะยาว ระหว่างทางของการทำธุรกิจ หากมีผลกระทบแบบชั่วคราว ที่ player ในตลาดมองว่าไม่ดี นั่นก็คือจังหวะซื้อเพิ่ม (เพราะนายตลาดขี้ตกใจ อยากจะรีบขายทิ้งแบบถูกๆเมื่อบริษัทมีข่าวร้ายแม้จะเป็น "เรื่องร้ายในเรื่องดี" ก็ตาม)
คำว่า "เรื่องร้ายในเรื่องดี" เช่นอะไรบ้าง
เช่น โดยปกติแล้วหากบริษัทมีการขยายสาขา ตามโมเดล copy & paste มันเป็นเรื่องปกติมาก ที่สาขาใหม่จะต้องมีค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นมา และรายได้จะค่อยๆตามมาในภายหลัง
ซึ่งการขยายกิจการนั้นใครๆก็รู้ว่าเป็นเรื่องดี เราคงไม่อยากซื้อบริษัทที่ไม่มีการเติบโต
เมื่อค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา เพราะการขยายงาน (มันคือเรื่องร้ายชั่วคราวในเรื่องดี) แต่ในตลาดก็มักจะตกใจ อยากขายหุ้นทิ้งในราคาถูกๆ
และแน่นอนนักลงทุนผู้ชาญฉลาด ย่อมเลือกที่จะทยอยลงทุนในจังหวะแบบนี้ หากราคานั้นลงมาเหมาะสมหรือต่ำกว่ามูลค่า
การร่วมตกใจไปกับนายตลาด หมายถึงว่าเราทำตัวเป็นนายตลาดเสียเอง
จริงๆหลักการพวกนี้ น่าจะอ่านซ้ำๆกันจนขึ้นใจแล้ว ว่าให้ซื้อเมื่อราคาเหมาะสมและต่ำกว่ามูลค่า ว่าให้ซื้อยามที่ตลาดแตกตื่นตกใจ แต่ส่วนมากทำกันไม่ค่อยได้ ชอบที่จะเป็นนายตลาดกันซะมากกว่า
ต้องหมั่นมีสติ 😅
***********
การซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร เพื่อการเทรด แล้วไม่ตั้งจุด stop loss หรือ ตั้งจุด stop loss แล้วแต่ไม่ทำตาม เป็นความผิดพลาดของ "ขาออก"
แต่การซื้อหุ้นเพื่อลงทุนที่แพงกว่ามูลค่า ไม่ว่าจะเป็นเพราะการไม่ประเมินมูลค่าหรือประเมินมูลค่าผิดพลาดก็แล้วแต่ มันเป็นความผิดพลาดตั้งแต่ตอนซื้อ เป็นความผิดพลาดของ "ขาเข้า"
การรู้จุดผิดพลาดจะทำให้ครั้งหน้าระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เช่นถ้ารู้ว่าผิดพลาดเพราะเป็นที่ "ขาออก" ครั้งหน้าก็ต้องทำตามจุด stop loss อย่างเคร่งครัด
ส่วนการรู้ว่าเป็นความผิดพลาดตั้งแต่ตอนซื้อที่เป็นความผิดพลาดตั้งแต่ "ขาเข้า" โอกาสต่อไปในการซื้อหุ้นจะได้เอาไว้เป็นบทเรียน ทำการประเมินมูลค่าหุ้นก่อนที่จะซื้อทุกครั้ง ไม่ซื้อหุ้นที่แพงกว่ามูลค่า
การวิเคราะห์จุดผิดพลาดเป็นเรื่องสำคัญเพื่อที่จะได้เกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนา
*********
ทักษะการแยกแยะข่าวที่มากระทบกับบริษัท ที่มากระทบกับตลาดหุ้นโดยรวม มันสำคัญ
หากแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งใดคือข่าวดีจริงๆ สิ่งใดคือข่าวดีลวงๆ ข่าวใดคือเรื่องร้ายแบบถาวร ข่าวใดคือเรื่องร้ายแบบชั่วคราวบนระยะสั้น
หากแยกไม่ออกแล้วล่ะก็ การลงทุนก็ย่อมจะไขว้เขวผันผวนไปตามข่าวลือ ข่าวลวง และข่าวจริงที่มีผลกระทบระยะสั้นได้
อย่าให้ผลกระทบระยะสั้น ทำให้การลงทุนระยะยาวของเราไขว้เขว เพียงเพราะหลงไปกับข่าว เพียงเพราะไม่แยกแยะข่าว
***********
หลักการง่ายๆอย่างนึงที่จะทำให้ การลงทุนปลอดภัยมากยิ่งขึ้น คือ ทำประมาณการล่วงหน้าให้ต่ำเข้าไว้ ต่ำชนิดมี MOS เหลือเฟือ
หากทำประมาณการแบบกดคะแนนแล้ว ผลที่ได้ยังมีอัพไซด์เพียงพออย่างน่าสนใจแล้วละก็ นั่นหมายความว่าหุ้นตัวนั้นน่าสนใจมาก และซื้อเข้าพอร์ตได้
โดยก่อนจะกำหนดให้เป็นตัวที่เก็บเข้าพอร์ตได้นั่นต้องผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้
- มีหนี้สินต่ำ งบการเงินมั่นคง บ.ไม่มีทางล้มหายตายจากในระยะเวลา 10-15 ปีนี้แน่นอน
- มีอำนาจในการต่อรองราคาสูงสามารถส่งต่ออัตราเงินเฟ้อได้
- มีการขยายกิจการต่อเนื่อง สร้างการเติบโตต่อเนื่อง
- ผบห มีผลประโยชน์ไปในทิศทางเดียวกับ ผู้ถือหุ้นรายย่อย
- ผบห มีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่นสูงที่ต้องการให้กิจการมีการเติบใหญ่
- อยู่ในอุตสหกรรมกำลังเติบโต เช่น ฐานลูกค้าที่จะมาใช้บริการกำลังเพิ่มขึ้น
ยกตัวอย่าง
กรณีล่าสุด บ.B "ผ่านเกณฑ์ต่างๆ" ที่เราได้พิจรณาทั้งหมดแล้ว และ เราตั้งสมมติฐานว่า ปี 2565 บ. B จะมีกำไร 1700 ลบ บนราคาปัจจุบันจะได้ค่าพีอีที่เหมาะสม จะมีอัพไซด์เหมาะสม
ทั้งๆที่ความจริงแล้ว 6 เดือนที่ผ่านมา บ.B กลับมีกำไรถึง 3170 ลบไปแล้ว
นี่แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีเรื่องร้ายอะไรเข้ามากระทบให้ราคาลดลง นั่นเป็นโอกาสซื้อเพิ่ม ตามหลักการลงทุนระยะยาว ที่บอกว่า "ลงทุนบนพื้นฐานระยะยาวของกิจการ และซื้อเพิ่มเมื่อมีข่าวร้ายชั่วคราวมากระทบ"
ยิ่งเป็นการลงทุนระยะยาว ยิ่งอยากให้ราคาลงมาเพื่อเปิดโอกาสในการซื้อเพิ่ม
ใครๆก็อยากได้ของดีราคาถูก การได้ของดีที่ราคาถูกย่อมเป็นเรื่องดี นี่จึงเป็นที่มาของคำว่าควร "ทยอยซื้อเป็นไม้ๆ ตามจุดต่างที่ตั้งไว้ ไม่ไล่ราคา"
ปัญหาตอนนี้ คือ ทำยังไงให้กองทุนยอมขายหุ้นตัวนี้ออกมาในราคาถูกๆ (หุ้นไซส์นี้ถ้ามัวแต่รอรายย่อยขาย ราคาถูกมากๆคงไม่มีให้เห็น) 🤣🤣🤣
**********
ธุรกิจโรงพยาบาล โดยปกติแล้วจะต้องมีการสั่งยามาสำรองและเก็บรักษาให้ได้ตามมาตรฐานในยาบางตัวที่ต้องการการควบคุมอุณหภูมิ ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญดูแล ยาบางชนิดมีการใช้ไม่บ่อย แต่จำเป็นต้องมีเพราะในกรณีฉุกเฉินหากไม่มีไว้ใช้คนไข้อาจถึงแก่ชีวิตได้
การมียาอย่างพอเพียงก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเรื่องยาเหลือจนหมดอายุต้องทิ้ง เราเชื่อว่าเป็นเรื่องปกติของธุรกิจโรงพยาบาลเช่นกัน
แน่นอนว่าทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนแฝงส่วนเพิ่ม ที่โรงพยาบาลจะต้องมีการบริหารจัดการกันจนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
บางบริษัทยาจึงมีการให้ส่วนลดเปอร์เซ็นต์ หรือให้จำนวนยาเพิ่มสำหรับเผื่อหมดอายุ ตามปริมาณการสั่งของโรงพยาบาล
การบริหารจัดการยาว่าจะเหลือยาหมดอายุมากน้อยแค่ไหนนั้น ถือว่าเป็นฝีมือของฝ่ายบริหาร
ซึ่งโรงพยาบาลที่มีเครือโรงพยาบาลก็จะมีความได้เปรียบในจุดเหล่านี้เนื่องจากสามารถแชร์ยากันได้
รวมถึงความเก๋าเกมของผู้บริหาร ในการบริหารสต๊อกยา ในการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆของโรงพยาบาล
สิ่งเหล่านี้คงไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้หมดนอกจากใช้คำว่า
"ต้องมีความไว้วางใจต่อฝีมือของผู้บริหาร"
ว่าจะสามารถจัดการได้อย่างดีที่สุดตามแต่ละสถานการณ์
************
การขาดทุนก้อนใหญ่ของนักลงทุนมักจะมาจากการ "ซื้อหุ้นคุณภาพต่ำในเวลาที่ธุรกิจกำลังไปได้สวย"
ตัวอย่าง
หุ้นผลิตถุงมือยาง แท้จริงแล้วถุงมือยางเป็นสินค้า commodity คือในแง่ของผู้ใช้งาน ถุงมือยางก็คือถุงมือยางไม่ว่าจากโรงงานไหนก็ไม่แตกต่างกันมาก ไม่มี Power ที่จะสามารถตั้งราคาแตกต่างจากคู่แข่งได้
วัตถุดิบก็เป็น commodity มีต้นทุนราคาที่ผันผวน การซื้อวัตถุดิบก็ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก แพงก็ต้องซื้อถูกก็ต้องซื้อแล้วไปบริหารจัดการกันเอง
สำหรับเราแล้ว เรามองว่าหุ้นคอมโมดิตี้ เป็นหุ้นคุณภาพต่ำ จะกำไรมากตอนที่ทุกอย่างเอื้ออำนวยพร้อมๆกันเท่านั้น ซึ่ง ณ เวลานั้นมันคือ "หุ้นคุณภาพต่ำที่ธุรกิจกำลังไปได้สวย"
นักลงทุนที่ไม่ได้ศึกษามาเป็นอย่างดีก็จะแห่เข้าไปซื้อ บนราคาแสนแพงที่มารองรับ กำไรที่ดูดีมากในข่วงนั้น แต่พอธุรกิจกลับสู่ภาวะปกติ นักลงทุนเหล่านั้นก็จะติดดอยสูงมากกกกกก
เรียกได้ว่าเป็นดอยอันหนาวเหน็บที่แสนจะยาวนาน เพราะรอบถัดไปที่ "ธุรกิจจะไปได้สวย" นั้น ส่วนมากมักต้องรอนานนับสิบปี
************
ทำไมเฟดขึ้นดอกเบี้ยแล้วหุ้นถึงต้องลง ?
เพราะ พออัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง ขยับสูงขึ้น นลท ก็ต้องการ ผลตอบแทนจากหุ้นสูงตาม
แต่หุ้น (บริษัท) ทำกำไรจากผลประกอบการได้ประมาณเดิม หรือด้อยกว่าเดิม เพราะเมื่อดอกเบี้ยขึ้น เพราะต้นทุนเงินทุน (ดบ จ่าย เงินกู้สูงขึ้น)
ดังนั้นทางเดียวที่ นลท จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้น เมื่อดอกเบี้ยพันธบัตรขยับสูงขึ้น ก็คือ ต้องซื้อหุ้นที่ราคาต่ำลง (ผ่านการคำนวนคิดลด discount rate)
จึงเป็นที่มาของหุ้นร่วงเมื่ออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรขยับสูงขึ้น ยกเว้นแต่ว่าเศรษฐกิจดีจนทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้น
ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยพันธบัตรมักจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจกำลังดีเกินไป กำลังร้อนแรงเกินไป (เศรษฐกิจที่ดีและร้อนแรงมักจะส่งผลให้บริษัทต่างๆมีผลประกอบการที่ดีกว่าที่คาด)
**********
ถ้าคุณลงทุนผิดพลาด และทันทีที่รู้ตัวว่าพลาด ให้กล้าที่จะหยุดตัวเองจากความผิดพลาด และต้องกล้าที่จะถอนตัวเองจากการลงทุนที่ผิดพลาดนั้น ไม่ใช่ทุ่มเงินเพิ่มลงไปอีก
**********