และตั้งใจอย่างแน่วแน่กับตนเองว่าจะทำตามขั้นตอนให้ได้
การวิเคราะห์และวางแผนล่วงหน้า จะช่วยลดการตัดสินใจอย่างกะทันหันซึ่งมักจะก่อให้เกิดความผิดพลาดลดลงได้
******
แม้จะรู้ว่าหลักการลงทุนที่ถูกต้องคืออะไร แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถหักห้ามใจจากหุ้น ipo ที่ร้อนแรงรวมถึงหุ้นที่กำลังเป็นกระแสนิยมได้
*********
ถ้าคุณไม่ทำความรู้จัก บ.ให้ดีพอ
ถ้าคุณไม่ประเมินค่าบริษัทด้วยตนเอง
แล้วคุณจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าจริงๆแล้ว บ.มีมูลค่าเท่าไร และถ้าคุณไม่มั่นใจมากเพียงพอแล้ว คุณจะถือหุ้นผ่านความผันผวนสูงๆได้อย่างไร
*********
เวลาคุณลงทุนทำธุรกิจ สมมุติลงทุนเปิดร้านอาหาร เช่าพื้นที่ซื้อโต๊ะเก้าอี้และทำครัวตกแต่งร้านจ่ายเงินไปก้อนนึง
คุณจะต้องมาจำไหม ว่าซื้อโต๊ะมาเท่าไร เก้าอี้เท่าไร ครัวทำไปเท่าไร ตกแต่งร้านเท่าไร เด่วทำธุรกิจสักสามเดือนแล้ว จะขายโต๊ะ เก้าอี้ จะขายเครื่องครัวใช้แล้ว ต้องมีกำไรสัก 20% คุณทำธุรกิจไม่ได้หวังกำไรจากตรงนั้น คุณจะไปหวังว่า ขอให้มีลูกค้าเข้าร้านเยอะๆ ที่ร้านขายดี ทำมาค้าขายต่อเนื่องได้อีกหลายๆปีและมีกำไรต่อเนื่อง
พอลงทุนในบริษัทด้วยการซื้อหุ้น กลับมองที่ราคาหุ้นเป็นหลัก แทนที่จะมองที่ธุรกิจที่บริษัททำว่าดีขึ้นหรือไม่ จ่ายปันผลเพิ่มขึ้นหรือไม่ มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปีทุกปีหรือไม่
ถ้าคุณโฟกัสที่ตัวธุรกิจ ราคาตลาดที่ขึ้นลงแทบไม่มีความหมายอะไรกับราคาหุ้นที่คุณซื้อเลย ตราบใดที่ธุรกิจยังดีต่อเนื่อง
ราคาหุ้นจะขึ้นหรือจะลง สัดส่วนความเป็นเจ้าของเท่าเดิมไม่ได้ลดลงเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าธุรกิจดีต่อเนื่อง ไม่มีเหตุผลให้ต้องกังวลใจเลย
**********
การซื้อหุ้นของบริษัทยอดเยี่ยมได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่ามากเท่าไร ย่อมดีและเป็นที่ต้องการมากเท่านั้น
แต่ความเป็นจริงคือ บริษัทที่ยอดเยี่ยม ราคาหุ้นมักลงไม่ต่ำกว่ามูลค่ามากนัก หรือ หลายๆครั้งอาจต้องรอนานหลายๆปี
ซึ่งบางครั้งกลายเป็นว่ามูลค่ามันเติบโตขึ้นไปหาราคา ดังนั้นการทยอยซื้อหุ้นของบริษัทที่ยอดเยี่ยมในราคาที่เหมาะสม และซื้อเพิ่ม เมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่าเมื่อมีโอกาสนั้น เป็นกลยุทธ์ที่ดีอย่างหนึ่ง
การซื้อบริษัทยอดเยี่ยมเพื่อลงทุนระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไป ที่ราคาเหมาะสมย่อมจะดีสู้ซื้อที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้แย่ หากเข้าเงื่อนไขนี้
- บ.ยอดเยี่ยม มีแนวโน้มว่าเปิดกิจการได้มากกว่า 15 ปีนับจากวันที่ซื้อหุ้น
- สินค้าและบริการมีความสำคัญ ทำให้ราคาสินค้าและบริการสามารถปรับเพิ่มขึ้นหนีอัตราเงินเฟ้อได้
- กิจการมีการเติบโตในระดับที่เหมาะสม และสามารถเติบโตต่อเนื่องในระยะยาวได้
- ผู้บริหารที่เก่งและเห็นแก่ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยที่ผู้บริหารหรือเจ้าของมีผลประโยชน์ไปในทิศทางเดียวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย
สมมติว่า บ. ราคาหุ้น 10 บาท มูลค่าเหมาะสม 10 บาท มีอัตราการเติบโต 10% (สมมติไม่มีการจ่ายปันผล เพื่อง่ายแต่การคำนวน)
นลท A ซื้อหุ้นที่ราคาเหมาะสมที่ 10 บาท
นลท B รอ 4 ปี แล้วซื้อได้ที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า 20%
ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่นาย B ซื้อไม่ใช่ 8 บาท เพราะมูลค่าเหมาะสมเมื่อสิ้นปีที่ 4 จะอยู่ที่ 14.64 บาท เนื่องจากบริษัทมีการเติบโตปีละ 10% ตลอดช่วง 4 ปี
ราคาที่นายบีซื้อที่มีส่วนลดต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ 20% จะเป็นราคา 11.71 บาท
มองมุมนึง ราคาจะเห็นว่านาย A ซื้อได้ถูกกว่านาย B ประมาณ 17% บนเวลา 4 ปี (เฉลี่ยปีละ 4.25%) ซึ่งก็ไม่ได้เหนือกว่าโดดเด่นแต่ก็ไม่ได้แย่นัก
อีกมุม สมมุติ ทั้งคู่ซื้อหุ้นในปีเดียวกัน (หมายถึงตลาดผันผวนแล้วนายเอซื้อได้ในจังหวะที่มีมูลค่าเหมาะสม ส่วนนายบีซื้อได้บนส่วนลด 20%) ทั้งคู่ต่างลงทุนหุ้นตัวนี้เป็นระยะเวลา 15 ปี นาย A ซื้อราคาสูงกว่านาย B 20% หากเฉลี่ยบนเวลาในการลงทุน 15 ปี 20% ÷ 15 ปี เท่ากับนาย A ซื้อราคาสูงกว่านาย B เฉลี่ยปีละ 1.33%
และหากมองอีกมุมนึง สมมุติเวลาผ่านไป 4 ปีแล้วราคาหุ้นไม่ลงมาให้นาย B ซื้อเลย นาย B จะพลาดไปเท่าไร ?
ลองคำนวณจากมูลค่าที่แท้จริง มูลค่าที่แท้จริงที่ 10 บาท การเติบโตปีละ 10% บนเวลา 15 ปี ราคาที่แท้จริงจะกลายเป็น 41.77 บาท
นั่นหมายความว่าหากนายบีรอซื้อบนราคาที่มีส่วนลด 20% แล้วราคาไม่ลงมาให้ซื้อ 41.77 - 10 บาท (ราคาเหมาะสม) = 31.77 บาท คือสิ่งที่นาย B พลาดไป
นี่คือสิ่งที่ปู่ชาร์ลีพยายามบอกกับปู่บัฟเฟตต์ว่าให้ซื้อหุ้นบริษัทที่ยอดเยี่ยมในราคาที่เหมาะสม และปู่บัฟเฟตต์ก็สามารถที่จะปรับ mindset และลงทุนในบริษัทที่ยอดเยี่ยมบนราคาที่เหมาะสม
ปล. นี่ยังไม่คำนวณจากผลกระทบทางบวกของการคูณด้วย P/E นะครับ สมมุติตลาดให้ค่า PE แก่หุ้นตัวนั้นที่ 25 เท่า สิ่งที่นายบีพลาดจะไปไกลกว่านี้มาก (เราพยายามอธิบายโดยการยกตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่าย)
*********
ทุกคนล้วนมีเงินทุนจำกัด ไม่ว่าจะรวยแค่ไหนมันก็มีจำกัด การลงทุน คือการนำเงินไปวางไว้ในจุดที่สร้างผลตอบแทนสูงที่สุด บนความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด
และเมื่อไหร่ที่พบการลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าและความเสี่ยงต่ำกว่า ก็จะเกิดการโยกย้ายเงินลงทุน ไม่เว้นแม้แต่การลงทุนระยะยาว
หากเปรียบเทียบที่ "ระยะยาวเหมือนกัน" และมีผลตอบแทนที่คิดลดด้วยความเสี่ยงแล้วแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ย่อมจะเกิดการสวิชต์เงินลงทุน
***********
หลายคนไม่เข้าใจ ทำไมซื้อพันธบัตรระยะยาวแล้วมีโอกาสขาดทุน NAV (ขาดทุนมูลค่าเงินต้น) หลายคน งง ว่าซื้อพันธบัตรเงินต้นหายได้ด้วยหรือ
สมมติ
ปี 2021 นายเอ ซื้อพันธบัตรอายุ 5 ปี หน้าตั๋วได้ดอกเบี้ย 3%
พอปี 2022 ดอกเบี้ยขยับขึ้น มี พันธบัตรอายุ 4 ปีได้ดอกเบี้ย 4%
นายเอ อยากได้เงินต้นคืนไปลงทุนอย่างอื่น ทางออกคือ ขายพันธบัตรรุ่น 2021 ในตลาดรอง
แต่คำถามคือ ใครจะซื้อพันธบัตรุ่นปี 2021 ที่มีอายุเหลือ 4 ปี และได้ดอกเบี้ย 3%
แน่นอนว่าไม่มีใครยอมซื้อราคาเต็มแน่ๆ เพราะได้ดอกเบี้ยต่ำ
คนซื้อไปซื้อพันธบัตรรุ่นปี 2022 ดีกว่า ได้ดอกเบี้ย 4% อายุ 4 ปี เท่ากันกับ อายุคงเหลือของรุ่นปี 2021 ที่ได้ดอกเบี้ยเพียง 3%
ดังนั้น หากนายเอ อยากจะขาย ต้องขายแบบลดราคาให้คำนวนแล้วผลตอบแทนเทียบเท่าพันธบัตรรุ่นปี 2022 คือได้ดอกเบี้ย 4%
คำถามคือนายเอ ต้องขายลดราคาเหลือเท่าไร ที่ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 3% จึงจะกลายเป็น 4%
คำตอบคือ นายเอต้องขายที่ 75% ของราคาต้นทุนที่ซื้อพันธบัตรมา
ดูการคำนวน
สมมติ นายเอ ลงทุนไปหนึ่งล้านบาท กับพันธบัตรรุ่น 2021 ได้ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 3% ดอกเบี้ยจะเป็นเงิน 30,000 บาทต่อปี
หากนายเอ ต้องการใช้เงินแล้วขายต่อที่ 75% ของราคาที่ซื้อมา คือ ขายต่อ 7.5 แสนบาท
คนที่ซื้อไป จะได้ดอกเบี้ย 30,000 บาท จากเงินที่จ่ายคือ 7.5 แสนบาท คิดเป็นผลตอบแทน 4% ซึ่งจะได้ผลตอบแทนเท่ากับที่ซื้อพันธบัตรรุ่นปี 2022
นั่นคือนายเอ ขาดทุน 25% หรือคิดเป็นเงิน 2.5 แสนบาท
นี่คือที่มา ว่า ราคาพันธบัตรเดิม สามารถขาดทุนได้หากดอกเบี้ยในอนาคตขยับสูงขึ้น
ตามตัวอย่าง คือ ปี 2022 ดอกเบี้ยขยับสูงขึ้นกว่าปี 2021 อยู่ 1% ทำให้นายเอขาดทุน NAV 25%
แต่ถ้านายเอไม่รีบใช้เงิน ถือพันธบัตรจนครบอายุ นายเอก็จะได้อัตราผลตอบแทน 3% ตลอด 5 ปี ในขณะที่พันธบัตรรุ่นใหม่ รุ่นปี 2022 ได้อัตราผลตอบแทน 4% ตลอด 4 ปี
สังเกตว่าอายุพันธบัตร รุ่น 2022 นอกจากดอกเบี้ยสูงกว่าแล้ว ระยะเวลาในการถือพันธบัตรยังสั้นกว่าอีกด้วย (ระยะเวลายิ่งยาว ยิ่งเสี่ยงมาก ดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวจึงควรสูงกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้น)
ในทำนองเดียวกัน สมมุติ ว่ามีกองทุนซื้อหุ้นโดยคำนวณว่าผลตอบแทนระยะยาวยอมรับได้ที่ 3% ต่อปี ซื้อหุ้นที่ราคา 100 บาทได้ผลตอบแทนหลังคำนวนที่ 3 บาท
แต่ต่อมาพันธบัตรรุ่นใหม่มีอัตราดอกเบี้ยขยับสูงขึ้น สมมุติเป็น 4% กองทุนก็ต้องคิดแล้วว่าโยกเงินไปซื้อพันธบัตรดีกว่าไหม หรือถ้าจะถือหุ้นตัวเดิมราคาหุ้นก็ต้องคิดลดลงมา เพื่อให้ผลตอบแทนขยับจาก 3% เป็น 4% เหมือนกันกับที่อธิบายไปข้างบนในเรื่องของพันธบัตร
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่มาว่า เมื่อดอกเบี้ยขึ้นแล้วราคาหุ้นก็ขยับลง
ปล. สิ่งที่น่าสังเกตคือดอกเบี้ยขยับจาก 3% เป็น 4% มูลค่าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น พันธบัตร ตามที่อธิบายไปข้างบน มูลค่าหรือ nav นั้นสามารถลดลงได้มากสุดถึง 25% (ไม่ได้รวมการคำนวนมูลค่าเงินต้น เพราะ การอธิบายเบื้องต้นให้เข้าใจง่ายจะทำได้ยาก ถ้าต้องคิดลดมูลค่าตั๋วจาก FV เป็น PV ตัวเลขลดไปถึง 25% นั้น เป็นตัวเลขที่ตลาดอาจให้ค่าได้จากการมองระยะสั้น และตัวเลขต่างๆก็เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพใหญ่คราวๆเท่านั้นครับไม่ใช่ตัวเลขเป๊ะ)
แต่ในหุ้น หากบริษัทสามารถเติบโตขึ้นมาได้ อัตราการเติบโตก็จะมาหักลบชดเชยกับมูลค่าที่ลดลง ทำให้มูลค่าลดลงน้อยกว่าพันธบัตรที่ไม่มีการเติบโต
ถ้าอ่านโพสต์ก่อนหน้าเรื่องผลตอบแทนเปรียบเทียบจะเข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น (ลิ้งโพสก่อนหน้า ในคอมเม้นท์ครับ)
เนื่องจากมีเพื่อนทักท้วงเรื่องการคำนวณมูลค่าพันธบัตรเมื่อครบกำหนดอายุเกี่ยวกับเงินต้น
จึงอธิบายเพิ่มเติมแบบนี้
ผมคำนวณอย่างละเอียดด้วย excel จะได้ตามรูปเลยครับ
แต่ต้องไม่ลืมว่าเวลาตลาด "มองระยะสั้น" จะมองเชิงเปรียบเทียบอย่างที่ผมเขียนในโพสต์กันเป็นส่วนมาก มีจำนวนน้อยที่จะคำนวณอย่างละเอียดเพราะต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในส่วนของตลาดพันธบัตรผู้เล่นส่วนใหญ่มีความรู้ ความคลาดเคลื่อนจำนวนมากอาจเกิดขึ้นได้น้อย แต่หากอ่านวรรคหลังของที่โพสต์ ที่เกี่ยวข้องกับหุ้น คนในตลาดหุ้นมักจะใช้การคำนวณผลตอบแทนเปรียบเทียบอย่างที่ผมเขียนเพราะการคำนวณเงินต้นในอนาคตมันไม่มีมูลค่าที่แน่นอนเหมือนพันธบัตร
แต่หากจะคำนวณอย่าง exactly 💯 ต้องมีความเข้าใจมากพอสมควร ว่าจะเห็นว่าดอกเบี้ยขึ้นแล้วทำให้มูลค่าลดลงจริง ส่วนจะลดลงมากน้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเพราะในตลาดหุ้นคนส่วนมากถือหุ้นไม่ถึง 1 ปี ดังนั้นจึงมองที่ผลตอบแทนระยะสั้นต่อปีมาเปรียบเทียบ (ซึ่งการคำนวณผลตอบแทนระยะสั้นมาเปรียบเทียบนั้นก็จะเป็นไปตามที่โพสต์ด้านบนเขียนไว้ เนื่องจากความสนใจอยู่ที่ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีทำให้ไม่สนใจที่จะถือพันธบัตรจนครบกำหนด player จำนวนไม่น้อยจึงคำนวณแบบระยะสั้น)
สรุปคือ ถ้าถือหุ้นระยะยาวและคำนวณอย่างถูกต้องจริงๆแล้วก็จะได้ตามรูปเลยครับ
By Joe Pojthaveekiat
********
หุ้นที่มีราคาถูกย่อมถูกลงได้อีกเสมอ แต่ราคาถูก คือเงื่อนไขซื้อที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนระยะยาวในบริษัทยอดเยี่ยม
******
ตลาดจะยังไม่ฟื้นหากยังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่ตลาดจะเริ่มฟื้นเมื่อทุกอย่างมืดสนิทแล้ว (เมื่อทุกอย่างมืดสนิท หมายถึงแรงขายหมดแล้ว จึงเหลือแต่แรงซื้อที่จะเข้ามาแทน)
******
พยายามอย่านำตัวเองไปอยู่ในสถานะที่มีแรงกดดัน ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย เช่น การก่อหนี้มาซื้อหุ้น การใช้มาร์จิ้น หรือการนำเงินที่ต้องใช้ในเวลาอันใกล้มาซื้อหุ้น
******
ถ้าคุณเอาชนะความโลภไม่ได้ คุณก็จะเป็นลูกไล่ให้กับความโลภของตัวคุณเองตลอดเวลา เช่นเดียวกับความกลัว
ถ้าคุณซื้อหุ้นแล้วกลัวจะขาดทุน คุณจะโดนความกลัวบังคับให้คุณออกจากตลาด
สิ่งที่จะชนะความโลภและความกลัว คือ ข้อเท็จจริงของ บ. ที่คุณจะต้องเรียนรู้ให้มาก รวมถึงรู้ให้ได้ ว่าจริงๆแล้ว บ.มีมูลค่าเท่าไร
**********
คนที่ใช้ความคิดที่รวดเร็วแบบรวบรัด จะสูญเสียการควบคุมตัวเองเร็วกว่าคนที่ใช้ระบบความคิดแบบมีตรรกะ
********
ซื้อหุ้นของบ.ที่ดีเพื่อลงทุนตอนที่มีราคาถูก ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วจะไปซื้อตอนไหน
**********
ITNS IPO 3.89 บาท พาร์ 1 บ.
หุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขาย ipo มีจำนวน 220 ล้านหุ้น
หุ้น ipo เสนอขาย 70 ล้านหุ้น + จัดสรรหุ้นสามัญส่วนเกินอีกไม่เกิน 10 ล้านหุ้น
หน่วย ลบ.
2562 รายได้รวม 282.03 กำไรสุทธิ 21.25
2563 รายได้รวม 375.39 กำไรสุทธิ 28.83
2564 รายได้รวม 370.95 กำไรสุทธิ 32.59
1H64 รายได้รวม 176.56 กำไรสุทธิ 11.38
1H65 รายได้รวม 176.05 กำไรสุทธิ 22.23
ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2565 อนุมัติปันผล 22.50 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นของงบ 30 มิ.ย 65 (งบการเงินปรับปรุงภายหลังจ่ายเงินปันผล 22.5 ล้านบาท) 158.06 ลบ
****
เครื่องคิดเลข พร้อม 😆
ค่าเฉลี่ย กำไรสุทธิจาก 2562, 2563, 1H2564 (2.5 ปี) 24.58 ลบ
หุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขาย ipo มีจำนวน 220 ล้านหุ้น ราคา IPO 3.89 บาท
24.58 / 220 = EPS 0.1117 บาท
ราคา IPO 3.89 ÷ 0.1117 = P/E 34.80 เท่า
เราให้ค่าพีอี BCH (มี รพในเครือ 15 รพ ) ที่ 28-35 เท่า
ส่วนนี่ บ. เทคโนโลยีอะไรไม่รู้ ขาย ipo พีอี 34.80 เท่า
การลงทุนคือการเปรียบเทียบว่าจะเอาเงินไปลงที่ไหน ที่คุ้มค่า+เสี่ยงน้อยสุด
*********
ข้อมูลที่มีผลทางจิตใจ แต่ไม่มีประโยชน์ในการตัดสินใจนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย
********
เคยมีคนถามว่าทำไมไม่ไปลงทุนต่างประเทศ เวียดนามเติบโตดีกว่าไทยนะ อนาคตก็ดีกว่าไทยแน่นอน ประชากรกำลังหนุ่มสาว ส่วนไทยนั้นมีแต่เฒ่าชะแลแก่ชราเยอะแยะ อาจารย์นิเวศน์ก็ไปลงทุนเวียดนามไม่ใช่หรือ
- เห็นด้วยทุกอย่างเลยว่าประเทศเวียดนามกำลังเติบโตดี คนหนุ่มสาวอยู่ในวัยทำงานมาก และอาจารย์นิเวศน์ก็น่าจะดูขาด ดูไม่ผิดแน่นอน
แต่ประเด็นคือถึงอาจารย์จะดูขาด แต่ตัวผมเองดูไม่ขาด ความสามารถของเราไม่เท่าอาจารย์ การจะไปลงทุนในสิ่งที่เราไม่รู้จักดีพอนั้น มันคือการแบกความเสี่ยงอย่างสูงเอาไว้
และในมุมที่เรามองคือเวียดนามเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ เบื้องหลังกิจการเอกชนล้วนแต่เป็นทหารทั้งนั้น
กิจการใดๆก็มักต้องขอสัมปทานจากรัฐบาลทหาร เรื่องเหล่านี้ ต้องเป็นคนที่อยู่ในเวียดนามเท่านั้นและเข้าใจภาษาเวียดนามเท่านั้น ถึงจะเข้าใจเทรนด์ เข้าใจความรู้สึกที่มีนัยยะของสังคมได้ทันท่วงที เข้าใจ action ของรัฐบาลได้ทันท่วงที
ต้องเป็นคนเวียดนามเท่านั้นที่ใกล้ชิดกับประเทศของตัวเองและเข้าใจวิธีทางของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเขา ว่าการขยับแต่ละท่าทีมันคืออะไร
ซึ่งการขยับตัวของรัฐบาลส่งผลต่อนโยบายเศรษฐกิจแน่นอน
ในขณะที่เราเป็นคนต่างชาติเราเข้าไม่ถึงความรู้สึกแบบนั้น ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆได้ช้ากว่าคนในประเทศ
แม้กระทั่งความเข้าใจแนวโน้มความต้องการสินค้าของคนในประเทศเวียดนามเองนั้น เราที่เป็นคนต่างชาติก็เข้าใจได้ไม่ดีพอ
แต่โอเคนักลงทุนเก่งๆหลายท่านอาจจะเข้าใจมันดี ก็เป็นเรื่องที่เขารู้สึกไม่เสี่ยง แต่ไม่ใช่เราเพราะเราไม่สามารถเข้าใจมันได้ดีพอ สำหรับเราแล้วมันจึงเสี่ยงสูง
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหลักๆที่ทำให้เราไม่ได้ไปลงทุนต่างประเทศ
ประกอบกับการลงทุนในประเทศยังมี บริษัทที่สามารถให้เราลงทุนได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นเราจึงไม่อยากไปแบกความเสี่ยงที่มากเกินความจำเป็น ด้วย "ความอยาก" เพียงเพราะเห็นคนแห่กันไปลงทุน
การรู้ว่าเราไม่รู้อะไรเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันช่วยให้เราหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้
********
การลงทุนในหุ้นเติบโตต้องรอดูว่ามีการเติบโตจริงไม่ใช่แค่ story แล้วรีบซื้อ เพราะถ้าทำไม่ได้ตาม story ราคาจะลงแรงมาก
เมื่อพูดถึงในมุมมองเชิงเทคนิคของหุ้นเติบโต การรอดูว่ามีการเติบโตจริงนั้น แน่นอนว่าราคาต้องขยับขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะตรงกับทางเทคนิค ที่ราคามักจะทำ new high ซึ่งสายโมเมนตัมเทรดจะแห่ซื้อตาม
หุ้นเติบโตทุกตัวราคามักจะทำ new high เสมอ
แต่หุ้นที่ทำ new high ทุกตัวไม่ได้หมายความว่าจะเป็นหุ้นเติบโตเสมอไป
***********
ข้อมูลที่มากเกินไป บางทีเป็น noise
แต่ข้อมูลหลักสามอย่างสำคัญที่ต้องรู้
- ราคาขณะนี้ต่ำกว่ามูลค่าแค่ไหน
- ฐานะการเงินแข็งแกร่งแค่ไหน (มีโอกาสต้องเพิ่มทุนไหม หรือล้มละลายมากแค่ไหน)
- ผบห ซื่อสัตย์และ บริหารเงินทุนสร้างผลตอบแทนได้สูงเท่าไร
*********
ความเสี่ยงต่ำ + โอกาสในการทำกำไรสูง = การลงทุน
High-risk High-return = การเก็งกำไร
*******
- อย่าถือหุ้นหลายตัวจนคิดตามข่าวสารไม่ทัน
- รายได้และกำไร เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราที่ยอมรับได้
- หนี้สินไม่มาก และสามารถผ่านวิกฤติเศรษฐกิจได้หากมี
- ซื้อมาในราคาสมเหตุสมผล
**********
มันเหมือนจะง่าย ที่จะบอกกับตัวเองว่าคราวหน้าตอนตลาดหุ้นตก เราจะมองข้ามข่าวร้ายและจะซื้อหุ้นราคาถูก
แต่วิกฤตแต่ละครั้งที่เกิดมันมักจะดูหนักกว่าครั้งก่อนทุกครั้ง ดังนั้นการมองข้ามข่าวร้ายจึงเป็นเรื่องที่คนส่วนมากทำได้ยาก
******
การใช้ชีวิตคือการ balance แต่ละด้านของชีวิตให้สมดุลให้มากที่สุด
ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องให้เวลากับทุกๆอย่างเท่าๆกัน แต่หมายถึงว่าให้เวลากับสิ่งที่ขาดมากสักหน่อยเพื่อให้สิ่งที่ขาดนั้นมีเพิ่มมากขึ้น balance กับด้านอื่นๆของชีวิต
เช่น คนที่ขาดแทนทุนทรัพย์ก็ต้องขยันและอดออมมากขึ้น ในคนที่มีทรัพย์สมบัติมากแล้วก็อาจจะแบ่งเวลาให้กับการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มประสบการณ์ชีวิต ให้กับการศึกษาเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ ให้กับการออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดี
เพื่อให้ด้านอื่นๆของชีวิตมากขึ้นมาสมดุลกับทรัพย์สิน ไม่ใช่มีทรัพย์สินมากพอ แต่ก็ยังมุ่งหาเงินจนละเลยสุขภาพกลายเป็นขาดแคลนสุขภาพ แบบนี้เรียกว่าไม่สมดุล
ขยันออกกำลังกายมีสุขภาพดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แบบนี้ก็ไม่ไหว ใช้ชีวิตอย่างลำบาก
มีทรัพย์มากแต่ขาดแคลนสุขภาพ แบบนี้ก็แย่ ใช้ชีวิตลำบาก แถมตายไปก็เอาทรัพย์สินไปไม่ได้ สุขภาพไม่ดีอายุสั้นไม่ได้อยู่ใช้ทรัพย์ที่มี
มีทรัพย์มาก ขาดทักษะความรู้ แบบนี้รักษาทรัพย์ไว้ไม่ได้แน่ ไม่นานก็หมด