วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

Total return ของหุ้นที่มีปันผล

การดู Total return ของหุ้นที่มีปันผล

สมมติให้หุ้นนั้น
-มีอัตราการเติบโตของกำไรเฉลี่ยที่ 7% ต่อปี ตลอด 5ปี
(ซึ่งอัตราการโกรทระดับนี้หาได้ไม่ยากนัก)
-จ่ายปันผล 100% (เพื่อให้ง่ายในการคำนวน)
-ให้ตัวแปรคงที่ สมมติให้พีอีคงที่ ที่ 16 เท่า

สมมติ
ราคาที่ซื้อ คือ 200 เป็นราคา ณ พีอี 16 เท่า 

แปลว่า Earning ปีแรก คือ 12.5
ปีที่ 2 เท่ากับ 13.38
ปีที่ 3 เท่ากับ 14.31
ปีที่ 4 เท่ากับ 15.31
ปีที่ 5 เท่ากับ 16.38

ราคา ณ พีอี 16 ในปีที่ 5 คือ 262 หรือคิดเป็นกำไร 31%
หากคิด "เฉลี่ยต่อปี" จะกำไรเพียง 6.2% ต่อปี



แต่จริงๆแล้วยังได้ปันผลด้วย

และตลอด 5ปี ได้รับปันผล เป็นเงิน 12.5+13.38+14.31+15.31+16.38 = 71.88
กำไรจาก Cap. Gain  262 - 200 = 62
รวม 5ปี ได้ผลตอบแทน 71.88 + 62 = 133.88 หรือคิดเป็น 66.94 % หรือ "เฉลี่ย" 13.34% ต่อปี

เท่ากับ Total Return แท้จริงแล้วอยู่ที่ 13.34% ต่อปี

หรือหากดู "คร่าวๆ"  อาจใช้สูตร
Totel Return  =  อัตราการเติบโต + Div Yield
เช่น    7% + (12.5/200) = 13.25%

แล้วหากหุ้นนั้นมีอัตราปันผลที่ 50% กำไรหล่ะ จะเป็นอย่างไร
ลองดูครับ โดยให้ตัวแปรทุกอย่างเหมือนเดิม

ปีที่ 1 ปันผล จะได้  12.5/2 = 6.25 
ปีที่ 2 ปันผล จะได้  13.38/2 = 6.69
ปีที่ 3 ปันผล จะได้  14.31/2 = 7.16
ปีที่ 4 ปันผล จะได้  15.31/2 = 7.66
ปีที่ 5 ปันผล จะได้  16.38/2 = 8.19 

รวม 5ปี  ได้ปันผลรวม    35.95 
รวม 5ปี ได้ผลตอบแทน 35.95 + 62 = 97.95 หรือคิดเป็น  48.98%   หรือเฉลี่ย 9.80% ต่อปี
หรือหากคิดแบบ "คร่าวๆ" โดยให้สูตร Totel Return  =  อัตราการเติบโต + Div Yield 
จะได้  7% + (6.25/200) = 10.12%

อีกจุดที่ส่วนใหญ่มักมองข้ามไปคือ การจ่ายปันผลระหว่างทาง เรายังสามารถนำปันผลไปลงทุนได้อีก
จากตัวอย่าง จะทำให้ได้เห็นมุมมองของเงินปันผล อัตราการปันผล ว่าส่งผลสำคัญต่อพอร์ตลงทุนระยะยาวมากทีเดียว


  

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

การดูหุ้น IPO เบื้องต้น

การดูหุ้น IPO เบื้องต้น

เนื่องด้วยผมสังเกตเห็นหุ้น IPO หลายตัว ทำราคาเสนอขายค่อนข้างแพง เลยคิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์

การดูหุ้น IPO เบื้องต้นคร่าวๆว่าถูกแพงอย่างไร

1. ดู P/B เทียบกับหุ้นตัวที่ "น่าจะใกล้เคียง" ตัวที่ทำ IPO มากที่สุด

2. ดู P/E ของหุ้นที่ทำ IPO เทียบกับ ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือหากมีตัวที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันให้เปรียบเทียบก็จะดี

3.หากเป็นหุ้นที่ธุรกิจแตกต่างไม่มีลักษณะเดียวกันอยู่ในตลาดก่อนหน้าให้เปรียบเทียบ ให้ประเมินความเสี่ยง ว่าอยู่ในระดับใด เช่นการให้คะแนนคร่าวๆ 1-10 และประเมินอัตราการเติบโตในอนาคต แล้วจึงเปรียบเทียบกับหุ้นที่อยู่ในตลาด ว่า บ.ที่มีความเสี่ยงและอัตราเติบโตใกล้เคียงกันมี P/E, P/B เท่าใด
(แต่วิธีการแบบนี้จะเป็นเพียงการประเมินหยาบๆเท่านั้น)

โดยมากเรามักจะเจอหุ้นที่สามารถเปรียบเทียบได้ตามแบบข้อ 2 มากที่สุด

ตัวอย่างเช่น

มีหุ้นที่จะ IPO เป็นธุรกิจผลิตน้ำตาล
มันจึงเป็นการง่ายที่เราจะหา P/E ของหุ้นในปีปัจจุบัน คือ ใช้ E ของปี2556 (และอาจมองเฉลี่ยย้อนหลังสักสอง หรือสามปี) ในการหา P/E ปัจจุบัน

แล้วนำไปเทียบกับหุ้นที่ทำธุรกิจลักษณะคล้ายๆกัน เช่น KBS หรือ KSL ก็พอจะเห็นภาพว่า ราคา IPO นั้นเหมาะสมหรือไม่

การเทียบกับตัวที่อยู่ในตลาดนั้น เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นว่า รารา IPO นั้นถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับตลาดขณะนั้น แต่มิได้เป็นการบอกว่าโดยตัวมันเองถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับมูลค่าของตัวมันเอง นั่นจึงเป็นที่มาของการดูหุ้น IPO เบื้องต้นเท่านั้น เพราะโดยมาก ผู้ที่ได้รับการถามว่าต้องการซื้อหุ้น IPO นั้น มักมีระยะเวลาในการตัดสินใจค่อนข้างน้อย เพราะโบรคต้องการคำตอบค่อนข้างเร็ว ดังนั้นการประเมินมูลค่าอย่างละเอียดด้วยวิธีอื่นๆ อาจทำได้ไม่ทันต่อการตัดสินใจ