ถ้าซื้อหุ้นพีอี 5 เท่า & Growth 8% มันง่ายที่จะหวังเห็น Growth 12% และพีอีกลายเป็น 8 เท่า
(จากGrowth 8% ไป 12% คือเติบโต 50% , ในขณะที่พี่อีห้าเท่ากลายเป็นพีอีแปดเท่านั้น หมายถึงตลาดให้ค่าเพิ่ม 60% แล้วนะ)
แต่ถ้าคุณซื้อหุ้นเติบโต 25% ที่พีอี 30 เท่า คุณจะหวังให้การเติบโตมากกว่า 25% ต่อเนื่อง นั้นไม่ง่ายเลย และจะหวังให้ตลาดให้ค่าพีอี เป็น 48-50 เท่า นั้นยิ่งยากเข้าไปใหญ่
(แต่ก็มีนะโดยเฉพาะหุ้นปั่น พีอีขึ้นมากๆเพราะต้อนไล่ราคา แต่คุณภาพของกำไรนั้นอีกเรื่องนึง)
@@@@@@@@@@@@@
การดูกำไรสุทธิแต่เพียงอย่างเดียว หรือดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงอย่างเดียวนั้น อาจผิดพลาดได้
เช่น การดูกำไรสุทธิแต่เพียงอย่างเดียว อาจพบว่าบริษัท มีรายได้เติบโตดี แต่กำไรลด จากค่าเสื่อมของการลงทุนใหม่เพิ่มขึ้น (ซึ่งการลงทุนใหม่จะส่งผลดีในระยะถัดไป) เช่น รพ สร้างตึกใหม่
ส่วนการดูกระแสเงินสดเพียงอย่างเดียว อาจพบว่าบาง บริษัทกระแสเงินสดติดลบทั้งๆที่ยอดขาย รายได้เพิ่ม เพราะการนำกระแสเงินสดของบริษัทไปขยายสต๊อกสินค้าเพิ่ม (ลงทุนเพิ่มในธุรกิจเดิม) ทำให้เงินสดไปอยู่ในสตอกสินค้าเพื่อขยายธุรกิจแล้วกระแสเงินสดติดลบ เช่น กลุ่มอสังหา
นลท ทั่วไปจะดูแต่กำไรก็จะติดกับดักเรื่องการลวทุนใหม่ทำให้ค่าเสื่อมเพิ่ม ทำให้กำไรลด
นลท ที่คิดว่าตัวเองรู้ลึกดูกระแสเงินสดแทนกำไร ก็จะติดกับดักเรื่องกระแสเงินสดติดลบจากการขยายการลงทุนในธุรกิจเดิม
@@@@@@@@@@@
เป็นนักลงทุนอย่าซื้อหุ้นแพง
เป็นเทรดเดอร์อย่าซื้อหุ้นถูก
แต่ก่อนอื่น
ต้องรู้ตัวก่อน
ว่าจะเป็นอะไร 😌
@@@@@@@@@@@@
การหาไอเดียใหม่ๆนั้นยากก็จริง
แต่การทิ้งไอเดียเก่า การทิ้งความเชื่อเดิมๆนั้นยากกว่า
@@@@@
การลงทุนระยะยาวต้องใช้ความอดทนมากกว่าที่คิด เป็นความอดทนชนิดที่เรียกว่า ต้องทนกับความน่าเบื่อ ทนกับสิ่งเร้ารอบข้าง ทนกับหุ้นอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าเกณฑ์การลงทุนของเรา
ฟังเหมือนง่าย แต่ถ้าทำได้ง่ายๆ คนส่วนมากคงประสบความสำเร็จกันหมด
@@@@@@@@
ประกันสุขภาพและโรคร้าย จำเป็นมากสำหรับคนที่ไม่ได้เตรียมเงินก้อนไว้เพื่อรักษาสุขภาพ
เงินก้อนที่ว่าคือเท่าไร ?
อย่างน้อยที่สุดก็เท่ากับทุนประกันที่ทำ
เช่น ถ้าทำทุนประกันไว้ 1 ลบ แต่ถ้าไม่อยากทำประกันก็ควรเตรียมเงินก้อนไว้ 1 ลบ
การเตรียมเงินก้อน ทดแทนการทำประกัน ข้อดีคือไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันหมดไปทุกปี (ถ้าทุนประกันหนึ่งล้านบาท ประกันสุขภาพ + ประกันโรคร้าย เบี้ยจะประมาณ 50,000 บาท)
สมมุติคุณทำประกันไป 8 ปี แล้วคุณป่วย สมมติรักษาเต็มทุนประกันหนึ่งล้านบาท หักจากจ่ายเบี้ย ประกันที่จ่ายไปแปดปีเป็นเงิน 400,000 บาทคุณก็จะประหยัดเงินได้ 600,000 บาท อันนี้คือข้อดีและเป็นสิ่งที่คนที่ไม่มีเงินก้อนเตรียมไว้ ควรจะทำประกัน หรือถ้ามีเงินก้อนก็ทำประกันได้
แต่ในกรณีที่ไม่ทำประกัน โดยใช้เงินก้อนที่เตรียมไว้ดูแลสุขภาพ ไปลงทุนแล้วได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี หากคนป่วยในปีที่แปดเหมือนกัน (ดูตามตารางช่องสีเขียวขวามือ) พอร์ตลงทุนทดแทนประกันจะมีมูลค่าประมาณสองล้านบาท
สมมติรักษาหนึ่งล้านบาท เหมือนตัวอย่างข้างบนที่ทำประกัน คุณจะเหลือเงินครบหนึ่งล้านเหมือนตอนแรกที่มี
แต่ถ้าคุณไม่ป่วยแบบต้องนอน รพ เลย 20 ปี
กรณีทำประกัน คุณจ่ายเบี้ยรวม 50,000x 20 = 1 ลบ (นี่ยังไม่นับค่าเสียโอกาสจากเงินที่ทยอยจ่ายไปก่อน fv pv int.) และคุณยังมีทุนประกันอยู่ที่หนึ่งล้านบาท (ซึ่งในอนาคต 20 ปีข้างหน้าเงินหนึ่งล้านบาท ค่าเงินมันเล็กลงมากแล้ว)
ส่วนกรณีสร้างพอร์ตทดแทน ผ่านไป 20 ปี คุณจะมีพอร์ตมูลค่าประมาณหกล้านบาท (ตามตาราง) เปรียบเสมือนมีทุนประกัน ประมาณหกล้านบาท ไว้ดูแลสุขภาพ
ลองคิดดู 20 ปีข้างหน้าฝั่งหนึ่งมีทุนประกันหนึ่งล้านบาท กับอีกฝั่งหนึ่งมีทุนประกันหกล้านบาท แล้วอายุที่มากขึ้น 20 ปี การดูแลสุขภาพด้วยเงินก้อนไหนถึงจะเหมาะสมกว่ากัน
ก็ยังย้ำว่า การทำประกันเหมาะสมและจำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีเงินก้อนครับ เพราะการที่ไม่มีเงินก้อนเพื่อรักษาพยาบาลเลย แล้วเกิดหากเจ็บป่วยขึ้นมาจะนำเงินที่ไหนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ส่วนคนที่มีเงินก้อนและลงทุนเป็น ก็เลือกได้เลยว่าจะทำประกันหรือจะสร้างพอร์ตทดแทนประกัน อันนั้นเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว
ผมรู้ว่าคนทำประกัน เพื่อปกป้องความเสี่ยง และมองเผื่ออนาคต
แต่ผมก็มองอนาคตของอนาคตอีกที ว่ายิ่งอายุมากขึ้นทุนประกันควรจะมากขึ้นตาม
ตอนอายุน้อยที่สุขภาพยังดี และหากมีเงินก้อนพอ ควรรับความเสี่ยงตอนนี้เพื่อไปปกป้องความเสี่ยงตอนอายุมากด้วยเงินก้อนที่มากขึ้นตามอายุ
แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่า “ลงทุนเป็น” ด้วย เพราะถ้าลงทุนผิดพลาด มันจะแย่ไปกันใหญ่
เงินก้อนสำหรับสร้างพอร์ตทดแทนประกันนั้น จะต้องเป็นเงินที่แยกต่างหากจากพอร์ตลงทุนปกติ และต้องมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพอร์ตลงทุนปกติ รวมถึงเมื่อนำมาใช้รักษาสุขภาพแล้วต้องไม่กระทบกับพอร์ตลงทุนปกตินะครับ
ดังนั้นผมจึงต้องย้ำว่า การทำประกันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทั่วไป
@@@@@@@@
สำหรับนักลงทุน ที่ไม่ใช่เทรดเดอร์
มองภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมต่างๆบ้าง เพื่อได้เห็นภาพรวม
แต่ การหาบริษัทที่เป็นผู้ชนะใช้ Bottom up ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ถือให้นานมากพอที่จะเห็นชัยชนะของบริษัท
ราคาตลาดที่ผันผวนมีไว้ให้ซื้อเพิ่มเมื่อราคาคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
หุ้นในพอร์ตอาจจะไม่ได้เลือกมาถูกต้องทุกตัว และไม่ได้ชนะทุกตัว แต่ถ้าเลือกอย่างเข้มงวดมากพอ ตัวที่ชนะมีกำไรจะสามารถ cover ตัวที่แพ้ได้ และยังสร้างผลกำไรให้กับพอร์ตรวม
ลืมดูราคาระหว่างวันบ้างก็ได้ สนใจราคามากขึ้นเฉพาะช่วงที่ราคาลงแรงๆ ลงต่อเนื่องเพื่อหาจังหวะสะสมหุ้นผู้ชนะเข้าพอร์ต
มันจะดีแค่ไหนถ้าคุณร่วมเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทเก่งๆ ที่มีผู้บริหารที่มีความสามารถ และบริษัทเป็นผู้ชนะในระยะยาวได้หลายๆบริษัทแล้วลงทุนยาวๆ
ถ้าคัดบริษัทมาดีพอ การขายแทบไม่ใช่เรื่องจำเป็น
@@@@@@@@@
ส่วนตัวเชื่อว่านักลงทุนแนวเน้นคุณค่า ที่แท้จริงแล้วมันมาจากนิสัย ในการใช้ชีวิตด้วยส่วนหนึ่ง
ดูตัวอย่างปู่ Warren Buffett ขนาดรวยเป็นมหาเศรษฐี ก็ยังอยู่บ้านหลังเดิม ทั้งทั้งที่จะมีคฤหาสน์เป็นของตัวเองก็ยังได้ ใช้รถยนต์อย่างคุ้มค่า
ปู่ก็เคยมีเครื่องบินนะ แต่เป็นเจ้าของสายการบินด้วยเลย แทนที่จะซื้อเครื่องบินส่วนตัว
ไม่รู้ไม่รู้ปัจจุบันยังมีอยู่หรือเปล่านะ
อาจารย์นิเวศน์ ก็เช่นกันซื้อรถยนต์ใช้แต่ละคัน อย่างคุ้มค่า บ้านที่อยู่อาศัย ก็อยู่หลังเดิมอย่างคุ้มค่า
สิ่งเหล่านี้มันเป็นจากนิสัยพื้นฐาน ที่ไม่ได้เป็นคนฟุ่มเฟือย รู้ค่าของเงิน
“ทำให้ถูกจริตกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า” จุดนี้สำคัญมากนะเรื่อง mindset
คนที่รู้คุณค่าของเงิน กับคนที่ขี้เหนียวไม่เหมือนกันนะ คนที่รู้คุณค่าของเงินกล้าที่จะซื้อสิ่งดีดีใช้ ถ้ามันคุ้มค่า ต่างจากคนขี้เหนียวที่ไม่กล้าใช้จ่ายแม้จำเป็นต้องใช้ก็ตาม
เงินไม่ได้ทำให้คนฟุ่มเฟือยมากขึ้น แต่เงินจะช่วยแสดงนิสัยดั้งเดิมของคนให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้น
ทุกคนแม้จะร่ำรวย หรือยากจน ก็จะมีสไตล์ใช้ชีวิตเหมือนเดิม
คนที่เน้นความคุ้มค่า ก็ยังคงใช้ชีวิตแบบเน้นคุณค่า ไม่ได้ฟุ่มเฟือยมากขึ้น แม้จะร่ำรวยมากขึ้นก็ตาม
ในขณะที่คนฟุ่มเฟือย ก็ยังคงใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือย ไม่ว่าจะมีเงินหรือไม่มีเงินก็ตาม และถ้าหากมีเงินมากขึ้นก็จะยิ่งฟุ่มเฟือยมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าเงินไม่ได้เปลี่ยนนิสัยคน แต่ช่วยให้คนแสดงนิสัยดั้งเดิมของแต่ละบุคคลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
@@@@@@@@
ถ้าดูจากประวัติของปู่ Jim จะเห็นว่ามันเกินกว่าคนธรรมดาไปมาก ดังนั้นวิธีการลงทุนของปู่ คนทั่วไปทำตามได้ยาก (แต่ก็ไม่ใช่จะทำตามไม่ได้เลย)
ต่างจากวิธีการลงทุนแบบพื้นๆ ของปู่ Buffett ที่ใช้วิธีการลงทุนที่เรียบง่ายใครๆก็ทำได้
Jim Simons เป็นนักคณิตศาสตร์และนายทุนชาวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เขามีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Renaissance Technologies ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก
ประวัติโดยสังเขปของ Jim Simons มีดังนี้
- เกิดในปี 1938 ที่เมืองนิวตันแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) และปริญญาเอกจาก University of California, Berkeley
- ทำงานเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ที่ Harvard University และ Stony Brook University
- ในปี 1982 ก่อตั้งบริษัท Renaissance Technologies ซึ่งใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในการซื้อขายหลักทรัพย์
- กองทุน Medallion ของ Renaissance ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลด้วยผลตอบแทนเฉลี่ยกว่า 35% ต่อปีเป็นเวลากว่า 30 ปี
- มีมูลค่าสุทธิประมาณ 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับหนึ่งในร้อยของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐอเมริกา
- บริจาคเงินจำนวนมากเพื่อสนับสนุนการศึกษาและงานวิจัยทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
Jim Simons เป็นที่รู้จักในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่จากการประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเชี่ยวชาญในการลงทุน
ความสำเร็จ:
•Renaissance Technologies กลายเป็นหนึ่งในกองทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
•กองทุน Medallion ของบริษัท สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 39%
•ปู่ไซมอนส์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์
กลยุทธ์:
•ปู่ไซมอนส์ และทีมของเขาใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตลาด
•พวกเขาใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบอัลกอริทึม ซึ่งช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
•ปู่ไซมอนส์ เน้นย้ำถึงการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แทนที่จะพึ่งพาการคาดเดาและอารมณ์
จอร์จ โซรอส เป็นนักลงทุนและนักเก็งกำไรชื่อดังชาวฮังกาเรียน-อเมริกัน ผู้ก่อตั้งกองทุน Quantum Fund ซึ่งมีประวัติการลงทุนที่โดดเด่นมาก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกองทุน Quantum Fund เป็นกองทุนเอกชน โซรอสจึงไม่ได้เปิดเผยตัวเลขผลตอบแทนการลงทุนอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลบางส่วนที่เปิดเผย สามารถประมาณผลตอบแทนการลงทุนของโซรอสได้ดังนี้
1) ในช่วง 10 ปีแรกของกองทุน Quantum ตั้งแต่ปี 1969-1979 มีรายงานว่าได้รับผลตอบแทนสูงถึง 4,200%
2) ในปี 1992 โซรอสสร้างผลกำไรมหาศาลจากการเก็งกำไรกับค่าเงินปอนด์ได้ประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์
3) รายงานบางแห่งระบุว่าตั้งแต่ก่อตั้ง Quantum ในปี 1973 จนถึงปี 2011 กองทุนนี้มีผลตอบแทนรวมสูงกว่า 30% ต่อปี
4) ในปี 2018 สินทรัพย์สุทธิของโซรอสมีมูลค่ากว่า 8 พันล้านดอลลาร์
แม้จะไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่จากกรณีต่างๆที่ยกมาบ่งชี้ได้ว่า โซรอสเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงมากคนหนึ่ง โดยมีผลตอบแทนการลงทุนจากกองทุนเฉลี่ยมากกว่า 30% ต่อปีเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าทึ่งมากสำหรับการลงทุนแบบกองทุน
@@@@@@@@@
สังเกต ถ้าตลาดหุ้นดี ตลาดอสังหา บ้านและคอนโดจะขายดีไปด้วย
เมื่อบ้านและคอนโดขายดีย่อมส่งผลต่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และแรงงาน
เนื่องจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยต้องอาศัยแรงงานจำนวนมากก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวน ใช้วัสดุก่อสร้าง รวมถึงใช้วัสดุในการตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆต่อเนื่องอีกมากมาย
ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น
แต่ถ้าเมื่อไหร่ตลาดหุ้นแย่หนักๆตลาดอสังหาจะแย่ไปด้วย
สังเกตได้จากประเทศจีน ตลาดหุ้นพังแรงมาสองถึงสามปี ตลาดอสังหาที่เคยเฟื่องฟูไม่สามารถ maintain ไว้ได้ สุดท้ายก็พังทลายลงมา ส่วนการจะพังลงมาแรงแค่ไหน มันขึ้นอยู่กับตอนเฟื่องฟูนั้นมีฟองสบู่อสังหาหรือเปล่า
ตลาดหุ้นตลาดการเงิน ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาค real sector โดยตรง และอย่างมาก
@@@@@@@@@@@@@
การสร้างพอร์ตหุ้นปันผล จุดประสงค์หลักคือเพื่อสร้างกระแสเงินสดต่อเนื่องระยะยาว โดยเฉพาะ เป็นกระแสเงินสดสำหรับยามเกษียณ
การสร้างพอร์ตหุ้นปันผลนั้นต้องยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องอย่างแน่วแน่ ต้องมีความอดทนสูง สามารถทนถือผ่านความผันผวนของตลาดได้
ไม่ว่าจะเป็นปู่วอร์เรนบัฟเฟตต์ หรืออาจารย์นิเวศน์ ก็ล้วนแต่ถือพอร์ตระยะยาวผ่านความผันผวนของตลาดมานานหลาย 10 ปี
จุดได้เปรียบที่จะสร้างพอร์ตหุ้นปันผลคือต้องซื้อหุ้นได้ในราคาถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีอัตราเงินปันผลที่คุ้มค่า
การที่จะซื้อหุ้นได้ในราคาที่มีอัตรา เงินปันผลที่คุ้มค่านั้นทางหนึ่งก็คือซื้อเมื่อราคาหุ้นตกต่ำ
ราคาหุ้นอยู่ดีดีมันไม่ตกต่ำหรอกนะ ต้องมีวิกฤติอะไรบางอย่าง มันต้องมีผลประกอบการที่แย่เป็นบาง เวลาชั่วขณะ อาจจะแย่ปีสองปี นั่นก็คือช่วงจังหวะที่ดีในการทยอยซื้อหุ้น สังเกตใช้คำว่าทยอยนะไม่ใช่ซื้อตูมเดียว
เมื่อซื้อหุ้นได้ในราคาถูกที่มีอัตราปันผลสูงในยามที่มีวิกฤตหรือผลประกอบการแย่ชั่วคราว
พอเศรษฐกิจฟื้นตัวผลประกอบการดีขึ้นมา อัตราเงินปันผลก็จะยิ่งสูงขึ้น มันคือผลตอบแทนที่หอมหวานสำหรับคนที่มีความอดทนมากเพียงพอ
ใครๆก็รู้ว่าต้องซื้อหุ้นดี ราคาถูก ใครๆก็รู้ว่า ต้องการเงินปันผลที่สูง แต่มีน้อยคนนักที่จะมีความอดทนได้มากพอ
เวลาตลาดมีวิกฤติส่วนใหญ่ก็จะลืมหลักการกันหมดสิ้น โยนหลักการทิ้ง ตีโพยตีพาย พอตลาดกลับมาดี กลับมาเป็นปกติ ก็แย่งกลับมาซื้อของแพงกันใหม่ 🤣🤣🤣
#เตือนสติ