วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้พื้นฐานทางเทคนิคที่ควรรู้


เป็นความรู้พื้นฐาน เพื่อนำไปต่อยอดได้ ส่วนจะดึงมาใช้หรือไม่อยู่ที่แนวทางของแต่ละคน แต่อย่างน้อยที่สุดควรอ่านกราฟ และ อินดิเคเตอร์ขั้นพื้นฐานเหล่านี้ได้ รวมถึงความรู้ขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

-อ่านตัวแท่งเทียน ในรูปแบบต่างๆ

-แพทเทิลต่างๆของกราฟ เช่น Double top , Triple top , C&H และอื่นๆ

-การตีเทรนด์ไลน์  Uptrend , Downtrend

-การใช้เส้น Moving average ต่างๆ

-อ่านความหมาย RSI

-อ่านความหมาย MACD

-หลักการของ Dow theory

-หลักการของ Trend following

-การอ่านวอลุ่ม

-การ Cut loss ด้วยวิธีต่างๆ

-การหาจุดขาย

-การอ่านสภาพตลาดโดยรวม

-การกำหนดขนาดความเสี่ยง

อัตราส่วนทางการเงิน

คำนิยามของอัตราส่วนทางการเงิน


อัตราส่วนสภาพคล่อง (LIQUIDITY RATION)




อัตราส่วนสภาพคล่อง
= สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
(เท่า)



อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว
= (เงินสดและเงินฝากธนาคาร + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด + ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ) / หนึ้สินหมุนเวียน
(เท่า)



อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด
= กระแสนเงินสดจากการดำเนินงาน /หนี้สินหมุนเวียนเฉลี่ย
(เท่า)



อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า
= ขายสุทธิ / (ลูกหนี้การค้าก่อนหนี้สงสัยจะสูญ + ตั๋วเงินรับการค้า) (เฉลี่ย)
(เท่า)



ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย
= 360 / อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า
(วัน)



อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ
= ต้นทุนขาย / สินค้าคงเหลือ (เฉลี่ย)
(เท่า)
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย
= 360 / อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ
(วัน)



อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้
= ซื้อหรือต้นทุนขาย / (เจ้าหนี้การค้า + ตั๋วเงินจ่ายการค้า) (เฉลี่ย)
(เท่า)



ระยะเวลาชำระหนี้
= 360 / อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้
(วัน)



Cash cycle
= ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย + ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย ระยะเวลาชำระหนี้
(วัน)



อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (PROFITABILITY RATIO)



อัตรากำไรขั้นต้น
= กำไรขั้นต้น / ขายสุทธิ
(%)



อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน
= กำไรจากการดำเนินงาน / ขายสุทธิ
(%)



อัตรากำไรอื่น
= กำไรที่ไม่ได้จากการดำเนินงาน / รายได้รวม
(%)



อัตราส่วนเงินสดต่อการทำกำไร
= กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / กำไรจากการดำเนินงาน
(%)



อัตรากำไรสุทธิ
= กำไรสุทธิ / รายได้รวม
(%)


อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
= กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น (เฉลี่ย)
(%)



อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (EFFICIENCY RATIO)




อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์
= กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม (เฉลี่ย)
(%)



อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร
= (กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา) / สินทรัพย์ถาวรสุทธิ (เฉลี่ย)
(%)



อัตราการหมุนของสินทรัพย์
= รายได้รวม / สินทรัพย์รวม (เฉลี่ย)
(เท่า)



อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (FINANCIAL POLICY RATIO)



อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
= หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น
(เท่า)



อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (Net Cashflow from Operating before Interest and tax/ Interest paid)
= กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน + ดอกเบี้ยจ่ายจากการดำเนินงาน + ภาษี / ดอกเบี้ยจ่ายจากการดำเนินงานและลงทุน
(เท่า)



อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (EBITDA/Interest paid)
= กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย  / ดอกเบี้ยจ่ายจากการดำเนินงานและลงทุน
(เท่า)



อัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพัน
= กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / (การจ่ายชำระหนี้สิน + ดอกเบี้ยจ่ายจากการดำเนินงานและการลงทุน + รายจ่ายลงทุน+ซื้อสินทรัพย์+เงินปันผลจ่าย)
(เท่า)



อัตราการจ่ายเงินปันผล
= เงินปันผล / กำไรสุทธิ
(%)

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

American Civil War: สงครามกลางเมืองอเมริกัน







American Civil War: สงครามกลางเมืองอเมริกัน
เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง ระหว่างรัฐเกษตรกรรมทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่มีการทำไร่ขนาดใหญ่ใช้แรงงานทาสนิโกร กับรัฐอุตสาหกรรมทางเหนือระหว่าง ค.ศ. 1861 - 1865 (พ.ศ. 2404 - 2408) สงครามนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 600,000 คน ทำให้เกิดความเสียหายและความยุ่งยากหลายประการ แต่ก็มีผลดีที่ต่อมามีการเลิกทาส และรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้

สงครามเริ่มต้นจาก เมื่อ อับราฮัมได้เป็นประธานาธิบดีโดยเขาสัญญาก่อนเลือกตั้งว่า ถ้าเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เขาจะประกาศเลิกทาสทั่วประเทศ (สมัยนั้นสหรัฐอเมริกามีเนื้อที่เฉพาะฝั่งขวาของแม่น้ำมิสซิสซิปปีทั้งหมดเท่านั้น) ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนที่อยู่ในรัฐทางเหนือ แต่ในรัฐทางใต้กลับไม่พอใจเป็นอย่างมาก ฉะนั้นคะแนนเสียงของอับราฮัม จึงไม่มีในรัฐภาคใต้เลย เมื่อเขาได้เป็นประธานาธิบดี รัฐทั้ง 11 รัฐทางใต้ก็ประกาศแยกตัวเป็นอิสระทันที ประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลสหรัฐฯ ส่วนรัฐทางใต้ก็รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ประกาศจัดตั้งประเทศ สมาพันธรัฐอเมริกา สงครามจึงเริ่มขึ้น






Confederate States of America: สมาพันธรัฐอเมริกา
เป็นชื่อทางการของรัฐที่แยกตัวออกระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1860-1861ประกอบด้วยรัฐเวอร์จิเนีย นอร์ท คาโรไลนา เซาท์ คาโรไลนา จอร์เจีย ฟลอริดา เทนเนสซี อะลาบามา มิสซิสซิปปี หลุยส์เซียนา เท็กซัส อาร์คันซอ มีประธานาธิบดีคือนายเจฟเฟอร์สัน เดวิส (Jefferson Davis) แห่งรัฐมิสซิสซิปปี ส่วนรัฐทาสอื่นคือเดลาแวร์ มารีแลนด์ เคนทักกีกับบางส่วนของรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งปัจจุบันคือเวสต์ เวอร์จิเนียไม่ได้แยกออกมาเป็นสมาพันธรัฐด้วย
รัฐที่แยกตัวออกได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1861 และต่อมาก็ตั้งเป็นรัฐบาลถาวรในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1862 มีรองประธานาธิบดี คือนายเอ. สตีเฟน (A. Stephen) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเดือนมีนาคม ค.ศ.1861 ตั้งเมืองริชมอนด์ (Richmond) เป็นเมืองหลวงในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน พยายามเรียกร้องให้ต่างประเทศรับรอง โดยระงับการส่งฝ้ายออกไปจำหน่าย แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ทั้งภายในประเทศก็มีกำลังพลกับกำลังรบ น้อยกว่าฝ่ายเหนือที่เป็นรัฐอุตสาหกรรม ในที่สุดต้องยอมแพ้ที่ศาลแอพโพแมททอกส์ (Appomattox Courthouse) เดือนเมษายน ค.ศ.1865


สงครามกลางเมืองอเมริกา (อังกฤษAmerican Civil War, ค.ศ. 1861-1865) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งอับราฮัม ลินคอล์นเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา รัฐทาสทางใต้สิบเอ็ดรัฐประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกา และจัดตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา ส่วนอีกยี่สิบห้ารัฐสนับสนุนรัฐบาลกลาง ("สหภาพ") หลังสงครามนานสี่ปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในรัฐทางใต้ ฝ่ายสมาพันธรัฐยอมจำนนและมีการเลิกทาสทั่วประเทศ ปัญหาซึ่งนำสู่สงครามบางส่วนได้รับการแก้ไขในยุคบูรณะ (Reconstruction Era) ที่เกิดขึ้นตามมา แต่ยังมีที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอีก
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1860 พรรครีพับลิกัน นำโดย อับราฮัม ลินคอล์น รณรงค์ต่อต้านการขยายระบบทาสนอกเหนือไปจากรัฐที่มีอยู่แล้ว พรรครีพับลีกันเป็นผู้ให้การสนับสนุนชาตินิยมอย่างแข็งขัน และในแนวนโยบายของพรรคใน ค.ศ. 1860 ประณามภัยคุกคามจากความแตกแยกว่าส่อกบฏอย่างชัดเจน หลังพรรคชนะการเลือกตั้ง แต่ก่อนฝ่ายบริหารเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1861 รัฐผลิตฝ้ายเจ็ดรัฐประกาศแยกตัวและรวมเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา ทั้งรัฐบาลประธานาธิบดีเจมส์ บูคานัน และรัฐบาลชุดถัดมาไม่ยอมรับว่าการแยกตัวดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย และมองว่าเป็นการกบฏ ส่วนอีกแปดรัฐทาสยังปฏิเสธการเรียกร้องให้แยกตัวออกมาจนถึงจุดนี้ ไม่มีประเทศใดในโลกยอมรับสมาพันธรัฐ
สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองทัพสมาพันธรัฐโจมตีที่ตั้งทหารสหรัฐที่ฟอร์ตซัมเตอร์ในเซาท์แคโรไลนา ลินคอล์นตอบสนองโดยเรียกร้องให้กองทัพอาสาสมัครจากแต่ละรัฐยึดทรัพย์สินของรัฐบาลกลางคืน ซึ่งนำไปสู่การประกาศแยกตัวออกเพิ่มอีกโดยสี่รัฐทาส ทั้งสองฝ่ายขยายกองทัพเมื่อสหภาพควบคุมรัฐชายแดนในช่วงต้นสงครามและเริ่มการปิดล้อมทางทะเล สงครามภาคพื้นในภาคตะวันออกไม่แพ้ชนะกันใน ค.ศ. 1861-62 เมื่อสมาพันธรัฐสามารถขับความพยายามของสหภาพในการยึดริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย เมืองหลวงของสมาพันธรัฐออกไป ที่โดดเด่นคือ ระหว่างการทัพคาบสมุทร ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1862 การทัพของสมาพันธรัฐในแมริแลนด์ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ในยุทธการแอนตีแทม(Antietam) ซึ่งทำให้อังกฤษเปลี่ยนใจไม่เข้าแทรกแซงในสงคราม[6] ไม่นานหลังจากยุทธการนั้น ลินคอล์นประกาศเลิกทาส ซึ่งทำให้การเลิกทาสไม่เป็นเป้าประสงค์ในสงครามอีกต่อไป[7]
ใน ค.ศ. 1863 การบุกขึ้นเหนือของนายพลสมาพันธรัฐ โรเบิร์ต อี. ลี ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ที่ยุทธการเกตตีสเบิร์ก ในทางตะวันตก สหภาพควบคุมเหนือแม่น้ำมิสซิสซิปปี หลังยุทธการชิโลห์ (Shiloh) และการล้อมวิคสเบิร์ก (Vicksburg) ซึ่งเป็นผลให้สมาพันธรัฐแบ่งออกเป็นสองและทำลายกองทัพตะวันตกไปเป็นอันมาก ด้วยความสำเร็จในทางตะวันตก ยูลิสซิส เอส. แกรนท์ จึงได้รับอำนาจบังคับบัญชากองทัพตะวันออกใน ค.ศ. 1864 และจัดระเบียบกองทัพของวิลเลียม เทคุมเซห์ เชอร์แมนฟิลิป เชอริแดน, และคนอื่น ๆ ให้โจมตีสมาพันธรัฐจากทุกทิศทาง ซึ่งเพิ่มความได้เปรียบด้านกำลังพลของฝ่ายเหนือถึงขีดสุด แกรนท์ปรับโครงสร้างของกองทัพสหภาพ และวางตัวนายพลคนอื่นให้บังคับบัญชากองพลของกองทัพเพื่อสนับสนุนการบุกเวอร์จิเนียของเขา เขานำการทัพภาคพื้นดินเพื่อยึดริชมอนด์ แม้จะเผชิญกับการต้านทานอย่างดุเดือด เขาจะเปลี่ยนแผนและนำการล้อมปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งทำลายกองทัพที่เหลือของลีเกือบทั้งหมด แกรนท์มอบอำนาจให้เชอร์แมนยึดแอตแลนตาและเคลื่อนทัพไปยังทะเลโดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายสาธารณูปโภคของสมาพันธรัฐ เมื่อความพยายามป้องกันปีเตอร์สเบิร์กของสมาพันธรัฐล้มเหลว กองทัพสมาพันธรัฐล่าถอย แต่ก็ถูกตามล่าและพ่ายแพ้ในที่สุด ซึ่งส่งผลให้ลียอมจำนนต่อแกรนท์ที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1865
สงครามกลางเมืองอเมริกันเป็นหนึ่งในสงครามอุตสาหกรรมที่แท้จริงครั้งแรก ๆ ของโลก ทางรถไฟ โทรเลข เรือกลไฟ และอาวุธซึ่งผลิตเป็นจำนวนมากมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง แบบของสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งพัฒนาโดยเชอร์แมนในรัฐจอร์เจีย และสงครามสนามเพลาะรอบปีเตอร์สเบิร์กเกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในทวีปยุโรป สงครามครั้งนี้ยังเป็นสงครามที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้ทหารเสียชีวิตกว่า 620,000 นาย และพลเรือนเสียชีวิตไม่ทราบจำนวน นักประวัติศาสตร์ จอห์น ฮัดเดิลสตัน ประเมินยอดผู้เสียชีวิตว่า ชายรัฐทางเหนือทุกคนที่อายุระหว่าง 20-45 ปี เสียชีวิตไป 10% และชายรัฐทางใต้ทุกคนที่อายุระหว่าง 18-40 ปี เสียชีวิตไป 30%[8] ชัยชนะของฝ่ายเหนือหมายถึงจุดจบของสมาพันธรัฐและทาสในสหรัฐอเมริกา และเสริมอำนาจแก่รัฐบาลกลาง ปัญหาทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและเชื้อชาติของสงครามมีอิทธิพลต่อยุคบูรณะซึ่งดำเนินไปจนถึง ค.ศ. 1877

สาเหตุของสงคราม[แก้]

สาเหตุของสงครามเกิดจากความแตกต่างระหว่างแต่ละรัฐในสหรัฐอเมริกา ที่มีรูปแบบและชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกันมาก ในขณะที่รัฐทางใต้ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทาสในการเกษตรกรรมขนาดใหญ่ รัฐทางเหนือกลับเป็นรัฐอุตสาหกรรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทาสมากนัก เมื่ออับราฮัม ลิงคอล์นซึ่งมีแนวคิดต่อต้านระบบทาสอย่างชัดเจน ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ทำให้รัฐทางใต้ 13 รัฐที่ไม่พอใจ แยกตัวเป็นอิสระ และตั้งรัฐบาลใหม่ในนามว่าสมาพันธรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861



เหตุการณ์สำคัญตามลำดับคือ
ค.ศ. 1860 อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
ค.ศ. 1860 เซาท์ แคโรไลนาแยกตัวออกเพราะไม่พอใจผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ค.ศ. 1860 การทำข้อตกลงคิสเตนเดน (Crittenden Compromise) ล้มเหลวเท่ากับเป็นการสิ้นสุด ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะยังคงรวมกันเป็นสหภาพ (Union)
ค.ศ. 1861 ฝ่ายสมาพันธรัฐ (Confederates) ยิงเรือของฝ่ายสหภาพ พยายามปลดปล่อยฟอร์ท ซัมเตอร์ (Fort Sumter) ที่เมืองชาร์ลสตัน (เซาท์ แคโรไลนา) ทำให้เรือของฝ่ายสหรัฐต้องถอย
ค.ศ. 1861 มิสซิสซิปปี แยกตัว (9 มกราคม) ตามมาด้วยฟลอริดา (10มกราคม) อลาบามา (11 มกราคม) จอร์เจีย (19มกราคม) หลุยส์เซียนา (26มกราคม) และเท็กซัส (1กุมภาพันธ์)
ค.ศ. 1861 สภาคองเกรสเรียกประชุมผู้แทน (4 ก.พ.) บรรดารัฐที่แยกตัวออกที่เมืองมองโกเมอรี รัฐอลาบามาจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา และเลือกตั้งนายพล เจ.เดวิส (J.Davis) เป็นประธานาธิบดี
ค.ศ. 1861 ประธานาธิบดีเดวิส ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 20,000 คนเข้าประจำการ (3 เมษายน)
ค.ศ. 1861 กองทัพฝ่ายสมาพันธ์นำโดยนายพลโบรีการ์ด (Beauregard) ระดมยิงฟอร์ท ซัมเตอร์จน ต้องยอมแพ้ เป็นการเปิดฉากสงครามกลางเมือง ที่มีความรุนแรงยิ่งขี้น (12 - 14 เมษายน)
ค.ศ. 1861 ประธานาธิบดีลินคอล์น ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 75,000 คน (15 เมษายน) ดำเนินการปิดล้อมท่าเรือของฝ่ายรัฐที่แยกตัวออก (19 เมษา) แต่ไม่สามารถสกัดการส่งสินค้า จากต่างประเทศที่เข้ามาถึงรัฐที่ถูกปิดล้อมได้ทั้งหมด
ค.ศ. 1861 เวอร์จิเนียถอนตัวออกจากสหพันธรัฐ (17 เมษา) ตามด้วยอาร์คันซอส์ (6 พฤษภา) นอร์ท แคโรไลนา (20 พฤษภา) และเทนเนสซี (8 มิถุนา)
ค.ศ. 1861 กองทัพฝ่ายสมาพันธรัฐเผชิญหน้าฝ่ายสหพันธรัฐ เริ่มการสู้รบที่บุล รัน (bull Run) (21 กรกฎา) ทางตอนเหนือของรัฐเวอร์จิเนีย การสู้รบที่บุลรันทำให้ฝ่ายเหนือคิดเรื่องที่จะยุติสงครามกลางเมืองโดยเร็ว ด้วยการปิดล้อมฝ่ายใต้ทางเรือ คุมย่านแม่น้ำมิสซิสซิปปี (เพื่อเป็นการแยกฝ่ายใต้ออกจากกัน) และเข้ายึดเมืองริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐฝ่ายใต้ ค.ศ. 1861 ฝ่ายสมาพันธรัฐก็ยึดเมืองสปริงฟิลด์ (Springfield) ในมิสซูรีภายหลังการรบที่วิลสัน ครีก (Wilson's Creek) (10สิงหาคม)
ค.ศ. 1861 พลเอก จี. แมคเคลลัน (General G.McCelan) เป็นผู้บัญชาการกองทัพสหพันธรัฐ และจัดตั้งกองทัพแห่งโปโตแมค (Army of Potomac) ขึ้น
ค.ศ. 1861 กองทัพสหพันธรัฐปิดล้อมเรืออังกฤษ (8 พฤศจิกายน) จนเกือบนำไปสู่การเกิดสงรามระหว่างประเทศ
ค.ศ. 1862 ฝ่ายสหพันธรัฐบุกเคนตักกี้กับเทนเนสซี ยึดได้ฟอร์ท เฮนรี (Fort Henry) กับฟอร์ท โดเนลสัน (Fort Donelson) (6 - 16 กุมภาพันธ์) ฝ่ายสมาพันธ์ถอนตัวจากเมืองแนชวิลล์ (Nashville)
ค.ศ. 1862 เป็นปีรุกของฝ่ายสหพันธรัฐ นายพลแกรนท์ของฝ่ายเหนือรุกไล่ฝ่ายใต้ทางตอนใต้รัฐเทนเนสซี มีชัยในการรบนองเลือดที่ชิโลห์ (Shiloh) (6-7เมษา) ฝ่ายใต้สูญเสียแม่ทัพสำคัญ คนหนึ่งคือนายพล เอ จอห์นสตัน (Gen. A. Johnston)
ค.ศ. 1863 ลินคอล์นประกาศกฎหมายปลดปล่อยวันที่ 1 มกราคม (Emancipation Proclaimation) (1 มกราคม)
ค.ศ. 1863 กองทัพฝ่ายเหนือรุกไปทางตะวันออก นายพลลี (Gen. R.E. Lee) ของฝ่ายใต้รุกขึ้นทาง เหนือเข้าสู่เพนซิลวาเนีย (มิถุนายน) แต่ถูกนายพลจี มีด (Gen.G.Meade) ของฝ่ายสหพันธรัฐ เอาชนะได้ในการรบที่เกตติสเบิร์ก (Battle of Gettysburg) ในเพนซิลวาเนีย ถือ เป็นสงครามแห่งชัยชนะในสงครามกลางเมือง เมื่อนายพลลีต้องถอยกลับไปเวอร์จิเนีย
ค.ศ. 1864 นายพลแกรนท์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสหภาพ (มีนาคม) ขณะที่นายพล ดับเบิลยู เชอร์แมน (Gen. W. Sherman) เป็นแม่ทัพฝ่ายตะวันตก กองทัพ ของนายพลแกรนท์ ปะทะกับกองทัพนายพลลีในเวอร์จีเนีย ส่วนกองทัพของนายพลเชอร์ แมนมีหน้าที่รุกรบกองทัพของนายพลจอห์นสตันที่แอตแลนตา
ค.ศ. 1864 นายพลลีของฝ่ายใต้เริ่มถอย เพราะไม่สามารถป้องกันปีเตอร์สเบิร์ก (Petersburg) ในการสู้รบเป็นเวลาถึง 10 เดือน แม้จะพยายามโจมตีแนวหลังของฝ่ายสหพันธรัฐก็ไม่สำเร็จ
ค.ศ. 1864 นายพลดี ฟาร์รากัตเอาชนะกองเรือฝ่ายสมาพันธรัฐที่อ่าวโมบายล์ (5 สิงหาคม)
ค.ศ. 1864 ประธานาธิบดีลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง (พฤศจิกายน)
ค.ศ. 1865 มีการร่างข้อตกลง 13 ข้อ ยกเลิกการมีทาสในสหรัฐอเมริกา ผ่านรัฐสภาอเมริกัน (1 กุมภาพันธ์) และมีผลบังคับใช้เดือนธันวาคม
ค.ศ. 1865 นายพลลี ถูกบังคับให้ยอมจำนนที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์ (Appomattox Courthouse) เป็นการยุติสงครามกลางเมือง

ค.ศ. 1865 (14 เมษายน) ประธานาธิบดีลินคอล์นถูกลอบสังหาร (เขาถูกสังหารโดยชาวผิวขาวที่เคยสนับสนุนการเลิกทาส แต่เมื่ออับราฮัมต้องการให้คนผิวดำมีสิทธิการเลือกตั้งเท่าเทียมกับคนขาว เรื่องนี้ทำให้คนขาวหลายคนไม่พอใจ รวมทั้งมือสังหารคนนี้ด้วย)



เครดิต  วิกิพีเดีย และคลังข้อมูลอินเตอร์เนท

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

SET index with Donchain Channel


การทดสอบนี้ เป็นการทดสอบ ดัชนี SET กับ Donchain Channel
โดยเงื่อนไขคือ

ช่วงเวลาในการทดสอบคือ  1/1/1994 - 31/12/2014  ( 21 ปี)
เงินตั้งต้นในการทดสอบคือ  1 ล้านบาท

อดีตไม่ได้รับประกันอนาคต

1. ซื้อเมื่อ SET > Donchian Upper
ขายเมื่อ SET< Donchian Middle
 เงินตั้งต้นในการทดสอบคือ  1 ล้านบาท กลายเป็น 7.01 ล้านบาท




2. ซื้อเมื่อ SET > Donchian Upper
ขายเมื่อ SET< Donchian Lower
 เงินตั้งต้นในการทดสอบคือ  1 ล้านบาท กลายเป็น  7.21 ล้านบาท




Leader 5 ตัวแรก ของช่วงที่ SET 10/3/2015 57 ถึง 5/6/2015

Leader 5 ตัวแรก ของช่วงที่ SET อยู่ต่ำกว่า ma50 day รอบนี้
10/3/2015  ถึง 5/6/2015
Tasco +106%
Tipco +89%
Ajp +65%
SMT +53%
BRR +52%
‪#‎ในปอดมีLeaderกันบ้างไหม‬






วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

break high ดีอย่างไร



การซื้อเมื่อ Break Hi ดีตรงที่เมื่อเล่นจบรอบแล้ว ไม่เจอการขาดทุนหนักๆ
เช่น เมื่อซื้อที่ B1 ขายที่ S1  หรือ ซื้อที่ B2 ขายที่ S2 และสุดท้ายเมื่อซื้อที่ B3 ขายที่ S3
ซึ่งมันสอดคล้องกับการนับเวฟ  กราฟ(เส้นเขียว) คือ เวฟ 1-5 และ A-C
พอขายที่ S3 แล้วเวฟเข้า A ไปจนถึง C ก็จะไม่มีการเบรคไฮ เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสจะติดดอยยาวๆก็ไม่มี







ลองมาดูการซื้อ โดยการพยายามซื้อให้ได้ราคาต่ำสุดดูบ้าง  หลายคนชอบซื้อหุ้นตอนย่อ เพราะจะได้ราคาถูก  และมักจะพยายามซื้อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด  แต่แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะซื้อได้ราคาถูกที่สุด ส่วนมากหลังจากซื้อแล้วราคาก็จะไหลลงต่อ  เรียกว่าไม่ซื้อก็ทำท่าจะเด้ง พอซื้อปุ๊ปโดนเชคชื่อทันทีเลย  คงเคยเจอกันบ่อยนะครับ  หลังจากราคาไหลลง  สิ่งที่คิดก็คือรอดู พอรอดูมันก็ไหลลงไปเรื่อยๆ  ก็จะเกิดความคิดว่า หากเด้งมาที่ทุนได้เมื่อไรจะขายแล้ว
มันก็จะกลายเป็น ซื้อที่ B1 แล้วราคาไหลลง พอเด้งมาที่ S1 ก็รีบขายออกด้วยความกลัว แล้วก็จะเกิดแบบนี้ซ้ำรอย คือ ซื้อที่ B2 พอซื้อปุุ๊ปโดนเชคชื่อต่อหน้าต่อตา ราคาไหลลง จนบอกกับตัวเองว่า ถ้าเด้งมาที่ทุนจะขายแล้ว  ทำให้เกิดการขายที่ S2   หลังจากนั้นมาซื้ออีก ที่ B3  ราคาไหลลงอีก คราวนี้บอกว่า ถ้าราคามาที่ทุนจะไม่ขายแล้วเพราะขายไปสองครั้ง ขายเสร็จมันก็วิ่งขึ้นต่อ  ครั้งนี้จะถือยาวเป็นวีไอแล้ว แต่ปรากฎจบรอบเวฟ 5 กราฟเข้าขา A  B C การเด้งกลับมาแต่ไม่ถึงทุน แถมตั้งใจถือยาว เลยได้ดอยยาวจนจบขา C พอดี    สรุป ได้ดอยยาว