วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

เกณฑ์การปันผล

เกณฑ์การปันผล








หมายเหตุ
จุดที่น่าสังเกตคือ บ.สามารถล้างขาดทุนสะสมได้
หากบ.มีทุนสำรองตามกฎหมาย หรือส่วนล้ำมูลค่าหุ้น  

ยกตัวอย่าง งบดุลของทรู



กรณีของ ทรู มีขาดทุนสะสม -64,815 ลบ
การล้างขาดทุนสะสม เพื่อให้จ่ายปันผลได้จะต้อง มีส่วนล้ำมูลค่าหุ้น แต่ทรูมี ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น ดังนั้นแนวคิดเรื่องการลดทุนมาล้างขาดทุนสะสมจึงเป็นไปไม่ได้




หากเจ้าหนี้คิดค้าน จะลดทุนมิได้
และการล้างขาดทุนสะสม ทำให้จ่ายปันผลได้ 
แต่ ด้านเจ้าหนี้ย่อมไม่พอใจเพราะกำไรได้มาไปจ่ายปันผลแทนที่จะมาจ่ายหนี้ 
ซึ่งหากหนี้อยู่ในระดับปกติเจ้าหนี้ก็คงจะโอเค แต่หนี้ระดับ Net D/E 8-10 เท่า 
เชื่อว่าเจ้าหนี้ไม่โอเคที่จะให้จ่ายปันผล
ต้องลดหนี้จนอยู่ในระดับปกติก่อนให้เจ้าหนี้พอใจและไม่คัดค้านก่อนครับ



วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีการวัดผลตอบแทนของพอร์ต

วิธีการวัดผลตอบแทนของพอร์ต

กรณีที่เงินต้นคงที่ตลอดทั้งปี ก็คงวัดได้ไม่ยาก
เช่น   เงินต้น 1 ล้าน ถือหุ้น 70% ก็ 700,000  และสำรองเงินสดไว้สำหรับซื้อหุ้นอีก 300,000
เลขที่ใช้เป็นฐาน ก็คือ 1,000,000   พอครบปี พอร์ตรวมเงินกลายเป็น 1,150,000
ก็จะได้  1,150,000/1,000,000 = 15%

แต่กรณีที่ มีการใส่เงินสดเข้าพอร์ตเพิ่มไปเรื่อยๆ หรือมีการดึงเงินออก อันนี้อาจหาค่าให้ตรงจริงๆได้ยาก
ทำให้ต้องใช้วิธีอื่นๆ

แบบแรก  แบบค่าเฉลี่ย
โดยนำเงินทุน ต้นปี + ปลายปี หาร สอง
ตัวอย่าง  ต้นปีเงินทุน  1,000,000 กลางปี ใส่เงินเข้าพอร์ตอีก 500,000 มูลค่าพอร์ตกลางปีเป็น 1,500,000    พอสิ้นปี มูลค่าพอร์ตเป็น  1,800,000
คำนวนได้    (1,000,0000+1,500,000)/2 = 1,250,000 เป็นฐาน
ผลตอบแทนเท่ากับ   1,800,000/1,250,000 = 44%
อันนี้จะเป็นการคำนวนแบบคร่าวๆ


อีกแบบคือ การคำนวน แบบ IRR โดยใช้ Excel
เราต้องจดวันที่ ที่เงินเข้าและเงินออกทุกครั้ง






ต้องเข้าใจว่า IRR คือการคำนวน โดยอิงเวลาคือ 1ปี ดังนั้น หากเราทำผลตอบแทนได้เดือนละ 20% IRR จะคำนวนว่า เราจะทำได้แบบนี้ทุกเดือน แล้วคิดเป็นปี
ดังนั้นการใช้ IRR เราจะไม่เห็นผลตอบแทนที่แท้จริงระหว่างปี จนกว่าจะครบปี (ระหว่างปี ตัวเลขจะสูงเกินจริง)   แต่ข้อดีคือเมื่อครบปี จะคำนวนเงินทุกก้อนที่ใส่หรือถอนจากพอร์ต โดยคำนวนถึงเวลาที่เงินทำงานในพอร์ตด้วย



อีกวิธีคือ การคำนวนแบบ  NAV

เช่นเงินลงทุนเริ่มแรก 1,000,000 บ  เรากำหนดให้ หน่วยละ 10 บ.
จะได้ 100,000 หน่วย (เพื่อความสะดวก เราจะใช้ NAV ของสิ้นวันก่อนหน้าเป็นตัวคำนวนเมื่อซื้อหรือขายหน่วยลงทุน)




โดยหลักๆ คือการเก็บข้อมูลครบๆ
-วันที่ในการเพิ่มเงินเข้าพอร์ต และถอนเงินออกจากพอร์ต
-มูลค่าพอร์ต ณ วันที่ใส่เงินเข้า หรือถอนเงินออก
-มูลค่าพอร์ต ณ สิ้นปี

ถ้าข้อมูลครบ จะคำนวนย้อนหลังแบบไหนก็ทำได้หมด และที่สำคัญคือ เงินที่เตรียมไว้ในพอร์ต แม้จะไม่ได้ซื้อหุ้น ก็ต้องนับเป็นฐานเงินต้น เทียบได้กับเวลาเราซื้อกองทุน แต่ละกองทุนก็ไม่ได้นำเงินเราไปซื้อหุ้นทั้ง 100% จะมีส่วนที่เป็นเงินสดเพื่อคงสภาพคล่องไว้เสมอ แต่เวลาคำนวนก็จะนำมาคำนวนทั้งหมด  เช่น ใส่เงินเข้าพอร์ต ไว้รอซื้อหุ้น 1,000,000  แต่ซื้อไปได้ 700,000  อีก สามแสน เป็นเงินรอราคาหุ้นให้ลงมา รอทั้งปี แล้วก็ยังไม่ได้ซื้อ เวลาคำนวน ก็ต้องนับ 1,000,000 เป็นฐาน

ปัจจุบันผมใช้แบบ NAV

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

MINT

MINT


บริษัทดำเนินธุรกิจประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่น ธุรกิจร้านอาหาร ได้แก่ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, สเวนเซ่นส์, ซิซซ์เลอร์, แดรี่ควีน, เบอร์เกอร์ คิง, ไทยเอ็กซ์เพรส, เดอะ คอฟฟี่ คลับ, ริบส์ แอนด์ รัมส์ และริเวอร์ไซด์ ธุรกิจโรงแรมประกอบด้วยโรงแรมทั้งสิ้น 42 โรงแรม และ 40 เซอร์วิส สวีท ภายใต้เครื่องหมายการค้าอนันตรา, โอ๊คส์, อาวานี่, โฟร์ซีซั่นส์, เซ็นต์ รีจิส, แมริออท, เอเลวาน่า ในประเทศไทย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มัลดีฟส์ เวียดนาม แทนซาเนีย เคนยา ตะวันออกกลาง ศรีลังกา มาเลเซีย จีน และอินโดนีเซีย ธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นจากต่างประเทศ ได้แก่ แก๊ป, เอสปรี, บอสสินี่, ชาร์ล แอนด์ คีธ, เพโดร, เรดเอิร์ธ, ทูมี่ เป็นต้น

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก(@07 มี.ค. 2557)จำนวนหุ้น%
1.บริษัท ไมเนอร์ โฮลดิ้ง (ไทย) จำกัด661,606,98216.53
2.UBS AG SINGAPORE BRANCH475,414,00611.88
3.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด360,311,8219.00
4.นาย นิติ โอสถานุเคราะห์313,486,4527.83
5.นาย วิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค240,025,9806.00
6.CREDIT SUISSE AG, SINGAPORE BRANCH152,916,0943.82
7.STATE STREET BANK EUROPE LIMITED124,228,7453.10
8.MR. WILLIAM ELLWOOD HEINECKE102,148,0472.55
9.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช87,689,7412.19
10.บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด76,692,1261.92

คณะกรรมการตำแหน่ง
1.นาย วิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็คประธานกรรมการ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
2.นาย พอล ชาลีส์ เคนนี่กรรมการ
3.นาย เอ็มมานูเอล จู๊ด ดิลิปรัจ ราชากาเรียกรรมการ
4.นาย อานิล ธาดานี่กรรมการ
5.นาย ธีรพงศ์ จันศิริกรรมการ
6.นาย จอห์น สก็อต ไฮเน็คกรรมการ
7.นาย เคนเนธ ลี ไวท์กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ
8.คุณหญิง ชฎา วัฒนศิริธรรมกรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ
9.นาย พาที สารสินกรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ



ข้อมูลสถิติYTD
14 มี.ค. 2557
2556
27 ธ.ค. 2556
2555
28 ธ.ค. 2555
จำนวนหุ้นจดทะเบียน (ล้านหุ้น)4,001.36 4,001.36 3,686.77 
ราคาพาร์ (บาท)1.00 1.00 1.00 
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ลบ.)103,034.90 82,828.06 72,260.63 
ราคา (บาท/หุ้น)25.75 20.70 19.60 
มูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้น (บาท/หุ้น)6.27 5.81 4.54 
P/BV (X)4.11 3.57 4.35 
P/E (X)25.12 22.21 26.80 
อัตราหมุนเวียนปริมาณการซื้อขาย (%)11.28 64.33 67.27 
มูลค่าซื้อขาย/วัน (ลบ.)200.57 249.48 151.54


การจ่ายปันผล
รอบผลประกอบการเงินปันผล (ต่อหุ้น)หน่วยวันจ่ายปันผลประเภท
31 ธ.ค. 25550.30บาท30 เม.ย. 2556เงินปันผล
01 ม.ค. 2554 - 31 ธ.ค. 25540.15บาท30 เม.ย. 2555เงินปันผล
01 ม.ค. 2554 - 31 ธ.ค. 255410.00 : 1.00หุ้น30 เม.ย. 2555หุ้นปันผล
01 ม.ค. 2553 - 31 ธ.ค. 25530.15บาท28 เม.ย. 2554เงินปันผล