วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

คำนวณดัชนี SET50 Index

รายชื่อหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ในการคำนวณดัชนี SET50 Index (เรียงตามลำดับอักษรของหมวดธุรกิจ)
สำหรับการคำนวณค่าดัชนีระหว่าง 1 ก.ค. 2556 ถึง 31 ธ.ค. 2556 Exclusion: ESSO, SPALI, TISCO
ลำดับ หมวดธุรกิจ ชื่อหลักทรัพย์ หมายเหตุ
กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  
1 อาหารและเครื่องดื่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  CPF   
2 อาหารและเครื่องดื่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  MINT   
3 อาหารและเครื่องดื่ม บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)  TUF   
กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน  
4 ธนาคาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  BAY   
5 ธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  BBL   
6 ธนาคาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  KBANK   
7 ธนาคาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)  KK   
8 ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  KTB   
9 ธนาคาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  SCB   
10 ธนาคาร บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)  TCAP   
11 ธนาคาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)  TMB   
12 ประกันภัยและประกันชีวิต บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  BLA   
กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม  
13 ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)  IVL   
14 ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  PTTGC   
กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง  
15 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)  CK*  New Entry
16 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)  CPN   
17 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  LH   
18 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  PS   
19 วัสดุก่อสร้าง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)  SCC   
20 วัสดุก่อสร้าง บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)  SCCC   
กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร  
21 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)  BANPU   
22 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)  BCP   
23 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)  EGCO   
24 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)  GLOW   
25 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  IRPC   
26 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  PTT   
27 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)  PTTEP   
28 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  RATCH   
29 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)  TOP   
30 พลังงานและสาธารณูปโภค บริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน)  TTW   
กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ  
31 การแพทย์ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน)  BGH   
32 การแพทย์ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)  BH   
33 การท่องเที่ยวและสันทนาการ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)  CENTEL*  New Entry
34 ขนส่งและโลจิสติกส์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)  AOT   
35 ขนส่งและโลจิสติกส์ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)  BTS   
36 ขนส่งและโลจิสติกส์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  THAI   
37 พาณิชย์ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)  BIGC   
38 พาณิชย์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)  BJC   
39 พาณิชย์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  CPALL   
40 พาณิชย์ บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  GLOBAL*  New Entry
41 พาณิชย์ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)  HMPRO   
42 พาณิชย์ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  MAKRO   
43 พาณิชย์ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)  ROBINS   
44 สื่อและสิ่งพิมพ์ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)  BEC   
กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี  
45 ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  DELTA   
46 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  ADVANC   
47 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  DTAC   
48 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  INTUCH   
49 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  JAS   
50 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  TRUE   
รายชื่อหลักทรัพย์สำรอง สำหรับ SET50 Index (เรียงตามลำดับอักษรของหมวดธุรกิจ)  
1 ธนาคาร บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TISCO  
2 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) HEMRAJ  
3 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) QH  
4 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) SIRI  
5 สื่อและสิ่งพิมพ์ บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) VGI  
* หุ้นเข้าใหม่ในรอบนี้

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

เอไอเอสทุ่ม2-3หมื่นลบ.ลงทุนโครงข่าย3จี - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

เอไอเอสทุ่ม2-3หมื่นลบ.ลงทุนโครงข่าย3จี - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

เอไอเอส ทุ่มงบเพิ่ม 2-3 หมื่นล้านบาท ลงทุนโครงข่าย 3 จี ตั้งเป้าสิ้นปี 57 เสาสัญญาณเพิ่มเป็น 2 หมื่นต้น

นายวิเชียร เมตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (ADVANC)หรือ เอไอเอส กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเพิ่มงบลงทุนโครงข่าย 3จี ในปีหน้าเพิ่มอีก 2-3 หมื่นล้านบาท จากงบเดิมที่ตั้งไว้ 7 หมื่นล้านบาทที่ใช้ในช่วงปี 2556-2558 เนื่องจากฝ่ายติดตั้งโครงข่ายสามารถจะทำได้เร็วกว่าแผน โดยสิ้นปีนี้คาดว่าติดตั้งโครงข่ายเสาสัญญาณได้ 1-1.2 หมื่นต้น และกลางปีหน้าจะเพิ่มเป็น 1.5 หมื่นต้น และสิ้นปีหจ้าจะเพิ่มเป็น 2 หมื่นตัน จากงบเดิมกำหนดลงทุนติดตั้งเสาสัญญาณ 1.5 หมื่นต้น

ทั้งนี้ จากการที่มีการติดตั้งโครงข่ายเสาสัญญาณ 3จี ได้เร็วกว่าแผน 4 เดือน ทำให้ยอดลูกค้า 3จี ในปัจจุบันเพิ่มเป็น 9 ล้านเลขหมาย โดยเป็นการอัพเกรดของลูกค้าเดิม 60-70% ทำให้บริษัทปรับเป้าสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 10-12 ล้านเลขหมายจากเดิมตั้งไว้ที่ 8-10 ล้านเลขหมาย ดังนั้น ในปีหน้าบริษัทจึงตั้งเป้าจำนวนลูกค้า 3จี เพิ่ม 15-20 ล้านเลขหมาย พร้อมกันนั้น จะใช้กลยุทธ์ด้านการตลาด, ด้านคอนเท้นท์ที่แตกต่าง หรือ แอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่ายกับลูกค้า

นายวิเชียร กล่าวว่า สิ้นปีนี้มั่นใจว่าจะมีลูกค้า 3จี ตามเป้าที่ 12 ล้านเลขหมาย เนื่องจากลูกค้าของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (DPC) ซึ่งเป็นบริษัทลูกจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ใน วันที่15 ก.ย.56 จะโอนย้ายมาทั้งหมดจำนวน 8 หมื่นราย อย่างไรก็ตาม คาดว่าลูกค้าที่เหลือของเอไอเอสกว่า 10 ล้านเลขหมายสุดท้ายอาจจะไม่โอนย้ายหรือโอนย้ายช้า เพราะมีบางกลุ่มไม่ความจำเป็นต้องใช้บริการ Data มาก

อย่างไรก็ตาม มองว่าแนวโน้มการแข่งขันตลาดให้บริการ 3จี จะรุนแรงมากขึ้น และแนวโน้มอัตรากำไร (มาร์จิ้น) ในธุรกิจนี้จะน้อยลง ตามทิศทาค่าบริการ ดังนั้น จึงต้องเน้นการเพิ่มปริมาณการใช้งานและจำนวนผู้ใช้งาน โดยปัจจุบันอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือของประชากรในไทยอยู่ที่ 119% มองว่ายังมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นอีก

Tags : วิเชียร เมตระการ • เอไอเอส • 3จี

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

แฟมิลี่มาร์ท เร่งขยายสาขา

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา บริษัทเซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด จัดงานแถลงข่าว ชูกลยุทธ์ “นิว แฟมิลี่มาร์ท”  ตั้งเป้าเติบโตร้อยละ 23 รุกขยายครบ 3,000 สาขาในปี 2560 เตรียมผลักดันสินค้าอาหารพร้อมทาน(Ready to Eat) ต่อเนื่องตลอดทั้งปี  จัดขึ้น ณ ห้องประชุมเตียง จิราธิวัฒน์ ชั้น 16 อาคารชิดลมทาวเวอร์ แถลงข่าวโดยคุณ ณัฐ วงศ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร,คุณ เบญจวรรณ อ่องศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและคุณ จุฑารัตน์ วงศ์สุวรรณ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดบริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ภายใต้ชื่อ ”แฟมิลี่มาร์ท” หลังจากที่บริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจค้าปลีกของเมืองไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้าถือหุ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.29 ทำให้วันนี้แฟมิลี่มาร์ท มีความพร้อมในทุกด้าน ประกาศเดินหน้าดำเนินธุรกิจเต็มกำลัง  ตั้งเป้าเติบโตร้อยละ 23 ในปี 2556 มั่นใจจะเป็นร้านสะดวกซื้อทางเลือกใหม่สำหรับลูกค้าทุกคนอย่างแน่นอนกรุงเทพฯ – 28 กุมภาพันธ์ 2556 นายณัฐ  วงศ์พานิช  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด เผยแผนกลยุทธ์ปี 2556   ว่าบริษัทฯได้ตั้งเป้ายอดขายทั้งปีไว้ที่ 15,000 ล้านบาท  โดยมีปัจจัยสำคัญคือการเข้ามาบริหารงานโดยบริษัทเซ็นทรัลรีเทลฯ  ที่ได้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านต่างๆ อาทิ  การพัฒนาสินค้าร่วมกับบริษัทเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (Tops), การทำโปรโมชั่นและกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับบริษัทต่างๆในเครือ อีกทั้งแฟมิลี่มาร์ทยังได้วางแผนการพัฒนาธุรกิจร่วมกับบริษัทเครือเซ็นทรัล กรุ๊ป  อาทิ การขยายสาขา, การพัฒนาระบบคลังสินค้าและระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น โดยในปี 2556  บริษัทฯได้วางแผนการเปิดสาขาใหม่ในปีนี้อีกจำนวนกว่า 200  สาขา  ทำให้ในปีนี้แฟมิลี่มาร์ทจะมีสาขารวมกันทั้งสิ้น 1,000 สาขาและตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 3,000 สาขาแน่นอนในปี 2560” นายณัฐ  กล่าวในปีนี้แฟมิลี่มาร์ทได้ชูกลยุทธ์ “นิว แฟมิลี่มาร์ท”  เพื่อเสนอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของร้านสะดวกซื้อสำหรับผู้บริโภค  โดยจะรุกหนักในด้านการพัฒนาสินค้าด้วยการเพิ่มรายการสินค้าให้มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี  โดยฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าพร้อมทานหรือ Ready to Eat  ซึ่งมีเมนูอาหารรวมทั้งสิ้นกว่า 200 เมนู อีกทั้งร้านแฟมิลี่มาร์ทมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและนวัตกรรมใหม่ๆจากแฟมิลี่มาร์ทประเทศญี่ปุ่น  เพื่อพัฒนาให้สินค้าของแฟมิลี่มาร์ท มีความโดดเด่นและมีคุณภาพ  โดยบริษัทฯจะมุ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารที่เป็น Exclusive Brand (Exclusive for FamilyMart only) ที่มีจำหน่ายเฉพาะที่ร้านแฟมิลี่มาร์ทเท่านั้น  ซึ่งประกอบด้วยสินค้าอาหารพร้อมทาน หรือ Ready to Eat  ภายใต้แบรนด์ “Quick Serve” ซึ่งมีทั้งสินค้า Frozen Bento (สินค้าแช่เยือกแข็ง) และสินค้า Chill Bento (สินค้าแช่เย็น) ที่มีจำนวนกว่า 50 เมนูให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ โดยจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ  เพราะจะเป็นอาหารที่ได้รับการพัฒนารสชาติให้ถูกปากคนไทยโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น  และในเดือนมีนาคมนี้เราจะมี 5 เมนูใหม่ซึ่งเป็นไฮไลท์ในประเภทสินค้า Chill Bento หรืออาหารพร้อมทานในสไตล์ญี่ปุ่นได้แก่ ยากิโซบะหมู, ข้าวปลาแซลมอนย่างซีอิ๊ว, ข้าวปลาซาบะย่างซีอิ๊ว, ข้าวแกงกระหรี่หมูญี่ปุ่นและ ข้าวผัดกระเทียมหมูซีอิ๊วญี่ปุ่นสินค้า Kitty Collection เป็นสินค้าที่แฟมิลี่มาร์ทได้รับลิขสิทธิ์ในการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  โดยจะให้ความสำคัญกับกลุ่มสินค้าในกลุ่ม Food  ประกอบด้วยสินค้า Lolly Pop, Chewy, Jelly และ Kitty Thai Snack  มีจำหน่ายแล้ววันนี้ที่ร้านแฟมิลี่มาร์ท  ทุกสาขาโดยสินค้าทั้ง 2 กลุ่มถือได้ว่าเป็นสินค้าที่ Exclusive for FamliMart ที่จะทำให้ร้านแฟมิลี่มาร์ทมีความโดดเด่นและแตกต่าง และพร้อมจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างอย่างมีสไตล์นอกจากนั้นในปีนี้ร้านแฟมีลี่มาร์ททั้ง 1,000 สาขา  จะมีสัดส่วนของร้านแฟรนไชส์ร้อยละ12 และอีกร้อยละ 88 จะเป็นร้านที่บริหารโดยบริษัทเซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท ทั้งนี้ทางบริษัทฯได้มีระบบร้านแฟรนไชส์ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเป็นผู้ประกอบการสามารถเข้าบริหารกิจการที่คุ้มค่าต่อการลงทุน  โดยบริษัทจะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ส่วนนโยบายในการรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) นั้น  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด กล่าวว่า “ด้วยปณิธานหลักขององค์กร  เราจะเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนกิจกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์รวมถึงจะคืนกำไรให้กับสังคมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  ดังนั้น ร้านแฟมิลี่มาร์ทจึงพร้อมที่จะร่วมมอบสิ่งดีๆให้กับสังคม  โดยนโยบายของเราจะเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุดแต่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคมสิ่งแวดล้อม  เนื่องจากร้านแฟมิลี่มาร์ท เป็นร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง  ดังนั้นในปีนี้ แฟมิลี่มาร์ท  จึงมีนโยบายสำคัญทางด้าน CSR ดังนี้FamilyMart ECO Store : เป็นโครงการที่รณรงค์ให้ร้านแฟมิลี่มาร์ท เป็นร้านสะดวกซื้อที่ลดการใช้พลังงาน  ด้วยการให้ความสำคัญในการเลือกใช้อุปกรณ์และระบบต่างๆภายในร้านให้คุ้มค่ากับพลังงานที่สูญเสียไปให้มากที่สุด  อาทิ การให้หลอดไฟในการให้ความสว่างภายในและภายนอกร้าน, เครื่องปรับอากาศ, ตู้แช่สินค้านอกจากนั้นยังได้กำหนดนโยบายให้พนักงานร้านแฟมิลี่มาร์ท ได้ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นด้วยมาตรการต่างๆ  ซึ่งในขณะนี้เรามีร้าน FamilyMart ECO Store ที่เป็นสาขาต้นแบบที่สาขา ลาดพร้าว 95, สาขาหัวหินและที่สาขาถนนอิสรภาพ เขตธนบุรี Green Smile Family : แคมเปญ CSR ของแฟมิลี่มาร์ทที่ต้องการรณรงค์ให้ลูกค้าได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและพร้อมที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมในการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติกในการจับจ่ายซื้อของทุกๆ วัน และหันมาใช้ถุงผ้าแทนแฟมิลี่มาร์ทร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทยจัดกิจกรรมเพื่อสังคม : เป็นกิจกรรมที่จัดทำร่วมกันมาต่อเนื่องตลอดทุกปี สำหรับแฟมิลี่มาร์ทและมูลนิธิรักษ์ไทย  ด้วยการเชิญชวนลูกค้าร่วมบริจาคเงิน  ที่กล่องรับบริจาคที่ตั้งอยู่ในร้านแฟมิลี่มาร์ททุกสาขา  ทั้งนี้เงินบริจาคที่ได้รับทั้งหมดจะนำไปมอบให้กับมูลนิรักษ์ไทย  สำหรับนำไปสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและกลุ่มคนด้อยโอกาสทางสังคมต่อไปในปี 2556 บริษัทฯได้วางงบการตลาดไว้ที่ 150 ล้านบาท  โดยวางสัดส่วนเป็นงบประมาณสำหรับสาขาต่างๆในกรุงเทพและปริมณฑลร้อยละ 60 และอีกร้อยละ 40 เป็นงบการตลาดที่จะใช้กับสาขาในแหล่งนักท่องเที่ยวหลัก 3 แห่งคือ พัทยา, ภูเก็ต-ป่าตอง และสมุย“แฟมิลี่มาร์ท มีสาขาหลักๆตั้งอยู่ที่กรุงเทพและปริมณฑล  เราจึงเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมสำหรับสร้าง แบรนด์และรายการส่งเสริมการขายกับกลุ่มเป้าหมายตลอดทั้งปี  และอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญของเราที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักในการสร้างยอดขายให้กับแฟมีลี่มาร์ท  คือการให้ความสำคัญกับสาขาต่างๆที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหลัก 3 พื้นที่  ได้แก่ พัทยา  ภูเก็ต-ป่าตองและสมุย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนสาขาของแฟมีลี่มาร์ทตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก รวมกันทั้งสิ้นทั้ง 3 พื้นที่เป็นจำนวนกว่า 300 สาขา โดยมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าส่วนใหญ่เป็น นักท่องเที่ยว  ซึ่งมีลูกค้าต่างชาติที่มาใช้บริการร้านแฟมิลี่มาร์ทมากที่สุดคือยุโรป, รัสเซียและชาวเอเชียได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี ตามลำดับ   ซึ่งร้านของเราเป็นที่คุ้นเคยกับลูกค้าทั้งต่างชาติและชาวไทยมานานกว่า 20 ปี  ดังนั้นเราจึงได้วางแผนการใช้สื่อที่เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นโฆษณา ประชาสัมพันธ์ อีเวนต์ เว็บไซต์ รวมทั้งกิจกรรมทางการตลาดในเชิงรุกอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี  เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลัก เพื่อให้แบรนด์แฟมิลี่มาร์ทเป็นที่จดจำและอยู่ในใจของลูกค้าตลอดไป”